จิต : ความคิดเกี่ยวกับจิตของคนในสมัยอดีต(๒)


คนไทยเป็นจำนวนมากที่เชื่อสอดคล้องกับทฤษฎีคู่ขนาน(ดูบันทึกครั้งก่อน)  เพราะเชื่อว่า  เมื่อเราตายแล้ว "จิต"หรือ "วิญญาณ" จะออกจากร่างกายของเรา  และสามารถที่จะไป"เกิดใหม่"ได้ด้วย  จะไปเกิด ณ ที่ใด  ก็ขึ้นอยู่กับบุญกรรมของแต่ละคน  ในประเทศแถบยุโรปเขาเชื่อไปอีกแบบหนึ่ง  เขาไม่ได้เชื่อว่าวิญญาณเป็นดวงไฟล่องลอยไปไหนมาไหนได้  แต่เขาเชื่อว่าคนจะเกิดใหม่ได้ก็โดยที่ได้เกิดมีเนื้อหนังเข้ามาหุ้มโครงกระดูกอีกครั้งหนึ่ง  ดังเช่นในนิยายเรื่องแดรกคูล่านะครับ  เรื่องเกี่ยวกับมัมมี่ของอีจิปต์ก็เป็นไปในทำนองนั้น  ผมไม่รู้ว่า  ความเชื่อเหล่านั้น  เชื่อตามคำอธิบายของทฤษฎีคู่ขนาน  หรือว่าทฤษฎีคู่ขนานเชื่อตามความเชื่อเหล่านั้น

ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีคู่ขนานครับ  คือพวกเขาเชื่อว่า "กาย" สามารถ "กระทำ" ต่อ "จิต" ได้  ในขณะเดียวกัน "จิตก็กระทำต่อกายได้เช่นกัน" ทฤษฎีนี้ชื่อว่า "ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์"   (Interactionism) ทฤษฎีนี้มีใจความสำคัญว่า  จิตและกายเป็นสิ่งสองสิ่ง  ต่างก็มีอยู่จริง จิตและกายมีอิทธิพลแก่กันและกัน จิตกระทำต่อกาย หรือกายกระทำต่อจิตได้  ตัวอย่างเช่น  เรารู้สึกหิว(จิต)ก็มีอิทธิพลสั่งให้เท้า(กาย)เดินไปที่ตู้กับข้าวได้  หรือถ้ากายขาดอาหาร ก็เป็นสาเหตุให้เกิดการรู้สึกหิว(จิต)ได้  ดูๆแล้วก็มีเหตุผลเหมือนกัน

ผมนึกชมคนในสมัยอดีดโน้นจริงๆครับ  ทำไมเขาฉลาดอย่างนั้น  ทำไมคนไทย  คนจีน  คนอินเดียไม่คิดบ้าง!  เขาไม่ค่อยคล้อยตามหรือเอาอย่างกัน  แต่เขาคิดโต้แย้ง  และไม่แย้งเฉยๆ  เขายังเสนอทฤษฎีออกมาให้เราได้อ่านอีกด้วย!!  จะผิดจะถูกก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ทฤษฎีทั้งสองนี้เป็นทฤษฎีทางปรัชญญาครับ  จะรู้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด  ก็ต้อง "พิสูจน์" กันด้วยเหตุผล  ผลของการโต้เถียงกันยังลงสรุปไม่ได้ว่าอันไหนผิด  อันไหนไม่ผิด 

คือ "ยังไม่ถูก  และยังไม่ผิด" ทั้งสองทฤษฎีครับ

ทฤษฎีทั้งสองนี้เป็นอุปสรรคต่อการทดสอบของนักวิทยาศาสตร์ครับ คือ มีปัญหาตรงที่  ไม่รู้ "จิต" ที่ว่า"มีอยู่จริง"นั้น  เกิดขึ้นได้อย่างไร  อยู่ตรงไหน  คือ "สังเกตโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่ได้"  นักวิทยาศาสตร์ทางพฤติกรรมจึงไม่ได้ทดสอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์  ปล่อยให้นักปรั๙ญาและนักการศาสนาเขาถกเถียงโดยใช้ตรรกะกันต่อไปนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #interactionism
หมายเลขบันทึก: 121464เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2007 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดร. ไสว เลี่ยมแก้ว....

มีความเห็นแย้งในประเด็นว่า ทำไมคนไทย  คนจีน  คนอินเดียไม่คิดบ้าง!  แต่ก็สงสัยว่าอาจารย์วางหมากไว้ล่อใครบางคน ดังนั้น จึงไม่วิจารณ์ เพียงแต่ไม่เห็นด้วยเท่านั้น

ในอภิธรรมมีศัพท์ว่า จิตตชรูป รูปเกิดจากใจ เช่น ถ้ารู้สึกเศร้า หน้าตาก็หม่นหมอง ...หรือคนดีใจเพราะถูกหวย หน้าตาสดชื่นแจ่มใส่ เป็นต้น

เจริญพร 

ไม่มีหลุมพรางหรอกครับพระคุณเจ้า  เพียงแต่บ่นมาเล่นๆเท่านั้นเอง  คือแปลกใจว่า พลเมืองเป็นพันๆล้าน  เมื่อเทียบกับคนชาวยุโรป ------ ?

หรือว่าเป็นเพราะ "เราสอนเด็กๆให้ตามหลังผู้ใหม่หมาไม่กัด"  หรือ "หัวล้านนอกครู" หรือเปล่าก็ไม่รู้? ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท