ชีวิตยุค KM (5) : ใช้ "เหลียวหลัง แลหน้า" ทบทวนการดำนเนินงานองค์กร


AAR ใช้กับภารกิจช่วงสั้นๆ ...เหลียวหลัง-แลหน้า ใช้มองกันยาวเป็นปี

        หลายวันก่อน (15 ส.ค. 50) ผมได้รับสารจาก อ.ดร.อรรณพ ให้ไปร่วม AAR กิจกรรมการดำเนินงานของ UKM ตลอด  3 ปี ที่ผ่านมา ท่านส่งลิงค์ที่เกี่ยวข้องให้ผม 2 ลิงค์ เป็นบันทึกจาก สคส. ของท่าน ศ.นพ.วิจารณ์ ( http://gotoknow.org/blog/thaikm/118031 ) และอีกหนึ่งเป็นของคุณธวัช ( http://gotoknow.org/blog/learn-together/117747 )  พอเห็นโจทย์ข้อนี้แล้ว ผมจึงเรียนท่านกลับไปว่า แล้วผมจะช่วยทำการบ้านแล้วมาคุยกันอีกครั้งในวันอังคารที่ 21 ส.ค. 50 ที่จะถึง

        พอเข้าไปอ่านบันทึกของคุณธวัช ผมสะดุดและปลื้มใจกับการใช้คำนี้มาก "เหลียวหลัง แลหน้า"  ...เป็นคำที่ผมชอบใช้ในกิจกรรมทบทวนการดำเนินงานของ CARD มาได้ 2 ปีแล้ว (48-49) ในปีแรก 48 ผมยังไม่ได้ใช้ AAR แต่พอมาถึง 49 จึงได้เริ่มใช้ AAR กับการทบทวนภารกิจขององค์กร

        จะโดยการบังเอิญหรืออย่างไรไม่ทราบได้  อาจเป็น AAR  ในเชิงการบริหารองค์กร หรืออื่นใดก็สุดคาดเดาเรียกได้ ทุกครั้งที่มีการ "เหลียวหลัง แลหน้า" ผมจะให้บุคลากรเล่าเรื่องการทำงานที่ผ่านมาในรอบ 1 ปี แล้วนำมาทำเป็น AAR รวมในภาพขององค์กร (CARD) อีกครั้ง

ประเมินองค์กรอย่างไร ?

        ผลจากการใช้เทคนิคเหล่านี้ทำให้ผลงานขององค์กรมีเพิ่มมากขึ้นเท่าตัว บุคลากรส่วนมาก (ถึงแม้จะไม่พูด) แต่พฤติกรรมที่ชอบสร้างสรรค์งาน และเต็มใจกันร่วมทำงาน ทั้งยังได้เป็นการเตรียมการวางแผนงานในปีต่อๆ ไปอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 120386เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2007 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียน ท่านสายน้ำแห่งความคิด วิชิตแห่ง มมส

  • "เหลียงหลัง แลหน้า มุ่งหน้า ร่วมพัฒนา" ครับ
  • สายน้ำไม่ไหลกลับ
  • แต่ความรัก และ เยื่อใย ย่อม ยั่งยืน ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท