บันทึก KM สัญจร ครั้งที่ ๒ (๖ จบ)


โปรดสังเกตพลังของ AAR

บันทึก KM สัญจร ครั้งที่ ๒ (๖)

AAR

วันที่ ๑๑ มค. ๔๙ คณะที่เดินทางกลับด้วยรถบัสมี ๑๕ คน    เราทำ AAR กันบนรถ  ดังต่อไปนี้


แขก  (อาทิตย์ ลมูลปลั่ง)  ประทับใจว่าอ้อมทำหน้าที่ได้ครบถ้วน มีข้อมูลให้อย่างดี   ได้เรียนรู้วิธีทำงาน
            เป้าหมาย มาอำนวยความสะดวกแก่นักข่าวและ อาจารย์  ทำได้ระดับหนึ่ง
            เป้าหมายศึกษาพิจิตรเชิงลึก   ดูการขยายตัว  ดูความคืบหน้า 
            ได้เห็นกระบวนการ และการขยายตัวของเครือข่าย     ได้เห็นความเข้มแข็งของชาวบ้านเกินคาดหมาย   แต่ละ เครือข่ายมีชาวบ้านเห็นด้วยกับผู้นำชาวบ้าน  มีไฟที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา    ลุงสืบ  ลุงปิยะ  มีใจแบ่งปัน    ลุงยะเคยเป็นเกษตรกรสารเคมี มีที่นามาก ๓๐๐ ไร่    เสียค่าสารเคมี ๑ – ๒ แสน   มาพบลุงสืบ ได้รับคำแนะนำให้ลองทำปุ๋ยเอง  บอกสูตรให้     ลองทำได้ผล  ลดค่าใช้จ่ายมาก     ลุงยะใช้วิธีผูกใจคนเลี้ยงวัวโดยเข้าไปตักใส่กระสอบเอง    คนเลี้ยงวัวไม่ต้องเหนื่อย     ทำให้ได้ปุ๋ยมากกว่าเพราะกระสอบใหญ่กว่ากระสอบที่คนเลี้ยงวัวใช้ และโกยขี้วัวแน่นกว่า    ลุงยะเป็นคนขยัน    กำลังทำโรงปุ๋ยอัดเม็ดราคา  ๑.๓ ล้านบาท
            คุณผดุงกับคุณจรัญ   จรัญมีที่นา ๓๐ ไร่     มาเข้า วปอ. กับผดุง     ทำเกษตรไร้สาร โดยภรรยาไม่เห็นด้วย     ภรรยาทำาแบบเดิม    จรัญทำบัญชีฟาร์มไว้     เมื่อเทียบผลผลิต ของจรัญได้น้อยกว่า    แต่เมื่อเทียบเงินที่เหลือ    วิธีของจรัญได้เงินมากกว่าภรรยาเท่าตัว      ภรรยาจึงยกให้จรัญทำนาวิธีใหม่ทั้งหมด
            ได้เห็นนักวิจัยมีความเคารพในความรู้ของชาวบ้าน    ต้องการเรียนรู้จากชาวบ้าน     นักข่าวแทบไม่ต้องถามเลย     แค่คอยฟังนักวิจัยถามก็ได้ประเด็นที่ต้องการทั้งหมด     รวมทั้งคุณสุรเดชคอยสรุปด้วย
             ยังไม่พอใจสื่อที่มาเพียง ๔ คน    หลายคนขอยกเลิกในวันสุดท้าย
             จะไปผลักดันสื่อ ต่อไป
            อยากให้มีเวลามากกว่านี้    ให้ชาวบ้านได้เล่าสิ่งที่เขาได้ปฏิบัติมาและอยากเล่า     คนฟังเพลิน  อึ้ง   ไม่เคยเห็น
            จะกลับไปศึกษาวิธีทำงาน    ไปจับภาพต่อ    ปัญหาหนี้สินของชาวบ้าน    เป็นห่วงว่าราชการต้องการผลักดันกำลังการผลิต     ไม่เข้าใจความต้องการของชาวบ้าน    คนละเป้าหมาย   

อ้อ  (วรรณา เลิศวิจิตรจรัส)
           เป้าหมาย ๒ อย่าง   (๑)   อำนวยความสะดวก   (๒) นำความรู้ไปพัฒนางาน พัฒนาตน
           การนำนักวิชาการมาเรียนรู้จากชาวบ้าน  น่าจะประสบความสำเร็จ     เพราะนักวิชาการพร้อมที่จะเรียนรู้จากชาวบ้าน    มารับฟังความต้องการของชาวบ้าน
           เห็นลุงพงษ์ ใช้ explicit knowledge จากตำรา    และ tacit knowledge ที่สืบเนื่องกันมา    เห็นวงจรชัด
           พัฒนางาน    ได้ความคิดดีๆ จากปราชญ์ชาวบ้าน  จากอาจารย์   จากคุณสุรเดช   สนใจว่าเขาคิดออกมาได้อย่างไร    เรายังคิดตื้น ได้เรียนรู้ วิธีคิดที่ลึก
           เวลาน้อย  อาจเพราะที่จะได้ tacit knowledge ลึกๆ ในเวลาสั้นๆ ยาก     อาจต้องมีเครื่องมือใหม่    จัดการประชุมแบบใหม่
           จะติดตามผล     ว่าการดำเนินการอะไร    จะปรับปรุงงานอะไร อย่างไร

ชลนภา อานแก้ว (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ สกว.)
          อยากเห็นภาพแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิชาการและชาวบ้าน    เดิมอยากไปทั้ง ๔ ที่
          ไปกลุ่มผัก    มี ศ. อมเรศเป็นนักวิชาการคนเดียว  อาจารย์ มน. กลับไปก่อน     การสนทนาไม่คึกคัก    แต่เพราะมีเจ้าหน้าที่การเกษตรกำแพงเพชรไปด้วย    จึงเห็นการแลกเปลี่ยนระหว่างคนวงการเดียวกัน ทีคึกคักมาก     ที่ลุงอินทร์ ขาดกากน้ำตาล    เจ้าหน้าที่ของกำแพงเพชรแนะว่ามีสวนอ้อยใกล้ๆ ใช้อ้อยมาสับๆ แทนก็ได้
             จะเอาโจทย์วิจัยมาเสนอในฝ่าย

แสงเพชร อิสสระพินิชกิจ (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ สกว.)
             อยากรู้กระบวนการจัดการความรู้  ทำไมคนไปร่วมมหกรรมจัดการความรู้มาก
             ได้เห็นการใช้ความรู้  ลปรร.    การใช้ธารปัญญาคงเลยไปแล้ว  ไม่เห็น
             ที่ รร. วัดหนองปลาหมอ เห็น ครู ชาวบ้าน พระ ร่วมมือกัน  มีใจต่อกัน     รู้สึกว่า รร. ในกรุงเทพไม่มีครูที่เสียสละอย่างนี้
             คิดว่ากิจกรรมนี้ระยะสั้นคงทำได้    แต่ระยะยาวไม่มั่นใจว่าจะทำไปได้นานแค่ไหน 
 
พรพิมล กิตติมศักดิ์  (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ สกว.)
             คาดหวัง อยากเห็นพื้นที่จริงหลังจากไปฟังในงานมหกรรมฯ     ไปเยี่ยมชมกลุ่มข้าวเหมือนคุณแขก    ได้เห็นการรวมกลุ่ม เอื้ออาทรแบ่งปัน  เรียนรู้ตลอดเวลา    ไปเรียนรู้จากสุพรรณ      คิดกลับมาที่ตัวเองว่ามีข้อมูลมากน่าจะเอามาเรียนรู้   
             ไม่ได้ดูนาข้าว    อยากไปดูดินในนาข้าว    ได้ดูที่สวนของคุณผดุง
              เป็นผู้ดูแลชุดเกษตรอินทรีย์ ได้ความรู้สำหรับกลับไปทำงาน
              อยากได้เวลาแลกเปลี่ยนมากขึ้น

อ้อม (อุรพิณ ชูเกาะทวด)
             เป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการมา KM สัญจร     และอยากดูพื้นที่ใหม่ที่ไม่เคยไป   คือที่ รร. วัดหนองปลาหมอ    กับสวนผักลุงอินทร์
             ไปดูแปลงผักลุงอินทร์    ซึ่งภรรยาเพิ่งเสีย ทำให้ลุงอินทร์หมดกำลังใจไประยะหนึ่ง     แปลงผักจึงโทรม    เพิ่งลุกขึ้นมาดูแลเมื่อรู้ว่าคณะ สคส. จะไปเยี่ยม 
             ลุงอินทร์ อายุ ๗๐ กว่าแล้ว ยังแข็งแรงมาก   ศ. อมเรศ  และ ดร. พีระศักดิ์ (มน.) เป็นนักวิจัยที่ไปกลุ่มนี้      ศ. อมเรศตั้งคำถามได้ดีมาก   ถามชาวบ้านว่าเปลือกสัปปะรดที่ไหนก็ใช้ได้เหมือนกันหรือ  ชาวบ้านตอบว่าใช่   ศ. อมเรศ ก็ไม่แย้ง    ที่ศาลากลาง ศ. อมเรศ ก็เสนอได้ดีมาก
             ผศ. ดร. พีระศักดิ์ มน. บอกว่าจะลงมาอีก   
             จะเอาประสบการณ์ไปใช้จัด KM สัญจร ครั้งที่ ๓ ไปบุรีรัมย์
             ได้รู้จัก ลุงอิน   ลุงยะ  ลุงสืบ  หมอรุ่งโรจน์
             คราวหน้า ๒๓ – ๒๕ กพ. ไปบุรีรัมย์    ต้องคุยการจัดกระบวนการให้ชัด    เพราะเขาศรัทธาผู้นำสูง    บรรยากาศข้างทางแห้ง     จะหาทางเชื่อมนักวิชาการให้กว้างยิ่งกว่านี้

หญิง (นภินทร ศิริไทย)
             มาอำนวยความสะดวก    อยากเข้าศึกษาพื้นที่ จริงเพื่อไปเรียนรู้ เพราะรับผิดชอบด้านการศึกษา
             ประทับใจกลุ่มชาวบ้าน   และคุณสุรเดช ที่พูดว่าทำในฐานะเป็นคนหนึ่งของประเทศ    ไม่ใช่ในฐานะข้าราชการ  หรือ NGO     เห็นชาวบ้านพัฒนาขึ้นมาก     มั่นใจสิ่งที่ตนทำ     เท่ากับมูลนิธิได้สร้างการยอมรับ เคารพกันระหว่างชาวบ้าน
             สิ่งที่ได้เกินคาดคือได้ความร่วมมือจาก ศ. ดร. อภิชัย ที่จะร่วมมือกับ รร. ต่อไป
              รร. ในเครือข่ายทายาทเกษตรกร เชิญปราชญ์ชาวบ้านใกล้ รร. มาสอนเด็ก    ให้เด็กผลิตเป็นอาหาร    มีคลังความรู้ของเด็ก   เห็นจากบอร์ดนิทรรศการ    เด็กวาดรูปด้วย
             สิ่งที่ไม่บรรลุ  คือนักเรียนไม่ได้เรียนหนังสือ    ไม่ได้เห็นกระบวนการปฏิบัติจริงๆ ของเด็ก     วางแผนร่วมกับน้ำว่าน่าจะลงพื้นที่เชิงลึกอีกสักครั้ง
                       อยากลงพื้นที่อื่นใน จ. พิจิตรอีก
                       ควรปรับปรุงเรื่องเวลา

สุปราณี จริยะพร (แกบ)
               เนื่องจากรับผิดชอบสำนักงาน  จึงไม่ค่อยมีเวลาลงพื้นที่
                ประทับใจการทำงานเป็นกลุ่มกลมกลืนกัน    ทำเวลาเดินทางได้ดี
                 ไปดูกิจกรรมของกลุ่มข้าวสะอาดที่บ้านคุณผดุง     พบว่าชาวบ้าน เช่นลุงยะ ซึ่งคุณสุรเดชว่าขุดมาจากกรุ   แต่พบว่าพูดไม่เคอะเขิน    ชาวบ้านต้องการจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายฟางและทนความร้อน    น่าจะให้นักวิจัยท้องถิ่นมาลงมือทำกับชาวบ้าน    ทางเกษตรว่าจะเอาไปจัดการ
                 คุณวิไลลักษณ์   จากศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรีแนะนำดี     ชาวบ้านคัดพันธุ์ข้าวกันมาก    จะเชื่อมกับชาวนากาญจนบุรีที่ยังไม่คัดพันธุ์   
                 ประทับใจนักวิชาการที่เป็นกันเองในการแสวงหาความร่วมมือชาวบ้าน
                 ประทับใจคุณสุรเดชสรุปประเด็นเก่ง    มีอาจารย์ รร. มาร่วมรำความรู้สู่เด็ก
                 ประทับใจที่ชาวบ้านเสียสละ   ยอมเสียเวลาทำมาหากินมาทำงานชุมชน    คุณจรัญเป็นครูสอน กศน. ด้วย เพราะมีอาชีพเสริมทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์     ลุงยะว่าเด็ดยอดจากพี่สืบ    แต่ขยายออกไปมากกว่า     คุณจรัญใช้เรียนจาก Best Practice ของคุณผดุง     คุณผดุงว่าชอบสังเกต ดัดแปลง พัฒนา    ว่าต้องรู้จักหูหนวกตาบอดแข่งกับตนเอง อย่าแข่งกับคนอื่น
                 คุณบำรุง วรรณชาติ ว่าถ้าไม่มีวิกฤตปี ๔๐ ก็ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง     คุณจรัลว่าถ้าไม่ทำบัญชี เมียก็ไม่เชื่อ
                 จุดอ่อนอย่างหนึ่งคือห้องประชุมแคบเกินไป

ชุติมา อินทรประเสริฐ (แอนน์)
             คาดหวังมาเป็นผู้ถ่ายวิดีโอ    ที่ได้เกินคาดหวังคือได้ฝึกคุณแกบให้ถ่ายวิดีโอได้     อยากเห็นภาพบรรยากาศนักวิจัยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวบ้าน    ประทับใจ ศ. ดร. อมเรศ ตั้งโจทย์วิจัย    ทำไมสิ่งที่ชาวบ้านทำจึงใช้ได้    ทำอย่างไรจึงไม่ต้องลองผิดถูก    วิเคราะห์ปุ๋ย ๕ สูตร
             ที่ศาลากลางวันแรกไม่ดี    วันที่ ๒ ใช่เลย     คุณสุรเดชสรุปได้ดีมาก   ได้เรียนจากการเสนอของ อ. วิจารณ์ ทั้งวันแรกและวันที่ ๒    การให้ชาวบ้าน/ชุมชน เป็นเจ้าของ/ตัดสินใจ กิจกรรม    
             สิ่งที่จะไปทำต่อ   การจับภาพ   งานมหกรรม ๓    การเรียนรู้ข้ามจังหวัด ข้ามภาคส่วน   

ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
             เป้าหมายอย่างเดียวคือมองเชิงกระบวนการ     ว่าความรู้ด้านวิทยาศาสตร์กับความรู้จากการปฏิบัติ จะต่อกันได้อย่างไร    ได้เห็นความกลมกลืน   เห็นนักวิจัยเปิดใจ   
              คุยกับ ศ. ดร. เบญจวรรณ    ท่านให้ข้อสะกิดใจว่าชาวบ้านกลุ่มนี้เป็น exceptional case    และนักวิจัยก็ exceptional    แต่ที่เห็นชัดคือ เงื่อนไข ใจเปิด
             เกิดคำถามขึ้นในใจ ว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือเปล่า   sufficient หรือ suffer    เป็นการสู้กันภายในของความคิด
            มีข้อสงสัยว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด ใช้ power หรือ empower    เห็นได้ชัดว่าพยายามข่มคุณสุรเดช    คำพูดเป็นเพียงลมปากหรือเปล่า    การชวนคุณสุรเดชมาอยู่ในมุ้ง    พูดว่าที่ทำอยู่เป็นหิ่งห้อยแสงริบหรี่    ชวนให้มาร่วมกันเป็นคบเพลิงสว่างไสว    ชวนเอาเทียนเข้าในมุ้ง   ภายใต้โครงสร้างระบบราชการ    เขาไม่คิดปรับระบบ ปรับโครงสร้าง    
            จะไปคิดต่อเรื่อง mainstream
            นักการเมืองกับ NGO    สุรเดช มาบอกว่าข้าราชการฟังแต่ประธานหอการค้า    มุ่งแต่ส่งออก
            บางที่ต้องการแสงหิ่งห้อย   คู่ไปกับแสงนีออน

ศ. ดร. เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม
               ประทับใจ
               ฝากว่าตอนไปบุรีรัมย์ ขอตัวอย่างที่ผู้หญิงเป็นนางเอกบ้าง     เพราะเรื่องเล่าคราวนี้ผู้หญิง (ภรรยา) เป็นผู้ร้ายอยู่เรื่อย   (หมายถึงไม่เชื่อในวิธีการเกษตรอินทรีย์  ไม่ยอมทดลองในเบื้องต้น) 
               ตัวอย่างที่เราเห็น จะให้คนอื่นทำตามมากกว่านี้ต้องมีข้อมูลชัดเจนด้านผล   มีตัววัดที่ชัดเจน
               กลุ่มข้าว ไม่เห็นปัญหา     ข้าวสะอาด  ได้กำไร  ต้นทุนต่ำ   ไม่เห็นปัญหา    ลุงสืบมีรายได้มาก   ลุงยะประหยัดไปปีละแสน   ๒ /ปี    น่าจะทำวิจัย survey เปรียบเทียบวิธีปลอดสารกับวิธีปกติ   
               จะไปบุรีรัมย์ใน KM สัญจร ครั้งที่ ๓

ศ. ดร. อภิชัย พันธเสน
             เป้าหมายมาดูการจัดการความรู้    เพื่อนำไปใช้กับโครงการที่ตนจะไปช่วยครูบาสุทธินันท์ที่บุรีรัมย์
             ตนได้ความรู้ใหม่ๆ ทุกครั้งที่ลงพื้นที่
              วิธีดูว่าได้ไม่ได้อะไร    ควรพยายามมองให้เห็นภาพป่าทั้งหมดเสียก่อน  ไม่ใช่ต้นไม้แต่ละต้น   ป่า emergence    ดู macro ก่อน   แล้วนำภาพใหญ่มาใช้ต่อภาพ micro
              คุณสุรเดช  เหมือนปาฏิหาริย์   สภาพจังหวัดพิจิตรเหมือนภาคกลาง   การเกิดเครือข่ายขนาดนี้ น่าประหลาด    น่าศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดคุณสุรเดช     ต่างจากที่บุรีรัมย์ (ครูบาสุทธินันท์)   คุณสุรเดชเป็นข้าราชการ มีเครือข่าย ข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุขช่วยสนับสนุน    ทำงานผ่านระบบมูลนิธิ ช่วยเป็น flagship ให้ทำงานแบบนี้ได้   
             เสนอว่า สคส. อาจ endow ให้ตั้งมูลนิธิ ใช้เงิน ๕ – ๑๐ แสน น่าจะได้ผลดี หากมีคนแบบคุณสุรเดช
             มูลนิธิบูรณะชนบท    มี endowment ๒๐ ล้าน    ทำมา ๒๐ กว่าปี แต่ impact น้อยกว่ามาก เพราะไม่มีคนภายในพื้นที่แบบคุณสุรเดช
             มีแนวร่วมที่เป็นข้าราชการหลายฝ่าย    ต่อไปจะมีคนสมัครใจมาร่วมมากขึ้น แม้จะอยู่ในภาคราชการ     ข้าราชการอาจช่วยยับยั้งผลทางลบ     และรู้ลู่ทางแหล่งทรัพยากร เช่น จาก สสส.    แนวร่วมราชการดึง อบต. เข้ามาได้     อบต. สำคัญ
             เรื่องเวลาไม่พอ    ชาวบ้านตั้งใจมาชี้ให้เรารู้ว่าเขามีความรู้ความเข้าใจ    เรามีหน้าที่ส่งเสริม     ไม่ใช่มาศึกษาตัวความรู้ของชาวบ้าน     ถ้าต้องการตัวความรู้ต้องมาฝังตัว ๒ – ๓ สัปดาห์      เรามาต่อเชื่อม  สานความรู้    ไม่ใช่มาหาว่าความรู้ในพื้นที่มีอะไรบ้าง    เราเป็น “คุณอำนวย”
             ไปดู รร. ประทับใจมาก    ตนพยายามทำ รร. แบบนี้เมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว อุปสรรค มาก   แต่เห็น รร. นี้มีปัจจัยอำนวยมาก
              ได้แนวไปทำกับ ครูบาสุทธินันท์ ซึ่งผู้ช่วยเป็นครู     จึงได้ความคิดว่าที่บุรีรัมย์น่าจะทำใน รร. ด้วย    สถานี เรียนรู้นอกจากบริการชาวบ้านแล้ว ควรเข้าไปเสริมการเรียนรู้ของเด็กใน รร. ด้วย      แต่ผู้ช่วยของครูบาสุทธินันท์เป็นครูอกหัก    ที่พิจิตรเป็นครูที่ทำงานใน รร. และทำกับชาวบ้าน   
              ไม่ผิดหวังอะไร    คิดว่าสิ่งที่เราไม่ได้เพราะเราไม่ฉลาดพอ
               วิธีจัดแบบนี้ดีแล้ว    ใช้เวลาได้  efficient    ถ้าต้องการความรู้ต้องไปฝังตัวในหมู่บ้าน      มิฉะนั้นจะได้ความรู้แบบที่เขาต้องการให้เรารู้    
               อยากทำอะไร    อยากไปทำงานลงพื้นที่ กับเครือข่าย รร.  ๓ เดือน / ครั้ง    ขอค่าเครื่องบิน   ค่าเดินทาง

ศ. ดร. ประเสริฐ โศภณ
                ชื่นชมผู้จัด    เห็นวัฒนธรรมการทำงานของ สคส.
                 อยากมาเที่ยวพิจิตร   เพราะชอบเพลงลูกทุ่งชื่อเพลงสาวงามพิจิตร     มาเห็นบึงสีไฟ นึกถึงชาละวัน  ไกรทอง แต่รู้สึกว่าบึงสีไฟจะเล็กไปหน่อย ไม่ตรงกับจินตนาการจากเรื่องไกรทอง    ได้เห็นท่าน้ำวัดท่าหลวง   
                 มาหาโจทย์วิจัยและต่อยอด    เห็นว่าเขาทำได้ดีแล้ว   ทำไมต้องการเรา    คิดว่าหน้าที่ของเราคือไป rationalize process ที่เขาทำ    ให้คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์    เขาต้องการต่อยอดได้ในเชิงวิทยาศาสตร์     น่าจะวิจัยดู synergism ระหว่างจุลินทรีย์ต่างชนิด     วิธี mass produce จุลินทรีย์      วิจัยสมุนไพร โดยให้คนค้นฐานข้อมูล Napalert และเขียนให้คำแนะนำ เป็น dry lab     ตามด้วย wet lab คือการวิจัยฤทธิ์ของสมุนไพรแต่ละตัว
                หวั่นว่า เขาคาดหวังสูง    สกว. มีข้อจำกัด   ทำแบบ comprehensive ยาก    ควรเลือกเน้นเฉพาะด้าน    ความสัมพันธ์กับหน่วยราชการจะ break barrier ได้อย่างไร    การทำงานในมุ้งไม่ได้ผล จึงต้องออกไปทำนอกมุ้ง   
                 คิดถึงการให้ชาวบ้านเป็นผู้ช่วยนักวิจัย
                 สกว.   สคส. เป็น catalyst ลด activation energy    เร่งปฏิกิริยา    ไม่ใช่ผู้เข้าไปทำปฏิกิริยา
                 กระบวนการทางสังคมที่มีการขับเคลื่อน   คนไม่กล้ากินผัก    กลัวพิษ    ถามว่า social movement ควรทำอย่างไร     ตนมาเห็นตัวละคร    แปลกใจที่ นพ. สสจ. ไม่เห็นบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพของสุรเดช   
                เป็นห่วงราชการจะไปครอบงำเขา   เอามาตรฐานไปจับ    เราต้องการ pluralism     ชาวบ้านอยากให้เราไปบอกว่าเขามีมาตรฐาน     อย่ามาห้าม    สงสัยว่าโรงงานปุ๋ยประจำอำเภอจะก่อปัญหา    ชาวบ้านเกรงว่าจะโดนห้ามผลิตปุ๋ยอินทรีย์เม็ดขาย     ไม่ห่วงคุณสุรเดช  
               กระบวนการเรียนรู้สำคัญมาก    เขารู้สึก powerless    ที่จริงมีคนมาสอดแทรกได้    ไม่รู้ว่าการขับเคลื่อนมวลชนจะทำอย่างไร

ศ. ดร. วิชัย บุญแสง
             ต้องการเชื่อมโยงนักวิจัยอาวุโสกับนักปฏิบัติคือเกษตรกร     คราวต่อไปจะเชิญนักวิจัยรุ่นใหม่    ทีม ดร. วันชัย ดีเอกนามกูล (โครงการ Megaproject ของ สกอ., และ บวท.    นึกถึงอาจารย์ มรภ. ด้วย  
             ได้ความคิดว่า ชาวบ้าน ป. ๒ – ๔ ยังทำวิจัยได้   อาจารย์ มรภ. น่าจะทำได้    จะดึงมาอย่างไร
              ได้รู้จักการจัดการความรู้มากขึ้น    ได้เห็นการ sharing ความรู้คนละแบบ ระหว่างชาวบ้าน – นักวิชาการ  
              ประทับใจคำพูดของ ศ. ดร. อมเรศ ว่านักวิชาการพื้นฐานน่าจะเอาข้อมูลเริ่มต้นจากผู้ปฏิบัติมาทำวิจัยต่อยอด    
              ตอนเดินทางกับ สกว. ท้องถิ่นไปดูทางเหนือ    ได้เห็นสภาพที่ชาวบ้านภูมิใจการอยู่อย่างพอเพียง     ความจริงใจของเราช่วยให้เขาบอกสิ่งที่เขารู้ทั้งหมด     แต่ไม่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นระบบอย่างคราวนี้ซึ่งเกิดการกระตุ้นมาก   
               เกษตรอินทรีย์ นักวิจัยท้องถิ่น เน้น มรภ. น่าจะแสดงบทบาทได้มาก

ศ. ดร. ประเสริฐ โศภณ
               ภาคเหนือเกาะกลุ่มไม่เหนียวแน่นอย่างพิจิตร    ราชการ ทหาร กองพันสัตว์ต่างที่เชียงใหม่    พท. ชิต แดงปรก   มีม้า ๔ พันตัว  กลายเป็นแหล่งผลิตปุ๋ยอินทรีย์     เอายุวเกษตรกรมาทำแคมป์ ฝึกอบรมอย่างเป็นระบบ เป็นรุ่นต่อเนื่อง   
               กลุ่มที่เชียงใหม่ จาก มรภ. ไม่ healthy มีความคิดว่าเกษตรอินทรีย์ต้องเริ่มจากจารีต idealism    แบบคิวเซ EM ที่พูดเมื่อวาน     ที่เชียงใหม่มีกลุ่มที่คิดว่าจุลินทรีย์ถ้าเอาไปขาย ใช้ไม่ได้   นอกรีต ถ้าไม่ทำอย่างฉัน    ต้องอย่าทนคนอื่นไม่ได้    ต้องไม่เน้น idealism   ต้องใจกว้าง

ศ. ดร. อภิชัย พันธเสน
            เสริมโจทย์วิจัย     เทคนิคทางการเกษตรที่ตนเข้าใจ     การทำปุ๋ยอินทรีย์ต้องตรวจอุณหภูมิ   ปรับกองปุ๋ย    จึงต้องการจุลินทรีย์ทนความร้อน     ในความรู้เดิมคิดเอาอินทรียวัตถุ – ยูเรียมาทำปุ๋ย   จึงไม่คุ้ม   เพราะเทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้า     EM ที่กลุ่มโยเรคิดขึ้นมาและไม่ patent ช่วยชาวโลก    ช่วยทำให้ลด intervention ของคน    ทำให้เกษตรธรรมชาติเห็นผลเร็ว    แค่ ๒ – ๓ ปีก็ฟื้นสภาพดินได้    โจทย์วิจัยจึงเป็นเรื่อง microbiology   ศึกษาองค์ประกอบจุลินทรีย์    สูตรไหนเหมาะต่อพืชประเภทไหน  

.ศ. ดร. เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม
          EM มาจากญี่ปุ่น    มีงานวิจัยมาก    มีสมาคมดินและปุ๋ย     anaerobic fermentation    ตัวหนึ่งคือ Lactobacillus เหมือนแหนม    สมาคมดินและปุ๋ยญี่ปุ่นว่าไม่ได้ผล    น่าจะไปค้นรายงานผลการวิจัยมาดู

ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช
         ต้องการเชื่อมความรู้ของชาวบ้านกับนักวิจัย     ต้องการชักชวนให้นักวิจัยมาเห็นด้วยตาตนเองว่าชาวบ้านมีความรู้     แต่เป็นความรู้อีกมิติหนึ่ง     คือความรู้ปฏิบัติ
         ได้รับผลสำเร็จเกินความคาดหมายไปมาก
          เสนอให้ สกว. จัดให้มีการ review องค์ความรู้เรื่อง จุลินทรีย์บำรุงดิน    
 
ศ. ดร. อภิชัย พันธเสน
      วาทกรรมกับความเป็นจริง     คำพูดของสุรเดชเมื่อวาน  “ไม่ได้ทำในหน้าที่ราชการ   ทำเพื่อคนพิจิตร เพื่อคนไทย เพื่อโลก”    เป็นตัวอย่างของวาทกรรม    คำพูดโน้มน้าว
      Politics of knowledge  พุทธเศรษฐศาสตร์    มีขึ้นในยุโรปพร้อมๆ กับ Adam Smith  เขาเรียก humanistic economics   โดนกระแสหลักฝังดินหมด   

     โดยการทำ AAR บนรถ ทำให้เราเดินทางโดยเพลิดเพลิน   ถึงกรุงเทพโดยไม่เบื่อเลย
      สิ่งที่ผมได้เกินความคาดหมายเป็นส่วนตัว คือได้ฝึกเป็น “คุณลิขิต”    ได้เรียนรู้เทคนิคการเป็น “คุณลิขิต”

บันทึก KM สัญจร ครั้งที่ ๒ (๑)   บันทึก KM สัญจร ครั้งที่ ๒ (๒)

บันทึก KM สัญจร ครั้งที่ ๒ (๓)    บันทึก KM สัญจร ครั้งที่ ๒ (๔)

บันทึก KM สัญจร ครั้งที่ ๒ (๕)

วิจารณ์ พานิช
๑๓ มค. ๔๙

 
หมายเลขบันทึก: 12094เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2006 09:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
KM team ที่นนทบุรี อยากให้อาจารย์หมอมาร่วมกับเราวันที่ 30 มค.- 2 ก.พ.ที่โรงแรมริชมอน นนทบุรี ในการ workshop อย่างมากครับ ทั้งๆที่รู้ว่าโปรแกรมคุณหมอแน่นมาก แต่เราก็มีความหวัง  ทีมคุณอำนวยที่นี่ตั้งใจมากครับ และกลัวผู้อบรมจะเข้าไม่ถึงแก่นKM เพราะยังติดกับราชการเหมือนกับที่คุณหมอเคยกลัว อยากได้กำลังใจครับ
อาจารย์หมอครับ...ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี(พระนาย) ให้ สพท.ทั้ง เขต 1และ2(ผมเป็นผู้แทนของท่าน ผอ.ประไพ)ไปเล่าถึงการทำ KM หลายรอบครับ  รอบแรกผมไปเล่าให้ท่านรองผู้ว่าฯวิเชียรฟัง ถึงรูปแบบการทำ KM ที่ทีมคุณหมอฝึกให้พวกเรา ท่านรองฯประทับใจมาก  รอบ 2 เล่าให้ท่านผู้ว่าฯพระนายฟังท่านก็พอใจมาก ท่านเลยให้ผมไปเล่าในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดฟัง เป็นรอบที่ 3 ที่ประชุมสนใจมาก ท่านผู้ว่าฯพูดแกมบังคับให้ทุกหน่วยงานทำ KM และให้สำนักงานจังหวัดประสานกับผมให้เรียนเชิญคุณหมอหรือ ดร.ประพนธ์ มาบรรยายให้หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดฟัง ในวันที่ 30 มีนาคมนี้ เวลา 10.00 - 11.00 น. (1 ชั่วโมง)  วันนี้ผมได้โทรไปที่สำนักงาน สคส.คุยกับคุณสุนทรีย์ ให้ช่วยประสานงานให้ ได้ความอย่างไรให้แจ้งสำนักงานจังหวัดฯ(คุณเกียรติวดี) โทร.06-5455148 หรือ 02-5800752 ไม่ทราบว่าคุณสุนทรีย์ได้ประสานกับคุณหมอหรือยัง  จึงขออนุญาตประสานขอความกรุณาคุณหมอมาทางบล็อกนี้อีกครั้งครับ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท