เปลี่ยนแปลงโลกด้วยก้นครัว


บทความในความเปลี่ยนแปลงของโลก ในวิถีชีวิต โลก มนุษย์ และความหมายของการมีชีวิตอยู่ ในหนทางใหม่แห่งคำถามที่ไม่ทำร้ายทำลายโลก

เปลี่ยนแปลงโลก

ด้วยก้นครัว           <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กระเทียมไทยกลีบเล็กมีกลิ่นฉุน รสจัด เหมาะสำหรับอาหารไทยที่รสชาติจัดจ้าน แต่ปัจจุบันแม่ครัวส่วนใหญ่กลับเลือกที่จะอุดหนุน กระเทียมจีนที่เนื้อเยอะไม่ค่อยมีกลิ่น ไม่เหมาะที่จะนำมาปรุงอาหารประเภทรสจัดและต้องการกลิ่นเฉพาะอย่าง น้ำพริก หรือต้มยำ</p>  แต่ที่กระเทียมจีนเป็นที่นิยมมากกว่านั่นก็เพราะ ราคา<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ซึ่งถูกกว่ากระเทียมไทยเกือบเท่าตัว</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผลก็คือปัจจุบันพื้นที่ปลูกกระเทียมทางภาคเหนือของไทยลดลงกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับปี 2546 ก่อนที่ไทยจะทำข้อตกลงการค้าเสรีกับจีน นี่ยังไม่นับสินค้าเกษตรจากจีนประเภทอื่นๆที่ทยอยยึดแผงในตลาด</p>  การกินการอยู่ในยุคตลาดไร้พรมแดน แม้แต่เครื่องแกงของคู่ครัวที่เคยหยิบหาได้ง่ายจากสวนครัว <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ก็ยังต้องซื้อหาจากประเทศอื่น</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และเพื่อให้ประชากรจากซีกโลกหนึ่งที่มีอำนาจซื้อสูงได้มีสุขภาพดีและมีวิถีชีวิตทันสมัย ชาวคอสตาริกาจึงต้องสูญเสียพื้นที่ป่าฝนที่ได้ขึ้นชื่อว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพแห่งหนึ่งของโลกไปเพื่อปลูกกล้วยส่งออกไปยังแคนาดา ส่วนชาวอเมริกาใต้หลายประเทศต้องสูญเสียพื้นที่ทำกินสำหรับฟาร์มเลี้ยงวัวส่งออกให้ร้านฟาสต์ฟูดในอเมริกา</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ความต้องการบริโภคของประเทศที่มีอำนาจการซื้อสูงก่อผลร้ายให้กับประเทศด้อยกว่าในทุกๆด้าน แม้กระทั่งการกำจัดของเสียอันเกิดจากการบริโภค ประเทศที่รับกรรมก็คือประเทศที่ด้อยกว่า</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อย่างเช่นกรณีของญี่ปุ่น ที่มักจะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการบริโภค จนขยะล้นประเทศ  วิธีจัดการก็คือส่งมันไปกำจัดยังประเทศกำลังพัฒนา ด้วยการสอดแทรกผลประโยชน์ลงในข้อตกลงทางการค้า และไทยคือหนึ่งในเป้าหมายนั้น</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การบริโภคที่มากเกินความต้องการนำไปสู่ผลเสียทั้งต่อระดับบุคคล สังคม กระทั่งสิ่งแวดล้อม</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ประเทศที่ร่ำรวยกว่าอาจจะได้เปรียบในแง่การค้า แต่ลองดูปัญหาของประเทศที่ร่ำรวยอย่างอเมริกากลับตายด้วย โรคอ้วนมากเป็นอันดับ 1 ในปี 43 จากกลยุทธ์ทางการตลาดที่ กินให้มากเข้าไว้นั่นเอง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ด้านประเทศที่ด้อยกว่าถ้าไม่สูญเสียพื้นที่ทำกินก็จะสูญเสียพื้นที่ทางการตลาดให้กับประเทศ(รวมทั้งบรรษัทข้ามชาติ)ที่มีต้นทุนทางการผลิตที่ถูกกว่า</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แต่ไม่ว่าจะบริโภคในระดับไหนผลกระทบต่างตกอยู่กับสิ่งแวดล้อมทั้งนั้น แม้แต่ปัญหาโลกร้อนในปัจจุบันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดจาก วิถีการกินอยู่ของเรา ประเทศที่พัฒนาก็มีส่วนเร่งให้โลกร้อนขึ้นด้วยการบริโภค ให้มากกระทั่งขยะและมลพิษล้นเมือง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ลองดูประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 10 อันดับแรก จะพบว่า ล้วนแต่เป็นประเทศที่พัฒนา และมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงทั้งสิ้น ส่วนประเทศที่ด้อยพัฒนากลับเกิดจากการเผาป่าบุกเบิกพื้นที่ทางเกษตรเพื่อส่งออก โดยเฉพาะพื้นที่ป่าอาเมซอน ซึ่งมีรายงานว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาป่าแอมะซอนแต่ละปีสูงกว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาน้ำมันเชื้อเพลิงของชาวบราซิลถึง 4 เท่า</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ถ้าไม่เริ่มที่จะเปลี่ยนวิถีการกินอยู่ของเราตอนนี้ จินตนาการในหนัง Sci-Fi ที่เราดูเพื่อความสนุกสนานอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์มนุษยชาติก็ได้</p>     <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อาหารจากแผ่นดินแม่</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จากความวิตกในสิ่งที่กินเข้าไปจะส่งผลกระทบกลายเป็นห่วงโซ่ทางสังคมที่เริ่มต้นจากตัวเองและจบลงที่สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย จึงเกิดกลุ่ม/ขบวนการที่ออกมาเคลื่อนไหวให้มีการบริโภคอย่างรับผิดชอบมากขึ้น อย่างเช่น ในปี 2529 คาร์โล เปตรินิ่ นักข่าวคอลัมน์อาหารชาวอิตาลี่ ได้ตั้งกลุ่ม สโลว์ฟูดขึ้นเพื่อปกป้องอาหารท้องถิ่นที่ถูกอาหารจานด่วนรุกคืบยึดครองตลาดมากขึ้นทุกที   แนวคิดของกลุ่มก็คืออาหารที่กินจะต้องมาจากกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม  ราคาเป็นธรรมทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค และทุกคนต่างเป็น ผู้ผลิตร่วม</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ส่วนเมืองไทยก็มีเครือข่าย CSA (Community Supported Agriculture)</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หรือ ระบบเกษตรแบบพึ่งพาอาศัยกันเป็นระบบเกษตรอินทรีย์ที่เน้นความสัมพันธ์ของผู้ผลิตกับผู้บริโภค และใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคได้รู้ที่มาของแหล่งอาหาร และได้รู้และเข้าใจในขั้นตอนการผลิตของผู้ผลิต ส่วนผู้ผลิตก็ได้เห็นหน้าค่าตาของคนซื้อ ขณะนี้มีสมาชิกประมาณ 45 ครัวเรือน</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายเกษตรอินทรีย์อื่นๆที่ต้องการจะรักษาความหลากหลายในการผลิตอาหารและเมล็ดพันธ์ โดยทำลายสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด แม้กลุ่มเหล่านี้จะยังเป็นที่รู้จักแค่ในกลุ่มสมาชิก ด้วยข้อจำกัดในเรื่องช่องทางการจำหน่ายที่ยังไม่สามารถกระจายสินค้าในวงกว้างได้ และโดยเงื่อนไขตลาดใหญ่ๆอย่างเช่นซุปเปอร์มาร์คเก็ต ก็มีเงื่อนไขการชำระเงินไม่สอดคล้องกับวิถีการผลิตของเกษตรกร และด้านผู้ผลิตก็ยังจำกัดในวงแคบ แต่แนวโน้มในอนาคต ด้วยความตระหนักของผู้บริโภคในเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแนวคิดนี้ก็อาจจะขยายกว้างขึ้นทั้งด้านผู้ผลิตเองและฝั่งผู้บริโภค</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กิน - ให้โลกปลอดภัย</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ถ้าเราไม่สามารถปลูกผักไว้กินเองได้ ก็ให้เลือกอาหารตามฤดูกาล นอกจากจะไม่ต้องใช้สารเคมีเพื่อเร่งการเติบโตและการจำกัดแมลงอันเป็นบ่อเกิดของการทำลายสิ่งแวดล้อมแล้ว การกินอาหารตามฤดูกาลยังดีต่อธาตุในร่างกาย สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือควรเป็นอาหารจากท้องถิ่น เพื่อที่จะได้อุดหนุนสินค้าจากชุมชน</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เป็นการส่งเสริมรายได้คนในชุมชน ช่วยลดการใช้พลังงานอีกทางหนึ่ง เพราะไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าขนส่ง การบรรจุหีบห่อ และการจัดเก็บ แต่ถ้าจำเป็นที่ต้องบริโภคสินค้าจากที่อื่น ก็มีผู้แนะนำให้เลือกสินค้าที่ระบุว่า แฟร์เทรดเพราะนอกจากจะเชื่อใจได้ในแหล่งที่มาของอาหารแล้ว ยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมด้วย</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แค่เริ่มต้นเปลี่ยนโลกง่ายๆจากอาหารที่ปรุงจากครัว แค่นี้โลกก็สงบสุขโดยไม่ต้องรอคำอธิษฐาน</p>     <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เอกสารประกอบการเขียน</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วงเสวนา สถานีผักอินทรีย์4 ส.ค. 50 ร้านศึกษิตสยาม</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สารคดี ปีที่ 23 ฉบับที่ 265 มีนาคม 2550</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วารสาร we care ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (ก.ค.-ส.ค.50)</p> เดวิด ซี คอร์เตน.เมื่อบรษัทครองโลก.กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก, 2542 <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กินต้านโลกาภิวัตน์ โดยอัจฉรา รักยุติธรรม  เวบไซท์  www.localtalk2004.com</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ต้านวัฒนธรรมฟาสฟู้ด ด้วยความหลากหลายทางอาหาร โดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล เวบไซท์  www.localtalk2004.com</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การเมืองเรื่องอาหาร ความขาดแคลนบนความล้นเกินโดย สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ www.localtalk2004.com</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อ้างอิงจาก</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">บทความ - เปลี่ยนโลกจากก้นครัว</p> http://www.tonkla.org/th/index.php?option=com_mamboezine&Itemid=56

หมายเลขบันทึก: 121187เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2007 07:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เป็นสาระที่ดีมาก เหมือนได้อ่านวารสารวิชาการพวกสิ่งแวดล้อม แต่ที่นี่น่าตื่นตาตื่นใจกว่า
  • ขอบคุรสำหรับสาระดีดี ขอนำไปเผยแพร่ต่อนะครับ ขอบคุณครับ

 

  • สวัสดีครับ คุณ
    P
  • ขอบคุณมากครับ
  • สำหรับเรื่องราวและความรู้สึกจากการได้อ่าน
  • ยินดีครับ สำหรับการเผยแพร่
  • ถือเป็นข้อมูลเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับการเยี่ยมเยือน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท