ผมอยากให้ “การจัดการความรู้” ประสบผลสำเร็จ


ไม่มีใครหรอกที่จะทำงานเพียงคนเดียวแล้วประสบผลสำเร็จ คุณไม่ใช่ทศกัณฑ์ ที่มี 10 หน้า 20 แขน 20 มือ หรือเป็นผู้วิเศษที่จะทำอะไรก็ได้แล้วประสบผลสำเร็จ
ผมอยากให้ การจัดการความรู้ ประสบผลสำเร็จ           ในขั้นตอนของกระบวนการ การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) เชื่อแน่เหลือ เกินว่า ไม่มีใครหรอกที่จะทำงานเพียงคนเดียวแล้วประสบผลสำเร็จ คุณไม่ใช่ทศกัณฑ์ ที่มี 10 หน้า 20 แขน 20 มือ หรือเป็นผู้วิเศษที่จะทำอะไรก็ได้แล้วประสบผลสำเร็จ ผมขอสะท้อนความคิดบางส่วนที่คิดว่าน่าจะทำให้การจัดการความรู้ของเราประสบผลสำเร็จได้ โดยเราจะต้องยอมรับและพร้อมที่จะปรับรูปแบบจากการทำงานเดิมที่มีการทำงานแบบ ทีมคนเดียว เป็นการทำงานที่เป็น ทีมงาน ที่มีความเป็นสากลโดยมีบุคลากรหลากหลายระดับ (หรืออาชีพ/ความสามารถ) ที่มีความคุ้นเคย มีความเข้าใจ ให้เกียรติกัน ฯลฯ เข้าร่วมเป็นทีมงาน  ซึ่งในจัดการความรู้ จะเป็นการพัฒนา ค้นหา และรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่มากมายจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั้งในส่วนที่เป็น กิจกรรม เทคโนโลยี ภูมิปัญญาชาวบ้าน บุคคล/ปราชญ์ชาวบ้าน หรือ หนังสือ/เอกสาร ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ต่างๆที่น่าสนใจ เพื่อนำมารวบรวม จัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management: KM) ให้เป็นหมวดหมู่ง่าย สะดวกแก่การสืบค้น และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน โดยการจัดเก็บองค์ความรู้ที่ได้มาเก็บใน คลังความรู้ (KA: Knowledge Assets) ในรูปแบบต่างๆพร้อมที่จะนำมาใช้แบ่งปัน เผยแพร่องค์ความรู้ ในแต่ละประเด็นให้แก่ผู้ที่สนใจและใฝ่รู้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ประการสำคัญในการที่จะทำให้การจัดการความรู้ของบุคลากรในองค์กรประสบผลสำเร็จ ก็คือ ผู้บริหารขององค์กรซึ่งอยู่ในฐานะของ คุณเอื้อ (CKO: Chief Knowledge Officer) จะต้องให้ความสำคัญและสนับสนุนให้บุคลากรในองค์กร มีการจัดการองค์ความรู้อย่างแท้จริงในทุกประเด็นที่เป็นประโยชน์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงเป็นผู้ที่จะแนวกำหนดแนวนโยบายในการจัดการความรู้ กระตุ้น เร่งเร้า และสนับสนุนให้บุคคลากรทุกระดับขององค์กร ได้ทำหน้าที่เป็น นักจัดการความรู้ ที่ดีต่อไป ในส่วนของ คุณเอื้อ มีประเด็นที่น่าสนใจที่ คุณเอื้อ จะต้องรับรู้ รับทราบ (รวมทั้งปฏิบัติ..ถ้าทำได้) เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการจัดการความรู้ขององค์กร ก็คือ          1. ภาวะผู้นำและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม                    - ผู้บริหาร หรือ CKO ในทุกระดับ จะต้องแสดงท่าทีอย่างชัดเจนที่จะต้องแสดงให้เห็นถึงความ สำคัญของการจัดทำ KM ของบุคลากรในองค์กร (ส่วนใหญ่แล้ว..คุณเอื้อ..ทุกระดับ..มักจะตกหลุมดำ..?)                   - ผู้บริหาร จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการทำ KM                   - ผู้บริหาร จะต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในการทำงานขององค์กรให้เอื้อต่อการทำ KM โดยเน้นการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมขององค์กร                    - การจัดกลุ่มหรือทีมงานการจัดการความรู้ ควรคัดเลือกบุคคลากรที่มีความคุ้นเคยกัน มีความรู้ ความสามารถที่สามารถช่วยเหลือกันได้ โดยเน้น การเลือกคนให้เหมาะกับงาน  2. การสร้างกระบวนการและเครื่องมือ                   - นำความรู้ที่มีอยู่ และหรือความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ อย่างเป็นระบบ ทั้งในรูปของ Hardware และ Software ให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย และจะต้องมีการถ่ายทอดไปสู่ผู้เกี่ยวข้องได้ด้วย                   - จัดให้มีเวทีการเรียนรู้ในบรรยากาศที่เป็นกันเอง มีการจดบันทึกและถอดองค์ความรู้จากชาวบ้าน (โดยคุณลิขิต) ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับชาวบ้าน หรือจากการสืบค้น เป็นต้น                   - จัดให้มี คุณลิขิตทำหน้าที่เป็นผู้จดบันทึกรายละเอียดขั้นตอนขององค์ความรู้ที่ได้จากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาร่วมกันสังเคราะห์และจัดรูปเก็บองค์ความรู้ที่ได้ในรูปแบบที่เหมาะสมและง่ายต่อการเข้าถึง และนำไปใช้ จากการสืบค้นในแต่ละเวทีนำมาพัฒนาและสรุปให้เป็นเรื่องเดียวกัน โดยใช้มติของที่ประชุมเพื่อลดความขัดแย้งที่พึ่งจะเกิดขึ้นภายหลัง                   - ควรเชิญผู้เชี่ยวชาญ/ผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่เป็นที่ยอมรับในเรื่อง/ประเด็นที่มีสืบค้นมาแลกเปลี่ยนให้ความรู้ด้วย           3. การสื่อสาร                   - สนับสนุนให้มีการ ทำงานเป็นทีม ที่มีการทำงานอย่างโปร่งใส เปิดใจ และจะต้องแสดงออกให้รู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน แค่มองตา ก็รู้ใจ อย่าคิดว่าใครเก่งกว่ากัน และต้องมองให้เห็นความสำคัญของกันและกัน                    - ควรชักชวนให้ผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสีย รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสืบค้น การจัดการความรู้ในประเด็นนั้นๆมาเป็น ทีมงาน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน และนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติหรือขยายผลต่อไป          4. การยกย่อง ชมเชย หรือการให้รางวัล                   - จัดให้มีการประกวด แข่งขัน ในระดับอำเภอ/ตำบล เพื่อกระตุ้นเร่งเร้าให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการองค์ความรู้ และเกิดความภาคภูมิใจขององค์กร                   - ยกย่องชมเชย และดูแลผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอ                   - ให้รางวัลแก่ทีมงานได้ศึกษา ดูงาน ทั้งในและต่างๆประเทศ             ประเด็นที่ผมได้สะท้อนให้ทุกท่านได้เห็นในมุมมองของผู้เกี่ยวข้องที่อยากให้เจ้าหน้าที่ขององค์กร/หน่วยงานได้มีการพัฒนาและจัดการองค์ความรู้สำเร็จในส่วนของ คุณเอื้อ หากมีท่านใดจะแสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์ ผมยินดีที่จะร่วมรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว โอกาสหน้าจะสะท้อนในมุมมองของผู้ปฏิบัติในพื้นที่ครับ..
หมายเลขบันทึก: 121257เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2007 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีครับพี่สมศักดิ์
  • ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท