พัฒนาต่อเนื่องในสิ่งที่กำลังทำอยู่


ทุนที่มีอยู่ในชุมชน

ได้อ่านข้อความที่ คุณภีมถาม หลายอย่างที่อยากจะเล่าสู่กันฟังและอาจจะเป็นการทำงานที่พัฒนาด้วยทุนของชุมชนที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นทุน  คน เงิน ปัญญาและอะไรอีกหลายอย่างแล้วแต่โอกาสที่จะนำมาใช้  วันนี้นักศึกษาปริญญาเอกได้โทรศัพท์มาขอคำแนะนำในการทำงานของชุมชน งง ว่าได้เบอร์โทรศัพท์ของเราจากที่ไหน ที่แท้ก็อาจารย์ อ้อมที่น่ารักของเรานี่เองยังคิดถึงพวกเราอยู่นะ (นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่)  นกก็เลยแนะนำไปว่าให้มาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนกับเครือข่ายองค์กรชุมชน "ออมบุญวันละหนึ่งบาทเพื่อสวัสดิการชุมชน จังหวัดลำปาง" ได้ในวันที่เครือข่ายร่วมประชุมประจำเดือนกัน ในอาทิตย์ที่ 4 ของทุกเดือน (ถ้าไม่มีเหตุที่จะเลื่อนการประชุม) 

ก่อนที่เราจะมาเขียนได้โทรปรึกษากับที่ปรึกษาของเครือข่ายที่พวกเราขอให้ท่านอาจารย์ได้เข้ามาช่วยในการวางแผนเรื่องระบบฐานข้อมูลโดยง่าย  และไม่ซับซ้อนนำเรื่องการทำงานของกลุ่มทุกกลุ่มองค์กรชุมชน นำข้อมูลทุกเรื่องที่พวกเราอยากเก็บไว้ เพื่อนำไปวิเคราะห์ดูถึงการทำงานที่ผ่าน  จะได้นำไปประเมินผล 

จากเมื่อก่อนทางเครือข่ายได้ยึดการปฏิบัติในแนวทางของเครือข่ายออมทรัพย์จังหวัดลำปาง  รู้สึกว่ามีแต่ปัญหาเลยได้นำมาประยุกต์การทำงานที่มีรูปแบบที่เข้าใจง่ายในระดับชาวบ้านก็สามารถทำได้โดยการทำงานด้วยมือ  และให้สอดคล้องกับการทำงานที่มีคอมพิวเตอร์ได้ทำงานร่วมกันได้ หรือว่าจะนำข้อมูลมาบันทึกในเครื่องของเครือข่ายก็ได้ เมื่อมีความพร้อมที่จะนำข้อมูลไปใช้เก็บรักษาไว้ที่ชุมชนของกลุ่มก็สามารถ นำกลับไปทำต่อเนื่องได้เลย

สิ่งที่เครือข่ายต้องการเก็บข้อมูลของทุกกลุ่มที่เป็นสมาชิกเครือข่ายเดียวกันนั้นคือ

1.  จำนวนคนที่เข้าสมัครมาเป็นสมาชิกในแต่ละเดือน

2.  จำนวนสมาชิกที่ ตาย/ยกเลิก/ลาออก  ในแต่ละเดือน

3.  จำนวนสมาชิกที่ได้รับการจัดสวัสดิการทุกเรื่องที่ทางกองทุนได้จัดสวัสดิการให้แล้วในแต่ละเดือน  คือ  เกิด  แก่  เจ็บ ตาย ผู้ด้อยโอกาส เพื่อการศึกษา  คนทำงาน  เพื่อสังคม วิสาหกิจชุมชน

4.   จำนวนเงินที่ออมได้ในแต่ละเดือนมีเงินที่จะต้องออมดังนี้

      4.1  จำนวนเงินค่าธรรมเนียมแรกเข้า

      4.2   จำนวนเงินสมทบรายปี 50บาท/คน/ปี

      4.3   จำนวนเงินออมวันละหนึ่งบาท (ที่จัดตั้งค่า 100%)

ในการจัดตั้งกองทุนของกลุ่มในแต่ละกลุ่ม ส่วนมากแนวทางปฏิบัติจะคล้ายคลึงกัน บางกลุ่มก็เหมือนกันแต่ละกองทุนมีการทำบทบาทหน้าที่ตามความเหมาะสมตามจำนวนเงินที่ได้จัดสรร  จากเงินที่เก็บออมวันละหนึ่งบาททางกลุ่มก็ได้แบ่งแยกออกเป็นกองทุนอีกหลายกองทุนดังนี้

50%  จัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการครบวงจรชีวิต  เพื่อเป็นกองทุนที่จ่ายในเรื่องของการจัดสวัสดิการทุกเรื่องที่จัดตั้งไว้

30%  จัดตั้งเป็นกองทุนวิสาหกิจชุมชน  ที่ได้เก็บรวบรวมไว้เพื่อจะนำไปต่อยอดในการสร้างงานในชุมชน ตอนนี้มีเงินพอที่จะทำแต่ยังหาคนที่มีการจัดการกับเงินกองทุนนี้ โดยทำให้เกิดการแก้ปัญหาในการสร้างงานในชุมชนได้ด้วย (ฝันอีกแล้วคงจะมีสักวันที่เป็นจริง)แต่กลุ่มอื่นบางที่ก็เกิดขึ้นแล้ว

10%  จัดตั้งเป็นกองทุนกลาง ที่ทุกกลุ่มจะต้องนำมาเชื่อมร้อยเครือข่ายกันโดยสำรองไว้เป็นเงินที่จะเสริมสภาพคล่องของกลุ่มที่มีเงินไม่พอในการจัดสวัสดิการโดยไม่ต้องกู้แต่ให้ทางกลุ่มได้นำเหตุผลที่ต้องการใช้เงินนี้มานำเสนอในที่ประชุมประจำเดือน  และทางเครือข่ายยังได้มีเงินทุนในการพัฒนาในระบบของเครือข่ายด้วย โดยใช้ทุนสำรองนี้มาพัฒนาเครือข่าย และเป็นประโยชน์ต่อเครือข่าย และกลุ่มองค์กรชุมชนที่เป็นสมาชิกร่วมกัน

10%  จัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อการชราภาพ (หรือกองทุนผู้สูงอายุ) ทางกลุ่มได้เก็บรักษาไว้ที่กลุ่มอยู่แต่ในการปฏิบัติต่อไปจะรวมกันจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการชุมชน,ท้องถิ่น ในระดับตำบลโดยให้มีการทำงานที่มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม,องค์กรอื่นที่มีการบริหารจัดการที่มีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่นกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มสัจจะ กลุ่มสตรี กลุ่ม อสม. หรืออีกหลายกลุ่มที่ยังนึกไม่ออก โดยหาวิธีการนำทุนที่ตัวเองมีอยู่ในองค์กรของตัวเองอยู่แล้ว  มารวมกันได้อย่างไรแต่เราคิดได้นะ  แต่กลุ่มอื่นจะยอมกันหรือไม่ ไม่แน่ใจ โดยกองทุนนี้จะเป็นกองทุนที่เกิดการทำงานที่คลุมคนทั้งตำบลตามที่พวกเราตั้งเป้าหมายไว้

1%  จัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อสังคม ที่ทุกกลุ่มได้จัดสรรมารวมกันในระดับเครือข่าย โดยได้หักเงินจากกองทุนครบวงจรชีวิต 50% มาสมทบกันที่เครือข่าย (เป็นความคิดเห็นของอาจารย์ทิพวัลย์ เห็นเป็นเรื่องที่ดีเลยตั้งกองทุนนี้ขึ้นมาอีกกองทุนหนึ่ง)

ในเรื่องที่ได้บอกเล่ามานี้ได้เป็นข้อมูลที่เครือข่ายได้พัฒนาระบบให้รองรับข้อมูลของแต่ละกลุ่มและครอบคลุมทุกกลุ่มด้วยบางกลุ่มก็รายงานได้กระดาษรายงาน  แต่บางกลุ่มที่มีคอมพิวเตอร์ใช้โดยเชื่อมข้อมูลเข้าด้วยกันแล้วก็ไม่ต้องรายงาน เพียงแต่นำข้อมูลที่รายงานด้วยกระดาษมาบันทึกเพิ่มเติมให้ครบตามระบบที่ได้กำหนดไว้

ฉะนั้นเงินที่จะอยู่ในเครือข่ายก็มีอยู่ 2 กองทุนเท่านั้น คือ

1.  กองทุนกลาง 10%

2.  กองทุนเพื่อสังคม 1%

ส่วนมากที่เรามีการหประชุมร่วมกันทุกครั้งก็คือการนำสิ่งมีปัญหาเข้ามาปรึกษาหารือกัน และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกันในสิ่งที่กลุ่มน่าจะช่วยได้ เช่นระบบบัญชีที่บางกลุ่มที่เป็นน้องใหม่ยังไม่เข้าใจ กลุ่มที่เข้าใจก็สามารถเป็นพี่เลี้ยงให้ได้ ยังมีอีกมากที่จะเขียนต่อนะ  แต่วันนี้สมองสั่งงานเยอะพิมพ์จนปวดมือแล้วคะโอกาสหน้าจะเข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกคะ มีของดีอีกเยอะที่อยากจะบอกนะคะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 120220เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2007 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท