ปัญหางูกินหางในการจัดการความรู้และการพัฒนา (2)


ผมเลิกคิดที่จะเปลี่ยนความคิดคนแล้วครับ เพียงการหาคนที่มีความคิดคล้ายๆกันก็พอแล้ว
 

เรื่องนี้ผมได้แรงบันดาลใจจากการคุยกับคุณเม้งเมื่อตอนเย็นวันนี้

ผมได้บอกคุณเม้งว่า  ผมเลิกคิดที่จะเปลี่ยนความคิดคนแล้วครับ เพียงการหาคนที่มีความคิดคล้ายๆกันก็พอแล้ว และทำยากมากอยู่แล้ว

 เพราะ ผมเริ่มไม่แน่ใจว่าความคิดเราเปลี่ยนได้จริงๆ เพราะที่ผ่านมายังไม่เคยเจอ คนส่วนใหญ่จะเลือกทำสิ่งที่ใกล้กับความคิดของตน และปฏิเสธสิ่งที่ต่างออกไป  

การทำงานของผม กับเพื่อนต่างชาติหลายคนก็พูดตรงกันครับ

 เขาบอกผมด้วยซ้ำว่าวันนี้จะมาทำอะไร เท่านั้น แต่มักจะไม่บอกว่ามาเอาอะไร 

การประชุมระดับนานาชาติที่ผมเข้าร่วมหลายครั้ง ก็มักมีข้อสรุปเสร็จก่อนการประชุม อันนี้เห็นบ่อยมาก ระดับชาวบ้านก็ประมาณกัน 

ผมจึงกลับไปใช้ความคิดในการทำงานแบบเดิม

หาคนที่คิดตรงกันมากกว่าที่จะเปลี่ยนแปลงใคร 

และคำว่าตรงก็ไม่ทุกเรื่อง

จึงต้องว่ากันเป็นเรื่องๆ 

ผมเรียกกลุ่มแบบนี้เป็นภาษาอังกฤษว่า  learning alliances (เติม S)

ที่เพื่อนฝรั่งหาว่าผมเขียนผิด เพราะ เขาไม่เข้าใจว่าแนวร่วมทำไมต้องมีหลายแนว แนวเดียวก็มากแล้ว 

เรื่องปัญหา งูกินหาง นี้ ของการไม่พัฒนา 

ก็ไม่ใช่จะแกะออกง่ายๆ

 เช่น เรื่องความคิดกับความรู้ที่กินหางกันอยู่ใน KM นั้นยากที่จะหาทางออกได้โดยง่าย มันวนจนหาทางออกไม่ได้ 

ที่เขาไม่คิด เพราะเขาไม่รู้ ที่เขาไม่รู้เพราะเขาไม่คิด วนอยู่อย่างนี้แหละครับ 

ก็เขาไม่รู้จะให้คิดอะไรล่ะอันนี้เรื่องจริงที่ผมเผชิญกับการทำงานในปัจจุบันเพราะไม่รู้ จึงไม่ได้คิด 

ผมทั้งชักชวน ทั้งขู่ ทั้งปลอบ ก็ยังเดิมๆครับผมเลยเลิกครับ ไปหาคนที่รู้พอที่จะคิดดีกว่า หรือไปหาคนคิดพอที่จะรู้ ง่ายกว่าเยอะครับเพราะ

ผมเหนื่อยมามากแล้วครับ กับการกระตุ้นให้คนคิด 

บางทีหมดแรงโดยไม่ได้อะไรเลย จึงมาทำกับกลุ่มปราชญ์

 แต่กลุ่มปราชญ์ก็ยังมีระดับแตกต่าง และก็ยังต้องเลือกอีกครับ

มีมากมายแบบ "ดีชั่วรู้หมดแต่อดไม่ได้"

 ความคิดไม่ลึกพอที่จะรู้ ความรู้ไม่พอที่จะคิด

อันนี้เป็นทุกระดับ จากชาวบ้านถึงนักวิชาการ(ที่ชอบอ้างกัน) 

นี่คือที่มาของ KMทุกตนต้องทำ เพื่อยกระดับของตนเอง เพราะความรู้ไม่พอนะครับ ทุกคนเป็นเหมือนกัน

แต่ถ้าไม่มี KMการแก้ปัญหางูกินหางจะลำบากมาก เราต้องสร้างความรู้ให้กับตัวเองอยู่ตลอกเวลา ความรู้เก่าอาจต้องปรับ เหมือนการขับรถ ยังไงอย่างนั้นเลยครับ 

คนไม่กล้าขับรถ ไม่มีวันขับรถเป็น 

แม้คนขับเป็นก็ยังต้องเรียนรู้ไปตลอดเวลาในระหว่างขับ งั้นไปไม่ได้ไกลหรอกครับ 

ปัญหาคือ คนส่วนใหญ่ ไม่มีความรู้พอ ที่จะ "กล้าหัด" ขับรถ แม้จะอยากขับรถเป็นก็ตาม 

จุดเริ่มต้นจึงต้อง ทำอย่างไร ให้เขา "รู้" ว่าเขาหลง นี่คือสิ่งที่ยากที่สุดก่อนจะค่อยๆง่าย 

เรื่องนี้ท่านมหาชัยวุธสอนมวยผมในบล็อกที่ผมเขียนวันก่อน เรื่อง รอยต่อของความฝันกับความจริง

 แม้จะมีกระจกเงาก็อาจทุบกระจกทิ้ง

เพราะคิดว่าไม่ดี ให้ภาพเบี้ยวเลยไม่ดูกระจกแต่ไปดูภาพปลอมๆที่ติดไว้หน้ากระจกแทน 

บัณฑิตเท่านั้นที่จะแยกคนพาลออกจากบัณฑิตได้ แต่คนพาลจะมองสิ่งที่แตกต่างเป็พาลไปหมด (ท่านมหาชัยวุธ สอนมวยให้ผมครับ) 

ปัญหางูกินหางนี่สงสัยต้องไปเรียนถามท่านมหาชัยวุธ อีกสักรอบ ยอมรับว่าโง่จะได้กำจัดให้เหลือน้อยลงอีกสักนิด

หมายเลขบันทึก: 120671เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2007 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดร. แสวง รวยสูงเนิน  ...

อ่านบันทึกอาจารย์อย่างตั้งใจ ๒ เที่ยวแล้ว (ปกติเปิดแล้วก็ลากผ่านๆ ไม่มักจะอ่านอย่างตั้งใจ) ก็ยังจับประเด็นไม่ได้ว่า งูกินหางอย่างไร ?

มีความรู้สึกว่า อาจารย์กำลังบ่นในสิ่งที่ไม่ได้ดังใจบางประการ ซึ่งโดยมากอาตมาก็มักจะเป็นเช่นนี้ (.........)

ก็ถือโอกาสบ่นจากความทรงจำบ้างเล็กน้อย....

ตามแนวคิดของโสคราติสบอกว่า จริยธรรม คือ สิ่งที่ควรกระทำนั้นไม่สามารถสอนได้ (นั่นคือ เราไม่สามารถสอนให้คนประพฤติไปตามที่เราต้องการได้) แต่เราสามารถกระตุ้นให้ใครบางคนเกิดความสำนึกแล้วดำเนินการตามที่เราคาดหวังได้... ประมาณนี้

คำสอนทางพระพุทธศาสนามีเรื่อง นิยตมิจฉาทิฎฐิ (ความเห็นผิดอันดิ่งลง) ถ้าแล่นไปถึงชวนจิตที่เจ็ด แม้พระพุทธญาณร้อยหรือพันพระองค์ก็ไม่สามารถช่วยให้เขาเกิดความสำนึกหรือเปลี่ยนใจได้ในชาตินั้น...

สรุปว่า การเปลี่ยนใจคนยากจริงๆ...

มีอีกอย่างหนึ่ง ท่านพุทธทาสชอบพูด ตะถะตา เช่นนั้นเอง 

ถือโอกาสบ่นเพียงแค่นี้ก่อน รอใครมาบ่นต่อ....

เจริญพร

สวัสดีครับท่านอาจารย์ แสวง และ กราบนมัสการหลวงพี่ครับ

ลุงรักชาติราชบุรี
...งูกินหาง..เป็นธรรมเปรียบเทียบ..ของสภาวะอันเป็นปกติ..ของระดับธรรมชาติสามัญ..ทุกกระบวนวิถีมักติดอยู่ในวังวน..เพรามีปกติสัญชาติญาณและกิเลศเป็นตัวชักนำ...อีกทั้งขาดความอึดทนในการต่อต้านจนสังเกตุเห็นโทษ.คนก็เป็นอย่างนั้น..เราก็เป็นอย่างนั้น..บัณฑิตอาจมีสภาวะบางตอนคล้ายครึ่งหลับครึ่งตื่น..ติดกับดักบ้าง..หลุดพ้นบ้าง..ส่วนพาลนี่มิตื่นเลย..หนำซ้ำหลงปลื้มจนมัวเมาทีเดียว..การที่จะสถาปนาความเป็นมนุษย์แก่ตนจึงยากอยู่ยิ่งอยากสถาปนาความเป็นมนุษย์แก่ผู้อื่นยิ่งยากใหญ่..แต่ใช่จะทำไม่ได้เลย..บางทีผู้ที่หลงลืมหนทาง..หรือวิธีแก้สูตรที่เคยแก้ได้..(บัณฑิต)..ถ้าสภาวะที่รู้ตนนั้น..มีความบริสุทธิ์อิสระ..ก็อาจชี้แนะแนวทางที่คลับคล้ายคลับคลาแก่ผู้อื่นได้บ้างอยู่...กัมมุนาวัตตีโลโก..

ครับ ขอบคุณมากครับ ที่เข้ามาเติมเต็มในเรื่องนี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท