“ ก่อนจะเข้าสู่ KM วิสาหกิจชุมชน ”


“วิสาหกิจชุมชนเข้มแข็ง ร่วมแรงพัฒนา พึ่งพาตนเอง ผลิตได้ขายเป็นเน้นสินค้าคุณภาพ”

                                วันนี้หลังจากขอกำลังใจจากเพื่อน ๆ  และกลับไปกระตุ้นตัวเอง  โดยการเข้าไปเรียกน้ำย่อยจาก  Bloog  Goto Know  แล้วนะ  โดยเริ่มทำ KM  แบบ  ทำไป  คลำไป  บ่นไป  ตามเรื่อง  KM  วิสาหกิจ ชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี  เริ่มต้นจากเวที  DW  สู่เวที  HM  (Home  Ecomonic  Metting)  โดยจากการชักใยของ หนุ่ม ร้อยเกาะ  ให้เข้าสู่เวทีแบ่งกลุ่ม  เป็นแต่ละงานออกไป  (หรือถ้าจะพูดว่าตัวใครตัวมัน  คลำดูก่อนก็น่าจะไม่ผิด) 

                            ขั้นตอนที่  1  เริ่มจาก  เวที  1  สรุปบทเรียน  เพื่อทดสอบดูว่าแต่ละคนมีความเข้าใจหรือตีความ KM  ว่าอย่างไรกันบ้าง  บ้างก็ว่า  KM  คือ  IT  ควรให้เด็กรุ่นใหม่เป็นคนทำ  บ้างก็ว่า  KM  คือการสอนชาวบ้าน  หรือให้ชาวบ้านมาคุยกันหรือพูดง่าย ๆ  ก็คือ  โรงเรียนเกษตรกร  บ้างก็ว่า  KM คือ    ยังไม่รู้  ดูไม่ออกว่าเป็นอะไร  บ้างก็วา  KM  คือ  การจัดระบบการเรียนรู้ที่มีอยู่ในแปลงของเกษตรกรมาเล่าสู่กันฟัง  สรุป  KM  ก็คือ  ความเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง  ตามศักยภาพหรือความสนใจของปัจเจกบุคคล 

                       ขั้นตอนที่  2   หลังจากนั้นก็แบ่งกลุ่มย่อยให้เจ้าหน้าที่  ผู้ซึ่งรับผิดชอบงานเคหกิจและวิสาหกิจชุมชนออกมา  เพื่อกำหนด  หัวปลา  (KV)  ของวิสาหกิจชุมชน  ที่ทุกคน  ต้องการเห็นและเป็นไปได้       

                  วิสัยทัศน์งานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  มีว่า  วิสาหกิจชุมชนเข้มแข็ง  ร่วมแรงพัฒนา  พึ่งพาตนเอง  ผลิตได้ขายเป็นเน้นสินค้าคุณภาพ  มี KV  ย่อย  หรือ หัวปลาเล็กเป็น องค์ประกอบที่จะทำให้วิสัยทัศน์  บรรลุผลนั้น  ประกอบด้วย

  —  วิสาหกิจชุมชนเข้มแข็ง          :  กิจกรรมเกิดจากความต้องการ    :  บริหารจัดการดี                      

—  ร่วมแรงพัฒนา                            :  สมาชิกมีส่วนร่วม   :  บูรณาการ  และการประสานงานที่ดี                            

—  พึ่งพาตนเอง                           :  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ / บอกเล่าประสบการณ์      :  เกิดความรู้ด้วยตนเอง      :  มีจิตสำนึกในการช่วยเหลือร่วมกัน                                   

—  ผลิตได้ขายเป็นเน้นคุณภาพ     :  นำวัตถุดิบที่มีอยู่มาแปรรูป / เพิ่มมูลค่า      :  มีความรู้เรื่องการผลิต / เรื่องการขาย      :  มีความต่อเนื่อง      :  มีความซื่อสัตย์          :  รักษาคุณภาพหลังจากที่ได้หัวปลาใหญ่  +  หัวปลาเล็กแล้ว   แต่ละคนก็ยังงง ๆ กันว่า จะทำอย่างไรต่อไป  และที่ทำมาแล้วข้างต้นมันใช่หรือไม่  ก็เลยระดมความคิดกันใหม่  โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ  KM  

                              KM  นั้น  มีความสัมพันธ์  ด้วยกัน  3  ส่วน  คือ   

 ส่วนที่  1              สัมพันธ์กับงาน                                               

ส่วนที่  2              สัมพันธ์กับคน / ชุมชน                                               

ส่วนที่  3              สัมพันธ์กับองค์กร

                                เมื่อจัด  3  ความสัมพันธ์ดังกล่าวแล้ว  ก็มาดูว่าในส่วนที่เกี่ยวข้อง  องค์กร  è จะทำอย่างไร    ,  ชุมชนจะทำอย่างไร  และงานส่วนที่เกี่ยวข้อง  กับงานจะทำอย่างไร  ซึ่งจะได้นำวิธีการมาเล่าต่อในเวทีที่  2  ต่อไป

ขอบคุณคะ

วิไลพร  กู้เมือง

หมายเลขบันทึก: 120634เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2007 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • หวัดดีครับ เจ้กุ้ง
  • เดินช้าๆ ยังดีกว่า นอนหลับ ครับ กระต่าย กับ เต่า ไงครับ
  • เริ่มเดินแล้ว ลุยเลยครับ
  • เห็นมีงานเยอะมาก แต่ไม่มีใครรู้เลยว่าทำอะไรบ้าง ช่องทางนี้ เป็นช่องทางหนึ่ง ครับ และอีกอย่าง ได้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ ด้วยครับ
  • สวัสดีครับคุณกุ้งนาง
  • เห็นด้วยกับความคิดเห็นของคุณหนุ่มร้อยเกาะมากๆ เลยนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมาแบ่งปัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท