คนเข้าทำงานเพราะองค์กร แต่จากไปเพราะหัวหน้างานจริงหรือ????


อยากให้ลูกน้องอยู่ด้วยกันนาน ๆ ต้องอ่านให้จบ

  *     หลาย ๆ ท่านคงคงเคยได้ยินสำนวน ฝรั่งที่ว่า “People Organization But Leave their boss.”  ที่มาของสำนวนนี้เกิดจากหลาย ๆ องค์กรที่พยายามสรรหาบุคคลากรเก่งๆ เข้ามาสู่องค์กร แต่ไม่สามารรักษาคนเหล่านั้นไว้ได้

 *     ส่วนใหญ่เรามักเข้าใจว่าการดึงดูดและรักษาคนให้อยู่ทำงานกับองค์กรนั้นขึ้นอยู่กับเงินหรือค่าตอบแทนที่น่าพึงพอใจ แต่หากถามว่าเงินคือตัวแปรสำคัญอย่างเดียวหรือไม่ คำตอบคือไม่ใช่ เพราะการจากไปของพนักงานมาจากหลายสาเหตุ

 *     การที่จะค้นหาตำตอบที่แท้จริงว่าพนักงานลาออกจากองค์กรเพราะเหตุใด ต้องอาศัยระยะเวลาตรวจสอบอย่างใกล้ชิด เพราะแค่การสัมภาษณ์ตอนลาออก (Exit Interview) และเหตุผลที่เขียนในใบลาออกเพียงอย่างเดียวคงไม่ใช่คำตอบที่แท้จริง เพราะคำตอบที่พนักงานส่วนใหญ่ตอบคือ ไปเรียนต่อ ไปช่วยงานที่บ้าน ได้งานใหม่ล้วนแต่เป็นคำตอบเดิม ๆ ที่อาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้


 *     ....อยากรู้คำตอบไหม  

 *     การหาโอกาสค้นหาต้นตอของการลาออกด้วยการโทรศัพท์ไปสอบถามพนักงานที่ลาออกจากองค์กรแล้วสักระยะเวลาหนึ่ง ดูจะได้ผลมากกว่า เพราะคนที่โบยบินไปแล้วมักจะยินดีให้ข้อมูลที่ถูกต้อง พบว่ากว่า 80% ของพนักงานที่ลาออกไปแล้ว ส่วนใหญ่กลับคำให้การของตัวเองและค้นพบด้วยสาเหตุหลักของการลาออกนั้นมักมาจากปัญหาที่เกิดจากหัวหน้างาน สอดคล้องกันกับงานวิจัยของสถาบันด้านการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ว่า คนเข้าทำงานเพราะองค์กรแต่จากไปเพราะหัวหน้าได้เป็นอย่างดี

*     จากการพูดคุยกับผู้จักการหรือหัวหน้างานในหลากหลายองค์กร พบว่าไม่ได้มีการเตรียมความให้กับผู้ที่จะขึ้นมาเป็นหัวหน้างานเท่าที่ควรนัก ส่วนใหญ่มักเลื่อนจากตำแหน่งพนักงานให้มาเป็นหัวหน้าโดยอาศัยเกณฑ์ Technical Skill มากกว่า People Skill หรือมักเลื่อนตำแหน่งจากชิ้นงานมากกว่าการบริหารจัดการคน  ความเชื่อเหล่านี้ไม่ถูกต้องจริง เพราะหัวหน้าที่ดีต้องมี People Skill  ประกอบด้วย แต่องค์กรมักมองข้ามข้อนี้ไป มีไปไม่กี่องค์กรเท่านั้นที่มีการพัฒนาเรื่อง People Skill ให้กับคนที่จะขึ้นมาเป็นหัวหน้า บางองค์กรเลวร้ายกว่านั้นคือไม่มีการพัฒนา People Skill ให้กับคนที่จะขึ้นมาเป็นหัวหน้าเลย จนทำให้เกิดปัญหาเรื้อรังและส่งผลให้คนดี คนเก่งในองค์กรต้องหลีกหนีหัวหน้างานเหล่านั้นไปเอง 

   *     เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีปรมาจารย์ด้าน Executive Coaching ท่านหนึ่ง ชื่อ Marshall Goldsmith ได้บรรยายหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาวะผู้นำ และทิ้งข้อคิดไว้เตือนสติหัวหน้าหลาย ๆ คนที่นั่งฟังวันนั้นว่า What got you here, won’t get you there” หมายความว่า วิธีการที่ท่านให้ในอดีตและทำให้ท่านประสบความสำเร็จในวันนี้ อาจไม่ใช่วิธีการที่ท่านจะนำไปใช้เพื่อสร้างความสำเร็จในอนาคต

  *     Peter Drucker ปรมาจารย์ด้านภาวะผู้นำ กล่าวไว้ว่า พวกเราใช้เวลามากมายในการสอนหัวหน้าว่าพวกเขาควรต้องทำอะไรเพิ่มเติมที่จะเป็นหัวหน้าที่ดี แต่เราไม่ได้ให้เวลามากพอที่จะบอกหัวหน้าว่า พวกเขาควรหยุดทำอะไรเพื่อที่เป็นหัวหน้าที่ดี หัวหน้าจำนวนกว่าครึ่งที่ผมเคยเจอไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพิ่มเติม ถ้าเพียงพวกเขารู้จักที่จะหยุดทำอะไรสักอย่างหนึ่งที่ไม่ควรทำ  พวกเขาจะเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นได้ในทันที  

 *     ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่หัวหน้าควรหยุดทำสัก 5 อย่างมาให้ดูกันนะ

 *     1. รับปากแล้วไม่ทำ หรือรับปากในสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ด้วยอำนาจหรือหน้าที่ของตนคนเดียว เช่นรับปากจะขั้นเงินเดือนให้ หรือจะให้โบนัสต้นปี หรือปรับเลื่อนตำแหน่งให้เพื่อรั้งให้ลูกน้องทำงานให้ต่อไป เป็นต้น เพราะจะทำให้ลูกน้องเสียความรู้สึก เสื่อมศรัทธานับถือในเรื่องที่รับปากแล้วทำไม่ได้ อาจทำให้ลูกน้องหมดกำลังในการทำงาน

  *     2. รับชอบแต่ไม่รับผิด ไม่กางปีกปกป้องลูกน้อง ดร. เสรี วงษ์มณฑา เคยกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การเป็นหัวหน้าที่ดีคือการรู้จักใช้มือ ใช้หัว และใช้หน้า หมายถึงการเป็นหัวหน้าต้องรู้จักที่จะใช้มือในการลงมือทำให้ลูกน้องได้เห็น ใช้หัวเพื่อสร้างสรรค์ความคิดใหม่ ไม่ใช่คอยจับผิดลูกน้อง และที่สำคัญใช้หน้าเพื่อใช้เอาไว้ยืดหน้ารับความผิดแทนลูกน้อง อย่างคำโบราณว่า รับหน้าไม่ใช่ทุกอย่างโบ้ยว่า ไม่รู้ มอบหมายให้ลูกน้องทำแล้ว ลูกน้องเป็นคนทำ แล้วจะเรียกว่าหัวหน้าได้อย่างไร

 *     3.  ตัดสินโดยไม่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น หรือไม่อธิบายเหตุผลใด ๆ
เป็นการตัดสินใจโดยยึดความคิดของตนเองเป็นหลัก อย่าบังคับลูกน้องทำในสิ่งที่เขาลำบากใจ ควรฟังเหตุผลส่วนตัวของลูกน้องบางหรือเมื่อตัดสินใจออกมาเบื้องต้นแล้วบอกว่ามันเป็น นโยบาย ซึ่งการอธิบายแค่นี้ไม่สามารถให้ลูกน้องเข้าใจได้กลับยิ่งจะทำให้เข่ารู้สึกไม่ดีต่อองค์กรมากขึ้นไปอีก

 *     4. พูดจาไม่ให้เกียรติลูกน้อง หัวหน้างานจำนวนหนึ่งมักมีความคิดว่าตัวเองมีความสนิทสนมกับลูกน้องเป็นอย่างดี จึงไม่จำเป็นต้องระวังคำพูดมากนัก ยิ่งลูกน้องที่ทำงานด้วยกันมานานยิ่งสนิทคิดไปเองว่าลูกน้องคงรู้จักนิสัยของตนดีอยู่แล้ว ทำให้หัวหน้าหลาย ๆคนไม่ระวังคำพูดและปฏิบัติกับลูกน้องไม่ค่อยให้เกียรติกับลูกน้องอยู่บ่อย ๆ

 *     5. ตำหนิลูกน้องต่อหน้าธารกำนัล หัวหน้าจำนวนมากไม่ไว้หน้าลูกน้อง ถ้าทำพลาดก็ซัดกันตรงนั้นเลย พูดเสียงดังในสิ่งที่เป็นปมด้อยและความผิดพลาดของลูกน้องต่อหน้าพนักงานแผนกอื่น ทำให้ลูกน้องรู้สึกอายและไม่อยากทำให้งาน ที่สำคัญไม่เคยชม นัยว่ากลัวเหลิงอะไรทำนองนั้น 
          
 

*     อย่างหนึ่งสำคัญคือความเสมอภาคเท่าเทียม ความยุติธรรมและความเป็นกลาง การให้สิทธิพิเศษกับลูกน้องคนใดคนหนี่งจนทำให้เห็นความแตกต่าง คือ ลูกน้องบางคนทำดีและทำหน้าที่ของตัวเองไม่มีข้อบกพร่อง แต่อีกคนทำผิดระเบียบบ่อยครั้ง แต่ได้รับผลงานและผลตอบแทนเท่ากันหรือดีกว่า ทำให้ลูกน้องอีกคนที่ทำดีอยู่แล้วไม่มีกำลังใจในการทำงานและเสียความรู้สึกได้ คุณควรจะเป็นหัวหน้าที่มีความยุติธรรมมากกว่านี้ไม่ควรเอาความรู้สึกส่วนตัวตัดสินมากเกินไป

   *     นี่คือพฤติกรรม 5 อย่างที่หัวหน้าหลาย ๆ คน สั่งสมไว้ ถ้าคนเป็นหัวหน้าลองย้อนมองดูตัวเองด้วยใจเป็นกลาง แล้วประเมินว่า มีสักกี่ข้อแล้ว”?? และหวังว่าคุณจะรู้ตัวเองนะครับ 

ได้รับเมลจากเพื่อน  จึงส่งมาให้อ่าน  ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้า ไม่ว่าจะเป็นลูกน้อง  สิ่งดี ๆ ที่ควรทำแก่กันคือ การเคารพซึ่งกันและกัน  การพูดดี ทำดี คิดดี  ทำให้การประสานการทำงานเป็นไปด้วยความสวยงาน 

ปรับกระบวนการคิด  ปรับจิตเข้าหา  เพื่อสร้างสรรค์การทำงานภายในองค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ร่วมกัน 

มีความสุขใจในการทำงานนะคะ

หมายเลขบันทึก: 121070เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2007 17:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ควรใช้กระบวนการสื่อสาร 2 ทางให้มากระหว่างหัวหน้างานกับผู้ปฏิบัติการบริหารจะได้ราบรื่นขึ้นครับสรุป อย่าทำตัวเป็นพหูสูตร
  • กราบสวัสดีครับอาจารย์
  • ผมเห็นด้วยครับกับบทความในบันทึกนี้ของอาจารย์
  • เพราะปัจจุบันนี้ผมเจออยู่กับตัวเองทุก ๆ วันครับ
  • เข้ามาทำงานเพราะองค์กร แต่ ลาออกเพราะหัวหน้างาน
  • 5555555

เข้ามายกสองมือสนับสนุนครับ

เจอมากับตัวเองทุกข้อ

ไม่ยอมรับฟังความเห็นเรา

บังคับกุมเหงแก้ไขงานเราทั้งๆที่ตัวเองไม่รู้รายละเอียดเบื้องหน้าเบื้องหลังของงาน

อีกสามวันถัดมาตำหนิเราอีกว่าส่งงานออกไปได้อย่างไร ทั้งๆที่เราก็จำใจแก้งานตามที่ท่านบังคับให้แก้

ขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ที่ช่วยให้เราได้ระบาย

สวัสดีค่ะ น้าอึ่งอ๊อบ

อ่านแล้วพยักหน้างึกๆ ...5 ข้อที่ไม่ควรทำเอาไปใช้กับนักศึกษาก็ได้ด้วย...เช่นถ้าอยากตำหนินักศึกษาต้องไม่ทำต่อหน้าคนอื่น..เด็กเขาบอกว่าถ้าตำหนิต่อหน้าคนอื่นเขาเสียself มั่กๆ...แล้วเด็กก็ไม่ชอบถ้าชมเขาต่อหน้าแต่นินทาลับหลัง

(พี่ไม่ค่อยมีประสบการณ์กับหัวหน้าเท่าไหร่...ประมาณว่า..อยู่ห่างๆ มานานแล้ว....ฮ่าๆ)

สวัสดีค่ะ น้องอึ่งอ๊อบ

  • มีประสบการณ์ทั้งเป็นหัวหน้าที่มีหัวหน้า  และเป็นลูกน้องที่มีน้องๆ
  • ....ได้แต่บอกว่า...อืม..จริง(อ่ะ)
  • ขอบคุณที่ให้ข้อคิดดีๆ...จะได้ลด  ละ  เลิกใส่ใจ....กับหัวหน้า...มาสนใจผู้นำแบบ Servant Leadership...กับผู้ชายที่ชื่อ “พิชัย กรรณกุลสุนทร”  ดีกว่า...อิ...อิ
  • ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เก็บไว้ เลย ดีจริง

เอาไว้เตือนตน อืมม แต่เอาให้หัวหน้าดูจะได้ไหมนี่

 ...คิดว่ามันอยู่ที่ วิสัยทัศน์ ของปัจเจกชน แต่ละบุคคลมากกว่านะ. ว่า..วิสัยทัศน์ของเขานั้น "ร่วมงาน" กัน. เพื่อ ผลของงาน. หรือ เพื่อฉัน. ถ้าเพื่อ ผลงาน คงร่วมงานต่อไปใด้. ถ้าเพื่อตัวฉัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือ ทั้งสองฝ่าย ก้อ ต้อง จบ. กฏธรรมชาติ.น่าเป็นเช่นนั้น.???

ขอบคุณทุกท่านที่ร่วม ลปรร. กันนะคะ

อย่างไรก็ตาม

 ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้า ไม่ว่าจะเป็นลูกน้อง  สิ่งดี ๆ ที่ควรทำแก่กันคือ การเคารพซึ่งกันและกัน  การพูดดี ทำดี คิดดี  ทำให้การประสานการทำงานเป็นไปด้วยความสวยงาน 

ปรับกระบวนการคิด  ปรับจิตเข้าหา  เพื่อสร้างสรรค์การทำงานภายในองค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ร่วมกัน 

สวัสดีครับ

บันทึกนี้โดนใจจริงๆครับ

  • การเห็นคุณค่าของการมีกันและกัน หรือเคารพความแตกต่างสำคัญมากๆครับ
  • ผู้บริหารบางแห่งก็น่าสงสารครับ พนักงานลาออกตั้งใจเขียนเรื่องที่ควรพัฒนาแก้ไขขององค์กรไว้ให้แต่กลับไม่เชื่อ...น่าอนาถใจในทักษะการอ่านคน
  • -----
  • ผมนำรูปมาฝากครับ

4

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท