เศรษฐศาสตร์และการเงินข้างเสา – ตอนที่ 3 ตุ่มก้นรั่ว


การทำงานหาเงินก็เหมือนตักน้ำใส่ตุ่ม ยิ่งตักมาก ก็จะได้น้ำเก็บไว้ในตุ่มมาก แต่ถ้าตุ่มก้นรั่วเสียแล้วล่ะก็ ไม่ว่าจะตักน้ำเข้าตุ่มมากเท่าไหร่ น้ำก็จะไหลออกหมด

เดิมที ผมวางแผนว่าจะเขียนเรื่องกระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน ซึ่งเป็นตอนที่ 3 เกี่ยวกับกระแสเงินสด  แต่เมื่อมาย้อนดูแล้ว รู้สึกว่าเรื่องราว 2 ตอนที่ผ่านมาค่อนข้างจะหนักไปบ้าง  ตอนนี้ จึงขอคั่นจังหวะด้วยเรื่องสบายๆ และชวนเชิญให้ท่าน Blogger มาแสดงความคิดเห็นสักเล็กน้อย

ในตอนที่ 1 ผมได้เล่าเรื่องเพื่อนพนักงานที่มีปัญหาหนี้สิน เป็นกรณีศึกษาเรื่องกระแสเงินสด และทิ้งท้ายด้วยคำแนะนำที่ว่า อันดับแรก เขาควรจะตรวจสอบกระแสเงินสดจากการทำมาหาได้ของตัวเองว่าเป็นอย่างไร   ถ้าติดลบ ต้องหาวิธีเพิ่มรายได้หรือลดค่าใช้จ่ายเสียก่อน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย แต่บางที มันก็ยากเหมือนกัน

ในวิชาเศรษฐศาสตร์ ได้ตั้งสมมุติฐานว่ามนุษย์คิดด้วยเหตุด้วยผล เวลาที่คิดจะใช้จ่ายอะไร ก็ประเมินว่า ใช้จ่ายอย่างไรให้ได้ความพอใจสูงสุด โดยคำนึงถึงงบประมาณที่ตัวเองมีอยู่  ถ้าคนเราเป็นอย่างนี้จริงๆ ก็ไม่น่าจะมีปัญหา  เวลาที่เรามีเงินหรืองบประมาณจำกัด เราก็น่าจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายของเราตามงบประมาณที่มีอยู่ จริงไหมครับ  แต่ในความจริง ทำไมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายมันช่างยากเหลือเกิน

กิเลสยังไงครับ ที่ทำให้มันยาก  เวลาที่เรามีกิเลสอยากได้ขึ้นมา อะไรๆ มันก็จะดูเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นไปหมด

เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงเรื่องที่พี่คนหนึ่งเคยสอนผมเมื่อผมเริ่มทำงานใหม่ๆ ว่า ทำงานเก็บเงิน ก็เหมือนตักน้ำใส่ตุ่ม  การทำงานหาเงินก็เหมือนตักน้ำใส่ตุ่ม ยิ่งตักมาก ก็จะได้น้ำเก็บไว้ในตุ่มมาก  แต่ถ้าตุ่มก้นรั่วเสียแล้วล่ะก็ ไม่ว่าจะตักน้ำเข้าตุ่มมากเท่าไหร่ น้ำก็จะไหลออกหมด  เหมือนการควบคุมค่าใช้จ่าย ถ้าใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายแล้ว ไม่ว่าจะหาเงินมาเท่าไหร่ ก็จะใช้จนหมด

กิเลสทำให้ก้นตุ่มรั่ว แล้วตุ่มของคุณเป็นอย่างไรบ้างครับ
หมายเลขบันทึก: 120908เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2007 00:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

P

           มาตามคุณมะปรางเปรี้ยวค่ะ

สำหรับดิฉันเอง โชคดีหน่อยที่รอดตัว ไม่ค่อยมีปัญหานี้เพราะ ฝึกควบคุมกิเลสได้ และใครที่อยู่ใกล้ตัว ก็จะฝึดเขาเช่นเดียวกัน

ขอบคุณมากค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • บันทึกนี้อ่านเพลินดีจังเลยค่ะ
  • พฤติกรรมของคนเรายังคงมีกิเลสจริงๆค่ะ
  • ถ้าเราบริโภคในงบประมาณที่จำกัดของเรา และเลือกสิ่งที่เราพอใจจริงๆ และมีการเก็บออม   ก็จะไม่มีปัญหาทางด้านการเงิน
  • แต่ส่วนใหญ่เรามี wants มากเกินความพอดี  จึงก่อหนี้สินตามมามากมาย...
  • ที่ g2k ไม่ค่อยมีบันทึกเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เท่าไหร่ นานๆจะเจอสักบันทึก
  • แล้วจะแวะมาเยี่ยมเยียนอีกค่ะ เขียนบ่อยๆนะคะ

ขอบคุณคุณ sasinanda และ อ.ลูกหว้า ที่แวะเข้ามาแสดงความคิดเห็นครับ

รับรองจะเขียนบ่อยๆ ครับ

คุณวชิระชัยคะ  เป็นความจริงคะ  ทุกคนมีกิเลสตัญหา  มีแต่อยากได้ อยากได้  โดยไม่ดูกำลังความสามารถของตนเอง  เห็นคนอื่นเขามี  ก็อยากมีบ้าง ซึ่งหารู้ไหมว่า  ตุ่มของตนเองรั่วเสียหลายรู ก็มีมากพอแรงแล้ว  ก่อนที่อยากได้ก็ต้องหาวิธีอัดรูรั่วเสียก่อน ถ้าอัดไม่ได้ก็อย่าไปไขว่าคว้าสิ่งที่เกินกำลังตนเอง เพราะในที่สุดก็จะแก้ปัญหาที่ตามมารอบด้าน เพราะเรื่องเงิน ที่อยากได้เช่นเขา  ดิฉันก็เคยมีประสบการ เนื่องจากตุ่มรั่ว แต่ดิฉันก็ได้แก้ อัดตุ่มหมดแล้ว

ซึ่งดิฉันเคยผ่อนสิ่งของหนักไพร้อมกันถึง 3 อย่างด้วยที่ว่า มีความคิดว่า  นำขึ้นให้รีบตัก ดิฉันก็เลยตักใส่ตุ่มเสียจนล้น แล้วเอาอันที่ล้นๆไปปิดยอดหนี้แล้ว

และทุกวันนี้ มาเรียนหนังสือ  ไม่ว่าวิชาอะไร ทุกวิชา ให้เข้าหาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงทั้งหมดเลย ซึ่งดิฉันก็ได้ปฏิบัติตาม  คือ มีความพอประมาณ  ไม่คิดอยากได้อะไรอีกแล้ว พอแล้ว และเข็ดตอนหาเงินมาใช้เขาไม่ให้ผิดเวลา ทำให้เราไม่มีเวลาเป็นตัวของตัวเอง มีคำเดียววันนี้ต้องหาได้เท่าไร บังคับตนเกินไป

มีเหตุมีผลในการใช้จ่ายมากขึ้น  นั่นคือจะซื้ออะไร คิดแล้วคิดอีก เพราะเวลาหาเงินไม่มีมากเหมือนเมื่อก่อน คือยังมีได้อย่างเสียอย่างเช่นเคย จะเอาเรียนให้จบก่อน มันยากมาก จะซื้ออะไร มาวิเคราะห์ก่อน ถ้าวิเคราะหืแล้ว ไม่มีความจำเป็นครบ  3 อย่างจะล้มเลกความอยากได้ทันที  ก็ได้ผลคะ

และมีอีกข้อหนึ่ง  พอเราตัดหนี้ตัดสินหมดแล้ว  เงินที่จะได้ใช้ก็ต้องหาใหม่  เวลาหาไม่มีมากก้ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา  จึงต้องสร้างภูมิคุ้มกัน  ให้ตนเองใช้จ่ายอย่างประหยัด ลงกว่าปรกติ ไม่ฟุ่มเฟือยก็โอเคแก้ได้คะ ที่คุณแนะนำมา ดีมากเลย และทั้งคนที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นยาว ๆอ.ลูกหว้าจะดีมาก เพราะต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ  สวัสดีคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท