UKM11 กับประเพณีแห่กัณฑ์หลอน


UKM11  กับประเพณีแห่กัณฑ์หลอน

          แห่กัณฑ์หลอน  ไม่ใช่แห่เพื่อป้องกันใครมาหลอนหลอกนะครับ
 
ใช่แล้วครับ  ทางเจ้าภาพ
UKM11 ได้จัดรูปแบบพิธีเปิดเป็นพิธีแห่กัณฑ์หลอน  ซึ่งเป็นพิธีที่สะท้อนถึง ขนบประเพณี  วัฒนธรรมความเป็นอยู่ และแสดงให้ผู้เข้าร่วมงานได้เห็นและเข้าใจหัวใจของชาวอิสานได้เป็นอย่างดี  

          ความเป็นมาของประเพณีแห่กัณฑ์หลอน ( ขอบคุณ พี่ออต และ อ.พันดา  และอาจารย์
Nokky ที่ให้ข้อมูลครับ)
ประเพณีแห่กัณฑ์หลอน  คือ กัณฑ์เทศน์ที่ทำพิธีแห่ไปจากบ้าน ไม่จำเพาะกัณฑ์ใดกัณฑ์หนึ่ง และเจาะจงถวายพระรูปใด เมื่อแห่กัณฑ์หลอนไปถึงวัด พระรูปใดกำลังเทศน์อยู่จะถวายพระรูปนั้น
กัณฑ์หลอนส่วนใหญ่ ทำด้วยกระจาดสานจากไม้ไผ่ มีคานหามใส่ของกินของใช้ที่มีผู้บริจาค ประดับด้วยต้นเงินอย่างสวยงาม

          การจัดกัณฑ์หลอนจะมีการรวมกลุ่มกัน   จัดทำขึ้นเป็นกอง เป็นขบวนแล้วแห่ไปรอบๆ หมู่บ้าน ผ่านบ้านผู้ใดก็จะถวายปัจจัยไทยทาน การแห่จะทำอย่างสนุกสนาน มีการตีฆ้อง ตีกลอง เป่าแคน ดีพิณ และฟ้อนรำไปด้วย เมื่อถึงวัดก็จะหยุดใช้เสียง นำกัณฑ์ไปถวายพระ เป็นการถวายเพิ่มจากกัณฑ์ธรรมดา ซึ่งจะจัดในงานบุญพระเวส หลังจากเสร็จงานบุญพระเวส จะใช้เวลาเพียงวันเดียว กัณฑ์หลอนจะทำกี่กัณฑ์ก็ได้ พระรูปใดหากถูกัณฑ์หลอนถือว่าโชคดี เพราะมักได้ปัจจัยมากเป็นพิเศษ ดังคำพังเพยกล่าวว่า " ถึกกัณฑ์หลอน มันซิรวยข้าวต้ม "
 

          การรวมตัวกันของชาวบ้านในประเพณีแห่กันหลอนนี้จะเกิดขึ้นธรรมชาติและการร่วมกันบริจาคเกิดขึ้นจากหัวใจของคนในชุมชนเองไม่ได้มีการบังคับกันแต่อย่างใด จะ    เห็นได้ครับว่า  วัฒนธรรมของชาวอิสานเป็นลักษณะของการเอา  ใจ  เข้าว่า  เอาใจเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน  ความจริงใจ ความซื่อ ถือได้ว่าเป็นลักษณะนิสัยพื้นเพของชาวอิสานเลยก็ว่าได้ครับ

          เป็นเพียงน้ำจิ้มนะครับสำหรับประเพณีที่น่าเข้าร่วมและมาสัมผัสด้วยตัวเอง  หากสมาชิกชาว
G2K ท่านใดอยากลองสัมผัสด้วยตัวเอง  โปรดแสดงความจำนงและติดต่อได้ที่เจ้าภาพได้เลยครับ   555555555ผมว่าได้ทั้งความสนุกสนานและได้บุญด้วยครับ    """""""""""""""""""""""""""""""""""" 

คำสำคัญ (Tags): #ukm11
หมายเลขบันทึก: 121492เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2007 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สวัสดีค่ะคุณสายลม

          นี่คือภาพบรรยากาศสด ๆ ในงานเลยรึเปล่าค่ะ

          ถ้าใช่ ขอบอกว่า รวดเร็วมาก ดูบรรยากาศแล้ว สนุกสนานมากเลยค่ะ

         ขอบคุณนะคะสำหรับภาพดี ๆ พร้อมทั้งข้อมูลประกอบแบบเต็มอิ่ม

  • ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันสืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน 
  • ขอบคุณน้องสายลมที่ช่วยขยายผล    และประชาสัมพันธ์ค่ะ

 

  • ตามรอดูอยู่ทั้งวัน
  • ขอบอกว่าเยี่ยมมากครับ
  • ชอบมากๆๆเหนื่อยไหมครับ

สวัสดีค่ะ

  • เห็นชื่อในตอนแรกเข้าใจผิดไปแล้วล่ะค่ะ  เข้าใจไปเรื่องผีๆๆ โน่นเลย 
  • คุณสายลมนึกรู้นะคะว่า  ใครๆ คงคิดเป็นเรื่องผีๆๆ ไปแล้วเลยอธิบายมาอย่างชัดเจนเลย
  • ขอบคุณค่ะ...เป็นความรู้ใหม่เลยค่ะ
  • คงจะสนุกสนานแน่เลยค่ะ  แค่เห็นภาพนะคะเนี่ย
น่าสนุกนะค่ะ ไม่ได้เห็นขบวนแห่กัณฑ์หลอนแบบนี้มานานแล้วค่ะ

สวัสดีครับ น้องสายลม

 

รายงานได้ดีเยี่ยมเลยทีเดียว  ถึงไม่กลับสด ๆ แต่ก็ได้บรรยากาศอย่างอิ่มอวล  

ลูกอีสาน... บ่ ธรรมดา

เน็ตมีปัญหามาก  แล้วค่อยคุยกันนะครับ

  • เสยๆ ไปเที่ยวสารคามกันหรอ ไม่ชวนกันเลย
  • อยากกลับไปเรียนที่สารคามอีกจัง มีอะไรดีๆอีกเยอะ
  • กทม. ( กลางทุ่งมหาสารคาม ) จงเจริญ
  • สวัสดีค่ะ คุณนายสายลม
  • ชอบมากประเพณีอิสานค่ะ แต่ไม่ค่อยได้ร่วมกับเค้าซักทีค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • พี่บางทรายฝากมาครับผม
  • เชิญเข้าร่วมเฮฮาศาสตร์ 3 ดงหลวงครับน้องรัก แฮ่ คงร่วมทาง skype แน่เลย

    ร่าง  “นอนกลางดินกินกลางป่า”
    กับ เฮฮาศาสตร์ครั้งที่ 3 ดงหลวง มุกดาหาร
    วันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2550

    FAQ

    1. มาทำไมกันดงหลวง ?
    1) ก็อยากพบปะกันในต่างสถานที่กันบ้างของพี่น้องชาว Bloggers
    2) ให้พี่น้องได้รู้จักวิถีชีวิตชนเผ่าไทโซ่ ผู้ไท ดงหลวง 
    3) ท่องเที่ยวตามอัธยาศัย
    4) ดื่มด่ำกับธรรมชาติ ภูเขา ต้นไม้ สายลม ท้องฟ้า ดวงดาว อ่างเก็บน้ำ และอากาศที่บริสุทธิ์

    2. เมื่อไหร่กันล่ะ ?
    เสนอจัดทำ วันศุกร์ที่ 16 วันเสาร์ที่ 17 วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน 2550

    3. อธิบายซิทำไมถึงจัดช่วงนี้ ?
    1) ก็โครงการ คฟป.ที่บางทรายรับผิดชอบอยู่จะปิดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 จึงต้องจัดก่อน เดิมทีเสนอไว้เดือนกุมภาพันธ์ 2551 เพราะต้องการให้มีโอกาสดูต้นและดอกช้างน้าว อันเป็นไม้ดอกประจำจังหวัดมุกดาหาร ในสภาพป่า ลืมไปว่าโครงการจะปิด จึงขอเลื่อนขึ้นมา แต่ก็เข้าช่วงฤดูหนาวพอดี
    2) แล้วทำไมจัดวันศุกร์ที่ 16-19 พฤศจิกายน 2550 ก็ไม่มีเหตุผล เพียงแต่จัดกลางๆเดือนไว้ เผื่อต้นเดือน ปลายเดือนเพื่อน พี่ น้องจะยุ่งต่อภารกิจต่างๆ

    4. ทำอะไรกันบ้างล่ะ?
    1) เที่ยวชมวิถีชีวิตชนเผ่าไทโซ่และสภาพพื้นที่ป่าแบบดงหลวง
    • แวะเยี่ยมตลาดชุมชน สินค้าสิ่งทอฝีมือศิลปาชีพผู้ไท บ้านแก่งนาง
    • เจดีย์ธาตุพ่อปู่องค์ดำ
    • วัดไทโซ่ที่ไม่มีพระอาศัย
    • สัมผัสปากปล่องภูเขาไฟ สมัยจูลาสสิก
    • วัดพระสายปฏิบัติบนยอดเขา (รถขึ้นได้) สภาพป่า หน้าผาสวยงาม
    • สภาพบ้านเรือนของไทโซ่
    • ฯลฯ
    2) เยี่ยมเกษตรกรไทโซ่ที่น่าสนใจ คุยกับสหายธีระเจ้าพ่อผักหวานป่า พ่อชาดีผู้ส่งข้าวส่งน้ำให้ พันโทพโยม จุฬานนท์  พ่อแสนชาวบ้านผู้ทำเกษตรผสมผสาน ป่าครอบครัว เล้าหมูเคลื่อนที่

    5. จะกินนอนที่ไหนกันล่ะ?
    • กำลังประสานงานกับสำนักงานป่าอุทยานแห่งชาติภูผายล ที่แวดล้อมด้วยป่า น้ำ บนยอดเขา วิวทิวทัศน์สวยงามมาก
    • สุภาพสตรีมีที่พัก บ้านพักรับรอง สภาพบุรุษนอนเต็นท์ สัมผัสธรรมชาติแท้จริง หรืออาคารฝึกอบรมที่กว้างขวาง
    • กลางคืนมีแค้มป์ไฟล์ ใครใคร่ดื่มกาแฟ หรือสมุนไพรโบราณที่พี่น้องไทโซ่ดื่มมาตลอด รับรองตลอดงาน
    • อาหารแบบชาวบ้าน และปรุงเองตามต้องการ

    6. อยากเสนอแนะบ้าง อ่ะ
    ดีจังเลย อยากฟังข้อเสนอแนะจ้า

    7. ร่างกำหนดการ “นอนกลางดินกินกลางป่า” กับเฮฮาศาสตร์ 3 ดงหลวง

    วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2550

    1300 น. พบกันที่หน้าที่ว่าการอำเภอกุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์
    1300-1400 น. เดินทางไปยังอ่างห้วยไผ่ บ้านแก่งนาง ต.กกตูม อ.ดงหลวง
    1530-1700 น. เดินทางไปชมและอุดหนุนตลาดชุมชนบ้านแก่งนาง และสินค้าศิลปชีพ(เดินทาง 10 นาที)
    1700 น. กลับที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย
    1800 น. อาหารค่ำ
    1930 น. แค้มป์ไฟล์ สบายๆ พร้อม powerpoint เรื่องราวดงหลวง
    ....... พักผ่อน

    วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2550

    0600-0700 ตื่นเช้าเดินสูดอากาศบริสุทธ์บนสันเขื่อนห้วยไผ่
    0700 อาหารเช้า
    0730-0845 น. เดินทางไปบ้านมะนาว ชมเจดีย์ธาตุพ่อปู่องค์ดำและศึกษาประวัติ
    0845-0930 เดินทางต่อไปเยี่ยมวัดบ้านติ้ว วัดของไทโซ่ที่ไม่มีพระแต่ใช้ผ้าขาวทำพิธีกรรมต่างๆ
    0930-1000 น. เดินทางไปชมพูเขาไฟ สมัยจูลาสสิค
    1000-1200 น. เดินทางขึ้นยอดเขา เข้าป่าไปสำนักสงฆ์ถ้ำรินทร์ บนยอดภูสีเสียด
    อาหารกลางวันที่สำนักสงฆ์ เดินเล่น ชื่นชมธรรมชาติ
    1330-1500 น. ลงมาบ้านโพนสว่างพบ “สหายธีระ” ผู้บุกเบิกการปลูกผักหวานป่า
    1500-1600 น. ดูงานสูบน้ำด้วยไฟฟ้าระบบการปลูกพืชแบบ Contract farming
    แล้วเดินทางกลับที่พัก
    1800 น. อาหารค่ำ  พักผ่อนตามอัธยาศัย

    วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน 2550

    0600-0700 น. ตื่นเช้าเดินสูดอากาศบริสุทธิ์บนสันเขื่อนห้วยไผ่
    0700 น. อาหารเช้า
    0800-1200 น. AAR
    1300 น. เดินทางกลับ

    รายการทั้งหมดนี้ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ของเวลาและความสนใจ ยึดหลักเฮฮาศาสตร์
     

สวัสดีค่ะน้องสายลม  มะเดี่ยว..

ครูอ้อยเรียนเชิญ...ตามมาค่ะ..ดวลกลอน....ตอนพัก

คิดถึงค่ะ...เฮ้!

  • สวัสดีครับพี่รัตติยา P ขออภัยที่ผมมาตอบช้ามาก ๆ ครับ  อิอิ  ตอนรายงานภาพนี้ เป็นภาพสด ๆ ร้อน ๆ ครับ
  • สวัสดีครับพี่รัก P  วัฒนธรรมอิสานบ้านเฮาต้องรักษาไว้ให้ดีที่สุดครับ ขอบคุณครับพี่ที่ติดตามงาน UKM11
  • สวัสดีครับพี่ขจิต P 
  • มีคนถามถึงกามนิตหนุ่มเยอะมากเลยครับ
  • จนขนาดว่าจะประกาศตามหาเลยอ่ะ
  • 555555
  • สวัสดีครับคุณ
    P
  • งานนี้ภูมิใจเสนอความเป็นอิสานอย่างเต็มที่ครับ
  • ขอบคุณครับที่ติดตาม
  • สวัสดีครับพี่ P แน่นอนครับพี่
  • ว่า อิสานไม่ธรรมดา
  • อิสานจงเจริญครับ
  • หวัดดีน้อง
    P
  • ถ้าว่างก็กลับมาเยี่ยมเยือนสถาบันเดิมบ้านเด้อ

  • สวัสดีครับ ป้าแดง P วัฒนธรรมอิสานแต่ละอย่างต่างแฝงไปด้วยนัยที่ดีมากมายครับ ดั่งคำพระที่พูดว่า กุศโลบาย  หรือ กุศลอุบายนั่นเองครับ


  • สวัสดีครับแม่ครูอ้อย P 
  • กำลังจะตามเข้าไปดวลกลอนตอนพักครับ
  • อิอิ  คงสนุกน่าดู
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท