จิตตปัญญาเวชศึกษา 15: แพทย์ไทย หัวใจพระโพธิสัตว์ ภาค 1


แพทย์ไทย หัวใจพระโพธิสัตว์

งานประชุมวิชาการคณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ปีนี้ ผมได้รับเกียรติเป็น moderator ให้วิทยากรผู้ทรงทั้งคุณวุฒิและธรรมวุฒิ นั่นคือท่านมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือที่เราบางคนอาจจะคุ้นเคยกับนามปากกา ว.วชิรเมธี นั่นเอง ในหัวข้อ "อยู่ให้ดี ศานติมรณา หรือ Good Life and Good Dead"

 
ท่านมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี เกิดที่เชียงราย บวชเป็นสามเณรที่เชียงราย ศึกษาธรรมะจนจบนักธรรมเอก และเปรียญหกประโยค จึงได้บวชเป็นพระแะมาศึกษาต่อที่วัดเบญจมบพิตร และศึกษาต่อจนจบเปรียญ 9 ประโยค
ท่านมหาวุฒิชัยเป็นพระนักคิด นักกระทำ นักเขียน และนักเผยแพร่ รณรงค์ให้พุทธศาสนามีความน่าสนใจ และแทรกซึมเข้าหา หรือทำให้คนเข้าหาศาสนาได้ง่ายขึ้น ทำให้ชีวิตคนมีความสุขสงบมากขึ้น 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่น่าปลื้มปิติก็คือ ทั้งๆที่จัดเป็น session บ่าย ปิดงาน และผู้จัดได้กรุณามอบห้องประชุมใหญ่ที่สุดให้ ปรากฏว่าชื่อเสียงของท่านวุมิชัยได้เรียกร้องให้ผุ้สนใจเข้ามาร่วมฟังจนเต็มห้อง เสริมอีกนิดหน่อยต่างหาก

ผมก็ได้เริ่มกิจกรรมโดยการนำเข้าสมาธิกับที่นั่ง ให้ผู้เข้าร่วมได้อยู่กับตนเอง ดูแลตนเอง และสำนึกในอวัยวะต่างๆที่ทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยมาโดยตลอด ประมาณ 5-10 นาที

คำถาม

"นมัสการท่านมหาวุฒิชัยครับ กราบขอบพระคุณที่ท่านได้กรุณาสละเวลามาบรรยายธรรมให้ ณ ที่ ม.อ. ในวันนี้ ผมขอเริ่มกระทู้ถามด้วยการขอร้องให้ท่านช่วยประเมินสุขภาวะตามโจทย์ที่ได้ตั้งไว้ คือ วิถีทางของการอยู่ให้ดี และตายให้ดี ของคนไทยในปัจจุบัน ท่านคิดว่าเป็นเช่นไรบ้างครับ"

วิสัชนา

เจริญพร โจทย์ธรมครั้งนี้ดูเหมือนแยกกัน แต่ที่จริงแล้วเป็นเรื่องเดียวกัน สามารถพูดไปด้วยกันได้ และเข้าใจไปด้วยกันได้ เดี๋ยวนี้คนอยู่เพื่ออะไรก็ไม่ทราบ ที่ไม่ยั่งยืน สลายไปในเวลาประเดี๋ยวประด๋าว จึงเป้นสาเหตุแห่งความทุกข์ ความไม่พอ และต้องดิ้นรนกระเสือกกระสนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ที่จริง "ถ้าอยู่เพื่อจะตายดี" นั้นก็จะหมดปัญหาไปเลย

อยู่เพื่อตายดี ก็เหมือนได้ตายไปแล้วก่อนตาย ไม่มีห่วงหาอาลัย แต่ในขณะเดียวกันก็มีสติตลอดเวลา เพราะจะตายวันตายพรุ่ง หรือตายเดี๋ยวนี้ อีกประเดี๋ยวหนึ่งเท่านั้น ก็จะไม่ประมาท อาตมาเคยมีประสบการณ์เฉียดตาย จะขึ้นรถโดยสาร ปรากฏว่าคนขับก็เมามาเชียว หน้าตาท่าทาง กรึ่มหนัก อาตมาภาพก็คิดในใจ แล้วนี่จะไปกันรอดไหมนี่ คิดไปคิดมา ก็ขึ้นรถไปน นั่งพิจารณาไป รอชะตากรรมที่จะมาถึง สักครู่ก็ได้เรื่อง รถตะบึงเข้าโค้งเกือบหักข้อศอก อาตมาก็คิดว่าไมพ้นแหงๆ ณ ปัจจุบันนั้นก็สังเกตเห็น เหมือนหนังสโลว์โมชัน รถค่อยๆพลิกคว่ำ คนกรีดร้อง เสียงดังกึงกังโครมคราม อาตมาหลุดออกมาจากรถ มาล้มลุกคลุกคลานข้างนอกอย่างไรก็ไม่ทราบ หมดสติไปวูบหนึ่ง ณ เวลาที่พอจำได้นั้น นึกอยู่อย่างเดียวว่า "พุทธัง สรณํ คจ.ฉามิ" ขอยึดพระพุทธเป็นที่พึ่ง ที่ยึดเหนี่ยวจนวาระสุดท้ายเถอะ ก็ไม่มีความกลัวใดๆทั้งสิ้น

คงจะหมดสติไปวูปเดียว เพราะรู้สึกตัว ก็ยังได้ทันเห็นรถตัวเองที่นั่งมาเมื่อครู่ ค่อยๆพลอกรอบสุดท้ายก่อนจะหยุดนิ่งลง อาตมาก็นั่งนิ่ง ว่าอะไรมันเป็นมายังไง สักประเดี๋ยวก็มีญาติโยมวิ่งเข้ามาหา วิ่งเข้ามาดู

พอเห็นอาตมาไม่เป็นอะไรเลย ถลอกปอกเปิกนิดหน่อย หนอย พากันรุมถาม ไม่ถามอะไร แต่ถามว่า "ท่านคล้องพระอะไร สวมสิ่งศักดิ์สิทะอะไรครับท่าน?" พยายามจะล้วง จะควัก ค้นหาสิ่งที่คุ้มครองของอาตมาให้ได้.....

บางที ณ จุดสุดท้าย ใครมีอะไรเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว มันก็จะแสดงออกมาว่าเราได้บำเพ็ญ ได้สะสม อะไรไว้มากหรือน้อยแค่ไหน

 มีตาลุงอยู่คน ใกล้จะตาย เป็นโรคระยะสุดท้าย ถึงเวลาก็ถามแกว่าจะอยากทำอะไรที่มีความหมายสำคัญต่อตัวแกบ้างไหม แกก็ตอบมาหลายประการ มี 1) ช่วยเชียร์มวยตอนเย็นวันเสาร์ให้แกด้วย 2) อยากกินโน่น อยากกินนี่ 3) อย่าลืมซื้อหวย

ช่างต่างจากยายอีกคนอย่างสิ้นเชิง อาตมาไปเยี่ยม หมอก็บอกว่าทำท่าจะไม่ค่อยดี ไม่ดีขนาดไหน ก็ขนาดที่บอกลูกสาวคนเล็กที่เรียนอยู่ออสเตรเลียให้กลับมาดูใจ พอเห็นหน้าลูกคนนี้ คนไข้ก็ใจเสีย รู้ทันทีว่าหมอบอกอะไรทำนองไหน ลูกถึงต้องมา อาตมาไปเยี่ยม ถามว่าจะเอาอะไรบ้าง ยายก็บอกขอถวายสังฆทาน ก็เอา เอ้า ใคร+สมาทาน ใครสวดเป็นกันบ้าง ลูกๆมองซ้ายขวาหน้าหลัง เงียบหมด ยายบอกขอยายเอง ก็ว่าแจ้วๆเลย ตั้งนะโม จบแล้วยายต่อไปเองเลน อิมานิ มยังภันเต ฯลฯ สวดจบ ยายลุกขึ้นนั่ง ประเคนข้าง ประเคนของ ลูกๆก็งงงวย ฉงนฉงาย เอากำลังมาจากไหน อาตมาก็บอกยายแกว่า "ยายๆ วันนี้มันที่ 31 ธันวา พร่งนี้ก็ 1 มกรา วันขึ้นปีใหม่ อาตมาก็ขออวยพรวันปีใหม่ให้ก็แล้วกัน" ยายอนุโมทนา แล้วไปๆมาๆ ยายก็ยังอยู่มาได้อีกตลอดทั้งปี!!!

ตกลงกำลังวังชา หรือการจะอยู่ จะรอดนั้น บางทีสิ่งที่ทำให้คนไข้คิดไปต่างๆนานาก็มีผลเหมือนกัน อย่างรายคุณยาย ใครๆก็บอกว่าใกล่จะตายๆ คุณยายก็รับรู้เช่นนั้น ก็หมดพลัง ทั้งๆที่ร่างกายยังอยู่ได้ แต่พอใจไป หมดหวัง ก็รู้สึกใกล้จะตาย พอได้ทำบุญ ใจมาอีกครั้ง ขวัญมาอีกครั้ง ก็อยู่ต่อไปได้อีกนาน

กำลังใจ หรือพลังนี้ เป็นเรื่องสำคัญ และเป็นสากล อาตมาเคยไปที่สวีเดน มีคนไทยอยู่ด้วย ไปเยี่ยมคนไข้ที่โรงพยาบาล พอเป็นคนไทยเราก็สวดมนต์ ให้พร ให้กำลังใจ ปรากฏอาการดีขึ้นหลายคน ไปๆมาๆ ฝรั่งมานิมนต์ถาม "ขอโทษ หลวงพี่ ท่านจะสวดให้ฝรั่งด้วยได้ไหม?" อาตมาก็ถามกลับไปว่า "ทำไมหรือ" "ก็ผมเป็นฝรั่ง ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธนะท่าน" "แล้วอากาศที่เราหายใจอยู่นี่ เป็นของพุทธ หรือเป็นของพระเจ้าล่ะ?" "อืม.... ไม่เป็นของใครเลย เป็นของกลาง"

"ถ้างั้น ที่อาตมาสวดมนต์ ก็เป็นของกลางเหมือนกัน สวดให้ใครก็ได้"

ก็เลยเอากันเต็มที่เลยคราวนี้ ทั้งฝรั้ง ทั้งไทย พอไม่สบาย หรือต้องการกำลังใจ ก็จะนิมนต์พระเราไปสวด ให้พร ให้สติ ให้ธรรมะ ทำกันเป็นเรื่องเป็นราวไปเลย

หมายเลขบันทึก: 120282เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2007 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะอ.หมอPhoenix  

อ่านบันทึกแล้วรู้สึกดีค่ะ รู้สึกว่ามาถูกทาง ..

ขอบคุณอาจารย์ที่เอาเรื่องเล่าดีๆ มาแบ่งปันกันค่ะ

แม้จะผ่านกาลดับขันธ์ แห่งองค์พระศาสดามานับพันๆ ปีแต่ความงดงามของครรลองคลองธรรมของบวรพระพุทธศาสนาก็ยังงดงามอยู่ทุกเมื่อ

ขอบพระคุณมากครับที่ได้นำบทธรรมอันเป็นมงคลยิ่งของท่านอาจารย์ฯ มาให้พวกเราได้อ่านนะครับ

 

ตามอ่านของอาจารย์อยู่เรื่อยๆค่ะ ชอบคำนี้มากเลย

อยู่เพื่อจะตายดี 

คุณกมลวัลย์ และคุณสุพจน์ครับ

รู้สึกเหมือนกันตอนที่ผมนั่งเสวนากับท่านเลยครับ มารู้สึกตัวก็ตอนที่เลยเวลาเลิกมาแล้วครึ่งชั่วโมง แต่ก็ไม่มีใครขยับออกจากห้องประชุม (นั่งเต็ม) สักกี่คนเลย ก็เลยไม่ค่อย guilt เท่าไหร่!!

คุณอนิศราครับ

เป็นคำสรุปที่เรียบง่ายและโดนใจจริงครับ เห็นด้วย 100% ผมคิดว่าเป็นหนึ่งในธรรมะปฏิบัติได้ ที่ต้มแล้วกินได้เลยแบบบะหมี่สำเร็จ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท