การบริหารหลัง บ่า ไหล่


ข้อแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญการปรับโครงสร้างร่างกาย
สาวออฟฟิศจ๋า" ช่วยดูแล "หลัง-บ่า-ไหล่"

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มสาวออฟฟิศสมัยใหม่และมีไลฟ์สไตล์การทำงานแบบนั่งกับโต๊ะวันละเกือบ 8 ชั่วโมง ต้องวุ่นวายอยู่กับเอกสารกองโต หรือคร่ำเคร่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา คุณเคยสังเกตหรือไม่ว่าร่างกายสะสมความอ่อนเพลียและเมื่อยล้าเพียงใดจากการมีกิจวัตรเช่นนี้ทุกวัน

สำหรับคุณสาวๆ หลายคนที่คิดว่าความอ่อนล้าและอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและร่างกายเป็นเรื่องธรรมดาของคนทำงาน หากได้พักผ่อนก็จะหายไปเอง ขอแนะนำว่าควรฟังข้อแนะนำดีๆ จากผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับโครงสร้างร่างกาย

เพ็ญพิชชากร แสนคำ นักกายภาพบำบัดจากสถาบันปรับโครงสร้างร่างกาย ซีเคร็ท เชพ เวลเนส เซ็นเตอร์ กล่าวถึงอาการปวดหลังปวดบ่า ว่าเป็นเรื่องปกติที่ผิดปกติของสาวทำงาน นั่นคือ...

"ผู้หญิงทำงานอายุ 25-45 ปี มักประสบปัญหาอาการปวดบ่า และปวดหลัง ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการนั่งที่ผิดวิธี เช่น นั่งหลังงอ หรือนั่งไขว่ห้าง ซึ่งน้ำหนักจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งจนทำให้กระดูกสันหลังคด การทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์งานนานๆ กล้ามเนื้อบริเวณไหล่และคอจะเกร็ง จึงปวดเมื่อยบริเวณบ่าและคอหากสะสมนานๆ อาจกลายเป็นโรคปวดหลังเรื้อรังได้ ในบางรายที่มีอาการปวดศีรษะตามมา เนื่องจากกล้ามเนื้อที่หดตัวนั้นไปกดทับเส้นเลือด ทำให้เลือดมาเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ" ผู้เชี่ยวชาญอธิบาย

ส่วนการยืนหรือเดินบนรองเท้าส้นสูงนานๆ ก็เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อตั้งแต่บริเวณน่อง ไล่มาทั้งขา สะโพก เอว จนทำให้กระดูกสันหลังช่วงเอวแอ่นตัวไปข้างหน้า กล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนกำลัง ไขมันจึงสะสมได้ง่าย หากกล้ามเนื้อไม่ได้ออกกำลัง อาจทำให้หมอนรองกระดูกที่เคลื่อนไปตามการแอ่นของกระดูกสันหลัง มากดทับเส้นประสาทขา จนกลายเป็นอัมพาตช่วงขาได้

ฉะนั้นเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดบ่าและหลังคุณสาวๆ ทั้งหลายจึง ควรเริ่มฝึกตัวเองให้รู้จักใช้ร่างการอย่างถูกวิธี นั่นคือ นั่งตัวตรงถ่ายเทน้ำหนักไปที่ก้นทั้งสองข้างเท่าๆ กัน แนวขาทำมุม 90 องศากับแนวสะโพก เพื่อกระจายแรงที่จะไปกดทับกระดูกสันหลัง ควรเปลี่ยนท่าทาง อิริยาบถจากนั่งเป็นยืนหรือเดินเสียบ้าง เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว เปิดการไหลเวียนของเลือด

พร้อมกันนี้เพ็ญพิชชากรยังแนะนำด้วยว่า การออกกำลังกายแบบง่ายๆ ระหว่างวันทำงานก็เป็นทางออกที่ดีเพื่อลดอาการปวดบ่าและหลัง เช่น หมุนคอ บิดลำตัวอย่างช้าๆ เพื่อให้มัดกล้ามเนื้อทุกเส้นใยได้ออกแรง ซึ่งการทำอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบกระเทือนต่อข้อกระดูกที่อาจเคลื่อนตัว และส่งผลถึงเส้นประสาทและการทำงานของร่างกาย ฝึกการหายใจเข้า-ออก ในลักษณะแขม่วท้องเพื่อให้แรงดันจากกล้ามเนื้อช่วยปรับกระดูกสันหลังช่วงเอวให้เข้าที่ ช่วยให้ช่วงอกยืดตัวหลังจะได้ไม่ค่อม

ส่วนปัญหาการปวดบ่าและหลังที่เกิดขึ้นกับร่างกายเป็นประจำทุกวัน อาจทำให้บางคนเกิดความเคยชินและมองว่าอาการดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบร้ายแรงมากมาย แต่ในความเป็นจริงแล้วอาการปวดเรื้อรัง ก่อทั้งความรำคาญและทำลายความสุขในการใช้ชีวิต หรืออาจถึงขั้นทำให้โครงสร้างร่างกายเสียสมดุล ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่างๆ กล้ามเนื้ออ่อนล้าและร่างกายอ่อนแรงในที่สุด

สำหรับสาวทำงานที่มีอาการปวดไม่รุนแรงหากใส่ใจดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มต้นด้วยตัวเอง ก็จะสามารถป้องการการปวดเรื้อรังได้ แต่บางรายที่มีอาการปวดเข้าขั้นเรื้อรัง จนไม่สามารถออกกำลังหรือดูแลรักษาได้ด้วยตัวเอง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัด และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจะดีที่สุด



หมายเลขบันทึก: 120889เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2007 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขั้นแรกผมไปลดหุ้นครับ เพราะปัจจุบัน น้ำหนัก 95 สูง 175 อายุ 46 ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท