ตลาดนัดกรมอนามัย 2550 - Press Tour (21) ตามรอย KM ย่างก้าวสู่ LO ... no.3


... อย่างศูนย์ฯ 5 ศูนย์ 5 ได้ความรู้จากกรมฯ เอามาใช้ ท่านเกิดความรู้ใหม่ว่า ในพื้นที่ใช้อย่างนี้ไม่ได้นะ ที่กระทรวงเขียนมานี้ สำหรับกลางๆ อาจจะได้ ... แต่ในพื้นที่เรา ภาคอีสาน ภาคเหนือ มันมีบริบทบางอย่างที่ท่านได้เรียนรู้ ท่านได้ยกระดับความรู้แล้ว มาจัดเก็บครับ ต่อไปการเข้าถึงก็ง่าย ถ้าทำได้อย่างนี้ ถึงจะเรียกว่า การจัดการความรู้ครบวงจร

 

บันทึกนี้ เป็นเรื่องของ tacit - explicit knowledge เป็นส่วนใหญ่ละค่ะ

  • กลับมาเรื่อง KM นะ ท่านเห็นหรือยังว่า ถ้าจากมุมมองที่เป็นกลาง ก็จะมองว่า เหตุผลที่จะทำ KM มี 2 อย่างเท่านั้น คือ ความรู้มีมาก ความรักมีน้อย
  • ถ้าเราเอาตรงนี้ไปทำนะครับ พวกเราก็จะรู้ว่าความรู้เหล่านี้ Explicit knowledge เป็นความรู้ที่อยู่ในกระดาษ ในสมุด ในคู่มือการทำงาน อยู่ในกฎระเบียบ พวกนี้เป็น Explicit knowledge ความรู้อยู่นอกตัว ความรู้ที่เห็นชัดเจน
  • ... ในขณะความรู้ที่อยู่ในตัวคน มันเป็นความรู้เชิงภูมิปัญญา เชิงประสบการณ์ มาจากวิจารณญาณ มาจากพฤติกรรมการทำงาน ท่านก็จะเห็นเลยว่า ความแตกต่างระหว่าง Tacit และ Explicit นี้เป็นเช่นใด
  • และเมื่อท่านเข้าใจในเรื่องความรู้มี 2 ประเภทแล้ว การจัดการความรู้ก็ต้องจัดการความรู้ทั้ง 2 ประเภทนะ อย่าไปทำเหมือนที่อื่น ซึ่งของกรมอนามัยดีกว่าที่อื่นตรงที่ว่า เริ่มจากโมเดลของ สคส. และ ก.พ.ร. ไปพร้อมๆ กัน เพราะฉะนั้นท่านไม่ได้ไปติดกับดักเหมือนที่อื่น ... กับดักในที่นี้คือ Explicit knowledge ...

 

... ภาพนี้สำคัญค่ะ อ.ประพนธ์ จะ refer ถึงบ่อยมาก ...

  • ขณะนี้หลายกรมฯ ครับ ที่ยังทำการจัดการความรู้เรื่อง Explicit knowledge ที่ถามว่า จัดการ explicit k คืออะไร ... คือ การหมุนวงทางซ้ายครับ ... เป็นการหาระบบให้เข้าถึงความรู้ได้ง่าย
  • แต่หลายคนไม่รู้ด้วยซ้ำไป ว่าเรื่องของ KM นั้น การเข้าถึงความรู้เพื่อจะนำไปใช้ หลายคนยังทำเหมือนห้องสมุด เข้าไปศึกษา รู้ไว้ ไม่ใช่นะครับ
  • ... KM หัวใจอยู่ที่การใช้งาน ท่านเห็นตรงกลางไหมครับ นี่คือ หัวใจของ KM นะ เอาความรู้ที่เราเข้าถึงไปใช้งาน ... ถ้าเข้าถึงเฉยๆ "รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม" รู้อย่างนั้นเรียกว่า การศึกษา ... ระบบการศึกษา รู้แบบเดินเข้าห้องสมุด รู้แบบ Internet เพื่อรู้ไว้เท่านั้นเอง อันนี้ไม่ใช่ KM
  • … KM คือ ผมต้องทำอะไรบางอย่างเพราะผมขาดความรู้ ผมจึงต้องวิ่งไปหาความรู้ครับ ท่านเห็นไหม ...
  • ตกลงท่านนำไปใช้แล้วเป็นยังไง ... เกิดความรู้ใหม่ครับ และความรู้ใหม่นี้ก็ไม่เหมือนความรู้ดั้งเดิมแล้วนะ ความรู้ดั้งเดิมอาจจะได้จากในตำรา จากการเข้าไปใน Internet แต่พอท่านอยู่
  • ... อย่างศูนย์ฯ 5 ศูนย์ 5 ได้ความรู้จากกรมฯ เอามาใช้ ท่านเกิดความรู้ใหม่ว่า ในพื้นที่ใช้อย่างนี้ไม่ได้นะ ที่กระทรวงเขียนมานี้ สำหรับกลางๆ อาจจะได้ ... แต่ในพื้นที่เรา ภาคอีสาน ภาคเหนือ มันมีบริบทบางอย่างที่ท่านได้เรียนรู้ ท่านได้ยกระดับความรู้แล้ว มาจัดเก็บครับ ต่อไปการเข้าถึงก็ง่าย ถ้าทำได้อย่างนี้ ถึงจะเรียกว่า การจัดการความรู้ครบวงจร
  • หน่วยราชการส่วนใหญ่ทำมุมซ้ายครับ แต่แม้แต่ทำวงซ้ายก็ยังทำไม่ครบวงจร คือเขาวงซ้าย แต่เขาทำแค่ 2 ขั้นตอนแรก คือ เข้าถึง เอาไปใช้งานหรือเปล่า ไม่ค่อยชัด วงหลังๆ ยิ่งไม่ค่อยมีเลย ถึงจะทำ Knowledge Center หรืออะไรเยอะแยะ ก็เหมือนห้องสมุด
  • และห้องสมุดมันจะ KM ไหม ผมก็ต้องอธิบายภาพตรงนี้ให้ฟัง ว่าถ้ามันเป็นห้องสมุดที่ดี มีความรู้ และคุณเอาไปใช้งานได้ พอใช้งานแล้วมีบันทึก และไปจัดระบบในห้องสมุดแล้วละก็ ... อันนี้ใช่เลย ห้องสมุดนั้น เป็นวงจรที่ทำให้วงทางซ้ายหมุน อันนี้เข้าข่าย KM ... แต่ถ้าไปแบบห้องสมุดแบบมหาวิทยาลัย ความรู้แบบลอยๆ เป็นเรื่องๆ อันนี้ไม่น่าจะใช่นะ ถ้าเรามองดูดีดี
  • วงทางด้านขวา กรมอนามัยถนัดกันมาก แต่หลายกรมฯ เขาไม่ได้มาเริ่มด้วยโมเดล สคส. เขาเริ่มด้วยโมเดลของ ก.พ.ร. ... ก.พ.ร. เขาเน้น Knowledge Center เน้นแผนฯ เน้นเอกสาร เพราะฉะนั้นหลายกรมฯ วิ่งไปตรงนั้นเลย
  • แต่กรมอนามัยเดินไปแบบสองทาง (... สับสนเล็กน้อย) เมื่อเดินสองทางก็เลยต้องสับสนแน่นอน ถ้าเดินทางเดียวมันก็จะชัดมากเลย แบบว่า ไปเหว ก็ตกเหวไปเลย สองทางก็เลย ถ้าจะตกเหวก็ตกเหวช้าหน่อย ก็ไม่เป็นไรนะครับ งง งง ...
  • ตกลงวงด้านขวามันเป็นเรื่องของการแบ่งปันแล้ว โดยเอาความรู้ที่มีอยู่ในตัวครับ อยู่ในตัว ถ้าเขาไม่แบ่งปันซะอย่าง ไม่มีทางหรอก ตกลงว่า ต้องทำอย่างไรก็ได้ที่เกิดการแบ่งปัน ... พอแบ่งปันท่านก็เกิดบรรยากาศของการเรียนรู้ร่วมกัน ผมบอกว่า เรียนรู้ร่วมกันนะครับ ผมไม่ได้บอกว่าสอนหนังสือนะ วิทยากรทั้งหลายที่มา ปาว ปาว ปาว ... เรื่อง KM มันก็เป็น KM One-way ไม่ใช่ 2-Way ไม่ได้เป็นสองทาง
  • การเรียนรู้ที่เราอยากได้คือ ทุกคนมีจุดอ่อนและจุดแข็ง ที่มีจุดแข็ง คือ Best Practice ก็เล่าให้กันฟัง แต่ก็อาจมีจุดอ่อนก็ได้ ก็รับฟังกันบ้าง เพราะอย่างนั้น เราอยากได้ความเท่าเทียม เราไม่อยากให้มีวิทยากรสูงกว่าถ่ายทอดนะครับ
  • ตกลงเมื่อเรียนรู้ร่วมกันแล้วยังไงครับ เกิดการสร้างความรู้ยกระดับ คือ ทุกคนเก่งขึ้นกว่าเดิม ท่านทำไปแล้ว ทุกคนเหมือนเดิม อย่าทำเลย แสดงว่าเปลืองงบประมาณแล้ว มากี่เที่ยวๆ ไม่เห็นมีใครได้อะไรเลย
  • ... รู้ได้ยังไงว่าได้อะไรดีดีกลับไปทำงาน ท่านเห็นมั๊ยว่าวงจรมันจะครบ คือ นำไปใช้งาน
  • ... แล้วทำให้งานดีขึ้น ถ้าทำให้งานแย่ลงมีมั๊ย ก็มีนะครับ เพราะสิ่งที่เราได้รับมันอาจจะยังไม่มีการพิสูจน์ เพราะว่ามันเป็น tacit knowledge เป็นเรื่องเล็กๆ ไม่ใช่เรื่องอันตราย เรื่องวิชาการ เรื่องยา เพราะว่าอันนี้ต้องผ่านการพิสูจน์ แต่นี่เป็นเรื่องเทคนิค วิธีการ พูดจาหว่านล้อมกับคนไข้ หรืออื่นๆ ... เอ ใช้ไม่ได้กับชาวบ้านเรานี่หว่า เพราะฉะนั้นก็นำกลับมา share ใหม่ … ทางอีสานเขาใช้วิธีอย่างนี้ไม่ได้ เขาเข้าใจผิด มันก็จะเกิดเป็นวงที่เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมุนไป หมุนไป ด้วยความหวังให้มีการ share สิ่งที่ดีดี แล้วมันจะดีขึ้น
  • แต่ถามว่า มันจะดีขึ้นแบบผิดหูผิดตาไหม ... tacit knowledge ไม่มีการการันตีครับ ถ้าจะการันตีต้องไปเข้าวงทางซ้าย ... ผ่านกระบวนการวิจัยครับ เอาผลที่ทดลองมาใช้ ... มันเป็นคนละความรู้กัน ความรู้มันคนละอย่าง
  • วันก่อนผมไปพูดให้กับแพทย์ใน รพ. 18 แห่ง ใน 1 ชม. พอผมพูดวงจรนี่ปุ๊บ
  • ... แพทย์ท่านหนึ่งให้ความเห็นเลยว่า ผมฟังดีมากเลยอาจารย์ แต่พวกเราเป็นแพทย์นะ เราไม่คิดหรอกว่า วงด้านขวาจะมีผลมากมายใน รพ. ... เพราะเราไม่สามารถเชื่อคำบอกขานของคนไข้ ว่าใช้ยาสมุนไพรตัวนี้ดี และปล่อยให้เขาไปใช้กัน
  • นี่คือความพยายามของเรา ที่พยายามจะบอกว่าอย่าไปเชื่ออะไรนะ เขากินบอระเพ็ดทุกวัน แล้วท่านจะไปกินนี่ Metabolism มันต่างกัน เดี๋ยวมันจะเกิดอะไรต่อไปนะ เขาก็จะพูดต่อ ... และบอกว่า ผมไม่ค่อยไว้ใจ tacit knowledge ทางการแพทย์ เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าผมจะเอาไปแต่วงด้านซ้ายได้มั๊ย เขาพูดอย่างนี้เลยนะ
  • ผมก็ถามว่า ในทางการแพทย์ แต่อาจารย์ก็คงมีเทคนิคอะไรบางอย่างที่มันไม่ได้เขียนอยู่ใน Journal เลย (... เออ ผมก็เริ่มมีพวกแล้ว ก็ใช่สิ ใบประกอบโรคศิลปไง ศิลปะ แพทย์มันไม่ได้มีแต่วิทยาศาสตร์) ... ใช่ ใช่ เรามีศิลปะ เรามีวิทยาศาสตร์ และผมกำลังจะบอกว่า เราน่าจะมีการจัดการความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ด้วย ผมก็ได้แนวร่วม ผมก็ปิ๊งทันที
  • ... มีที่แห่งหนึ่งนะครับ ได้พยายามใช้ความรู้วิทยาศาสตร์อย่างเต็มที่ ความรู้ทางการแพทย์ แต่ปรากฎว่าช่วยเหลือชีวิตคนไข้ไม่ได้ คนไข้ตาย
  • ... ญาติคนไข้ก็รอด้วยความร้อนใจ เริ่มมีปากมีเสียงกัน แต่เล่า case นี้สั้นๆ เลยว่า ในที่สุด ก็ลงเอยด้วยการที่คนไข้ฟ้องร้อง รพ. ไม่ได้ฟ้องแพทย์
  • ...  ผมก็เล่าแค่นี้ละครับว่า นี่คือข้อจำกัดของความรู้วิทยาศาสตร์ แต่ถ้าผมศึกษาจาก case นี้ ซึ่งหลายคนก็คิดกันว่า เป็นเรื่องของการพูดไม่ดีของพยาบาล หรือแพทย์ เขายืนยัน
  • ... ท่านจะต้องเรียนรู้ถึงศิลปะการบอกข่าวร้ายกับคนไข้ ว่า ทำกันอย่างไร ซึ่งก็ต้องมีวิธี ซึ่งแพทย์บางท่านทำได้ดี แต่แพทย์-พยาบาล บางท่านอาจเคยทำได้ดี แต่ว่ามันเหนื่อยแล้ว มันไม่ไหวแล้ว ... เราก็กำลังเหนื่อยสุดเหนื่อย และก็เจอคำพูดญาติคนไข้อย่างนี้ มันทิ่มแทงนะ ... แล้วทำยังไงล่ะ เขาถึงจะฟัง
  • ... ก็พูดถึงธรรมะก็ได้ สิ่งที่ผมถือว่า คือ Tacit knowledge ครับ มีเขียนอยู่ในคู่มือมั๊ย มี CPG มั๊ย ไม่มีนะ แต่ว่ามันช่วยได้นะ ถ้าเราเข้าใจความรู้สึก ... ผมก็คิดว่า ผมแก้สถานการณ์พอไปได้ละครับ ก็คือเขายังเก็บวงข้างขวาไว้ และคิดว่าน่าจะไป apply ใน รพ. อย่างไร ผมก็ถือว่าผมสำเร็จนะ

เห็นไหมคะ tacit กับ explicit knowledge นั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร 

รวมเรื่อง ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย 2550 

 

หมายเลขบันทึก: 120385เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2007 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท