สำนักงานปราชญ์แห่งชาติ (๑) กรอบแนวคิดในการตั้ง


ชุมชนนี้ก็จะเป็นต้นไม้แต่ละต้น ที่มีต้นเล็กต้นใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งของการจัดการความรู้ และสร้างความรู้ ขยายความรู้ และสามารถจะเปลื่ยนพื้นที่ไม่อุดมสมบูรณ์ หรือพื้นที่ที่มีความรู้ไม่พอเพียง ให้กลายเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ และมีความรู้พอเพียงให้จงได้ ตามหลักการของ สคส

 

เมื่อคืนที่แล้วได้คุยกับคุณเม้ง เรื่อง กรอบแนวคิดในการตั้งสำนักงานปราชญ์แห่งชาติ คุณเม้งได้ส่ง ผังแสดงกรอบความคิดในการตั้งสำนักงานปราชญ์แห่งชาติ มาให้ดู ตามรูปข้างล่างนี้ 

ผมดูแล้ว ก็ยังมองไม่เห็นความเชื่อมโยงของความรู้ในระดับต่างๆ เห็นแต่มีแผนที่ประเทศไทย แล้วก็มีถังลอยอยู่ในอากาศ

 ก็เลยมามองว่า

จะทำอย่างไรให้ถังนี้เชื่อมโยงกับประเทศไทย

ผมเลยหารือกับคุณเม้งว่า ถังทั้งหมดนี้เหลือไว้ถังเดียวได้มั๊ย ให้เป็นถังใหญ่อยู่กลางประเทศ ลอยอยู่กลางอากาศ พร้อมกับมีพื้นที่รับน้ำฝน เพื่อจะรับน้ำฝนจากข้างบน และใช้เอาน้ำฝนที่ตกลงมาเก็บไว้ในถัง ถังจะต่อเชื่อมลงสู่ชุมชน

โดยชุมชนนี้ก็จะเป็นต้นไม้แต่ละต้น ที่มีต้นเล็กต้นใหญ่

ซึ่งเป็น

  • แหล่งของการจัดการความรู้ และ
  • สร้างความรู้
  • ขยายความรู้ และ
  • สามารถจะเปลื่ยนพื้นที่ไม่อุดมสมบูรณ์ หรือพื้นที่ที่มีความรู้ไม่พอเพียง ให้กลายเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ และ
  • มีความรู้พอเพียงให้จงได้ ตามหลักการของ สคส

ซึ่งคุณเม้งก็เห็นด้วย

ผมเลยนำเรื่องนี้มาขยายความว่า ถังเล็กๆ ที่คุณเม้งทำไว้นั้น

ควรจะปรับแผนไปเป็นต้นไม้ในระดับต่างๆ ต้นไม้ใหญ่น้อย ที่เชื่อมโยงกันเป็นสมาคมของต้นไม้แห่งความรู้

ซึ่ง

  •  มีใบ
  • ผลิดอกออกผล
  • ใช้ส่วนต้น ส่วนรากเป็นการเชื่อมโยงกับพื้นที่ภูมิปัญญา
  • นำภูมิปัญญาขึ้นมาใช้ประโยชน์
  • งอกงามขึ้นมาจนเป็นต้นไม้ใหญ่โตขึ้น
  • ออกดอกออกผล และ
  • ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดน้ำฝน
  • ให้ความชุ่มชื้นในอากาศ เกิดน้ำฝน และตกลงมาในถัง และ
  • ฝนที่ตกในถังก็จะนำไปสู่การดูแล เชื่อมโยง กับพื้นที่ที่ขาดแคลนความรู้

ถ้าหลักการนี้ผมเห็นด้วย

ผมจึงคิดว่า

สำนักงานปราชญ์ควรจะเป็น

  • ฐานข้อมูล และ
  • ฐานสนับสนุนการจัดการความรู้
  • เชื่อมโยงระบบโดยใช้น้ำเป็นตัวเชื่อมโยง

ซึ่งจะเป็น

  • การใช้น้ำจากอากาศ รวบรวมเข้ามาในถัง
  • จากถังแพร่กระจายไปให้ชุมชนต่างๆ
  • โดยหลักการที่ว่า ชุมชนต่างๆ เป็นต้นไม้
  • ต้นไม้ต่างๆ เหล่านั้นก็จะเจริญเติบโต
    • ปรับปรุงพื้นที่ตรงนั้น
    • ปรับปรุงดินและสภาพแวดล้อม
    • ทำให้เกิดความชุ่มชื้น และ
    • ทำให้เกิดฝนตกขึ้นมาเป็นวงจร ซ้อนขึ้นไปเรื่อยๆ

ในขณะเดียวกัน ดินที่อยู่บริเวณนั้น ก็จะ

  • ค่อยๆ พัฒนาตัวเองขึ้นมา และ
  • ไปย่อยสลายหินซึ่งเป็น การตกผลึกความรู้และภูมิปัญญาที่มีอยู่แล้วในแต่ละท้องถิ่น

ก็จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงของความรู้ใน 4 ระดับ คือ

  • การสลายตัวของหิน เข้ามาเชื่อมโยงกับดิน
  • จากดินก็จะมีต้นไม้เป็นตัวเชื่อม ทำให้กลายเป็นน้ำ ดึงดูดน้ำเข้ามา ทำให้ต้นไม้แห่งความรู้เจริญเติบโต
  • และในที่สุดทำให้เกิดวงจรหมุนเวียนของน้ำ

ซึ่งเป็นน้ำแห่งความรู้

  • หมุนเวียนขึ้นสู่อากาศ
  • ความรู้เหล่านี้ก็จะตกลงมาในถังรองน้ำ
  • ที่เป็นฐานข้อมูล

ในขณะเดียวกัน น้ำบางส่วนที่เหลือ หรือความรู้บางส่วนที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น ของจะถูกดูดดึงเข้าไปไว้ในถัง แล้วก็นำไปแพร่กระจายในที่ต่างๆ ฉะนั้นการใช้ถังคล้ายๆถังประปา ตามภาพที่เห็นข้างล่างนี้

    Image003+%28medium%29  

เป็น

  • ตัวรับและ
  • กระจายความรู้เข้าไปสู่ชุมชนต่างๆ โดยชุมชนเป็นต้นไม้

ต้นไม้นั้นก็จะทำหน้าที่ดูแลพื้นที่ พัฒนาตัวเอง พัฒนาพื้นที่ พัฒนาสภาพแวดล้อม สร้างความอุดมสมบูรณ์เชื่อมโยงกับ ฐานภูมิปัญญา

นี่คือแนวคิดจากประสบการณ์ของผมครับ ไม่ทราบว่าคุณเม้งเห็นด้วยหรือเปล่าครับ

สวัสดีครับ

 

หมายเลขบันทึก: 120512เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2007 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

กราบสวัสดีครับท่านอาจารย์แสวง

  • ขอบพระุคุณท่านอาจารย์แสวงนะครับ
  • ที่ผมใช้ถังข้อมูลในเบื้องต้นเพราะว่าผมมองแล้วติดกรอบการมองของคนในทางไอทีที่เน้นเป้าไปยังฐานข้อมูลครับ ที่เชื่อมต่อกันในเครือข่ายนะครับ แต่เป็นเครือข่ายไอทีครับ
  • ต้องขอบคุณท่านอาจารย์ที่เปิดกรอบนี้ให้ผม ซึ่งไปสอดคล้องกับที่ผมเขียนบันทึกนี้พอดีเลยครับ ต้นไทร สายใยโกทูโนว์
  • ผมยังไม่มีเวลาจะเขียนรายละเีอียดลงไปมากในเรื่องนี้ เพราะประสบการณ์ยังน้อยครับ ประกอบกับแนวทางนี้ จะต้องเป็นอิสระและอยู่บนพื้นฐานของไทยช่วยไทย เป็นสำคัญครับ
  • หลังจากที่ได้คุยกับอาจารย์ผมก็เลยปรับถังน้ำให้เป็นต้นไทรแทนครับ เป็น ภาพแผนที่ไทยไทรงาม
  • Philosopher-trai

 

  • ซึ่งคิดว่าตรงนี้ ไม่ต้องมีการลากเส้นแล้วครับ เพราะไทรทุกต้นจะเชื่อมถึงกันเองโดยอัตโนมัติครับ ผ่าน อากาศ น้ำ ดิน และหิน ตามแบบการจัดการความรู้สี่ ระดับนะครับ ส่วนระดับแมกมา นั้นเอาไว้เพื่อแบบเป็นแผนสำหรับชั้นอื่นๆ ครับ
  • ขอบคุณท่านอาจารย์มากๆ นะครับ

หน่วยงานรับผิดชอบเรื่องการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน จะจัดประชุมที่ขอนแก่น วันที่ 18 กันยายน อาจารย์ว่างจะไปร่วมสมทบ 

-นำเสนอ -หรืออภิปราย ก็ได้นะครับ ผมจะคอยแอบอยู่ข้างหลัง อิอิ

เรียน  ครูบา ที่เคารพ

ผมคิดว่า ถ้ามีช่องว่างผมก็สนใจจะไปนำเสนอครับ แต่คงจะต้องหารือกับคุณเม้งด้วย ผมคิดว่าอาจจะคุยกับคุณเม้งทาง msn ในเรื่องนี้ครับ

แต่ไม่ทราบว่าเขาจะเชิญผมหรือเปล่า แต่ที่ขอนแก่นผมไปแอบฟังก็ได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท