เราจำอะไร ใน LTM


เราจำทุกอย่างที่ผ่าน STM เข้ามาใน LTM ซึ่งได้แก่ จำภาพ จำเสียง จำความหมาย จำเรื่องราว

เราจำเสียง  เพราะว่ามีเสียงเข้าทางหูผ่านเข้าไปจนถึงแดนการได้ยินเสียงที่บริเวณ Auditory Cortex  ทำให้เรารู้สึกได้ยินเสียง  เรียกว่าเกิดการรู้สึกสัมผัสเสียง(Sensation) และต่อมาเรารู้ความหมายของเสียง  เรียกว่าการรับรู้(Perception)  การับรู้นี้เกิดขึนใน STM   คือจำในระยะสั้นๆในSTM   เมื่อเลย 30 วินาทีไปแล้ว  การรับรู้เสียงนั้นก็จะไปอย่ใน LTM  เพราะฉะนั้น จะต้องมีการจำเสียงใน LTM.(โปรดดูที่ http://gotoknow.org/archive/2006/01/06/22/27/03/e11513 )

เราจำภาพ  เพราะว่าภาพเข้าทางตาและเดินทางไปจนถึง STM เมื่อเวลาผ่านไปแล้วประมาณ 30 วินาที  ภาพนั้นก็จะไปเก็บไว้ใน LTM  ดังนั้น ใน LTM ก็จะต้องมีการจำเป็น ภาพ

การจำกลิ่น,การจำรส,การจำความร้อนหนาว,การจำความเจ็บปวด, ก็สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลเช่นเดียวกันกับข้างบนนี้  เมือมันเข้าไปอยู่ใน STM ได้  มันก็ต้องเข้าไปอยู่ใน LTM ได้เช่นเดียวกัน

ทั้งความจำเสียง  ความจะภาพ  ความจำกลิ่น  ความจำรส  ความจำร้อนหนาว ความเจ็บปวดฯลฯที่เก็บอยู่ใน LTM  ถือว่าเป็นความหมาย(Semantic)  เพราะว่า มันจะถูกดึงออกมาจาก LTM ,เพื่อมาให้ความหมายกับการรู้สึกสัมผัสที่อยู่ใน SM ทำให้เกิดการรับรู้ และเข้าไปอยู่ใน STM

นอกจากนี้ยังมีความจำเรื่องราว(Episodic Memory) ใน LTM  ความจำเรื่องราวหรือความจำเหตุการณ์เป็นการจำความสัมพันธ์ระหว่าง (1)สิ่งแวดล้อม-ข้อเท็จจริง  เช่น เด็กชายแดงว่ายน้ำ(ข้อเท็จจริง), ที่โรงเรียน(สิ่งแวดล้อม), (2) สถานที่-เวลา  เช่น  ที่โรงเรียน(สถานที่), เมื่อวานนี้(เวลา),  (3) ภาคประธาน-ภาคแสดง  เช่น โผน กิ่งเพชร(ภาคประธาน), เป็นนักมวย(ภาคแสดง),(4) ความสัมพันธ์-กรรม  เช่น ชอบ(ความสัมพันธ์), มังคุด(กรรม)   ความสัมพันธ์เหล่านี้ ต่างก็เป็น ความจำเรื่องราว  และเมื่อรวมกันทั้งสี่ประเภท ก็เป็นเรื่องราวยาวบ้าง สั้นบ้าง  ถ้าท่านไปฟังการพูดไฮปาร์คมา  และมาเล่าให้คนอื่นฟัง ความจำนั้นคือความจำเรื่องราว  ท่านอ่านหนังสือนิทานมาแล้วมาเล่าให้เพื่อนฟัง, เล่าเหตุการณ์ที่ท่านพบมาเมื่อเดือนก่อนให้เพื่อนฟัง,ฯลฯ ล้วนแต่เป็นการจำเรื่องราวทั้งสิ้น

ยิ่งค้นเรื่องในสมองของมนุษย์ลึกเข้าไป ๆ ก็ยิ่งพบความมหัศจรรย์มากขึ้นทุกที

แต่ ตรงไหนเล่าที่เรียกว่าจิต ?

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทื้เดกกกกก

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 12071เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2006 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท