ความสำคัญของ Change Management


               แนวคิดของ Michael  Hammer ที่กล่าวว่า “Success in the past  has no implication for success in the future” ความสำเร็จด้วยวิธีการเดิมไม่ยืนยันว่าจะสำเร็จในบริบทใหม่ หรือสถานการณ์ใหม่ ๆ  นับเป็นข้อคิดที่นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไม่ควรมองข้าม   

              ตัวอย่างเช่น ความสำเร็จของ บ.ธานินทร์อุตสาหกรรม  (วิทยุธานินทร์) เมื่อ 30-40 ปีที่แล้วเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาของ ปท.ไทยในอดีต   แต่ปัจจุบันไม่มีใครได้เห็น   แต่ทำไมสยามสแควยังอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของลูกค้า  แม้แต่โรงหนังที่เดิมต้องเป็นโรงขนาดใหญ่ก็ปรับเป็นโรงเล็กๆ สิ่งต่างเหล่านี้เป็นเครื่องแสดงว่า  ใครที่สามารถปรับตัวได้โอกาสอยู่รอดก็จะสูง มีการศึกษาว่าทำไมปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่ไม่อยากเรียนแพทย์ที่ศิริราชแต่อยากมาเรียนที่จุฬาฯ มากกว่า พบว่าเด็ก ๆ ให้เหตุผลว่าเพราะจุฬาฯ ใกล้สยาม ซึ่งเป็นถิ่นที่เจริญกว่าศิริราช  นั่นคือศิริราชไม่ใช่รสนิยมของเด็กรุ่นใหม่  ตัวอย่างเหล่านี้เป็นเครื่องแสดงอย่างชัดเจนว่าวิธีการเดิมใช้ไม่ได้กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป  เพราะการเปลี่ยนปลงไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยี  สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม  วิธีการ  โครงสร้างและระบบ ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีในช่วง 3-5 ปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก ส่งผลให้ชีวิตทุกวันนี้จะยากขึ้น  ไม่เหมือนในอดีต  เด็กรุ่นใหม่ถ้าไม่เรียนพิเศษยากที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้โดยง่ายซึ่งต่างไปจากในอดีต  นอกจากนี้ยังพบว่าทัศนคติของคนรุ่นใหม่ปัจจุบันแตกต่างจากในอดีต  คนรุ่ใหม่ชอบที่จะทำงานเบาๆ งานที่ทำแล้วรวยเร็ว  ไม่อยากทำงานหนัก  เด็กชื่นชมกับสังคมบริโภคนิยม ในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดอย่างรวดเร็วนี้ยุคทองไม่มีอีกแล้ว  และทำอย่างไรเราจึงจะอยู่รอดในสังคมที่เปลี่ยนแปลงนี้ 

             การบริหารความเปลี่ยนแปลงนั้นประเด็นแรกคือถ้าการเปลี่ยนแปลงถ้ายังมีทางเลือกหรือยังสามารถอยู่รอดไม่ต้องเปลี่ยน  แต่เป็นการเปลี่ยนเพื่อต้องการอยู่รอด  (Change is not a choice but for change)  โลกไร้พรมแดน  เช่น ปัญหา Sub prime  ที่ US เกิดมีปัญหาส่งผลกระทบไปทั่วโลก ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทั้งนี้เนื่องจากโลกที่ไร้พรมแดนปัญหาที่ US แต่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว             

            อีกประเด็นหนึ่งคือเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา   กรณีมีลางบอกเหตุแสดงให้เห็นว่าในอนาคตแม้อีกยาวไกลไม่ดีเท่าทีควร  องค์กรจึงเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นการ Survive อีก 10หรือ 20 ปีข้างหน้า แต่รีบปรับ ณ เวลานี้เพื่อความอยู่รอดในอนาคต             

             Blue ocean  เป็นหนึ่งในการปรับตัวเพื่อการอยู่รอด เพราะการขายในรูปโภคภัณฑ์  ราคาถูกกำหนดโดยผู้ซื้อ  แต่ขายในรูปผลิตภัณฑ์  (Product) เราจะเป็นผู้กำหนดราคาได้  สร้างความได้เปรียบในตลาด นั่นคือองค์กรต้องผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีการสร้างคุณค่าเข้าไปจนเป็นที่ต้องการของลูกค้าและตลาด   การเปลี่ยนแปลงเปรียบเมือนคลื่นที่ถาโถมเข้ามาอย่างรวดเร็วและรุนแรงการปรับตัวเพื่อการอยู่รอดในภาวการณ์เปลี่ยนแปลงจึงเปรียบเหมือนการที่เราต้องขึ้นไปอยู่บนยอดคลื่นให้ได้เราจึงจะอยู่รอด   ถ้าเราไม่ปรับตัวเราก็จะตายใต้คลื่น   

             ในการบริหารความเปลี่ยนแปลงนั้น  ถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจะเป็นการเปลี่ยนที่พฤติกรรม (if you want small changes, work on your behavior)  แต่ถ้าเปลี่ยนแบบก้าวกระโดดจะเป็นการเปลี่ยนที่กรอบความคิด ( if you want quantum-leap changes, work on your paradigms.)

"""""""""""""""""""'

การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบเราต้องเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดบ้าง...........

หมายเลขบันทึก: 120368เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2007 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 09:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท