Show and Share ที่ดอยวาวีเชียงราย : ผมจะทำอย่างไร??


 

ผมได้รับการติดต่อจากมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อไปเป็นวิทยากรใน ประเด็น "การท่องเที่ยวโดยชุมชน"อีกครั้ง หลังจากที่ผมไปทำหน้าที่นัดแรกที่โครงการหลวงหมอกจ๋าม แม่อายเชียงใหม่ คิดว่าไปจุดประกายให้กับพื้นที่ในการก้าวเข้าสู่การพัฒนา ขับเคลื่อนชุมชนโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ

 

ครั้งนี้ที่ "ดอยวาวี"  เชียงราย ผมได้เลื่อนวันกับทางผู้จัดมาแล้วสองครั้ง และจะไม่เลื่อนแล้ว กำหนดคือ ๑-๒ ก.ย.๕๐ นี้ ในโครงการ "เวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน" กลุ่มเป้าหมาย เป็นชาวบ้านในพื้นที่โครงการหลวง บ้านดอยล้าน บ้านดอยช้าง ดอยวาวี บ้านใหม่พัฒนา พร้อมกับเจ้าหน้าที่โครงการหลวง รวมเกือน ๔๐ คน

งานนี้งานหนักเพราะ ผมเป็นวิทยากรเพียงคนเดียวในเวลาสองวันเต็ม  หากดูตามตารางที่ทางผู้จัดทำไว้ ก็เรียกได้ว่า ผมก็ต้องวิ่งขึ้น วิ่งลง แบบอยุดให้น้ำเป็นพักๆ

ดูโจทย์ที่ทางผู้จัดให้ผมดูนะครับ (ผมคัดมาให้ดูทั้ง ๒ วัน)

  • บรรยายเรื่อง "แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน" โดย นายจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
  • เวทีชุมชน ประเด็น"การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน" โดย นายจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
  • เวทีชุมชน ประเด็น"การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการเรียนรู้" โดย นายจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
  • ประชุมเรียนรู้ร่วมกัน ประเด็น "แนวทางความร่วมมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน" โดย นายจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
  • เวทีเสวนา ประเด็น "ทำอย่างไร การท่องเที่ยวโดยชุมชน" โดย นายจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
  • และเปิดเวทีแลกเปลี่ยน โดย นายจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ผมคัดลอกมาจากหนังสือเชิญครับ  อ่านแล้วหูอื้อ ตาลาย โชคดีที่เจ้าภาพบอกว่าให้ผมปรับเปลี่ยนกระบวนการได้ทั้งหมด

 

โจทย์นี้เป็นโจทย์ใหญ่ ที่ทำให้ผมกังวลหลายๆเรื่อง  เพราะกระบวนการที่กำหนดนั้นดูซ้ำซ้อนกัน ทั้งวิธีการ(บรรยาย,เวทีชุมชน,ประชุมเรียนรู้ร่วมกัน,เวทีเสนา,เปิดเวทีแลกเปลี่ยนซักถาม)  และเนื้อหา หากเป็นเช่นที่กำหนดมา ผมคงต้องวิ่งขึ้นลงจนซี่โครงบาน!!!

 

ผมคิดว่ากระบวนการน่าจะเติมเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในประเด็นแนวคิด และการพัฒนาภาพรวมในเมืองไทยก่อน และเจาะกรณีศึกษาที่บ้านแม่กำปอง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่  ซึ่งเราถือว่าเป็น Best Practice ที่อยากให้ชุมชนจุดประกาย

 

ตระหนักดีว่าการที่จะทำให้ชาวบ้านคลิ๊กวิธีคิด วิธีการพัฒนาโดยใช้การท่องเที่ยวนั้น ยากมาก มันเจือไปด้วยผลประโยชน์ และการอ่อนไหวทางวัฒนธรรม

ใช้เวลานาน และอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องด้วย

 

ลองคิดคร่าวๆ ว่าจะปรับเปลี่ยนตารางที่ผู้จัดมาให้ผมทั้งหมด เพื่อผมจะได้ออกแบบกระบวนการเอง และให้เจ้าหน้าที่โครงการหลวงมาเป็นผู้ช่วยทำกระบวนการทั้งสองวัน

 

ทั้งเรียนรู้เนื้อหา - เวทีแลกเปลี่ยน - ปฏิบัติ -และ ช่วยกันคิดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ต่อ นั่นเป็นกระบวนการหลักๆที่ผมจะนำมาใช้

 

เวทีแรกไม่ได้คาดหวังอะไรมากเหมือนที่หมอกจ๋ามแม่อาย ที่ผ่านมา เพียงแค่จุดประกายให้ชุมชน ผมคิดว่า ประสบความสำเร็จแล้ว

 

โจทย์ยากๆแบบนี้ ทำให้ผมต้องเตรียมการบ้านใช้เวลาพอสมควรทีเดียว

 

ช่วยผมคิดบ้างครับ...ผมควรจะทำกระบวนการเรียนรู้อย่างไร??

ให้สนุก มีความสุข และได้งาน


เรื่องเดิม ที่โครงการหลวงหมอกจ๋าม อ.แม่อาย เชียงใหม่

ทำงานชุมชนแบบไร้กระบวนท่า : แบบหาเช้ากินเช้า หาค่ำกินค่ำ

วันเดินทาง : ไปเป็นวิทยากรที่โครงการหลวง "หมอกจ๋าม"

 

 

หมายเลขบันทึก: 120648เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2007 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)

สวัสดีครับเพื่อน

ประเด็นแรกผมขอนำเสนอวิธีการก่อนนะครับ จากรายละเอียดนี้ เพื่อไม่อยากให้เพื่อนซี่โครงบาน

  • บรรยาย เรื่อง  “แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชน โดย  นายจตุพร  วิศิษฏ์โชติอังกูร
  • เวทีชุมชน เรื่อง  การบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยว”         โดย  นายจตุพร  วิศิษฏ์โชติอังกูร
  • เวทีชุมชน หัวเรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและกระบวนการเรียนรู้ โดย  นายจตุพร  วิศิษฏ์โชติอังกูร                 
  • ประชุมเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง แนวทางความร่วมมือการพัฒนาการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนโดย นายจตุพร  วิศิษฏ์โชติอังกูร
  • เวทีเสวนา ทำอย่างไรกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเปิดเวทีแลกเปลี่ยนซักถาม โดย นายจตุพร  วิศิษฏ์โชติอังกูร

จากที่ดูแล้วในหัวข้อด้านบน เหมือนเพื่อนเป็นขนมปังในแผนที่ปลาผมเลยครับ อิๆๆ

  • หากเป็นการบรรยายอย่างเดียวผมว่า มันก็งั้นๆ นะครับ ซึ่งผมก็คิดว่าเพื่อนเตรียมกระบวนการอื่นเผื่อไว้แล้ว เพราะมีทั้งดาบของเจได และดาบของโรนิน และอีกดาบที่สำคัญคือ ดาบ gotoknow ครับ
  • ผมคิดว่า ขั้นแรกน่าจะละลายพฤติกรรมเสียก่อนครับ จะได้ลดกำแพงกั้นลง เหมือนชาวบล็อกที่นี่ ก็ลดกำแพงกั้น โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันก่อน ลดฟอร์มลง แล้วเข้าใจแนวคิดระหว่างกัน จากนั้นก็สบายครับ รับรองว่าเพื่อนจะได้รับการกอดจากเวทีนี้อีกเพียบ หากลดกำแพงนั้นได้
  • ต่อมาคือกระบวนการแลกเปลี่ยนแบบคิดร่วมอยู่ สู้ร่วมพัฒนา เหมือนจะมีคนในโครงการหลวงมาร่วมได้ ก็เชิญท่านๆ เหล่านั้นมานั่งด้วยกัน พูดคุยกัน เชิญชาวบ้าน มานั่งคุยด้วยกัน พูดคุยที่มา ที่อยู่ ที่ไป เพราะสิ่งที่จะเกิดก็เกิดร่วมอยู่กับชุมชนต่อไป ไม่ใช่เราเอาสิ่งแปลกปลอมไปให้ชาวบ้านใช่ไหมครับ ดังนั้นเราร่วมกันพัฒนาแบบปลูกต้นกล้าในชุมชน
  • ผมมีตัวอย่างหนึ่ง มีค่ายชมรมอาสาเคยไปสร้างโรงเรียนให้กับชุมชนแห่งหนึ่ง ไปดูอีกครั้งในสองสามปีต่อไป โรงเรียนที่เคยสร้างกลายเป็น คอกวัวของชาวบ้าน ผมไม่รู้ว่าจะสะท้อนว่าอย่างไรดีนะครับ นั่นคือสิ่งที่เราไปสร้างให้กับเค้าในสิ่งที่เค้าไม่อยากได้ในช่วงเวลาที่เค้าต้องการก็ได้
  • หากเข้าใจกันตรงกันแล้ว สบายครับ งานนี้ หากใจมากองรวมกัน น่าจะส่งพลังในการร่วมพัฒนานะครับเพื่อน
  • ผมให้ได้แค่กำลังใจเท่านั้นนะครับ คงต้องคิดและทำการบ้านและร่วมทีมพูดคุยก่อนงานจริงนะครับ และผมก็ไม่ได้กังวลเพราะเชื่อว่า ดาบที่เพื่อนมีอยู่แล้วนั้น จะช่วยเพื่อนได้ ผสมกับดาบทางปัญญาในตัวของเพื่อนเอง
  • ผมเชื่อว่าเพื่อนทำได้ครับ
  • ขอบคุณมากครับ

 

สวัสดีครับน้องชายนายเอกจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

  • เห็นหัวข้อแล้วรู้สึกว่ามีความเกี่ยวโยงกันอยู่
  • ผมนึกถึงกระทู้ไม้ไผ่ท่อนหนึ่ง ซึ่งคนโบราณนำมาใช้พาดเป็นบันไดแล้วเดินขึ้นเรือน
  • ถ้าพอจะสามารถนำหัวข้อบรรยายมาแต่งตัวซะหน่อย ในลักษณะคล้ายๆกับกระทู้ไม้ไผ่ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสุดท้ายที่ต้องการ โดยเริ่มต้นจากหัวข้อที่ควรจะเริ่มคิด เริ่มทำความเข้าใจกับชุมชนก่อน...อย่างนี้พอจะได้ไหมครับ

กระบวนการฝึกอบรมทั้งหมดทั้งปวงพูดกันไปแล้ว ทาง MSN

  • แต่ที่จะเพิ่มเติมตรงงนี้คือ เมือสิ่งดีๆ เกิดขึ้น สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป คือ master plan การจัดการการท่องเที่ยว นะคะ เพราะว่า ทรัพยากรธรรมชาติตางๆ มีค่ามาก หากจัดการผิดพลาดไป เราเรียกคืนกลับมาได้ยากมาก
  • และ อยากเห็นว่าการท่องเที่ยวคือแหล่งรายได้เสริมนะคะ และเป็นแหล่งภาคภูมิใจในพื้นที่มากกว่าเห็นเป็นแหล่งสร้างรายได้
  • (ไม่รู้ขอมากไปหรือเปล่า)

พอดีเพื่อนคนหนึ่ง เข้ามาแลกเปลี่ยนทาง MSN ขอนำมาแลกเปลี่ยนตรงนี้ด้วยครับ เพื่อการแลกเปลี่ยนในวงกว้าง

***********************************************

KKU says:"เวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน"

Mr.Ake says:ชื่อโครงการ

KKU says:ดังนั้น วันแรกน่าจะเริ่มจากการการละลายพฤติกรรม

Mr.Ake says:เขียนมาในบันทึกดีมั้ย

KKU says:และให้ผู้เข้าร่วม บอกถึงความคาดหวังว่าจะได้อะไร

Mr.Ake says:เพราะคนอื่นจะได้ เรียนรู้ด้วย

KKU says:เอาคร่าวๆ ไปก่อน

Mr.Ake says:ผมอยากให้คนอื่นได้อ่านสิ่งที่เราคิดด้วยไงKKU says:และให้เค้าได้พูดถึงแหล่งท่องเที่ยวที่มีในชุมชนของเขา ในมุมมองของเขา

Mr.Ake says:ต่อครับ ต่อ

KKU says:และค่อยมาแบ่งว่า สิ่งนั้น น่าจะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทใด

KKU says:เราจะสามารถดึงเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติมาจัดการควบคู่กับการท่องเที่ยวได้

KKU says:การถามความคาดหวัง จะทำให้เราสามารถสนองตอบการต้องการเรียนรู้เราได้

Mr.Ake says:ครับ

KKU says:และนำมาวัด ประเมินผลในตอนสุดท้ายได้Mr.Ake says:ประเมินผล เรามีวิธีการใด

KKU says:สิ่งสำคัญของงานนี้ คือการสร้างความตระหนักรู้ และการมีส่วนร่วม ตั้งแต่ต้น

Mr.Ake says:ครับ กระบวนการเน้นการมีส่วนร่วมให้มากที่สุดครับ

KKU says:คุณจะประเมินอะไรบ้าง

KKU says:ถ้าประเมินกระบวนการฝึกอบรม

Mr.Ake says:หมายถึง ประเด็นที่อยากให้เกิด ตาม วัตถุประสงค์ครับ

KKU says:แนะนำว่าทำเป็นตาราง ขึ้นชาร์ต ขึงฝาใหญ่ๆMr.Ake says:ครับ ผมจะทำต้นไม้แห่งความคาดหวัง ก่อนKKU says:แล้วใส่เรื่องที่เค้าต้องการให้เกิดขึ้นตามใจของผู้เข้าอบรม

KKU says:แล้วแจกหัวใจคนละ ห้าดวง

Mr.Ake says:ครับ ทำตอนแรกนะครับผม

KKU says:เอาไปแปะในช่องที่เค้าต้องการ

KKU says:คือเราต้องการให้ชาวบ้าประเมินในทุกอย่างKKU says:พอมองออกมั้ยค่ะ

Mr.Ake says:หัวใจ คนละห้าดวง (กระดาษ) นะครับ ตอนแรกคิดว่าหัวใจของผมซึ่งมีดวงเดียวน้อยๆ

KKU says:ใช่

KKU says:มุขนะ 55

Mr.Ake says:อ้อ ครับ

KKU says:ในการประเมนการฝึกอบรมส่วนท้าย ก็เช่นเดียวกัน

Mr.Ake says:มองออกครับ

Mr.Ake says:ส่วนท้ายทำอย่างไรครับ

KKU says:พยายามทำทุกอย่างมาจากความคิดของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

KKU says:ประเมินตัวเราไง ประเมินเนื้อหา

KKU says:ลืมไปว่า ช่องให้คะแนน ไม่ให้ใส่เป็นคะแนนนะคะ

Mr.Ake says:หมายถึงกระดาษชาร์ตนะครับ ที่แบ่งเป็นช่องคะเเนน

KKU says:ใส่เป็นรูปหน้าคนอาการต่างๆ เช่น    ยิ้ม บูด บึ้ง

KKU says:ค่ะ

KKU says:มันจะเป็นข้องหัวข้อ Cross กับ ช่องคะแนน KKU says:คุณเอก เก่งอยู่แล้ว

Mr.Ake says:เอ เขาจะ Bias เกรงใจเรามั้ยครับ เพราะประเมินกันโต้งๆ

KKU says:คุณเอกน่าจะเป็นเพียงผู้จุดประเด็น

KKU says:ไม่หรอกค่ะ

Mr.Ake says:ครับใช่ครับ ผมเป็นผู้อำนวยส่วนใหญ่

KKU says:ชาวบ้านซื่อดีออก

KKU says:และเวลาพูดคุยกันนะ น่าจะมีการบันทึก

KKU says:บนชาร์ตนะคะ

KKU says:กระดาษฟางนะคะ

KKU says:ไม่รู้เรียกชื่อเดียวกันหรือเปล่า

KKU says:Newsprint ในภาษาอังกฤษ

Mr.Ake says:กระบวนการคงให้ช่วยกันคิดและทำครับ เพราะผมเป็นวิทยากรเดี่ยว เปลี่ยนตัวเองเป็นกระบวนกร ดีกว่าครับ ใส่กิจกรรมเยอะๆ ชาวบ้านจะได้สนุก แล้วค่อยสรุปบทเรียนเป็นเรื่องๆไป

KKU says:ใช่แล้ว

Mr.Ake says:ครับ กระดาษปรู๊ฟ

KKU says:แต่อย่าแลกเปลี่ยนด้วยการพูดเฉยๆ

Mr.Ake says:ปกติเราก็สรุปครับ เพราะจะได้ขมวดตอนท้ายบทเรียนทุกครั้ง

KKU says:ลองภูมิกันแล้วนะนี่

Mr.Ake says:ไม่ๆครับ เราถือว่าแลกเปลี่ยนกันนะครับ ไม่มีการลองภูมิใคร

Mr.Ake says:ผมต้องขอบคุณมากๆครับ ช่วยกันคิดดีกว่าครับ ผมเองก็ได้เรียนรู้ 

 

 

ควรเริ่มที่สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์...ให้กับคนทั้งประเทศคะ..จริงนะคะแม้ชุมชนจะจัดการดีอย่างไรแต่ถ้าคนไปเที่ยวไม่ช่วยกันก็ป้องกันยากคะ...แต่ดีใจคะที่ตอนนี้แหล่งท่องเที่ยวในประเทศหลายแห่งบริหารจัดการโดยชุมชน...เอาใจช่วยนะคะ

  • มาเป็นกำลังใจ  ครับ 
  • ประเด็นการท่องเที่ยวกับชุมชน  เป็นสิ่งที่ดี  ผมเห็นว่าถ้าจะทำต้องมีอะไรดีๆให้ชุมชน 
  • ชุมชน ตั้งคำถามให้ตัวเองหรือไม่ว่า ถ้าทำแล้วได้อะไร   เกิดอะไรขึ้น   วันนี้เป็นอย่างไร   พรุ่งนี้เป็นอย่างไร  
  • ในทัศนะผม   เห็นว่า   คุณค่าและศักดิ์ศรี  สำคัญที่สุด ถ้าคิดจะเปิดชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยว  
  • ผมมีความรู้น้อย  ก็แลกเปลี่ยนกับคุณเอก   ได้เท่านี้แหละครับ 

สวัสดีค่ะ

มาให้กำลังใจ เดี๋ยวได้ประเด็นอะไร จะมาเสนอค่ะ

เห็นด้วยกับน้องเม้งครับ

แนะอีกวิธีให้ ใช้ใจที่ประกอบด้วย Intuition

หรือ การรู้แจ้งฉับพลัน จะช่วยได้มากครับ ในสถานการณ์แบบนี้

เอาใจช่วยครับ :)

พี่ติ๋วช่วยน้องเอกไม่ได้มาก  เว้นแต่มานั่งข้างๆ..คอยพยาบาลใจจ้ะ

สวัสดีค่ะคุณเอก ได้รับทั้งคำแนะนำและกำลังใจมากทีเดียวนะคะ ขอมาเติมให้อีกคน

คิดว่าการนำเรื่องเล่าความสำเร็จของที่บ้านแม่กำปองมาจุดประกายเป็นจุดเริ่มที่ดี และการสร้างโอกาสที่ชุมชนดอยวาวีจะได้เล่ามากๆในสิ่งที่กำลังทำ สิ่งที่เขาคิดจะทำ ความคาดหวัง หรือแม้แต่ความไม่แน่ใจ ความกลัว น่าจะทำให้เราไม่ซี่โครงบานจากการพูดคนเดียวซึ่งแม้เราจะมีความรู้ดีมากเพียงใด ฟังมากๆก็จะล้า

เชื่อมั่นว่าคุณเอกต้องทำได้ดีแน่ๆค่ะ เพียงแต่ต้องไม่ให้ซี่โครงบาน

สู้  ๆ ครับพี่เอก

เอาใจช่วยครับ

อย่าให้ซี่โครงบานมากนะคะ แต่จากที่เห็นความเห็นคุณเม้ง กะคุยเอ็ม ดูจะรักษาซี่โครงไปได้บ้างแล้วนะ

เอาใจช่วยค่ะ


^__^

เข้ามาเยี่ยมเยียนค่ะ..และก็เป็นกำลังใจให้ด้วย

  • ได้กำลังใจกับการแลกเปลี่ยนไปเยอะมากๆเลยนะคะ...เลยได้ประโยชน์ค่ะ..เรียนรู้ไปด้วยเลย
  • ขอให้โชคดีนะคะ...รับรองว่า...ฉลุย..(อยู่แล้ว)
  • ปล. เห็นภาพเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่แม่ฮ่องสอน  บรรยากาศธรรมชาติแวดล้อมงดงามจังค่ะ..

น้องเอกจ๋า...

กำลังใจให้คุณ

สนุก ร่าเริง กันเอง เพื่อนฝูง พาเที่ยว พากิน พาทำงาน พานั่งสมาธิ

สุข สงบ เย็น

เดียวดาย ใน สายฝน

  • สวัสดีคะ จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
  • แวะมาทักทายคะ และคงจะช่วยอะไรมากมายไม่ได้ นอกจาก ให้กำลังใจค่ะ
  • สู้-สู้

สวัสดีครับทุกท่านครับ

นี่เป็นความมหัศจรรย์ของ Gotoknow ครับ หากมมีประเด็นในใจที่อยากแชร์ ก็เขียน เสร็จแล้วก็ได้ข้อแลกเปลี่ยนที่มีประโยชน์ รวมถึงแถมมิตรภาพ กำลังอีกมากมาย

เรียนร่วมกัน สร้างสรรค์ปัญญาครับ

ขอบคุณเพื่อนรักจากเยอรมันP

พี่ชายที่แสนดีP ให้กำลังใจและให้ข้อคิดดีๆ 

และขอบคุณมากมายในข้อคิดเห็น ของ ดร.สาว-กาเหว่าP

สวัสดีและยินดีต้อนรับเพื่อนใหม่ คุณP

ขอบคุณท่าน ผอ. Pครับ ผมมีโอกาสคงได้ไป ลปรร.แบบF2F กับท่านครับ

พี่ศศินันท์ Pพี่สาวผู้ที่หมั่นแวะเวียนมามอบกำลังใจให้เสมอๆ

อาจารย์พิชัย Pผู้เป็นต้นแบบของการดำเนินชีวิตให้กับผมครับ

พี่ติ๋ว Pพี่สาวที่น่ารักและให้ความเป็นกันเอง ในโลกเสมือนและชีวิตจริง

อ.ดร.ยุวนุช Pท่านก็เป็นแรงบันดาลใจให้ผมครับ

น้องโอ๋P เป็นน้องรักที่ทุ่มเท และเป็นรุ่นน้องที่ผมได้เรียนรู้โลกกว้างมากขึ้น

คุณแนนนี่ Pสาวออสเตรเลีย เพื่อนที่ให้กำลังเสมอไม่ขาดห้วง

คุณแหวว Pพชรวรัตถ์ แสงทองชนาพงศ์
เพื่อนใหม่ หัวใจล้านนา ยินดีมากๆนะครับ ที่ได้รู้จักและแลกเปลี่ยน

ท่าน  P  thassana wong มากับสายฝนชุ่มฉ่ำหัวใจเป็นอย่างยิ่ง

และขอบคุณ คุณ Pมากครับ สำหรับกำลังใจดีๆนะครับ

สวัสดีครับ คุณจตุพร

ผมแวะเวียนมาเยี่ยมชมและให้กำลังใจครับ ผมต้องขอขอบคุณที่ช่วยให้ผมมีเวทีที่นี่ (KM เชียงใหม่) และทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า "ถ้าคนเห็นประโยชน์ก็จะลงมือทำ"   เพราะฉะนั้น  ปัญหาที่คุณจตุพรกำลังเผชิญอยู่ถ้าลองคิดถึงประโยคนี้ให้ดี ผมว่าคุณจตุพรสามารถดำเนินการได้ลุล่วงและดีด้วย  

ลองนึกภาพตัวเราที่กำลังจะข้ามถนน  มองเห็นรถราที่วิ่งขวักไขว่กลางถนนแล้วก็นึกไม่ออกว่าจะข้ามไปอย่างไร   วิธีที่เราใช้บ่อยๆ ก็คือค่อยๆ มองหาจังหวะที่รถราเบาบางแล้วก็ข้ามไป   หรือหาสัญญาณไฟแดงข้ามถนน(ถ้ามี)  กดแล้วก็รอ รถหยุดเราก็ข้าม แต่มีบ่อยครั้งที่ต้องวิ่งฝ่าออกไป โบกไม้โบกมือห้ามรถกันวุ่นวายจนคนขับต้องเบรกตัวโก่ง ก่นด่าตามไปแต่เราก็ไม่สนใจเพราะต้องรีบข้าม   ความจริงวิธีข้ามนั้นมีแม้จะต้องใช้วิธีสุดท้าย แต่ถ้าขออย่างสุภาพ ใจเย็น บางทีเราอาจได้รับความร่วมมือจากผู้ขับขี่รถยนต์ เราก็ขอบคุณไป ผมเชื่อว่าเราจะไม่เป็นที่ขวางหูขวางตาใครแต่อาจได้รับความช่วยเหลือจากผู้ขับขี่เหล่านั้น

ร่ายยาวมานานไม่ทราบว่าจะเป็นประโยชน์กับคุณจตุพรหรือไม่ แต่ผมก็ขอให้กำลังใจครับ  ทบทวนวิธีคิด  ตามกระบวนการที่หลายคนแนะนำ ประยุกต์ใช้ให้เหมาะ และใจเย็น  ทำใจให้สนุก คนเก่งๆ อย่างคุณจตุพรผมเชื่อครับว่า "ท่านทำได้"

 

 

ไม่น่าจะเกินจะความสามารถของหลานช้างน้อยเลยตั้งใจตั้งสติให้มั่นแล้วทำให้มันเป็นธรรมชาติทุกอย่างก็จะได้รับการตอบสนองจากธรรมชาติอย่างสุขใจ เผอิญเคยเข้าไปสำรวจดอยวาวี และพื้นที่ข้างเคียงเมื่อปี2542 จุดเด่นของพื้นที่คือธรรมชาติ จุดด้อยก็เป็นธรรมชาติอีกนั่นแหละแถมยังมีเรื่องความปลอดภัยทางสังคมคมอีก................

ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติที่นี่มีสูง ทั้งภูมิประเทศ ภูมิอากาศ พืชพรรณธรรมชาติ ฤดูกาลที่ทั้งข้อดีและข้อจำกัด มีผลกระทบต่อการเดินทาง ชุมชนจะสามารถให้ข้อมูลได้ดี ต้องมีทริกให้ผู้ร่วมรายการพูดให้มากที่สุดในทุกเรื่อง ไม่ว่าจุดขายคืออะไร ขายใครทำอย่างไรให้คนเหล่านั้นเข้ามาท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยและมีความสุขกับการมาสัมผัสธรรมชาติที่แตกต่างและพกความประทับใจกลับไปกลับด้วย พร้อมทั้งมิตรภาพที่ชุมชนให้ความสำคัญกับผู้มาเยื่อนคือการส่งข้อความระลึกถึงและขอบคุณผู้มาเยื่อนพร้อมทั้งขอคำแนะนำ ....

 

อาจารย์กรเพชร ครับ

ขอบคุณอาจารย์มากครับ ขอบข้อเสนอแนะที่อาจารย์เขียนมากเลยครับ

ประโยคที่ว่า "เห็นประโยชน์ จึงจะลงมือทำ" นี่สำคัญมากครับ โดยเฉพาะชาวบ้านที่ยังมือใหม่ในการจัดการท่องเที่ยว

ที่ผมสนใจประเด็นนี้ก็เพราะว่า การท่องเที่ยวเราใช้เป็นเครื่องมือได้ และเป็นเครื่องมือในการเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านมานั่งคิด คุย ร่วมกัน การท่องเที่ยวยังช่วยในการฟื้นวิถีเดิม และเกี่ยวไปยังการอนุรักษ์

สุ่มเสี่ยงเหมือนกันครับ เรื่อง รายได้ ที่เป็นตัวเงิน เพราะการส่งเสริมการท่องเที่ยวมันก็ทำให้นึกถึงเรื่องเหล่านี้ หากเราไม่ทำความเข้าใจกับชาวบ้านให้มากก็เกิดปัญหาตามมามากมาย

เห็นประโยชน์ - - -ในตรงนี้ ผมพยายามให้เห็น ลที่เกิดจากการท่องเที่ยว ในส่วนการพัฒนาชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการทบทวนตนเอง  กุศโลบายในการจัดการทรัพยากร ล้วนแต่เป็นการจัดการความรู้ระดับท้องถิ่นครับ

สำหรับเวทีนี้ผมพิจารณาดูแล้ว กระบวนการก็คงเป็นการทำกลุ่มมากกว่าครับ ทำการบ้านให้มากและให้ Show and Share เต็มที่

ขอบคุณครับ

เรียน อ.มอชอปลุกเสกรุ่นสอง

ผมปลื้มจังครับที่ได้เห็นข้อคิดเห็นจากอาจารย์อีกครั้ง  ขอบคุณในความกรุณาครับ

ผมก็เหมือนไต่บันใดครับ แต่ละก้าวก็เรียนรู้ไปพร้อมกัน สะสมประสบการณไปเรื่อย ต้องอาศัยๆพี่ หรือท่านมีประสบการณ์แชร์กันเพื่อผลประโยชน์ของงานที่จะเกิดขึ้น

ผมเองมีข้อมูลไม่มากครับ แต่พยายามศึกษาข้อมูลพื้นที่ให้มาก และอาจจะขอข้อมูลเพิ่มจากสถาบันวิจัยพื้นที่สูงฯ เพื่อวางแผนการทำกระบวนการ

ปกติผมใช้วิธีการนั่งคุย สกัด "สิ่งดีดี"  ออกมาก่อนเพื่อเป็นข้อมูล ในการต่อประเด็น  นี่เป็นกรณีที่ไม่มีข้อมูล ก็พลิกแพลงเอาสถานการณ์ตรงนั้นครับ มาเป็นประเด็นการเรียนรู้ต่อเนื่อง

ก็ท้าทายดีมากครับ

เห็นตารางแล้ว คิดว่าต้องรื้อใหม่ครับ ยึดเอาตามวัตถุประสงค์แล้วคิดกระบวนการ คราวก่อนที่ผมไปเป็นวิทยากรก็ไม่ต่างจากครั้งนี้ ก็ปรับเปลี่ยนกระบวนการหมด ผลออกมาก็ดีครับ แต่ผมก็คิดว่าพื้นที่ต่าง ก็คงต้องศึกษาให้มาก เอามาเขียนบันทึกก็ดีเพื่อจะได้เรียนรู้สำหรับคนที่เข้ามาอ่าน

และที่สำคัญผมเองก็ได้ความคิดเห็นที่ดีจากผู้มีประสบการณ์หลากหลาย ผมมีความสุขมาก

ขอบคุณความคิดเห็นอาจารย์ที่เป็นประโยชน์และ เป็นเกียรติกับผมมากเลยครับ

 

 

สวัสดีอีกทีค่ะ

พอดี มีหนังสือที่ทางจังหวัดให้ไว้ เปิดๆดู ทางแพร่เขาก็มีการท่องเที่ยวแบบนี้อยู่เหมือนกัน เลยนำมาให้ดู เผื่อปรับใช้ได้ค่ะ

กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้แก่ นั่งล้อวัวเทียมเกวียนชมรอบบริเวณศูนย์วิจัยพืชสวนแพร่  และร่วมกิจกรรมเก็บผลผลิตทางการเกษตรตามฤดูกาล (ผลไม้/ไม้ดอก) นักท่องเที่ยวที่สนใจควรติดต่อล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์ สอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนแพร่ โทร.0 5452 1387, 0 5452  3024 โทรสาร 0 5452 3043 เปิดให้เข้าชมเฉพาะวันและเวลาราชการ 

 

 

 

สวัสดีค่ะ คุณจตุพร

อยากรบกวนถามนิดนึงนะค่ะว่า ที่คุณจตุพรจะไปเป็นวิทยากรเรื่อง "การท่องเที่ยวโดยชุมชน" ในวันที่ 1-2 กย. 50 ที่จะถึงนี้ นกสามารถเข้าร่วมด้วยได้มั้ยค่ะ คือพอดีนกสนใจจะทำวิทยานิพนธ์เรื่อง community-based ecotourism พอดี เลยสนใจอยากเข้าร่วมด้วยคนนึง เห็นว่าเป็นของโครงการหลวง เค้าจะรับคนนอกมั้ยค่ะ แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไรนะค่ะ

สวัสดีครับ พี่ศศินันท์

P

ยินดีมากๆครับ สำหรับข้อมูล จังหวัดแพร่ ผมเองก็เก็บข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชนอยู่ และเเพร่เองเป็นจังหวัดที่ผมไม่มีข้อมูลเลย (ข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชน)

ส่วนใหญ่ที่มีเป็น Home stay ซึ่งก็หลากหลาย ยังไม่ชัดเจน

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ คุณ นก

พอดีรับแจ้งจาก โครงการหลวงจะขอเลื่อนเวลาออกไป แต่ผมติด เวทีการสัมมนา Community based Tourism ที่ นครปฐม งานนี้เรารวมเอา แกนนำหมู่บ้าน CBT ทั่วประเทศ (ทั้ง สี่ภาค) มารวมกันตรงนั้น

จัดวันที่ 6-7 ก.ย.ครับ หากมีเวลาเรียนเชิญได้นะครับ ติดต่อผมผ่านโทรศัพท์โดยตรงครับ

จีราวัฒน์ ชัยจรูญเกียรติ

ขอเป็นกำลังใจก่อนครับ

ขอบคุณครับ  ผอ.จีราวัฒน์ ชัยจรูญเกียรติ

มาให้กำลังใจก็สุดจะปลื้มแล้วครับผม

มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในโอกาสต่อๆไปนะครับ

จุดประกายให้เห็นคุณค่าของท้องถิ่น

นำสิ่งสวยงามมาอวดโฉมผ่านการท่องเที่ยวด้วยความพอดี

บริหารจัดการด้วยกระบวนการชุมชนอย่างมีเหตุมีผล

สร้างภูมิคุ้มกันด้วยความเข้มแข็งของชุมชน...

 ---^.^---

มาให้กำลังใจอ้ายเอกคะ

 

ขอบคุณน้องพิมพ์มากครับ

P

ที่มาเติมด้วยถ้อยคำดีๆ

ผมเองก็พยายามทำให้ดีที่สุดในเงื่อนไขต่างๆที่ผมมีอยู่

ยังไงก็ตามกำลังใจและคำแลกเปลี่ยนจากมิตรก็เป็นสิ่งที่ดีๆมากครับ

สวัสดีครับพี่เอก และ พี่ๆเพื่อนๆทุกคน
และแล้วสิ่งที่ไม่อยากแม้แต่จะคิดก็เกิดกับตัวเอง  เช้าวันที่28 สค ผมได้รับมอบหมายให้เตรียมทีมเพื่อเป็นวิทยากร ในการ ฝึกอบรมท่องเที่ยวที่วาวี ...เอาแล้วไหมล่ะทำงานมาตั้งนานแต่ไม่มีความรู้เรื่องท่องเที่ยวแบบถึงแก่นเลยซักนิด เลยต้องยกหูโทรศัพท์หาเครือข่าย สกว.ที่น่ารัก แต่พี่ๆๆน้องๆๆสกว.ก็ติดภารกิจกันหมด ที่เล่ามานี้จุดประสงค์จะขอความเห็นจากทุกคนว่าแผนที่พวกเราวางไว้ในการอบรมครั้งนี้มีจุดต้องแก้ใขอย่างไร วันแรกก็จะเป็นการเปิดประเด็นโดยเชิญคุณอรอนงค์ตัวแทนบ้านวาวี พุดถึงความคิดของชุมชนในเรื่องของการทำการท่องเที่ยวของชุมชน หลังจากนั้นผมเชิญจนท.หมอกจ๋าม และจนท.อินทนนท์ เล่าประสบการณ์ของพื้นที่ของตัวเองให้กับชุมชนวาวีได้เห็นภาพ จากชุมชนโครงการหลวงสู่ชุมชนวาวี แล้วก่อนจะจบวันแรกผมก้จะฝากให้ชุมชนได้คิดว่าแต่ละชุมชนจะทำการเป็นไปในรูปแบบใด เพื่อเป็นประเด็นในวันต่อไป วันที่สอง ก็จะเป้นการวิเคราะห์ชุมชนเพื่อหาจุดเด่นจุดด้อยแล้วออกมาเป็นแผนชุมชนด้านการท่องเที่ยว หากวันข้างหน้ามีหน่วยงานใดที่คิดจะทำการท่องเที่ยวในชุมชนวาวีอีกก้จะใช้แผนนี้เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานต่อไป รบกวนพี่เอกและพี่ๆเพื่อนๆช่วยเสนอแนะด้วยนะครับ เพราะมันเป้นครั้งแรกของพวกเรา

สมองว่าง จากความวุ่นวายกับหลาน ๆ ทั้งนักเรียนกินนอน (สองขวบกะสี่วัน)จนถึงปอหกตกคะเมน (สอนพิเศษ)เปิด web หาข้อมูลดอยวาวี ก็พบข่าวคราว เพื่อน ? เก่า แม้จะว่างเว้นจากงานชุมชนมาเกือบสองปี แต่ก็รู้สึกดีที่เห็นคนยังมีไฟคอยจุดประกาย พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยมุ่งมาด ... สู้ สู้ พี่ขอส่งแรงใจข้ามทะเลไปหล่นกลางดอยถึงหมอเอกด้วยคนจ้า / พี่จู

ปล.ก่อนสิ้นกุมภาปีนี้ หากได้ตะลอนทัวร์ภาคเหนือ อาจจะได้พบกัน (ผลงาน) ณ ดอยวาวี

พี่จูครับ

ดีใจครับที่เห็นพี่จูในนี้ เรียกว่าตามมาเคาะถึงบ้านเลย...ขอบคุณมากครับ

ช่วงนี้ผมทำงานที่ กทม.ครับ และไป ชลบุรี เมื่อสัปดาห์ก่อนนี่เองครับ ..

พี่คงสบายดี มีโอกาสฝึกเขียน blog ก็ดีครับผม พี่มีความรู้ดีๆ เยอะเเยะมากมายที่ให้ทุกคนได้อ่านและได้เรียนรู้ร่วม เพื่อพัฒนาสังคมนะครับผม :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท