ทฤษฎีการให้คำปรึกษาเชิงวิเคราะห์สัมพันธภาพ (Transactional Analysis)


มนุษย์ทุกค้นย่อมต้องการการเอาใจใส่ดูแลจากบุคคลรอบข้าง

              ทฤษฎีการให้คำปรึกษาเชิงวิเคราะห์สัมพันธภาพ หรือที่ เรารู้จักกัน คือ จิตวิทยาแนว T.A  ก่อตั้งโดย Eric  Berne  ซึ่งเขาเป็นจิตแพทย์ เขาเป็นบุตรของนักฟิสิกส์ชาวยิว มีฐานะค่อนข้างยากจน ได้อพยะไปอยู่ที่เมืองมอมทรีล ประเทศแคนาดา  ได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์ ในปี 1935  ต่อมาได้ย้ายไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาเป็นแพทย์ทางจิตเวช ที่มหาวิทยาลัยเยล และได้โอนสัญชาติเป็นชาวอเมริกัน ใน ค.ศ 1941  

              ทฤษฎีการให้คำปรึกษาเชิงวิเคราะห์สัมพันธภาพ เชื่อว่า มนุษย์เรามีความต้องการเบื้องต้น 2 ประการคือ ความต้องการทางด้านร่างกาย และความต้องการทางด้านจิตใจ   สำหรับความต้องการทางด้านจิตใจนั้น สามารถกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น  การสัมผัส การชมเชย เป็นต้น ซึ่งการกระทำเหล่านี้เป็นการแสดงออกให้บุคคลนั้น มีความรู้สึกว่าเขาได้รับการเอาใจใสดูแล การกระทำเหล่านี้ ทฤษฎีนี้ เรียกว่า Stroke    

            มนุษย์เราตั้งแต่แรกเกิดจะไม่สามารถเจริญเติบโต และพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างเต็มที่ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ถ้าหากบุคคลนั้นไม่ได้รับการสัมผัส โอบอุ้ม กอดรัด เอาใจใสดูแล และการยอมรับจากบุคคลอื่น ต่อมาเมื่อเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ความต้องการที่จะได้รับการตอบสนองก็จะเป็นไปในเชิงสัญลักษณ์ที่มีความหมาย ได้แก่  การสื่อสารที่ใช้คำพูด เช่น การชมเชย การยกย่อง การให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลนั้นๆ และการสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูด เช่น การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง แววตา น้ำเสียง การพยักหน้า การยิ้ม เป็นต้น       

          ข้อคิดที่ได้จากทฤษฎีนี้ ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนนักศึกษา หรือแม้กระทั่งนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของท่านได้ เพราะมนุษย์ทุกคนต้องการการเอาใจใสจากผู้อื่น ต้องการให้สังคมยอมรับเขาให้เป็นสมาชิกของสังคมนั้นๆ การที่เขาได้รับการเอาใจใส่ จะทำให้เขาเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง มองเห็นว่าตนเองเป็นคนที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งจะส่งผลให้เขามีกำลังใจในการปฏิบัติงาน หรือกลับตัวเป็นคนดี 

 ท่านที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บรรณานุกรรมข้างล่างนี้ครับ

พงษ์พันธ์  พงษ์โสภา  ทฤษฎีและเทคนิคการให้คำปรึกษา. บริษัทธนธัชการพิมพ์ จำกัด : กรุงเทพ ,2543

หมายเลขบันทึก: 119853เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2007 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท