lการสอนวิทยาศาสตร์


สิ่งแวดล้อม
สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่ประสบอยู่ในขณะนี้ คือ เรื่องของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว และปัญหามลพิษที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์ในอดีตมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว และอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม จนกลายเป็นข้อจำกัดที่สำคัญของการพัฒนาอาทิ เช่น

              1. การจัดการทรัพยากรดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ปัญหามลพิษในดินจากการตกค้างของสารพิษที่ใช้ในการเกษตรและอุตสาหกรรม เกิดปัญหาการแพร่กระจายของพื้นที่ดินเค็ม และปัญหาการทรุดตัวของแผ่นดินในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้มากเกินไป

              2. พื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการสูญเสียระบบนิเวศน์ ความหลากหลายทางทรัพยากรชีวภาพถูกทำลาย การปลูกป่าทดแทนก็ไม่สามารถทดแทนพื้นที่ป่าไม้เดิมที่ถูกทำลายได้ เพราะป่าทดแทนที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นลักษณะสวนป่าเศรษฐกิจที่ไม่ได้ให้คุณค่าทางระบบนิเวศน์ของป่าไม้เมืองร้อน รวมทั้งไม่สามารถทดแทนหรือฟื้นฟูองค์ประกอบของระบบนิเวศน์ที่สูญเสียไปได้

              3. ปัญหาการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคและบริโภค เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้ความต้องการใช้น้ำมีมากขึ้น แต่ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นกลับลดลงจากการทำลายแหล่งต้นน้ำลำธาร ขณะเดียวกันการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ไม่ดีพอจึงทำให้คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำมีสภาพเสื่อมโทรมมีผลทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำในการบริโภคอุปโภค การเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมในทุกวันนี้

              4. ทรัพยากรแร่ธาตุ และพลังงานได้ถูกนำมาใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพประกอบกับการมิได้มีการพิจารณาการใช้ประโยชน์จากแร่ธาตุอย่างเป็นระบบจึงทำให้ได้รับผลตอบแทนต่ำ ไม่คุ้มค่ากับทรัพยากรที่ได้สูญเสียไป ทั้งยังสูญเสียประโยชน์ข้างเคียง และก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการขัดแย้งกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เช่น ป่าไม้แหล่งน้ำ

เป็นต้น

              5. การแพร่กระจายมลพิษ ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศจากฝุ่นละออง ก๊าซ คาร์บอนมอนนอกไซด์ ปัญหาขณะและสิ่งปฏิกูล รวมทั้งสารอันตรายต่าง ๆ ที่แพร่กระจายไปยังแหล่งต่าง ๆ โดยเฉพาะในเมือง

 

              สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันคืออะไร
                            
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอาจแบ่งได้ 2 ประการ คือ

              ประการแรก เกิดมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และการพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมา ซึ่งก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติโดยการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นจำนวนมากและไม่เป็นระบบ ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ไม่ว่าป่าไม้ แร่ธาตุ พลังงาน น้ำและอื่นๆ ลดลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้แล้วการเพิ่มขึ้นของประชากรและการพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมาก็ยังก่อให้เกิดมลพิษและของเสียอันตรายต่าง ๆ หลายชนิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากทั้งการผลิตและการบริโภค เช่น โรงงานอุตสาหกรรมผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง นอกจากจะต้องนำทรัพยากรธรรมชาติมาทำลายแล้วยังปล่อยของเสีย เช่น ควันพิษสู่อากาศ น้ำเสียลงสู่แม่น้ำ และเมื่อถึงเวลาบริโภคก็ก่อให้เกิดขยะจากหีบห่ออีก ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิตหรือการบริโภค ก็มีส่วนที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงอาจกล่าวได้ว่า ประชากรยิ่งมากกระบวนการผลิตและการบริโภคก็ยิ่งมากขึ้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ตามมามากขึ้นเป็นเงาตามตัว

              ประการที่สอง เกิดจาการขาดระบบการวางแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าการเพิ่มขึ้นของประชากรและการพัฒนาเศรษฐกิจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอและเกิดมลพิษก็ตามแต่ถ้าหากประเทศไทยเรามีระบบการวางแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ การลดลงของทรัพยากรธรรมชาติหรือปัญหามลพิษอาจมีไม่มาก ดังเช่นในปัจจุบันก็ได้ การที่เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันแสดงให้เห็นถึงนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐในอดีตที่ผ่านมาว่าได้พัฒนาประเทศโดยขาดระบบการวางแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพครบวงจร และไม่สามารถเชื่อมประสานทุกส่วนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคระชาชนเข้าด้วยกัน

 

              ในปัจจุบันได้มีการนำเอาแนวคิดอะไรมาใช้ในการแก้ไขปัญหา
                            
การแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อม ?

              แนวคิดสำคัญประการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน คือ แนวคิดเรื่องการนำหลักการวางแผนจัดการแบบครบวงจร มาใช้กับการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต ซึ่งแนวคิดเรื่องการวางแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมนี้ได้บรรจุไว้เป็นมาตรการที่สำคัญของการสิ่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อม 2535)

              แนวคิดเรื่องระบบการวางแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นแนวคิดที่ครอบคลุมการบริหารจัดการิส่งแวดล้อม ตั้งแต่การกำหนดนโยบายของรัฐ การจัดทำแผนปฏิบัติการทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น การตรวจสอบ และติดตามผล โดยแยกบทบาทระหว่างหน่วยงานที่เป็นองค์กรระดับนโยบาย และองค์กรระดับปฏิบัติออกจากกันเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการทำงานมากขึ้นนอกจากนั้นยังส่งเสริมให้หน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งในอดีตไม่ค่อยมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะมีหน่วยงานจากส่วนกลางเข้าไปดำเนินงานแทน ให้มีบทบาทในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยตนเองมากขึ้น

              ดังนั้นเมื่อได้ตรา พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อม 2535 ขึ้น จึงได้มีการนำเรื่องระบบการวางแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประสบอยู่ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาจะได้เป็นไปอย่างครบวงจน โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทย

หมายเลขบันทึก: 120262เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2007 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท