Global Trend in University Governance : ๓. ระบบนิเวศแห่งอำนาจ


สภามหาวิทยาลัยไม่ใช่องค์ประกอบที่มีอำนาจเด็ดขาด มหาวิทยาลัยทำงานอยู่ใน “ระบบนิเวศแห่งอำนาจ” ที่หลากหลายมาก ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว

 

          ในชีวิตจริง สภามหาวิทยาลัยไม่ใช่องค์ประกอบที่มีอำนาจเด็ดขาด     มหาวิทยาลัยทำงานอยู่ใน “ระบบนิเวศแห่งอำนาจ” ที่หลากหลายมาก     ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว   เช่น

     • กฎหมายของประเทศ  กฎระเบียบของราชการ
     • แรงชักจูงจากภาคีหุ้นส่วนภายนอก เช่น รัฐบาล  ตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรม   ตัวแทนจากภาคการค้า  ที่เข้ามานั่งอยู่ในสภามหาวิทยาลัย
     • การดูแลกำกับตนเองทางวิชาการ   เพื่อความมีเสรีภาพทางวิชาการ    ซึ่งเป็นประเพณีนิยมสืบเนื่องมายาวนานสำหรับมหาวิทยาลัย  ตัวกลไกสำคัญคือ peer review   
     • การดูแลกำกับตนเองของฝ่ายบริหาร และสมาชิกภายในองค์กร    ในเรื่องที่เป็นกิจกรรมและความสัมพันธ์ภายใน   

          จะเห็นว่าสภามหาวิทยาลัยเน้นการกำกับดูแลส่วนที่เป็นความสัมพันธ์ภาพใหญ่     ความสัมพันธ์กับภายนอกองค์กร     สภามหาวิทยาลัยต้องเน้น “การกำกับภาพใหญ่” (Macro Governance)     ต้องระมัดระวัง ไม่เข้าไปกำกับภาพเล็ก (Micro Governance)     หรือบางครั้งหลงเข้าไปกำกับ micro management เสียเอง    

วิจารณ์ พานิช
๓๐ ก.ค. ๕๐

หมายเลขบันทึก: 119992เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2007 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท