ประวัติ โดยสังเขป รัฐธรรมนูญฯ 2540


ประวัติศาสตร์ การจัดทำรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จากบทบันทึกทางประวัติศาสตร์ของ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร

ประวัติ

โดยสังเขป

รัฐธรรมนูญฯ 2540

 

ประวัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540โดยสังเขป  

ประวัติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยสังเขป

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นฉบับที่จัดทำขึ้นโดยมุ่งเน้นให้มีการปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองขึ้นใหม่ ให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ทั้งนี้ โดยยังคงรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยขั้นตอนการดำเนินการต่างๆ ในการจัดทำเป็นไปตามบทบัญญัติของ  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2539 โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกที่รัฐสภาเลือกตั้งจากบุคคลหลายสาขาอาชีพเป็นองค์กรทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่</p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงภายหลังจากที่ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 แล้ว ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 3/2539 (สมัยสามัญ ครั้งที่ หนึ่ง) วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2539 ได้ลงมติเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 99 คน เพื่อทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้แล้วเสร็จภายในสองร้อยสี่สิบวัน</p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>สภาร่างรัฐธรรมนูญ  โดยคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน อย่างต่อเนื่องทั้งระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ</p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ และคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ประจำจังหวัด 76 จังหวัด เพื่อจัดทำเป็นกรอบเบื้องต้นของร่างรัฐธรรมนูญ และนำไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นระยะๆ จวบจนกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ และผ่านต่อไปสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช …. และนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2540 จากนั้นจึงได้นำเสนอให้รัฐสภาพิจารณาระยะเวลาในการทำหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ</p><p>    </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>จนถึงวันที่นำเสนอให้รัฐสภาพิจารณารวม 233 วัน ได้ใช้เวลาประชุม 30 ครั้ง และมีการประชุมครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2540 เพื่อรับรองรายงานการประชุม รวมเป็น 31 ครั้ง</p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>รัฐสภา  โดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ได้ใช้เวลาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช …. โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเข้าร่วมประชุมชี้แจงเป็นเวลา 5 วัน จึงแล้วเสร็จ รอไว้ 15 วัน ตามข้อบังคับการประชุมร่วมกันของรัฐสภา พุทธศักราช 2539 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 7/2540 (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) ได้ลงมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภา ซึ่งถือว่าที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้ลงมติให้ความเห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช …. </p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยสำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ได้ดำเนินการจารข้อความของร่างรัฐธรรมนูญลงในสมุดไทย รวม 3 ฉบับ เพื่อนำไปดำเนินการลงรักปิดทองสมุดไทย ทั้งหกด้าน พร้อมอัญเชิญตราพระครุฑพ่าห์ทองคำ 1 ตรา และตราพระครุฑพ่าห์เงินกะไหล่ทอง 2 ตรา ติดบนปกสมุดไทยที่จัดทำขึ้นมาตามโบราณประเพณี ทั้งนี้ ด้วยความอนุเคราะห์ของส่วนราชการต่างๆ อันประกอบด้วย</p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">1. กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ เป็นผู้จัดทำตราพระครุฑพ่าห์ทองคำ และพระครุฑ์พ่าห์เงินกะไหล่ทอง</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">2. กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร เป็นผู้ดำเนินการลงรักปิดทองสมุดไทยทั้งหกด้าน และอัญเชิญตราพระครุฑ์พ่าห์ติดบนปกสมุดไทย</p><p> 3. กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้จัดหากระดาษไฮเวท 120 แกรม ขนาด 48 x 64 นิ้ว ซึ่งเป็นกระดาษพิเศษที่มีความคงทนไม่ซับน้ำ </p><p>4. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว องค์การค้าของคุรุสภา เป็นผู้ตัดและพับเล่มสมุดไทย  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>โดยนำร่างพระราชบัญญัติฉบับสมุดไทยมามอบให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์ทั้งสามฉบับ เมื่อวันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2540  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะบุคคลที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฏร นายกรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อัญเชิญร่างรัฐธรรมนูญ คือ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และเลขาธิการวุฒิสภา เข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับสมุดไทย เพื่อลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>ในวันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม 2540 เวลา 17.30 น.  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>โดยประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทยทั้งสามฉบับ และได้อัญเชิญกลับไปที่สำนักเลขานุการคณะรัฐมนตรีเพื่อประทับตราพระราชลัญจกร อันได้แก่ พระราชลัญจกรมหาโองการ พระราชลัญจกรไอยราพต และพระราชลัญจกรหงสพิมาน บนสมุดไทยพับบน และประทับตราที่พับล่างถัดมา พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ ซึ่งเป็นพระราชลัญจกรประจำรัชกาล ลงบนพระปรมาภิไธย  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับสมุดไทย มีขนาดกว้าง 45.5 เซ็นติเมตร ยาว 13.4 เซ็นติเมตร ความยาว 266 พับ เขียนโดยเจ้าหน้าที่ลิขิต 8 คน ใช้เวลาเขียน 20 วัน โดยเริ่มเขียนล่วงหน้าก่อนรัฐสภาลงมติให้ความเห็นชอบ รวม 3 ฉบับ   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>โดย สำนักงานเลขาธิการ ได้รับมอบฉบับที่ติดตราพระครุฑ์พ่าห์ทองคำ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2540 ส่วนฉบับที่ติดตราพระครุฑ์พ่าห์เงินกะไหล่ทอง 2 ฉบับ เก็บรักษาโดยสำนักราชเลขาธิการ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีความยาว 336 มาตรา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฏีกา เล่มที่ 114 ตอนที่ 55 ก วันที่ 11 ตุลาคม 2540 อันถือว่ามีผลใช้บังคับในวันเดียวกัน  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้จัดทำต้นฉบับ และจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ เพื่อมอบให้ส่วนราชการสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรสำหรับแจกจ่ายให้กับสมาชิกรัฐสภา ห้องสมุด เป้าหมายทั่วประเทศ นักศึกษา และนักเรียน ตามโครงการส่งเสริมภาระกิจของสภาผู้แทนราษฎร และโครงการเผยแพร่ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา อันจะยังประโยชน์ในการใช้ประกอบการปฏิบัติงานและค้นคว้าสืบไป   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>กองการพิมพ์ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>พฤศจิกายน 2540</p><p></p><p>    </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>อ้างอิง - ข้อมูล </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>ISBN 974 - 8055 - 41 - 8 <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>ปีที่พิมพ์ พฤศจิกายน 2540 <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>จำนวนหน้า 290 หน้า <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>พิมพ์ครั้งที่ 1 <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>จำนวนพิมพ์ 10,000 เล่ม <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>จัดทำโดย ฝ่ายจัดการการพิมพ์ กองการพิมพ์ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

หมายเลขบันทึก: 119897เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2007 06:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท