ชีวิตที่พอเพียง : (345) สุขสันต์ ยามท่องเน็ต เข้าชื่นชมระบบนิเวศ Gotoknow


         วันที่ 27 ก.ค. 50 คุณหมอสุวิทย์ หัวหน้าทีมทำงานจัดการประชุม PMAC (Prince Mahidol Award Conference) สั่งให้ผมไปร่วมประชุมที่ศิริราช    เพื่อรับฟังการนำเสนอของโรงแรม 3 โรงที่คณะทำงาน คัดเลือกเบื้องต้น     สำหรับเป็นโรงแรมที่ PMAC ใช้หมุนเวียนเป็นสถานที่ประชุม

         ผมถือว่างานนี้ผมไปทำหน้าที่สักขีพยาน     ไม่ได้ทำหน้าที่หลัก  ไม่ต้องใช้สมองเต็มสมอง      ผมจึงอนุญาตให้ตัวเองใช้สมองแค่ 1/3 ต่อกิจกรรมนำเสนอโดยผู้จัดการฝ่ายขายทั้งหลาย      ฝึก multitasking ใช้สมองอีก 2/3 เข้าอินเทอร์เน็ต      เข้าไปทัวร์หาความสำราญใน Gotoknow   

         เริ่มด้วยการค้นด้วย keyword R2R โดยใช้ URL ดังนี้    http://gotoknow.org/post/tag/r2r      ผมก็ได้ชื่นใจว่าคุณฝนแห่งสำนัก

         งาน R2R ศิริราช เริ่มเข้ามาเขียน บล็อก แล้ว ตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว อ่านได้ที่ http://gotoknow.org/blog/maewmee-km/112490      ผมว่าคุณน้ำฝนเน่าจะขียนเล่าความมคืบหน้าของกิจกรรม R2R ศิริราช สักเดือนละ 2 ครั้ง      หรือ link มาจาก http://www.si.mahidol.ac.th/r2r/  ก็ได้    

         แค่เข้าไปเยี่ยมชื่นชม R2R สมองของผมก็หลั่งเอ็นดอร์ฟินออกมามากมาย      เพราะผมได้เห็นความงดงามของ “ป่า R2R ไทย”    

         ผมได้เห็น R2R ศิริราช  สำนักงาน สสจ. ตาก  รพ. ยโสธร    มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาควิชาพยาธิ มอ.  สถาบันบำราศฯ  ปปช.  วิสัญญีพยาบาล มข. ฯลฯ     นี่ถ้ามีเวลาเข้าไปอ่านรายละเอียดของแต่ละบันทึก     เราน่าจะคิดทำงาน “ช่างเชื่อม” (connector) ให้แก่ R2R ไทยได้อีกมากมาย     ผมเห็นโอกาสทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองของเรามากมาย    

         ลองค้นด้วย http://gotoknow.org/post/tag/kmr      ผมก็ได้พบ ดร. แสวง อาจารย์นอกคอก (ขัง) แห่ง มข.   อ. เม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ขาประจำจากเยอรมัน    และคนอื่นๆ อีกมากมาย     ทำให้ผมนึกถึงกิจกรรมด้านการวิจัยที่จะช่วยเอื้อให้ KM ประเทศไทยมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น    ผมมองว่ากิจกรรมวิจัยด้าน KM ของไทยน่าจะมีการตั้งโจทย์ที่ทะมัดทะแมงกว่านี้     มีการตั้งโจทย์โดยเข้าใจธรรมชาติของ KM มากกว่าที่เป็นอยู่     เป็นโจทย์ที่ไม่แยกส่วน    เป็นโจทย์ระดับ how และ why     มีอำนาจอธิบายสูง

         ผมอยากเห็นนักมานุษยวิทยาเข้ามาทำวิจัย ทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในวง KM     ว่าทำไมกระบวนการนี้มันเปลี่ยนวิธีคิดของคนได้     ทำไมมันเปลี่ยนบุคลิกของคน     ทำไมมันเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างคน

         ถาม why แล้วถาม how ต่อ     ว่าจะเอาความรู้ความเข้าใจจากย่อหน้าบน เอามาใช้ในการนำ KM เป็นเครื่องมือพัฒนาสังคมของเราอย่างไร

         การท่องเที่ยวของผมเป็นอย่างนี้    เป็นทัวร์เก็บเกี่ยวคำถามในชีวิต     เก็บคำถามไว้ “ย่อย” หรือบางทีผมเรียกว่า “เคี้ยวเอื้อง” ต่อ    เป็นการ “เคี้ยวเอื้อง” ทางปัญญา      ผมบอกตัวเองว่าผมเป็นคนสมองช้า     ต้องการใช้เวลาย่อยนาน     แต่ผมก็โชคดี ที่เลือก “บริโภค” อาหารแห่งปัญญาเป็น     ไม่กินอาหาร “แดกด่วน” ทางปัญญา

วิจารณ์ พานิช
27 ก.ค. 50
ระหว่างนั่งรถไปประชุมต่อที่สภาพัฒน์  

หมายเลขบันทึก: 121282เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2007 13:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์คะ...ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น...เหมือนกำลังก่อร่าง..เป็นภาพที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น... ด้วยความโชคดีว่า...มี GotoKnow เสมือนเป็นตะแกรงร่อน...และเป็นเข็มทิศนำไปสู่...จิ๊กซอร์...ที่สำคัญ...ได้...

...

กะปุ๋มเชื่ออย่างหนึ่งว่า...การไม่ตระกละตระกลาม...ค่อยๆ ละเมียด..ละไม...ไป...จะทำให้..ได้พบ..ความชัดเจน...และความจริง...ของ KM... ได้ถูกต้อง ชัดเจน และใกล้ความจริงมากขึ้น...เชื่ออย่างนั้นนะคะ..

ขอบคุณค่ะ

(^____^)

กะปุ๋ม

     อยากให้ท่านอาจารย์ไปดูที่นี่ด้วยครับ ..
มาช่วยผมกันหน่อยครับ .. อยากเห็นมหัศจรรย์แห่งกุศลกรรม !
     ลงแขกกันได้ไม่แพ้สมัยที่ผมยังเป็นเด็กอยู่ท่ามกลางทุ่งนา ป่าเขาที่แสนอุดมสมบูรณ์ครับ
     Social Software ที่ชื่อ Blog ช่วยเสริมสร้างสิ่งดีที่ขาดหายไปจากสังคมได้จริงๆครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท