ขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นเทศบาลนำร่อง


ผลจะเป็นเช่นไรเรากำหนดไม่ได้ทั้งหมดเพราะมันมีเหตุปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องมาก เราทำเหตุให้ดีที่สุดก็สบายใจว่าเราได้ทำดีที่สุดแล้ว

การพัฒนาด้านข้อมูลของชุมชนทุกองค์กรที่มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน,ท้องถิ่นได้มารวมกันที่ศูนย์กลางการทำงานของเครือข่ายองค์กรชุมชน "ออมบุญวันละหนึ่งบาท เพื่อสวัสดิการชุมชนสร้างทุนทางสังคมอย่างยั่งยืน"

ถ้าทำฐานข้อมูลตรงนี้สำเร็จ จะขอให้ทางหน่วยงานเป็นส่วนที่จะนำข้อมูลไปเชื่อมกันที่ศูนย์รวมข้อมูลระดับจังหวัดอีกที

ขอบคุณนกที่เขียนเล่าความฝันให้ฟังด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ คงไม่ใช่ฝันกลางวันเพราะเจ้าตัวและทีมงานร่วมกันขับเคลื่อนไปด้วย
ผมมีคำถามอยากให้นกเล่าเพิ่มเติมดังนี้ครับ

1)ข้อมูลของชุมชนมีอะไรบ้าง พอจะแจกแจงให้ฟังได้หรือเปล่า?

2)ที่จริงเครือข่ายโซนใต้ก็เป็นศูนย์รวมข้อมูลของสมาชิกซึ่งตอนนี้ไม่ทราบว่ามีจำนวนเท่าไรแล้ว
เราอยากเชื่อมโยงองค์กรในระดับตำบล/เทศบาล แล้วเชื่อมโยงในระดับจังหวัด เป็นเรื่องที่ดีมาก        ผมเข้าใจว่า รูปแบบของสงขลาเป็นรูปแบบที่ก้าวหน้าที่สุดในแง่เครือข่ายที่เป็นศูนย์รวมข้อมูลจากการพึ่งตนเองโดยการจัดตั้งสมาคมรองรับ ที่อื่นๆเท่าที่ทราบต้องอาศัยความช่วยเหลือจากภายนอกอย่างไม่มีวี่แววว่าจะพึ่งตนเองได้

เราอยากรู้ว่าชุมชนควรทำเองและสามารถทำได้ดีในเรื่องใดบ้าง รัฐควรกระตุ้นด้วยแรงจูงใจต่างๆทั้งกำลังคนและงบประมาณเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองในทุกๆด้านได้มากยิ่งขึ้น จนไม่ต้องมีรัฐ(ในเชิงอุดมคติ)

3)ผมเห็นว่า นกน่าจะใช้ประสบการณ์จากการทำงานกลุ่มและเครือข่ายโซนใต้มาดำเนินการกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นเทศบาลต้นแบบได้เป็นอย่างดี ใช้กระบวนการจัดการความรู้ เน้นความใส่ใจ แบ่งปันเรียนรู้ร่วมกันของแกนนำกลุ่มองค์กรทั้งหมดในเทศบาล โดยการตั้งเป้าหมายร่วมกัน(หัวปลา)ว่า
ภาคชุมชน ท้องถิ่น ราชการทั้งพมจ.และอื่นๆ รวมทั้งภาคประชาสังคมในเทศบาลจะร่วมกันจัดสวัสดิการให้กับคนในเทศบาลได้อย่างครอบคลุม อย่างดี และอย่างมีส่วนร่วมได้อย่างไร? ร่วมฝัน ร่วมคิด ร่วมทำโดยใช้ความรู้ที่มีอยู่ หาความรู้จากที่ต่างๆมาตรวจสอบทดลองทำดูในเทศบาลของเรา
นกมี4บทบาทในงานสาธารณะคือ บทบาทในกลุ่ม  ในเครือข่ายโซนใต้ ในการขับเคลื่อนกองทุนเชื่อมโยงทั้งเทศบาล และในบทบาทระดับจังหวัดเพื่อการขยายผลไปที่อื่นๆ ถ้าเป็นงานที่เราทำแล้วไม่เดือดร้อนเรื่องเศรษฐกิจ(หรือไปด้วยกันได้ดี) ทำแล้ว        มีความสุข ก็เป็นโอกาสให้ได้ฝึกฝนตนเอง ทำเหตุให้ดีที่สุด ผลจะเป็นเช่นไรเรากำหนดไม่ได้ทั้งหมดเพราะมันมีเหตุปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องมาก เราทำเหตุให้ดีที่สุดก็สบายใจว่าเราได้ทำดีที่สุดแล้ว ก็ทำไปเรื่อยๆแก้ไขอุปสรรคที่เข้ามาเนืองๆเป็นการสร้างบารมี เราก็จะทำได้มากขึ้นและดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่ต้องไปทุกข์ใจกับเรื่องราวที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง แต่ก็ไม่นิ่งนอนใจ ทำไปเรื่อยๆ ใช้สติระลึกรู้การหายใจเข้า-ออกยาวเข้ามาช่วย

หมายเลขบันทึก: 120144เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2007 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ว่า "ฐานข้อมูล" มีความสำคัญมาก การจัดข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นระบบเพื่อสะดวกต่อการค้นหาและวิเคราะห์เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนงานทั้งงานวิจัยเพื่อพัฒนาและงานพัฒนา หากแต่บ้านเรามักละเลยไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องของฐานข้อมูลและการจัดการข้อมูลเท่าใดนัก

ที่สำคัญกว่าระบบฐานข้อมูลคือ "ตัวข้อมูล" กล่าวคือ ทำอย่างไรให้ "ข้อมูล" ที่จัดเก็บนั้นมีความถูกต้อง เป็นข้อมูลที่เป็น "ความจริง" ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ มิเช่นนั้น เราก็จะทำงานโดยนำข้อมูลที่ไม่เป็นจริงเหล่านั้นมาใช้ในการตัดสินใจ ซึ่งคงส่งผลเสียหายทั้งต่อองค์กรและสังคมโดยรวมค่ะ 

ชุมชนและคนทำงานชุมชนคงต้องช่วยกันคิดและทำให้ชุมชนมีฐานข้อมูลที่เป็นจริง และจัดเก็บอยู่ในชุมชนเอง เพื่อการจัดการตนเองของชุมชนจะได้บรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้นนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท