อีก 10 เหตุผลที่น่าเลิกบุหรี่


พวกเราคงจะทราบพิษภัยของบุหรี่กันดีไม่มากก็น้อย วันนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับบุหรี่มาฝากพวกเราที่คิดจะเลิกบุหรี่กันครับ...

พวกเราคงจะทราบพิษภัยของบุหรี่กันดีไม่มากก็น้อย วันนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับบุหรี่มาฝากพวกเราที่คิดจะเลิกบุหรี่กันครับ...

ท่านอาจารย์ชาร์ลีน ไลโน แห่งเว็บไซต์การแพทย์ WebMD ทบทวนการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ และรวบรวมเป็นเหตุผลที่ควรเลิกบุหรี่ 10 ข้อมาฝากดังต่อไปนี้...

(1). สูบบุหรี่ > เสี่ยงสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

อาจารย์นายแพทย์ เอ. โอทท์ ผู้เชี่ยวชาญจุลชีววิทยา แห่งศูนย์การแพทย์อีราสมุส เนเธอร์แลนด์ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุเกิน 65 ปี มากกว่า 9,200 คน

ผลการศึกษาพบว่า คนที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อสมองเสื่อม (mental decline) จากโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็น 5 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่

(2). สูบบุหรี่ > เสี่ยงโรคภูมิแพ้ทำลายตัวเอง

SLE (systemic lupus erythematosus) เป็นโรคภูมิแพ้ทำลายตัวเองที่ทำลายอวัยวะต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ ข้ออักเสบ ไตอักเสบ ฯลฯ ซึ่งส่วนหนึ่งมักจะลงท้ายด้วยภาวะไตวาย

นักวิจัยจากวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ดทำการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค SLE

(3). สูบบุหรี่ > เสี่ยงทารกตายเฉียบพลัน

การศึกษากลุ่มอาการเด็กทารกตายเฉียบพลัน (SIDS / sudden infant death syndrome) 745 ราย เทียบกับเด็กที่ไม่มีอาการ ตีพิมพ์ในวารสาร Lancet พบว่า <ul> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> แม่ที่สูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงกลุ่มอาการเด็กทารกตายเฉียบพลัน 2 เท่า </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> ถ้าแม่สูบบุหรี่ด้วย และนอนเตียงเดียวกับลูกด้วย > ความเสี่ยงจะเพิ่มเป็น 17 เท่า </li> </ul> <p style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 12pt 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>

(4). สูบบุหรี่ > ลูกเสี่ยงปวดท้อง

พ่อแม่ที่สูบบุหรี่มีส่วนทำให้ระดับฮอร์โมนโมทิลิน (motilin) ในลำไส้และในเลือดของเด็กทารกเพิ่มขึ้น ทำให้ลูกเสี่ยงปวดท้องจากลำไส้หดเกร็ง (cramp) ในช่วงสัปดาห์ที่ 5 จนถึงเดือนที่ 4 เพิ่มขึ้น

(5). สูบบุหรี่ > เสี่ยงอวัยวะเพศไม่แข็งตัว

การศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ชายจีนเกือบ 5,000 คนพบว่า คนที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อภาวะอวัยวะเพศไม่แข็งตัว (impotence / นกเขาไม่ขัน) เพิ่มขึ้น 60%

การศึกษาอีกรายงานหนึ่งพบว่า ผู้ชายที่ไม่สูบบุหรี่มีโอกาสเกิดภาวะอวัยวะเพศไม่แข็งตัวในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต 12% ถ้าสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงเป็น 15%

(6). สูบบุหรี่ > เสี่ยงตาบอด

อาจารย์นายแพทย์ไซมอน พี. เคลลี จักษุแพทย์ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 12,470 คน ตีพิมพ์ในวารสาร BMJ (March 4, 2004)

ผลการศึกษาพบว่า โรค ARMD (age-related macular degeneration) หรือจอรับภาพส่วนกลางเสื่อมสภาพในคนสูงอายุมากกว่า 1 ใน 4 เป็นผลจากการสูบบุหรี่

(7). สูบบุหรี่ > เสี่ยงข้ออักเสบ

การสูบบุหรี่มีส่วนทำให้คนบางคนเสี่ยงต่อโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis / RA) เพิ่มขึ้นได้ในช่วง 2.4-16 เท่า

  • ความเสี่ยงนี้เพิ่มขึ้นเป็น 2.4 เท่าถ้าไม่มียีนส์ SE (shared epitope)
  • 7.5 เท่าถ้ามียีนส์ SE 1 ตำแหน่ง
  • และ 16 เท่าถ้ามียีนส์ SE 2 ตำแหน่ง

(8). สูบบุหรี่ > เสี่ยงกรน

การศึกษากลุ่มตัวอย่างคุณครูในสหรัฐอเมริกามากกว่า 15,000 คนพบว่า การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อการกรนประเภท น่ารำคาญ (habitual snoring)” หรือการกรนที่ดังรบกวนคนข้างๆ ตั้งแต่ 3 คืนต่อสัปดาห์ขึ้นไปดังต่อไปนี้

  • ถ้าไม่สูบบุหรี่มีโอกาสกรนแบบน่ารำคาญ 14%
  • ถ้าสูบบุหรี่มาก่อน ปัจจุบันเลิกสูบแล้ว มีโอกาสกรนแบบน่ารำคาญ 20%
  • ถ้าสูบบุหรี่เป็นประจำจนปัจจุบัน มีโอกาสกรนแบบน่ารำคาญ 24%

คนที่ไม่สูบบุหรี่ ถ้านอนร่วมกับคนสูบบุหรี่ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการนอนกรนเช่นกัน สถิติท่านว่า คนที่ไม่นอนร่วมกับคนสูบบุหรี่มีโอกาสกรนแบบน่ารำคาญ 13% ส่วนคนที่นอนร่วมกับคนสูบบุหรี่มีโอกาสกรนแบบน่ารำคาญ 20%

(9). สูบบุหรี่ > เสี่ยงกลุ่มอาการอาหารขย้อน

กลุ่มอาการอาหารขย้อนจากกระเพาะอาหารขึ้นสู่หลอดอาหาร (GERD / gastroesophageal reflux disease) มักจะทำให้เกิดอาการแสบร้อนในอก (heartburn) เนื่องจากกรดไปทำให้หลอดอาหารอักเสบ

นอกจากนั้นกลุ่มอาการอาหารขย้อนอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้องเรื้อรัง หรือฟันสึกได้(ถ้ากรดขย้อนขึ้นมาถึงช่องปาก)

การศึกษาในนอร์เวย์ เปรียบเทียบกลุ่มที่มีอาการแสบร้อนในอกมากกว่า 3,100 คน เทียบกับกลุ่มที่ไม่มีอาการแสบร้อนในอก 40,000 คนพบว่าการสูบบุหรี่นานกว่า 20 ปีเพิ่มความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการอาหารขย้อน 70%

(10). สูบบุหรี่ > เสี่ยงมะเร็ง

การศึกษากลุ่มตัวอย่างคุณครูรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา (California teacher study) 116,544 คน

ผลการศึกษาพบว่า คุณครูที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 30%ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นมากถ้า...

  • สูบก่อนอายุ 20 ปี
  • สูบมากตั้งแต่วันละ 20 มวนขึ้นไป
  • สูบนานอย่างน้อย 5 ปีก่อนมีลูกครบกำหนดคนแรก

 

การศึกษาอื่นๆ พบว่า การสูบบุหรี่มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ และเพิ่มความเสี่ยงโรคซึมเศร้าในคนที่อายุน้อย

ถึงตรงนี้... ขอเรียนเชิญพวกเราหันมางด-ลด-ละ-เลิกบุหรี่กัน เพื่อสุขภาพจะได้ดีไปนานๆ ครับ

<p>ข่าวประกาศ...                                                  </p>

ข่าวประกาศ...                                                  

  • เรียนเชิญท่านแสดงความคิดเห็นผ่านบันทึกฉบับล่าสุดครับ...
  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" มีนโยบายที่จะไม่ตอบปัญหาสุขภาพ เนื่องจากผู้เขียนมีงานมาก อินเตอร์เน็ตลำปางช้า+หลุดบ่อย และใช้เวลาเตรียมเขียนเรื่องใหม่+แก้ไขคำหลัก (keywords) ย้อนหลัง

ขอแนะนำ...                                                    

    แหล่งที่มา:                                      

  •  Many thanks to WebMD > Charlene Laino > 10 overlooked reasons to quit smoking > [ Click ] > September 21, 2006.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สำหรับการเอื้อเฟื้อทุกสิ่งทุกอย่างในการประชุม km เชียงใหม่ > 13-15 สิงหาคม 2550.
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ และทีม IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 22 สิงหาคม 2550.

</span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></font></span></span></span></span></span>

หมายเลขบันทึก: 121349เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2007 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท