ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475


งานศึกษาวิจัย ของ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ต่อภูมิรู้ ภูมิปัญญา และภูมิธรรม ของคณะผู้ก่อการ 2475 เพื่อทบทวนมุมมองต่อความเปลี่ยนแปลงของปัญญาชนสยาม

แนะนำหนังสือ

    

ความคิด ความรู้

และอำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475 

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์

ผู้เขียน 

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน

พิมพ์ครั้งที่ 2

กรกฎาคม 2546 

คติ มุธุขันธ์ : แนะนำ  

หนังสือซึ่งนำเราไปเรียนรู้ 

ดินแดนแห่งภูมิรู้และองค์ความคิด 

นำพาปัญญาผ่านห้วงคำนึงของคณะผู้ก่อการ 

ด้วยความมุ่งมั่นแห่งการปฏิวัติสยาม 2475

  

หัวใจแห่งองค์ความรู้

 หัวใจแห่งคณะผู้ก่อการ  เหตุแห่งการปฏิวัติสยาม 2475   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>

คำนำสำนักพิมพ์

ไพร่เป็นพื้นยืนเย็นประเด็นชอบ 

ตามระบบปาลิเมนต์ประเด็นขำ 

แม้นนิ่งช้าล้าหลังมิยังทำ 

จะตกต่ำน้อยหน้าเวลาสาย

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บทกวีข้างต้น เทียนวรรณ หรือ ต.ว.ส. วัณณาโภ ได้รจนาขึ้นในปี 2448 ในยุคสมัยที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ยังเป็นสุดเขตแดนของจินตนาการรูปแบบการปกครองที่เป็นไปได้ของชนชั้นนำสยาม ในขณะนั้น แน่นอนที่สุดผู้ที่บังอาจคิดถึงรูปแบบการปกครองที่ดีกว่า ถ้าหากไม่ถูกทำให้กลายเป็น คนบ้าในสายตาของผู้ปกครองก็จะถูกโซ่ตรวนมาพันธนาการ</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">โชคร้ายเป็นของเทียนวรรณที่ท่านได้รับโทษทัณฑ์ ทั้ง 2 ประการ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แต่ก็ใช่ว่าความพยายามของเทียนวรรณจะไร้ค่าก็หาไม่</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ในบั้นปลายของชีวิตภายหลังจากพ้นโทษ เทียนวรรณขณะนั้นอายุเกือบจะ 70 ปีแล้ว ได้สนทนาวิสาสะกับเด็กมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยคนหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้านั้นได้รับการบอกเล่าจากครูประจำชั้นในการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศจีน จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นการปกครองแบบสาธารณรัฐ ในปี 2454 โดยมี ดร.ซุนยัดเซ็น เป็นหัวหน้า</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เด็กเรียนมัธยมผู้นี้แต่มีความประทับใจในข้อเขียนของเทียนวรรณ เขาได้เดินทางไปหาเทียนวรรณ ที่อาศัยอยู่ที่ตึกแถวบริเวณวัดบวรนิเวศ</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บทสนทนาระหว่างคนต่างรุ่นที่สนในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นอย่างไรบ้าง ยังเป็นปริศนามาจนถึงปัจจุบัน</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">16 ปี หลังจากนั้น</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง ฟ้าได้ผ่าเปรี้ยงลงกลางพระนคร เมื่อ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ได้อ่านคำประกาศของคณะราษฎร ประณามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างรุนแรง พร้อมทั้งเสนอรูปแบบการปกครองใหม่ที่ให้กษัตริย์ อยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดินและให้มีสภาที่จะเป็นที่ปรึกษาหารือกัน</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">โดยผู้เขียนคำประกาศคณะราษฎร ฉบับดังกล่าว คือคนเดียวกันกับเด็กมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยคนนั้น ซึ่งก็คือ นายปรีดี พนมยงค์</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บ่ายโมงเศษของวันเดียวกัน ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ที่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ใช้เป็นกองบัญชาการ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ได้กล่าวต่อร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ หัวหน้า คณะพรรค ร.ศ.130</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">กระแสความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์ที่หลอมรวมมาเป็น เหตุการณ์ 24 มิถุนานั้นได้ชี้ให้เห็นเป็นตัวอย่างดีว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมิได้เป็นเพียงละครการเมืองที่เริ่มและจบภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงของเช้าวันนั้น หากแต่เหตุการณ์ 24 มิถุนาเป็นความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งกระบวนการ</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แต่อย่างที่รับรู้กันในปัจจุบันว่า ความรับรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ 24 มิถุนา เป็นไปอย่างหลากหลาย ซึ่งในความหลากหลายนั้นมี อำนาจการเมืองในแต่ละยุคสมัยเป็นโครงครอบ</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ดังนั้น การที่จะทำความเข้าใจ ความคิดที่นำไปสู่เหตุการณ์ 24 มิถุนาจนเป็นความรู้ที่สั่งสมมาในปัจจุบันนั้น ต้องเข้าใจด้วยว่ามีอำนาจการเมืองใดบ้างมากำหนด</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">การจัดพิมพ์ ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475 ซึ่งเป็นการรวบรวมงานเขียน ของ รศ. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์ 24 มิถุนาในแง่มุมต่างๆ ในระหว่าง พ.ศ.25252533 ขึ้นใหม่หลังจากที่สถาบันสยามศึกษา สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้จัดพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2533 นั้น สำหรับการพิมพ์ในครั้งนี้ ทาง รศ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และสำนักพิมพ์ ฟ้าเดียวกัน ได้ปรับปรุงและแก้ไขข้อผิดพลาดบางส่วนจากการจัดพิมพ์ในครั้งแรก นอกจากนี้ยังได้ทำ บทสัมภาษณ์ เรื่องเหตุแห่งการปฏิวัติสยาม 2475 ของ รศ.นครินทร์ มาเป็นภาคผนวกของหนังสือเล่มนี้ พร้อมกับทำดรรชนีและบรรณานุกรมรวมด้วย</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สำหรับมูลเหตุของการจัดพิมพ์ ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475 เป็นครั้งที่ 2 เนื่องจากสำนักพิมพ์ ฟ้าเดียวกัน เห็นว่างานของ รศ.นครินทร์ ในชิ้นนี้มิได้เป็นเพียงหนังสือรวมบทความเท่านั้น หากแต่งานชิ้นนี้เป็นการนำเสนอการศึกษา เหตุการณ์ 24 มิถุนายนโดยมีจุดมุ่งหมาย และวิธีการศึกษาที่แน่ชัด คือการเผยให้เห็นว่า ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมือง ที่ควบคุมความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ 24 มิถุนานั้นมีอะไรบ้าง ทำงานอย่างไร ส่วนการตีความ/ช่วงชิงความหมายเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้คงจะเป็นหน้าที่ของผู้อ่านดังที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้กล่าวไว้ว่า</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมขอยืนยันว่าในชั่วชีวิตของเรา บางทีลูกเราด้วย จะต้องรบไปอีกและจะแย่งกันในระบอบเก่าและระบอบใหม่นี้…</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน</p>     <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">คำนำผู้เขียน</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สำหรับการพิมพ์ครั้งที่ 1</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ในระหว่าง พ.ศ.2525 จนถึง พ.ศ. 2532 ผู้เขียนได้เขียนบทความไว้จำนวนหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาโดยส่วนรวมเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ในแง่มุมต่างๆ บทความส่วนใหญ่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ไปแล้ว แต่เข้าใจว่าอยู่ในแวดวงที่จำกัด และมีบางบทความได้พิมพ์เผยแพร่ไปในที่ประชุมเล็กๆ ในรูปเอกสารอัดสำเนา ซึ่งทั้งหมดมีความเป็นมาดังต่อไปนี้ คือ</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บทที่หนึ่ง เรื่อง การปฏิวัติสยาม 2475: พรมแดนแห่งความรู้ได้จัดพิมพ์เป็นเอกสารวิชาการ หมายเลขที่ 25 โดยสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2525 และพิมพ์ซ้ำพร้อมคำวิจารณ์ใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2525 บทความที่นำมาพิมพ์ใหม่ในครั้งนี้ เป็นการปรับปรุงขึ้นใหม่จากฐานข้อมูลเก่า มีการตัดทอนและเปลี่ยนแปลงคำอธิบายไปในบางตอนก็เพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บทความที่สอง เรื่อง วาทกรรมการเมืองว่าด้วยประชาธิปไตยของไทยเขียนขึ้นเพื่อการสัมมนาเรื่องความคิดทางสังคมกับรัฐประชาธิปไตยไทยจัดโดยมูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา ที่โรงแรมหมู่บ้าน แม่น้ำแคว จ.กาญจนบุรี ในระหว่างวันที่ 1819 มิถุนายน พ.ศ.2531 ถัดมาได้ปรับปรุงเสนอเป็นเอกสารประกอบการบรรยาย ที่ห้องประชุมสุนทรพิพิธ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2531 และปรับปรุงพิมพ์เป็นเอกสารประกอบการประชุมประจำปี ของสมาคมประวัติศาสตร์ จัดที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จ.นครนายก วันที่ 16 -17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2523 รวมทั้งได้จัดพิมพ์ใน สมุดสังคมศาสตร์ (ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2533) ของสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทยด้วย</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บทความเรื่องที่สาม คือ อิทธิพลของความฝรั่งเศสที่มีต่อการเมืองไทยสมัยใหม่เป็นเอกสารประกอบการบรรยายในหัวข้อเดียวกัน จัดโดยภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสถานทูตฝรั่งเศส เนื่องในงานสัปดาห์ฝรั่งเศสวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2529 ที่ห้องสารนิเทศตึกอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บทความที่สี่ เรื่อง สองกระแสของภูมิปัญญาในการปฏิวัติสยาม ทศวรรษที่ 2470 เสนอในที่ประชุมทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของนิสิตบัณฑิตศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 8-9 สิงหาคม พ.ศ. 2529 จัดที่ห้องประชุมสารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บทความถัดมาคือ เรื่อง ความนึกคิดทางการเมืองและเศรษฐกิจของราษฎรในสมัยของการปฏิวัติทศวรรษ 2470 ซึ่งก็คือบทที่ 5 ของวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของผู้เขียนเรื่องประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองสยามระหว่าง พ.ศ.24702480  ที่เสนอต่อภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2528 และพิมพ์เผยแพร่ใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2528</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บทความที่หก เรื่อง พระยามโนปกรณ์นิติธาดากับการเมืองสยาม ในปี 2475 พิมพ์รวมกับบทความของผู้อื่นเป็นเอกสารประกอบการสัมมนา เรื่องจากรากถึงกิ่งของการเมืองไทยเอกสารวิชาการหมายเลขที่ 2 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2530</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บทความที่เจ็ด เรื่อง กบฏบวรเดช: การเมืองของประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ของการเมืองพิมพ์ครั้งแรกใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2527</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บทความที่แปด เรื่อง การแสวงหาระบบเศรษฐกิจใหม่ในช่วงหนึ่งทศวรรษภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ได้เสนอในที่สัมมนาทางวิชาการ จัดโดยสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ที่ห้องประชุมชั้น 9 ตึกเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 รวมทั้งได้จัดพิมพ์เผยแพร่ ใน จดหมายข่าวสังคมศาสตร์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 4 พฤษภาคมกรกฎาคม พ.ศ. 2532</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บทความสุดท้ายเรื่อง ระบอบรัฐนิยมของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม: การก่อรูปของแนวคิดและความหมายทางการเมืองพิมพ์เป็นครั้งแรกใน รัฐศาสตร์สาร ฉบับ 50 ปี ประเทศไทย (14: 3 – 15: 1) กันยายน พ.ศ. 2531 ถึง เมษายน พ.ศ. 2532</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผู้เขียนมีความตั้งใจรวมบทความต่างๆ เข้าด้วยกัน ก็เพราะว่าในประการสำคัญต้องการพิจารณาทบทวนตัวเองในสิ่งที่คิดและได้เขียนไปแล้ว เนื่องจากบทความต่างๆ เหล่านี้ เขียนขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เร่งรัดแบบไทย คือ เขียนขึ้นและพิมพ์อย่างรวดเร็ว ตามคำชักชวนของผู้ที่ผู้เขียนให้ความเคารพนับถือในวาระโอกาสต่างๆ ยกเว้นบทที่ 5 ซึ่งตัดตอนออกมาจากวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนโดยตรง)</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ในการรวบรวมและแก้ไขบทความต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันในที่นี้ ผู้เขียนมีความคิดสรุปรวบยอดว่าเนื้อหาส่วนใหญ่แสดงให้เห็นลักษณะและการเคลื่อนไหวของความคิด ความรู้ และอำนาจการเมืองทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้ จึงได้ตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ไว้ตามความคิดรวบยอดดังกล่าวนั้น รวมทั้งได้เขียนคำอธิบายแสดงความเห็นเพิ่มเติมไว้เป็นบทส่งท้ายของหนังสือเล่มนี้</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แรงกระตุ้นจากครูและมิตรสนิทผู้วางแนวทางศึกษาให้แก่สถาบันจักรวาลวิทยาทุกท่าน นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาของผู้เขียน ในตลอดระยะเวลาเกือบสิบปีที่ผ่านมา และผู้เขียนของแสดงความขอบคุณอย่างลึกซึ้งไว้ ณ ที่นี้ด้วย</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผู้เขียน</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">กันยายน 2533</p>

  

สารบัญ 

บทที่ 1

การปฏิวัติสยาม 2475: พรมแดนแห่งความรู้

 บทที่ 2 <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">วาทกรรมการเมืองว่าด้วยประชาธิปไตยของไทย</p>  บทที่ 3 <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">อิทธิพลของความฝรั่งเศสที่มีต่อการเมืองไทยสมัยใหม่</p>  บทที่ 4 <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สองกระแสของภูมิปัญญาในการปฏิวัติสยาม ทศวรรษที่ 2470</p>  บทที่ 5 <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ความนึกคิดทางการเมืองและเศรษฐกิจของราษฎรในสมัยของการปฏิวัติ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ทศวรรษ 2470</p>  บทที่ 6 <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">พระยามโนปกรณ์นิติธาดากับการเมืองสยาม ในปี 2475</p>  บทที่ 7 <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">กบฏบวรเดช: การเมืองของประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ของการเมือง</p>  บทที่ 8 <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">การแสวงหาระบบเศรษฐกิจใหม่ในช่วงหนึ่งทศวรรษภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475</p>  บทที่ 9 <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ระบอบรัฐนิยมของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม: การก่อรูปของแนวคิดและความหมายทางการเมือง</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บทส่งท้าย : ความคิดในการศึกษาประวัติศาสตร์การปฏิวัติสยาม</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ภาคผนวก : เหตุแห่งการปฏิวัติสยาม 2475</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บรรณานุกรม</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ดรรชนี</p>     <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เกี่ยวกับผู้เขียน</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาการเมืองการปกครอง (เกียรตินิยม) จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2523 หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อทางด้านประวัติศาสตร์ในระดับปริญญาโท จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อยู่ประมาณ 3 ปีเศษ</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">จนถึงต้นปี 2532 ย้ายไปเป็นอาจารย์ประจำสาขาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทั่งเป็นรองศาสตราจารย์ ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา รศ.นครินทร์ ได้รับเชิญเป็นนักวิจัย ผู้บรรยายพิเศษ และศาสตราจารย์รับเชิญของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศหลายแห่ง อาทิเช่น มหาวิทยาลัยเกียวโต มหาวิทยาลัยวาเซดะ และมหาวิทยาลัยโกเบ รวมทั้งเป็นผู้บริหารและกรรมการในคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่น ผู้อำนวยการโครงการปริญญาโทสาขาการปกครองสำหรับผู้บริหาร  กรรมการศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย กรรมการศูนย์ศึกษาและพัฒนาการปกครองท้องถิ่น และเคยเป็นกองบรรณาธิการและบรรณาธิการวารสารธรรมศาสตร์ เป็นต้น</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">รศ.นครินทร์ มีงานเขียนและผลงานการศึกษาวิจัยในทางด้านประวัติศาสตร์การเมือง ความคิดทางการเมือง สถาบันการเมือง และการปกครองท้องถิ่น อาทิเช่น การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 (2535,2540) Intended Consequences – Unintended Implementation: Accelerated Rural Development in Thailand (ร่วมกับ Fred von der Mehden, Research Paper, Asia-Pacific Center, Harvard University, 1995) สถานภาพของความรู้ทางประวัติศาสตร์เรื่องรัฐและรัฐบาลไทย (รายงานการวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2542) เป็นต้น</p>      <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือ</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ปีที่พิมพ์               :           กรกฎาคม 2546พิมพ์ครั้งที่ 2 </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ชื่อหนังสือ          :           ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475 </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ประเภท             :           การเมืองการปกครองไทย  </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ชื่อผู้เขียน           :           นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บรรณาธิการ       :           ธนาพล อิ๋วสกุล</p>     <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ</p>

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์           

               ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475. พิมพ์ครั้งที่ 2. - - กรุงเทพฯ : ฟ้าเดียวกัน, 2550. 528 หน้า.1.ไทย - - การเมืองและการปกครอง - - กรุงรัตนโกสินทร์, 2475 2499 I.ชื่อเรื่อง

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">320.9593 </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ISBN 974 &nda</p>

หมายเลขบันทึก: 121185เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2007 06:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นหนังสือที่เยี่ยมมากผู้สนใจการเมืองควรมีไว้อ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท