บันทึก KM สัญจร ครั้งที่ ๒ (๕)


ควรจัดงบผู้ว่าซีอีโอสนับสนุนการวิจัยตามโจทย์ของชาวบ้าน ร่วมมือกับ สกว. ให้มาช่วยด้านการจัดการงานวิจัย

บันทึก KM สัญจร ครั้งที่ ๒ (๕)


ลปรร. หลังการลงพื้นที่ในหัวข้อ ประเด็นเพื่อการวิจัยต่อยอดความรู้ของชาวบ้าน

        หลังจากไปดูกิจกรรมในพื้นที่ในช่วงเช้า    เรากลับมาที่ศาลากลางจังหวัดในตอนบ่ายวันที่ ๑๐ มค. เพื่อ ลปรร. โอกาสในการทำวิจัยต่อยอดความรู้ที่ชาวบ้านร่วมกันสร้างขึ้น    โดยมีคุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ เป็นผู้ดำเนินการประชุม

กลุ่มข้าว

ผมกลับมาไม่ทัน  เขาเสนอไปแล้ว    จับตอนท้ายได้เพียงว่า อยากให้ต่อยอดความรู้เรื่องเห็ด

กลุ่มผัก 
 นำเสนอโดย ศ. ดร. อมเรศ ภูมิรัตน

  • สูตรน้ำหมัก - ฮอร์โมน ๕ สูตร    ควรเข้าไปวิจัยว่าดีจริงไหม    ควรวิจัยเฉพาะพื้นที่ เช่นสูตรที่ ๑ ใช้ได้ผลอย่างไรที่หนองโสน เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น    งานวิจัยแบบนี้ควรทำโดยนักวิจัยในพื้นที่  เช่นนักวิจัย มน.
  • ชื่นชมว่ากลุ่มแข็งแรง  ถ่ายทอดความรู้กันได้ดี    ซื้อกากน้ำตาลร่วมกัน ต่อรองราคาได้
  • แนะนำ สกว. หาทางรวบรวมความรู้    เช่นใส่บรเพ็ด ใช้ได้ดี  แต่อยู่ได้ไม่นาน
  • การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษให้ผู้บริโภค    จังหวัดน่าจะกระตุ้นผู้บริโภค ให้เห็นคุณค่า    เกษตรกรควรรู้ว่าเมื่อไรปลูกอะไร    ปลูกผักต่างชนิดกัน

วิสันต์ ทองเต่ามก   
                 ๓ อย่างที่จะแก้ความยากจน     (๑) ภาครัฐถูกล็อก ไม่ทำไปกับภาค ปชช     ต่างฝ่ายต่างทำ     เป็นนโยบาย จังหวัดเลยได้ไหม    มีผู้รับผิดชอบทฤษฎีใหม่    ทำเป็นระบบเชื่อมโยงกัน   
                 (๒) ภาควิชาการ  เข้ามาวิเเคราะห์ 

             (ผมทำข้อ ๓ หายไป)
 สนง. เกษตร จ. กำแพงเพชร     กลุ่มบ้านหนองโสน พึ่งตนเองได้     ดำเนินการได้ด้วยลำแข้งของตนเอง     ขาดเวทีประชาคมภาครัฐ     ไม่มีแผนชัดเจน    ที่กำแพงเพชร ต้องพูดเรื่องแผนก่อน แล้วนำไปสู่การปฏิบัติ    หนองโสนขาดน้ำ ผักปลอดสารจึงเป็นอาชีพรอง    จึงควรมีแผนปลูกตามช่วงที่มีน้ำ ควรหาแหล่งน้ำ เช่นน้ำบาดาล    
    กำแพงเพชร ใช้นโยบายรัฐเป็นทิศทาง   นำมากำหนดยุทธศาสตร์จังหวัด   วางแผนร่วมทุกอำเภอ    อ. พรานกระต่ายทำร่วมกับเอกชนเพื่อส่งออก  
   
กลุ่มไร่นาสวนผสม  นำเสนอโดย ศ. ดร. ประเสริฐ โศภณ

  • ชื่นชมว่าทำได้ผลดีมาก
  • ข้อที่จะไปเสริม    ศึกษาชนิดและคุณสมบัติของจุลินทรีย์     ศึกษารายละเอียดของดิน    มาตรฐานของปุ๋ยที่ใช้
  • วิธีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้อยู่ ได้ผล     ควรศึกษาความปลอดภัยของสมุนไพร
  • สารกระตุ้นการเจริญเติบโต  โดยเฉพาะกวาวเครือ น่าจะพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
  • การอบแห้ง สามารถเป็นโจทย์วิจัยได้ 
  • การมีแผ่นพับ ดีมาก
  • สกว. จะมีชุดวิจัยเกษตรอินทรีย์  :  ดิน ปุ๋ย    สารกำจัดศัตรูพืช    สารเร่งการเติบโต    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว     
  • เวลานี้คนกลัวผัก  กลัวสารพิษจากผัก  จึงเขี่ยผักทิ้งจากอาหาร    ต้องสร้างตราสินค้าปลอดสาร  

ศ. ดร. วิชัย บุญแสง  

  • ชื่นชมสวนลุงสมพงษ์   ลุงจวนมาร่วมคุยด้วย   
  • ประทับใจสมุนไพรไก่กิน คนกิน    
  • หางไหลขาว – โล่ติ๊น มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ว่าสารออกฤทธิ์ คือ Lotinone  มีฤทธิ์ เบื่อเมา    
  • ลุงพงษ์ ใช้ตำราเป็นคู่มือผลิตสมุนไพร   คือตำรายากลางบ้าน   และสารานุกรมสมุนไพร ม. มหิดล   สถาบันวิชาการน่าจะจัดตำราเหล่านี้ให้แก่ผู้ใช้ประโยชน์
  • น้ำส้มควันไม้   สามารถพัฒนาวิธีการกลั่นทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นเป็นเท่าตัวได้    


ศ. ดร. อภิชัย พันธเสน  

  • ได้ยินคล้ายกับเข้าใจกันว่า เศรษฐกิจพอเพียง คือเกษตรผสมผสาน หรือปลอดสาร     จริงๆ  แล้วเศรษฐกิจพอเพีบงมีองค์ประกอบสำคัญ ๓ ประการคือ   (๑) ความพอประมาณ  ไม่สุดโต่ง  (๒) มีเหตุผล คำนึงปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบ   (๓) มีภูมิคุ้มกัน
  • การตลาดเน้นตลาดในท้องถิ่น ถูกต้องในระยะเริ่มต้น   ต่อไปอาจมองลู่ทางตลาดภายนอกด้วย      
  • ผัก ถ้าพึ่งตลาดใหญ่แห่งเดียวจะเสี่ยงมาก    น่าจะพึ่งหลายๆ ตลาด   
  • เศรษฐกิจพอเพียง คือค่อยทำค่อยไป   ให้มั่นคง   
  • FTA ย่อมมีกลุ่มที่ได้ประโยชน์  เสียประโยชน์    จุดสำคัญอยู่ที่ใครได้ ใครเสีย

  คุณณรงค์ แฉล้มวงศ์ 

  
       ต้องการให้นักวิจัยมาวิเคราะห์สูตร 

   
ศ. ดร. ประเสริฐ โศภณ   ในกลุ่มเกษตรกรมีแต่ผู้อยู่ในวัยอาวุโส   เห็นแต่คุณพิชิตที่อายุน้อย

กลุ่มทายาทเกษตรกร 
ศ. ดร. อภิชัย นำเสนอ  

  • ประทับใจมาก   เทียบกับ รร. มาบตะโกเอน   อ. ครบุรี   จ. นครราชสีมา ที่ตนไปทำเมื่อ ๒๐ ปี ก่อน เกือบทำแบบโดดเดี่ยว      ที่นี่มีกลุ่มค้ำคูณ    มีครูที่ความคิดดี – อ. อรัญ    
  • อยากเห็น รร. ที่เน้นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ   และมีรายได้จากการปฏิบัติได้ด้วย   


ศึกษานิเทศก์    ควรเน้นเรียนรู้ สิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน    ให้เป็นหลักสูตรสถานศึกษาจึงจะยั่งยืน


ผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามาในห้อง
คุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ สรุปแก่ ผวจ.
       จุดแข็งของพิจิตร    ทุนทางสังคมสูง   เครือข่ายแข็งแรง กว้างขวาง    มีปราชญ์ชาวบ้าน    จัดการความรู้   บันทึกความรู้อย่างเป็นระบบ    แต่ยังอธิบายไม่ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์   
       ขาดกลไกความร่วมมือของภาครัฐ    การทำงานอย่างมีแผน   

ผู้ว่าราชการจังหวัด

  • เมื่อวานต้องไปประชุมกับนายกรัฐมนตรี จึงฝากกับรองชัยโรจน์
  • ตนมาจากกำแพงเพชร   
  • เศรษฐกิจพอเพียง กับอาหารปลอดภัยเป็นเรื่องเดียวกัน    อ. พรานกระต่าย  จ. กำแพงเพชร ไม่ใช้คำว่าเกษตรอินทรีย์   แต่เรียกว่า เกษตรธรรมเทค – ธรรมชาติ + เทคโนโลยี (ตั้งชื่อโดย ผวจ. กริช เกตแก้ว)  คือออมชอม ให้ใช้สารเคมีได้บ้าง ในระดับที่ควบคุมและเหมาะสม   
  • ต้องการถักทอเครือข่ายผลิตอาหารปลอดภัย   ตนจะดำเนินการถักทอเครือข่าย ขยายผล  
  • ขอร้อง อย่าปฏิเสธระบบ          

อ้อม อยากฟังจากหน่วยราชการในพื้นที่   และสื่อมวลชน
ผช. เกษตรจังหวัด   เกษตรจังหวัดติดภารกิจ    ให้ตนมาแทน   และตนเป็น หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิตพืชด้วย     ยอมรับว่าที่ผ่านมาเกษตรจังหวัด  และเกษตรอำเภอมีบทบาทน้อย     แต่ต่อไปจะต้องสนองนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัด       
ปิยะ (เกษตรกร) ต้องการให้นักเกษตรไปเยี่ยมบ้านตน    ประชาชนโดนโรงสีเอาเปรียบ  
สื่อมวลชน   ได้เรียนรู้เกินความคาดหมาย    ลุงมาบอกให้สื่อกระทุ้ง เพราะรัฐบาลฟังสื่อ    ประทับใจความสามารถของชาวบ้าน    จะเผยแพร่สิ่งที่ตนได้เห็น    ประทับใจว่าเกษตรกรมีความสามารถ ฉลาด มีความรู้จริง    เห็นภาพการแลกเปลี่ยนกับ เกษตรกำแพงเพชรน่าประทับใจมาก   
สุรเดช   เราเรียกเครือข่ายของเราว่าเครือข่ายผู้มีน้ำใจ
ผู้ว่าราชการจังหวัด    ขอตัวไปราชการต่างอำเภอ 
ชัยณรงค์  (หมออนามัย จ. พิจิตร)  เกรงว่าความรู้ที่นักวิชาการพัฒนาต่อยอดจะกลายเป็นความรู้ที่ที่ชาวบ้านไม่เข้าใจ
ทิพวรรณ์  ชาวบ้านทำปุ๋ยใช้ได้ดี พิสูจน์จากผลผลิต    แต่ต้องการการเสริมขวัญกำลังใจ    จะต้องการการรับรองมาตรฐานจากใครอีก   
ณรงค์  แฉล้มวงศ์  อยากรู้สูตรเพื่อให้ใช้ได้ดีขึ้น    ไม่ใช้มากเกิน  
ศ. ดร. เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม  สูตรปุ๋ยขายต้องมี   ถ้าใช้เองก็ไม่จำเป็นต้องรู้    มก. มี kit ตรวจ NPK ได้ง่ายๆ
ศ. ดร. อมเรศ ภูมิรัตน  นักวิจัยคงจะอยากรู้ลึกซึ้ง รู้ว่าตัวอะไรที่ทำให้ได้ผล มีมากที่ไหน   ต้องเรียนรู้จากกันและกัน   และอย่างต่อเนื่อง 
ศ. ดร. อารันต์ พัฒโนทัย  ตัวแปรมาก   จะให้ได้ผลการทดลองน่าเชื่อถือ การทดลองต้องซ้ำ    ไม่ใช่แค่คู่เดียว  
อ. ดร. สมลักษณ์ วงศ์สมาโนตย์ (มน.)    นักวิชาการทำวิจัย   โดยปราชญ์ชาวบ้านร่วมมือเก็บข้อมูล    จะประหยัดค่าใช้จ่าย  
วิสันต์   ถามนักวิจัยเรื่องปุ๋ยมีสารอะไร  สกว. และ มน. จะทำอะไร 
รุ่งโรจน์ (หมออนามัย จ. พิจิตร)   น่าจะพยายามใช้นักวิจัยในพื้นที่ ใช้ทีมพี่เลี้ยงจากส่วนกลาง     เช่นการทำบัญชีฟาร์ม    การวิจัยหน้าเดียวในโรงเรียน 
เจ้าหน้าที่ของสำนักงานผู้ว่าราชการจังหวัด  สนับสนุนการใช้นักวิชาการ-วิจัยในพื้นที่ 
ศ. ดร. อภิชัย พันธเสน  

  • พิจิตรน้ำท่วมน้ำแล้ง    คงเพราะขาดป่า    คนพิจิตรคิดแก้ปัญหาอย่างไร    ที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุ
  • การปลดล็อกข้าราชการ    ให้คนทำงานนอกระบบได้มีที่ยืนอย่างเป็นทางการ     
  • เรื่องโรงสีขนาดใหญ่ปล่อยมลพิษ    ทางจังหวัดต้องเอาใจใส่ 

ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช   เสนอต่อผู้ช่วยเกษตรจังหวัดให้แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดว่า ที่ประชุมเสนอให้ทางจังหวัดจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการวิจัยตามโจทย์ที่ชาวบ้านเสนอในวันนี้     โดยร่วมมือกับ สกว.    ในลักษณะที่ สกว. ช่วยด้านการจัดการงานวิจัย และทางจังหวัดรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการวิจัย
ศ. ดร. วิชัย บุญแสง   เห็นด้วย
คุณวิไลลักษณ์   cluster ภาคเหนือตอนล่างของบ CEO ได้   เขียนโครงการขอผ่านกระทรวงเกษตรซึ่งเน้นเกษตรอินทรีย์อยู่แล้ว    จ. ปราจีนบุรี เขียนได้งบถึง ๔ – ๕ ร้อยล้าน 

  
สุรเดช  สรุปประเด็น
  • สังคมแห่งการเรียนรู้  อยู่ที่ชาวบ้านเป็นหลัก
  • หนุนด้วยการวิจัย  และ จัดการความรู้   สื่อ เอาความดีของคนเล็กคนน้อย ออกสู่สังคม   

การบ้านสำหรับชาวบ้าน

  • ปราชญ์ชาวบ้าน ระยะยาวจะยั่งยืนไหม
  • เยาวชน   ระยะยาวจะเปลี่ยน รร. ให้ช่วยการเลี้ยงชีพ   แก้จน  
  • ทำอย่างไร สืบสานภูมิปัญญาต่อเนื่อง
  • ชุดความรู้ด้านการผลิต
  • การตลาด
  • การรวบรวมความรู้อย่างเป็นระบบ
  • การเข้าไปเสริมงานราชการ โดยยังอิสระ    ทำเพื่อบ้านเมือง

ภาครัฐ

  • สร้างทีมงาน  เป็นหุ้นส่วน
  • จัดสรรงบประมาณสนับสนุนโดยไม่ครอบงำชาวบ้าน

สกว.

  • จัดการงานวิจัยให้ จ. พิจิตร เป็นฝ่ายออกเงินโดยตั้งงบผู้ว่าซีอีโอ
AAR ของผม
  • อันตราย   ถ้าเอาราชการไปครอบงำ    โดยให้ทำแบบสูตรสำเร็จ    ให้ต้องทำตามที่ราชการกำหนด    โดยชาวบ้านไม่มีโอกาสคิดและตัดสินใจเองโดยอิสระ
  • ให้ระวังว่าทางราชการบอกว่าเดินแนวคู่ขนาน คือเศรษฐกิจพอเพียง คู่กับเศรษฐกิจแข่งขัน    แต่เวลาดำเนินการเศรษฐกิจแข่งขันเป็นตัวหลัก    ดูดเอาเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปเป็นเครื่องมือ    อย่างที่เป็นอยู่ในเวลานี้ 
  • ควรจัดระบบให้เกิดการวิจัยเป็นทีม ของนักวิจัยในพื้นที่กับนักวิจัยในมหาวิทยาลัย     
  • สกว. ควรมาช่วยจัดการ ให้โจทย์วิจัยชัด หานักวิจัยให้ ให้จังหวัดจ้างทำวิจัยให้แก่เกษตรกร    ความร่วมมือ จว. พิจิตร – สกว.


วิจารณ์ พานิช
๑๒ มค. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 12054เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2006 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2012 12:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท