ระดับการวัดของตัวแปรในทางสถิติ


การที่จะทำการวิเคราะห์โครงสร้างแบบสอบถามหรือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้นั้น ผู้วิเคราะห์ต้องมีความรู้ในเรื่องของระดับการวัดของตัวแปรในทางสถิติเสียก่อน

     ในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลทางสถิตินั้น สิ่งแรกที่ผู้วิเคราะห์ต้องคำนึงถึง คือ การวิเคราะห์แบบสอบถาม หรือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สาเหตุที่ต้องมีการวิเคราะห์โครงสร้างของแบบสอบถาม เนื่องจากตัวแปรที่เกิดจากข้อคำถามในเครื่องมือนั้นๆ จะเป็นตัวกำหนดสถิติที่จะนำมาวิเคราะห์ ดังนั้นการที่จะทำการวิเคราะห์โครงสร้างแบบสอบถามหรือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้นั้น ผู้วิเคราะห์ต้องมีความรู้ในเรื่องของระดับการวัดของตัวแปรในทางสถิติเสียก่อน

     ระดับการวัดของตัวแปร เป็นการจัดเรียงลำดับของตัวแปร โดยสามารถแบ่งระดับในการวัดได้เป็น 4 ระดับ ได้แก่

     1.    มาตรานามบัญญัติ (Nominal Scale) ลักษณะเด่นของมาตรานี้คือ เป็นตัวแปรที่ถูกจัดเป็นกลุ่มๆ โดยที่ตัวแปรนี้ไม่สามารถจัดลำดับก่อนหลัง หรือบอกระยะห่างได้ เช่น เพศ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือเพศชาย และเพศหญิง

     2.    มาตราจัดลำดับ (Ordinal Scale) ลักษณะของมาตรานี้ จะมีลักษณะคล้ายกับมาตรานามบัญญัติ คือสามารถจัดเป็นกลุ่มๆ ได้ และไม่สามารถบอกระยะห่างระหว่างกลุ่มได้เช่นเดียวกับมาตรานามบัญญัติ แต่มาตราจัดลำดับสามารถจัดลำดับก่อนหลังของตัวแปรได้ เช่น วุฒิการศึกษา อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี และสามารถจัดลำดับก่อนหลังได้ว่าผู้ที่จะเรียนในระดับปริญญาตรีได้ต้องผ่านการศึกษาในระดับมัธยมมาก่อน หรือผลการประกวดนางงามที่ผลออกมาเป็น อันดับ 1, 2, 3, … ฯลฯ

     3.    มาตราอันตรภาคชั้น (Interval Scale) คุณลักษณะของมาตรานี้สามารถแบ่งตัวแปรออกเป็นกลุ่มๆ ได้ จัดลำดับก่อนหลังของตัวแปรได้ อีกทั้งมีระยะห่างของช่วงการวัดที่เท่ากัน และที่สำคัญที่สุดของมาตรานี้คือ มาตรานี้เป็นมาตรการวัดที่ไม่มีศูนย์แท้ (Absolute Zero) นั่นหมายความว่า ศูนย์ของมาตรานี้ไม่ได้หมายความว่าไม่มี แต่เป็นศูนย์ที่เกิดจากการสมมติขึ้น เช่น ผลคะแนนสอบวิชาสถิติของนาย ก พบว่าได้คะแนนเท่ากับ 0 (ศูนย์) นั่นไม่ได้หมายความว่านาย ก ไม่มีความรู้ในเรื่องสถิติ เพียงแต่การสอบในครั้งนั้นวัดได้ไม่ตรงกับสิ่งที่นาย ก รู้

     4. มาตราอัตราส่วน (Ratio Scale) มาตรานี้ เป็นมาตราที่มีลักษณะเหมือนกับมาตราอัตราส่วนทุกประการ แต่สิ่งที่แตกต่างกันในมาตรานี้คือ มาตรานี้เป็นมาตราที่มี ศูนย์แท้ (Absolute Zero) นั่นหมายความว่า ผลที่ได้จากการวัดในมาตรานี้หากเท่ากับศูนย์แสดงว่าไม่มีอย่างแท้จริง เช่น ตัวแปรน้ำหนัก หรือส่วนสูง 0 (ศูนย์) ของตัวแปรทั้งสองตัวนี้หมายถึงไม่มีน้ำหนักและไม่มีความสูงเลย

ระดับการวัดทั้ง 4 มาตรานี้สามารถสรุปได้ดังภาพ

หมายเลขบันทึก: 120092เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2007 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เรียน อาจารย์สุดาวดี

ข้อมูลชัดเจน มีแผนภูมิทำให้เข้าใจง่ายขึ้นครับ.

ขอบคุณมากค่ะ

สำหรับกำลังใจดีๆ

อยากทราบเพิ่มเติมด้านตัวแปรในเชิงสถิติ ตัวแปรแบบต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องคืออะไร ตัวแปรเชิงคุณภาพเชิงปริมาณเป็นแบบไหน ตัวแปรแบบแทรกคืออะไร ช่วยยกตัวอย่างในเห็นภาพของความแตกต่างในตัวแปรแต่ละชนิดให้ทีนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ ได้ความรู้เยอะเลย

สวัสดีคะ อาจารย์สุดาวดี

หนูเป็นนักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความสงสัยในเรื่องของ ระดับการวัดตัวแปร ของโครงร่างวิจัยคะ  รบกวนอาจารย์ช่วยอธิบายเพิ่มหน่อยคะ  ขอบคุณมากคะ

สวัสดีครับอาจารย์

ผมมีคำถามเล็กน้อยเกี่ยวกับตัวแปรทางสถิติดังนี้ครับ

1.นักลงทุนรายย่อยมีระดับการศึกษาต่างกันมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนเปิดประเภทตราสารหนี้ต่างกัน

2.ปัจจัยด้านการตลาดมีอิทธิพลตอพฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนไทย

3.รายได้ของผู้โดยสารมีผลต่อการตัดสินใจเดินทางโดยสายการบินต้นทุนต่ำ

4.วัยรุ่นชายมีความพึงพอใจบริโภคบะหมีสำเร้จรูปมากว่าวัยรุ่นหญิง

อาจารย์ครับเราจะกำหนดตัวแปรทางสถิติ ตัวแปรการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและรูปแสดงขอบเฃตวิกฤติได้อย่างไรครับ

ขอบคุณมากครับ

ทุกอย่างขึ้นกับการออกแบบเครื่องมือและข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ค่ะ

เช่น

ระดับการศึกษา ถ้าเก็บเป็นแบบเช็คลิส คือมีตัวเลือกระดับการศึกษามาให้ แล้วเลืือกตอบ ตัวแปรนี้จะเป็นตัวแปรที่อยู่ในมาตรานามบัญญัติ หรือไม่ก็จัดลำดับ แต่ถ้าเก็บเป็นจำนวนปีที่ศึกษา เช่น ป. 6 คือ 6 ปี ม. 6 คือ 12 ปี ก็จะสามารถเป็นมาตราอัตตราส่วนได้

ตัวแปรความรู้ ถ้าเก็บข้อมูลจากข้อสอบ ก้อเป็นมาตราอันตรภาคชั้นได้เลย

พฤติกรรมและความพึงพอใจบริโภค ถ้าเป็นการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามแบบ rating scales ตัวแปรนี้จะอยู่ในมาตราอันตรภาคชั้น

รายได้ของผู้โดยสาร ถ้าเก็บแบบเป็นเลือกตอบ ตัวแปรนี้จะเป็นตัวแปรนี้จะเป็นตัวแปรที่อยู่ในมาตรานามบัญญัติ หรือไม่ก็จัดลำดับค่ะ แต่ถ้าปล่อยให้เติมคำในช่องว่างตามเงินเดือนจริง ตัวแปรนี้จะเป็นมาตราอัตตราส่วนได้

ตัดสินใจเดินทางโดยสายการบินต้นทุนต่ำ เป็น นามบัญญัติ คือ ใช่ ไม่ใช่

จากข้างต้นจะเห็นเลยค่ะว่า เราจะตอบว่าใช้สถิติอะไรได้ เราต้องบอกได้ก่อนว่าข้อมูลที่เราเก็บมาเป็นแบบไหน ถามมาแค่นี้ยังตอบไม่ได้ค่ะ

ขอบคุณมากครับสุดาวดี

หนูได้ทำวิจัย อยากทราบว่า การวัดความรู้ความถึงอะไร และมีกี่ประเภทช่วยบอกทีนะคะ ขอบคุณมากๆๆคะ

หนูได้ทำวิจัย อยากทราบว่า การวัดความรู้ความถึงอะไร และมีกี่ประเภทช่วยบอกทีนะคะ ขอบคุณมากๆๆคะ

อยากทราบว่าการกำหนดดับดับของข้อมูลมาตราอันดับเพื่อนำมาวิเคราะห์ 3 วิธีมี ลำดับกึ่งกลาง    ระยะห่างระหว่างกลุ่มเท่ากัน    และระยะห่างระหว่างกลุ่มเท่ากันสูงสุด     3วิธีนี้มันคืออะไรแล้วคำนวณยังไงค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท