วิทยาลัยชุมชนท้องถิ่น


“เสริมสร้างภูมิปัญญา พัฒนาชุมชนท้องถิ่น ”

วิทยาลัยชุมชนท้องถิ่นปรัชญา
เสริมสร้างภูมิปัญญา พัฒนาชุมชนท้องถิ่น
               วิทยาลัยชุมชนท้องถิ่น เป็นสถาบันที่มีบทบาทสร้างเสริมพัฒนาการเรียนรู้ตนเองและสิ่งแวดล้อมตลอดชีวิต มีกระบวนการที่เรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตจริง จากผู้นำ ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน มีชุมชนและองค์กรท้องถิ่นเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้มากมายที่นำมาสู่การจัดการตนเองของชุมชนองค์กรท้องถิ่น และสังคม ด้วยความจริงที่ว่าความรู้อยู่ในตัวเราและ มีอยู่รอบตัวเราในทุกหนทุกแห่ง ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสร้างการเรียนรู้ได้อย่างไรมากน้อยเพียงใด

             ห้องเรียนของวิทยาลัยชุมชนท้องถิ่น จึงอยู่ที่ชุมชนและองค์กรท้องถิ่นการจัดการเรียนรู้ของชุมชน โดยชุมชนและเพื่อชุมชน มีการเรียนรู้ที่สืบทอดมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ มีการร่วมคิด ร่วมทำ นำความรู้ท้องถิ่นนั้นมาใช้แก้ปัญหาของชุมชนอย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

               ขณะเดียวกันความรู้และประสบการณ์ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ของชุมชนหรือองค์กรท้องถิ่นหนึ่งๆ ก็สามารถเป็นห้องเรียนให้กับชุมชนและองค์กรท้องถิ่นอื่นๆที่กำลังพยายามแก้ปัญหาของตน ตลอดจนเป็นห้องเรียนให้กับกลุ่มคนต่างๆในสังคมได้อีกด้วย


            ห้องเรียนชุมชนต่างๆ มีการเชื่อมโยงกันก่อให้เกิดพื้นที่เรียนรู้ที่หลากหลาย ทุกๆคนสามารถเข้าไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ทั้งคนในชุมชนและองค์กรท้องถิ่นเอง   ชุมชนและองค์กรท้องถิ่นใกล้เคียง และกลุ่มคนในสังคม


วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และทิศทางการดำเนินงาน
วิสัยทัศน์ : เป็นสถาบันท้องถิ่นที่มุ่งเสริมสร้างภูมิปัญาความเข้มแข็งของท้องถิ่นจากรากฐานของชุมชนและประชาคมท้องถิ่นเป้าหมาย : ทุกท้องถิ่นมั่นคง ทุกชุมชนเข้มแข็ง ครอบครัวอบอุ่น  คนมีความสุขทิศทาง : ขยายฐานสร้างเครือข่ายความรู้ท้องถิ่นและเชื่อมโยงการพัฒนาของขบวนการชุมชน และภาคีในการสร้าง ทุกท้องถิ่นมั่นคง ทุกชุมชนเข้มแข็ง ครอบครัวอบอุ่น  คนมีความสุข ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์การดำเนินงานยุทธศาสตร์ :เสริมสร้างเครือข่ายและความรู้ท้องถิ่นให้แข็งแกร่งกลยุทธ์ : (1) ส่งเสริมภูมิปัญญาความรู้การจัดการตนเองเพื่อให้เกิดความมั่นคงในการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น(2) สนับสนุนการสร้างความรู้ความสามารถในการจัดการองค์กรเครือข่ายของชุมชนและองค์กรท้องถิ่นและการเชื่อมโยงภาคีอย่างบูรณาการ(3) สนับสนุนการจัดการระบบข้อมูลและการจัดการความรู้ ทั้งระดับท้องถิ่นและสากล เชื่อมโยงสู่นโยบาย(4) สนับสนุนการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกันของทุกภาคส่วนในท้องถิ่น(5) เสริมสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และความสามารถในการบริหารจัดการความรู้ของวิทยาลัยชุมชนท้องถิ่นให้เอื้อต่อการดำเนินการตามยุทธศาสตร์และกลยุทธ์

แนวทางการดำเนินงานและแผนงาน/โครงการการดำเนินงานของสถาบันฯ ในปี 2550 ประกอบด้วย แนวทางการดำเนินงานและแผนงาน/โครงการที่สำคัญภายใต้กลยุทธ์ ดังนี้
กลยุทธ์ แนวทางการดำเนินงาน แผนงาน/โครงการ
(1) ส่งเสริมภูมิปัญญาความรู้การจัดการตนเองเพื่อให้เกิดความมั่นคงในการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น   ·  พัฒนาผู้นำเรื่องการจัดการตนเองสู่ความมั่นคงของท้องถิ่น·  เสริมสร้างความรู้ด้านระบบสวัสดิการชุมชนให้เป็นโครงข่ายคุ้มครองทางสังคมของชุมชน ·  เสริมสร้างความรู้ด้านระบบการเงินการครังสู่การออมและกองทุนประกันความมั่นคงของชุมชนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันชีวิต   ·  ผู้นำท้องถิ่น·  แผนแม่บทท้องถิ่น·  เศรษฐกิจท้องถิ่น 
 (2) เสริมสร้างความรู้ความสามารถในการจัดการองค์กรเครือข่ายของชุมชนและองค์กรท้องถิ่นและการเชื่อมโยงภาคีอย่างบูรณาการ  ·  สนับสนุนให้องค์กรชุมชนและเครือข่ายมีบทบาทหลักในการแก้ไขปัญหา พัฒนาและฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นของตนเองตามประเด็นการพัฒนาอย่างบูรณาการและใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ·  สนับสนุนความรู้ให้ชุมชนเกิดกระบวนการจัดทำแผนชุมชนทั้งในระดับพื้นที่และประเด็นงานพัฒนาและเชื่อมโยงสู่แผนงานระดับท้องถิ่นและจังหวัด ·  สนับสนุนและสร้างให้เกิดพื้นที่ต้นแบบรูปธรรมในการพัฒนาองค์กรท้องถิ่นเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้และขยายผลต่อไป ·  สนับสนุนให้องค์กรท้องถิ่นมีการจัดองค์กรและระบบบริหารจัดการที่เข้มแข็ง ทั้งระบบติดตามสนับสนุนและตรวจสอบตนเองของชุมชน ·  หนุนเสริมเชื่อมโยงหน่วยงานภาคีพัฒนาท้องถิ่นในการขับเคลื่อนงานของขบวนชุมชน ·  ขยายและยกระดับความร่วมมือของชุมชนกับ อปท. ·  บูรณาการความร่วมมือระหว่างขบวนชุมชนกับภาคีพัฒนาที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ·  เชื่อมโยงเรียนรู้ผู้ปฏิบัติการกับขบวนการประชาคม และชนชั้นกลาง ·  การฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น ·  แผนชุมชนพึ่งตนเอง ·  ทรัพยากรและเกษตรยั่งยืน·  เครือข่ายท้องถิ่นบูรณาการระดับจังหวัด·  การจัดเวทีนโยบายสาธารณะ
      
4. สนับสนุนการจัดการระบบข้อมูลและการจัดการความรู้ ทั้งระดับท้องถิ่นและสากล ตลอดจนการเชื่อมโยงสู่นโยบาย ·  สนับสนุนการถอดบทเรียนสร้างองค์ความรู้ของชุมชนเพื่อการขยายผล ·  ยกระดับความรู้และจัดการความรู้ของชุมชนเชื่อมโยงกับความรู้ท้องถิ่น สังคม และสากล ·  ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบข้อมูลชุมชนท้องถิ่น ·  พัฒนาและเชื่อมโยงระบบสารเทศขององค์กรกับชุมชนท้องถิ่นและภาคีพัฒนา ·  การพัฒนาระบบสารสนเทศ ·  การพัฒนาระบบข้อมูลชุมชนท้องถิ่น/ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น ·  การจัดการความรู้
5. สนับสนุนการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกันของทุกภาคส่วน ทุกระดับในสังคม ·  สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชนที่หลากหลายทุกระดับให้มีพลังในการขับเคลื่อนงานของขบวนชุมชน ·  พัฒนารูปแบบและช่องทางการสื่อสารแนวทางการพัฒนาชุมชนสู่สังคม เพื่อสร้างพื้นที่ทางสังคม ·  การจัดทำหลักสูตรและคู่มือทำงานพัฒนาโดยชุมชนเป็นแกนหลัก ·  การพัฒนาเครือข่ายการจัดการความรู้งานพัฒนา ·  การผลิตสื่อเพื่อการเผยแพร่
6. เสริมสร้างวัฒนธรรมและความสามารถในการบริหารจัดการของ วิทยาลัย. ให้เอื้อต่อการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ ·  สร้าง อบต. ให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community of Practice - COP) ·  สร้างและพัฒนาระบบการบริหารจัดการขององค์กรให้เอื้อต่อการพัฒนาของขบวนชุมชน ·  พัฒนาและขยายผลระบบการควบคุมภายในของส่วนงานในองค์กรเพื่อการกำกับและติดตาม และลดความเสี่ยงอันเกิดจากการปฏิบัติงาน ·  พัฒนาบุคลากรขององค์กรให้มีความรู้ความสามารถในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เอื้ออำนวยกับขบวนชุมชน ·  การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ·  การพัฒนาระบบบริหารจัดการภายใน ·  ระบบการกำกับติดตามดูแลตนเอง ·  การพัฒนาบุคลากรและมาตรฐานระบบงานบุคลากร
การทำงานท้องถิ่นจะต้อง  มีแกนนำท้องถิ่นเป็นหัวใจ  โดยสามารถทำงานการเมือง  งานการคลัง  กฎหมาย  การบริหารการจัดการ เป็นงานสำคัญให้มีประสิทธิสูงสุด
หมายเลขบันทึก: 120577เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2007 09:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เป็นประเด็น ที่น่าสนใจยิ่ง 
  • ยินดีร่วมเป็นเครือข่ายการเรียนรู้  ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท