บันทึกจากแดนซากุระ 1: คำทักทายจากแดนไกล


ที่นี่ต้องเปลี่ยนห้องกันเสมอๆ เมื่อทำแลบไปช่วงเวลาหนึ่ง sensei ให้เหตุผลว่า ถ้าให้อยู่ที่ไหนนานๆ ข้าวของจะมากขึ้น ฉะนั้นการเปลี่ยนโต๊ะทำงานจะช่วยให้ทุกคนจำกัดการมีข้าวของ เครื่องใช้เท่าที่จำเป็น วิธีนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจในการทำ 5 ส ที่นี่ใช้ DNA extraction kit ที่เตรียมขึ้นเอง ไม่ได้ซื้อเขาเหมือนบ้านเรา แต่เดิมผมเข้าใจว่าถ้าเตรียมเอง ก็ใช้ Phenol Chloroform สกัด แต่ที่นี่เขาใช้ NaI แทน Phenol Chloroform โดยมีงานวิจัยรองรับว่าดีกว่าค่อนข้างมาก ไม่ toxic เหมือนการใช้ Phenol. และให้ yeild ในการสกัดสูงกว่า
ผมมาถึง U of Tokyo เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา การเดินทางราบรื่นดีครับ Ishida
Sensei ไปรับที่สนามบิน Narita ซึ่งห่างจากกรุงโตเกียวประมาณ 1 ชั่วโมง
ทางรถไฟ มาถึงที่นี่อุณหภูมิประมาณ -1 ถึง -6 องศาเซลเซียส
อากาศหนาวมากโดยเฉพาะเวลาที่ลมพัดมา แล้วที่นี่ลมพัดแรงเสียด้วยซิ
ที่พักอยู่ภายในมหาวิทยาลัย ห่างจากห้องแลบราวจากโว๊คเดินมาที่ภาควิชา

ห้องแลบอยู่ในตึกของภาควิชา Biological Science ชั้นที่สาม
ที่นี่เครื่องมือมีครบ สะดวกดี ค่อนข้างทันสมัย แต่บางเครื่องใช้มานานมาก
ดูจาก model แล้วน่าจะเก่ากว่าบ้านเรามากเช่น เครื่องชั่ง 4 ตำแหน่ง
ยังเป็นแบบรุ่นเก่าสมัยที่เรียน ป.ตรี (เป็นแบบ analog) แม้แต่ microwave
ก็เป็นแบบรุ่นโบราณ....มากๆ แสดงถึงการดูแล รักษาอย่างดี
ทำให้ใช้งานได้จนมาถึงทุกวันนี้

นักศึกษาที่นี่มีประมาณ 10 กว่าคน (ป.ตรี-โท-เอก)
ทุกคนมีหน้าที่ต้องผลัดเวรกันทำความสะอาดห้อง ล้างข้าวของเครื่องใช้
ดูแลเครื่องมือ แม้แต่เติม liquid nitrogen ลง tank
เวรต่างๆมีกำหนดต้องทำอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ทุกคนช่วยเหลือกันดี
ต่างจากบ้านเราที่มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลส่วนนี้ให้ ทำให้สบายกว่ากันเยอะ
ข้าวของเครื่องใช้ในแลบ ส่วนใหญ่เป็นแบบใช้ครั้งเดียว เช่น pipette tip,
serological pipette, tube etc. เห็นแล้วทำใจไม่ค่อยได้
อยากเก็บเอามาล้างแล้วเอากลับไปใช้ที่บ้านเรา ลักษณะ bench
ที่ทำแลบก็เหมือนกับบ้านเรา แบ่งเป็น 3 ตอนติดกัน สำหรับทำงานได้ 3 คน
ทุกคนมีหน้าที่ดูแลโต๊ะแลบของตัวเอง สำหรับพื้นที่ส่วนกลางให้คนที่มีเวร
เป็นผู้ดูแล และหมุนเวียนเปลี่ยนเวรกันทุกเดือน
ที่นี่ต้องเปลี่ยนห้องกันเสมอๆ เมื่อทำแลบไปช่วงเวลาหนึ่ง sensei
ให้เหตุผลว่า ถ้าให้อยู่ที่ไหนนานๆ ข้าวของจะมากขึ้น
ฉะนั้นการเปลี่ยนโต๊ะทำงานจะช่วยให้ทุกคนจำกัดการมีข้าวของ
เครื่องใช้เท่าที่จำเป็น วิธีนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจในการทำ 5 ส

ช่วงอาทิตย์แรกนี้ ผมเริ่มต้นจากการฝึกสกัด DNA จากตัวอย่างตรวจ Sensei
มอบหมายให้นักศึกษาปริญญาโทคนหนึ่งเป็นผู้สอนงาน
ทุกอย่างค่อนข้างราบรื่นสำหรับเด็กใหม่ในงาน molecular อย่างผม ที่นี่ใช้ DNA
extraction kit ที่เตรียมขึ้นเอง ไม่ได้ซื้อเขาเหมือนบ้านเรา
แต่เดิมผมเข้าใจว่าถ้าเตรียมเอง ก็ใช้ Phenol Chloroform สกัด
แต่ที่นี่เขาใช้ NaI แทน Phenol Chloroform
โดยมีงานวิจัยรองรับว่าดีกว่าค่อนข้างมาก ไม่ toxic เหมือนการใช้ Phenol.
และให้ yeild ในการสกัดสูงกว่า บ้านเราหากใครสนใจลองหาได้จาก Reference นี้
Lu Wang, Kazunari Hirayasu, Masaki Ishizawa and Yoshiteru Kobayashi.
Perification of genomic DNA from human whole blood by
isopropanol-fractionation with concentrated NaI and SDS.  Nucleic Acids
Research 1994; 22(9):1774-1775.
ใน article นี้บอกสูตรการเตรียมน้ำยาทุกอย่างไว้หมดแล้ว พร้อม protocol
ที่ค่อนข้างละเอียด ทำตามได้เลย

อาทิตย์หน้าจะเริ่มต้นทำ PCR แล้วผมค่อยรายงานความก้าวหน้าใหม่ครับ

สุคนธ์

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 11990เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2006 09:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีใจที่ด้วยที่ถึงแดนซากูระโดยราบรื่นปลอดภัย รวมทั้งการเริ่มต้นงานที่ดี

 

อ่านแล้วสนุกมากค่ะพี่กานต์ เขียนเรื่อย ๆ น๊ะค๊ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท