บันทึกเทคนิคการเขียนบันทึกบล็อก


ช่วยเขียนบันทึกเกี่ยวกับเทคนิคการเขียนบล็อกสักบันทึก... ผมเองก็ไม่รู้ว่าเทคนิคการเขียนเป็นอย่างไรแต่บอกได้ว่า...

             เมื่อวานนี้โทรศัพท์หาครูนง  เพื่อมาร่วมเวทีชุมชนเข็มแข็ง เมืองไทยแข็งแรง ที่ รพ. มหาราชนครศรีธรรมราช  ก็ทราบว่าท่านอยู่ที่ ดอนเมืองกำลังเดินทางไปโคราช (เป็นวิทยากร)

              หลังจากคุยรายละเอียดแล้วครูนงบอกว่าช่วยเขียนบันทึกเกี่ยวกับเทคนิคการเขียนบล็อกสักบันทึก... ผมเองก็ไม่รู้ว่าเทคนิคการเขียนเป็นอย่างไรแต่บอกได้ว่า...

  • ต้องเขียนเพราะใจอยากเขียน...
  • เขียนเพราะอยากเล่าสิ่งดีๆ...ให้คนอื่นได้รับรู้
  • เขียนจากประสบการณ์ที่ได้พบหรือจากการปฏิบัติ
  • เขียนจากความรู้ที่ได้จากการทำจริง
  • ที่สำคัญต้องใจกว้างสำหรับการแลกเปลี่ยนนะครับ...

หากให้ลงลึกกว่านี้ต้องดูของพี่ชายของผมครับ....ที่บันทึกนี้นะครับ

             http://gotoknow.org/blog/yutkpp/118665

หมายเลขบันทึก: 121383เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2007 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

คุณครูนายหนัง....

เข้ามาเยี่ยม....

ตามหลักการ ๕ ข้อของคุณครู อาจแยกย่อยได้ดังนี้

  • สาเหตุของการเขียน
  1. เขียนเพราะใจอยากเขียน
  2. เขียนเพราะอยากเล่าสิ่งดีๆ

 

  • ข้อมูลของการเขียน
  1. ประสบการณ์
  2. ความรู้จากการปฏิบัติ

 

  • หลักการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  1. ใจกว้าง (ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น)

 

ไม่แน่ใจว่าคุณครูต้องการจะแยกประเด็นทำนองนี้หรือไม่... หลวงเข้ามาเยี่ยมก็เลยแยกเล่นๆ (......)

แต่พอแยกประเด็นออกมาทำนองนี้ หลวงคิดว่าคุณครูน่าจะเพิ่มแต่ละข้อในประเด็นต่างๆ ได้อีก....

เจริญพร

หวัดดีค่ะ...คุณพี่..ราญ...ไม่ได้เข้ามาอ่านนานแล้วนะคะ...วันนี้มาอบรมโปรแกรมพัฒนาบุคลากรในการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฯ ที่ จังหวัดสงขลา นั่งทำคอมฯ ก็เสร็จแล้วก็เลยเข้ามาอ่าน... การเขียนที่มีผลดีที่สุดก็คือ การเขียนเรื่องเล่าจากประสบการณ์ ใช่มั๊ยค่ะ ...เดี๋ยวกลับไปพระพรหมแล้วจะเล่าประสบการณ์ที่ได้จาก 4 วันนี้ อีกที ส่วนของคุณพี่...ข้อความยังโดน...เหมือนเดิมนะคะ

ครูราญเมืองคอน

               เข้ามาอ่านและแนะนำผู้เข้ารับการอบรมอ่านด้วยแล้วครับ....ขอบคุณครับ

ยินดีที่รู้จักครับครูราญ

ความจริงเคยเข้าอ่านบันทึกของครูราญนานแล้ว เรื่องจตุคาม ที่ครูราญพูดถึงเรื่องพุทธพานิชตั้งแต่ช่วงจตุคามฟีเวอร์โน่น ตอนนี้เป็นจริงเหมือนครูราญว่าเลย

สวัสดีค่ะครูราญ  จตุคามเมืองคอนเร็ตติ้งยังแรงมั๊ยคะ

สวัสดีครับ...อาจารย์นงลักษณ์

  • ผู้น้อย ขอขอบพระคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยม
  • ช่วงน้กระแสลดลงมากแล้วครับ... หากเปรียบกับคลื่นในทะเล ตอนนี้ เรียกว่า มีเล็กน้อยครับ...
  • โอกาสหน้าเชิญใหม่นะครับ...
  • ขออภัยที่ตอบช้าพอดีไปราชการยินดีครับที่ครูราญเข้ามาเยี่ยม 
  • การเทียบโอนที่ท่านอาจารย์พูดถึงตอนท้ายหมายถึงเทียบระดับหรือเปล่าครับ... ตอบ(ไม่ใช่ครับ)
  • ทำไม กศน. เราถึงไม่ทำเครื่องมือเทียบความรู้ที่จะลงไปเทียบกับชาวบ้านซึ่งมีความรู้ฝังลึกอยู่มากมายเลยครับ...ผมว่าหากมีเครื่องมือนี้เป้าหมายการยกระดับการศึกษา 9.5 ปี ต้องถึงเร็วแน่ๆครับ...ตอบ( ที่จริงมีแนวทางให้ทำได้ครับแต่ผู้บริหารไม่ได้คิดจะทำจริง และครูไม่ได้อ่านคู่มือ  ซึ่งในศูนย์เขตของกทม.๑-๔ ทำบางเขตหากจำไม่ผิดงาน ๘ กันยาปีที่แล้วนำมาแสดงนิทรรศการวิชาการที่เมืองทองหากจำไม่ผิดกทม๒หากถามกองพัฒน์สำนักจะทราบ)
  • คนที่รู้เพื่อที่จะเทียบให้จบ ประถม  ม.ต้น         ม.ปลาย  กับคนที่รู้และสามารถใช้ความรู้     เลี้ยงชีวิต ครอบครัว ชุมชน สังคม  ท่านอาจารย์ว่า คนใหน ที่  กศน. น่าจะเทียบระดับการศึกษาให้กว่ากันครับ.ตอบ.(.หลักสำคัญของการเทียบระดับคือมีอาชีพที่มั่นคงแต่ทราบมาแว่วปีหน้า เทอมพ.ค.จะมีแผนการเรียนคล้ายแผน กขค คล้ายหลักสูตรเก่าให้บริการผู้เรียนเพิ่มความยุ่งให้ครูราญอีก)
  • สวัสดีครับ...อาจารย์กัญจโชติ

    • ขอบพระคุณมากๆ ครับสำหรับความกระจ่าง หากเป็นภาษาปักษ์ใต้เรียกว่า ตาแจ้ง เลยครับ...
    • ถึงจะเปลี่ยนรูปแบบอย่างไร...ก็หลีกไม้พ้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วเมื่อใหร่...จะได้เห็นการศึกษาประชาชน...ครับ
    • ผมทำใจไว้แล้วครับ...และก็เคยคิดว่าสิ่งที่ดีๆ ที่เราเคยทิ้งไป จะถูกเก็บกลับมาใช้ใหม่  บางอย่างเราทิ้งไปอย่างไม่มีเยื่อใยไมตรี...แต่หากมองให้ดีก็ยังใช้แนวทางของมันมาเดินกิจกรรมอยู่ เช่น หลักสูตรการเรียน  ปอ. ครับ...
    ตามมาบอกว่าช่วยไปปลอบขวัญน้องเล็ก นักเรียนโรงเรียนคุณอำนวยเมืองคอน ที่นี่ นาทีชิวิต.... เกือบต้องตายข้างถนน
    • ได้ติดตามอ่านไปถึง blog ของ "สิงห์ป่าสัก" แล้ว ขอบคุณครูราญมากคะ สำหรับข้อมูลดี ๆ ไม่ต้องเสียเวลา search  เห็นด้วยกับครูราญกับการเริ่มต้นงานเขียนต้องเริ่มที่ใจอยากเขียน แม้บางครั้งมีข้อมูลมากมายที่ไปพบเจอมา  แต่หากไม่มีใจอยากเขียนทำให้บางครั้งงานเขียน(ที่เป็นเสมือนหน้าที่ที่ต้องทำ) ไม่มีความพลิ้วไหว ความลื่นไหลของตัวหนังสือ การถ่ายทอดนั้นก็ไม่ชวนติดตาม ไม่สามารถสื่อข้อมูลถึงผู้รับจริง ๆ
    • แวะมาเยี่ยมเยียนในฐานะเพื่อนนักเรียนคุณอำนวยคะ (ยังไม่ลืมฐานะเดิม)

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท