บันทึก KM สัญจร ครั้งที่ ๒ (๒)


ชาวบ้านเป็นผู้นำเสนอ และตอบคำถาม/ร่วมอภิปรายได้อย่างคล่องแคล่ว

บันทึก KM สัญจร ครั้งที่ ๒ (๒)

การประชุมเพื่อนำเสนอเครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษ จ. พิจิตร ที่ห้องประชุม ศาลากลางจังหวัดพิจิตร  บ่ายวันที่ ๙ มค. ๔๙ 


การประชุมเริ่มด้วยคุณสุนทร มัจฉิม  ปราชญ์ชาวบ้าน กล่าวต้อนรับ    คุณณรงค์ แฉล้มวงศ์ ประธานกลุ่มเกษตรธรรมชาติ จ พิจิตร    แนะนำสมาชิก    และกล่าวถึงสถานการณ์พิษสารเคมี จ. พิจิตร     ปี ๒๕๔๐ เศรษฐกิจทรุด  คุณบำรุง   ลุงสมพงศ์  ลุงน้ำพอง   คุณณรงค์   และคุณสุรเดช  ช่วยกันฝ่าวิกฤติ     พิจิตรเป็นที่ ๒ ด้านการเกิดพิษสารเคมีทางเกษตร     หาทางแก้โดยไปดูงานเอาแนวคิดมาจากอีสาน จากครูบาสุทธินันท์     เอามาปรับใช้กับพิจิตร     มาสรุปผลงานเกษตรปลอดสารร่วมกัน     ทำใน ๔๐ พื้นที่  ได้ผลพอเป็นตัวอย่าง ได้ ๘ ที่     เอามาเป็นรุ่นครูเปิดการอบรม วปอ. (วิทยากรกระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่การพึ่งพาตนเองและพึ่งพากันเอง)     สร้างแกนนำได้ ๓๐๐๐ ครอบครัว    ดูผลจากหนี้ลด     กรมพัฒนาชุมชนเอาไปเป็นตัวอย่าง     ต่อมาทำโครงการทายาทเกษตรกรได้ผลดี    จัดอบรม วปอ. น้อย     เด็กเก็บกดมีปัญหาครอบครัวจะพูดออกมา     นำไปสู่การแก้ปัญหาครอบครัวได้    
รองผู้ว่าราชการจังหวัดกล่าวต้อนรับแทนผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งต้องไปประชุมกับนายกรัฐมนตรี      พิจิตรมีพื้นที่ ๒.๘ ล้านไร่   เป็นพื้นที่ทำการเกษตร  ๒.๑ ล้าน หรือประมาณ ๘๐% ของพื้นที่    เป็นพื้นที่ ๒ ลุ่มน้ำคือแม่น้ำน่าน และยม     จุดอ่อน มีพื้นที่ป่าไม้น้อยที่สุดในภาคเหนือ   มี ๖,๐๐๐ ไร่     เผชิญปัญหาน้ำท่วม     แม่น้ำยมไม่มีเขื่อน     หน้าแล้งมีปัญหาภัยแล้ง     พื้นที่ ๔ แสนไร่ มีชลประทาน ทำนาได้ปีละ ๓ ครั้ง     ผวจ. ซีอีโอ ปีที่ ๓ ต้องทำ statement of intention    ได้ตั้ง ๔ เรื่อง คือ  (๑)  น้ำ  แก้น้ำท่วม น้ำแล้ง   (๒)  การเกษตร   ข้าว  ส้มโอ   (๓)  การท่องเที่ยว – บึงสีไฟ    แหล่งธรรมะ    หลวงพ่อเพชร    หลวงพ่อเงิน โพทะเล     รวม ๙ วัด   ได้ตั้งงบประมาณให้พัฒนา ๒ ล้านต่อวัด     เหมืองทองคำ   (๔)  เส้นทางคมนาคม    
การพัฒนาเกษตรใช้แนวคิดคู่ขนาน  ๒ แนว   (๑)  เศรษฐกิจพอเพียง  ตามทฤษฎีใหม่ของในหลวง     ไร่นาสวนผสม    (๒) ข้าว  ผลผลิต ๑.๗ ล้านตัน    เน้นเพิ่มมูลค่า     เกษตรปลอดสาร    ข้าว EIP   เกษตรอินทรีย์   
หลังจากนั้นคุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ เลขาธิการมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร ดำเนินการประชุมมีการแนะนำซึ่งกันและกัน    นายก อบต. สุชาติ
คุณมนัส ทองกลั่น ผช เกษตร จ พิจิตร    แนะนำทีมเกษตร จ พิจิตร
รองผู้ว่ากล่าวเพิ่มว่า  พิจิตร GDP ๒๔,๖๐๐ ล้าน     เกษตร ๑/๓     ต้องการเพิ่ม GDP   ลดรายจ่าย   เพิ่มสุขภาพ    ได้สั่งว่าการไปดูงานในพื้นที่วันพรุ่งนี้ ขอให้ทีมเกษตรร่วมไปด้วย    และกลับมาเรียนรู้ร่วมกัน    พิจิตรจะทำทั้ง ๒ แนว     คือเพิ่มรายได้จังหวัด     และลดรายจ่าย ชาวบ้าน   
มีการฉายวิดีโอกิจกรรมจัดการความรู้ จ. พิจิตร ๑๒ นาที    และวิดีโอการลงเยี่ยมพื้นที่เมื่อวานนี้    มีตัวอย่างคนพิจิตรที่มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง    เช่น คุณสมนึก ไขระย้า (ลุงจี๊ด) และภรรยา  ที่ ๑ ไร่  ลูก ๑ คน    ไม่มีหนี้    เป็นคนที่มีความคิด มีสติเตือนตนเอง เขีนยคติเตือนใจไว้มากมาย เช่น
“แม้เปลี่ยนแปลงโลกไม่ได้   แต่เปลี่ยนแปลงตนเองได้”
“ดื่มสุราพาสุขเพียงข้ามคืน  แต่พอตื่นก็ทุกข์ถนัด”
พิจิตรใช้สารเคมีเกษตรอันดับ ๒ ของประเทศมาตลอด    ปี ๔๗ อันดับ ๑ เพราะทำนาปรังมาก   
หลังจากนั้นมีการนำเสนอกิจกรรมของกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษแต่ละกลุ่ม

กลุ่มข้าว   

นำเสนอโดยคุณชานนท์ มาตะภาพ
มีสมาชิกทั้ง ๑๒ อำเภอ   ไปเรียนรู้จากโรงเรียนมูลนิธิข้าวขวัญสุพรรณบุรี    แล้วกลับมา ลปรร. กันเอง
ดำเนินการคัดพันธุ์   รวบรวมพันธุ์ข้าว  
วัตถุประสงค์  มีแกนนำ
พัฒนาศักยภาพแกนนำ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  
วิสัยทัศน์  :  เก็บข้าวไว้กินเอง   ลดต้นทุน   รู้เท่าทันสถานการณ์    สู้ด้วยความรู   บันทึกความรู้  พัฒนาความู้ 
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ : มีกัลยาณมิตร   มีอิทธิบาท ๔   มีผู้นำ   ครอบครัวสนับสนุน    การผลิตมีคุณภาพ (ดิน  ปุ๋ยชีวภาพ  สมุนไพร)   เพิ่มรายได้    มีกลุ่ม / เครือข่าย    การเมือง (เน้นระดับท้องถิ่น   และร่วมรับรู้สถานการณ์ระดับประเทศ)

กลุ่มผัก 

 นำเสนอโดยคุณวิสันต์ ทองเต่ามก
คำขวัญ  :  “กินผักคุณกิจ ชีวิตปลอดภัย”   
วัตถุประสงค์ :  พัฒนาศักยภาพแกนนำ    รวบรวมองค์ความรู้    พัฒนาการตลาด   
เป้าหมาย  : ปลูกกินเอง    เชื่อมโยงเครือข่ายผู้บริโภค   รู้เท่าทันสถานการณ์    ใฝ่เรียนรู้ พัฒนาต่อเนื่อง   เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
มีแกนนำที่รับผิดชอบการศึกษาลงลึกเฉพาะเรื่อง   วิสันต์ (ต.ไผ่รอบ  อ. โพธิ์ประทับช้าง) ศึกษาเรื่องปุ๋ย   น้ำพอง เปียดี   ประวัติ สุทธาธรรม (ต. บึงบัว  อ. วชิรบารมี) วิจัยเมล็ดพันธุ์    จวน ผลเกิด (ต โพธิ์ไทรงาม   กิ่ง อ บึงนาราง)   อินทร์ สงคราม ปลูกผักเมืองหนาวได้ดี    ต่างไปเรียนรู้   แล้วเอามา ลปรร.  กัน   
พรุ่งนี้ไปดูแปลงของ ลุงอินทร์ สงคราม  

กลุ่มเกษตรรวมมิตร   

นำเสนอโดยคุณณรงค์ แฉล้มวงศ์
เป้าหมาย  :  ปลูกทุกอย่างที่กิน  กินทุกอย่างที่ปลูก   พืชผลหลากหลาย    ธรรมชาติเกื้อกูล
คุณณรงค์นำเสนอความรู้เกี่ยวกับการทำไร่นาสวนผสมมากมาย เช่น    
ขนุนพันธุ์จิตรลดา  ตอบสนองปุ๋ยชีวภาพดีมาก   
นอกจากพออยู่พอกิน    ต้องวางแผนไว้กินตอนแก่  
เลี้ยงปลาในนาข้าว  มีผลลดเพลี้ยกระโดด
ไร่นาสวนผสมต้องดูแลมาก    ต้องเอาใจใส่    ถ้าค่อยทำค่อยไปค่อยขยาย จะมีเงินเหลือ    ถ้าทำขายเป็นหลักต้องเอาใจใส่มาก   
เป้าตลาดใหญ่ กับตลาดในชุมชนต่างกัน
ใช้ผลผลิตหลากหลายเป้าหมาย  เช่น ผลมะม่วงขายไม่ได้เอาทำน้ำหมักชีวภาพ    
ลุงเฮง ได้รับสมญาว่า “แมคคน” (ล้อคำว่าแมคโคร – รถขุดดิน)   ขุดดินเองด้วยแรงตนเอง   

 

กลุ่มทายาทเกษตรกร (โรงเรียน)    

นำเสนอโดยครู รร วังตะกูราษฎร์อุทิศ  
ทำเรื่องอบรมการเกษตรปลอดสารพิษให้นักเรียนมานาน  แต่ต่างคนต่างทำ     ไม่ได้ ลปรร กัน    เพิ่งมาทำเครือข่ายทายาทเกษตรกร    ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
วัตถุประสงค์   :    ปลูกฝังแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง    ทักษะทำเษตรปลอดสาร    ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่าง รร - ชุมชน
กิจกรรมที่วางแผนดำเนินการร่วมกัน
·        จะไปดูงานลพบุรี
·        มหกรรมผักปลอดสาร
·        กิจกรรมถอดบทเรียน
·        รดน้ำดำหัวปราชญ์ชาวบ้าน  
ใช้คำขวัญ  TERM  (Technology, Economic (เศรษฐกิจพอเพียง)), Resources (ทุน   คน), Man) ทำเป็นเครือข่าย       
พรุ่งนี้จะไปดูงานที่ รร. วัดหนองปลาหมอ  มีแปลงนาสาธิต   
ทั้งหมด ๔๐ รร.   แกนนำ ๖ – ๗ โรง

การขับเคลื่อนระดับอำเภอ  

 นำเสนอโดยคุณไพฑูรย์ เสรีพงศ์  อดีตข้าราชการสำนักงานสงเคราะห์การทำสวนยาง ที่หาดใหญ่ ๒๙ ปี 
กลับมาทำสวนส้มปลอดสาร     โชกุน เป็นส่วนใหญ่   ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ๑๐ กว่าต้น    ตอนเริ่มต้นกะว่าไม่ใช้สารเคมี    แต่พอเอาต้นส้มมาสัปดาห์ เดียวเพลี้ยอ่อนลง ต้องใช้ยาฆ่าแมลง    เห็นได้ชัดว่าตนเองไม่มีความรู้สำหรับทำการเกษตรปลอดสารพิษ    หมอลำไยจัดอบรมเกษตรปลอดสาร  ตั้งกลุ่ม
ใน ๓ ปี อ. โพธิ์ประทับช้าง ประชุมกันทุกเดือน หมุนเวียนตำบล    สมาชิกเริ่มต้น ๑๖๘ คน ไม่เน้นจำนวน เน้นคนสนใจจริง    วาระที่ ๑   แจ้งว่าไปไหนมา เอามาเล่า   วาระ ๒ เรื่องของสมาชิก เอาเรื่องที่ปฏิบัติมา ลปรร. กัน    เวลานี้สมาชิกเพิ่มเป็นกว่า ๓๐๐    เริ่มได้รับการยอมรับ เกษตรอำเภอ   ธกส.   กศน.     ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. และมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร    รร. ทายาทเกษตรกรเข้ามาร่วม ๓ รร.  
ผลงานที่ภาคภูมิใจ    หน่วยราชการให้ความสำคัญขึ้น    คนสนใจทำเกษตรปลอดสารมากขึ้น    ดูจากศูนย์กระจายกากน้ำตาล ขายได้ดีมาก    กำไร ๑๐๐%     ปันผล ๓๘%  

การอภิปราย และซักถาม


ผศ. ดร. พีระศักดิ์ ฉายประสาท  คณบดีคณะเกษตรศาสตร์  มน. 
ได้เข้ามาส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษที่พิจิตร  แต่เป็นคนละกลุ่ม    พรุ่งนี้จะมาร่วมในช่วงเช้า   
เมล็ดพันธุ์ ถ้าจะทำควรติดต่อสถาบันพืชผัก
                      ทำวิจัยกับที่ ต เขาเจ็ดลูก   กับผู้ใหญ่สมาน 
ศ. ดร. ดิเรก     ถามเรื่องพันธุ์ข้าวดั้งเดิม
คุณผดุง   เดิม มี ๗๖ สายพันธุ์    การพัฒนาสายพันธุ์  พัฒนาพันธุ์ลูกผสม    เรียนรู้กันเป็นกลุ่ม    พัฒนาโดยคัดข้าวกล้อง     ฝึกให้ไม่กินเคมี   
ตนได้ ๒๐๐ ต้น / เมล็ด    ๓๐๐ เมล็ด / รวง     ลงทุน ๑,๓๘๖ บาท / ไร่    คนอื่น ๒๘๐๐ 
คุณบุญสืบ    บางมูลนาก    ข้าวหอมมะลิ ปีที่แล้วได้ ๘๐ ถัง    ปีนี้น้ำท่วม ได้ ๕๐ ถัง (ต่อไร่)    
                  มีวิธีคุมหญ้าโดยไม่ต้องใช้สารเคมี 
คุณวิไลลักษณ์ สมมติ   นักวิชาการด้านข้าว  ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี    ถามวิธีทำคัดพันธุ์    ข้าวต้นเตี้ยต้องการปุ๋ยมาก    พันธุ์พื้นเมืองใช้ปุ๋ยน้อย    มีกลุ่มที่ต้องการอนุรักษ์พันธุ์พื้นเมืองหรือไม่    ถ้ามีทางราชการจะสนับสนุนอย่างไร   
              กระทรวงพาณิชย์ กำหนด ข้าวหอมมะลิปลูกจังหวัดอื่นเรียกข้าวหอมจังหวัด    ไม่เรียกข้าวหอมดอกมะลิเหมือนอย่างปลูกที่อีสาน    อยู่ในมือชาวบ้านเป็นหอมจังหวัด   ไปอยู่ในมือพ่อค้าเป็นหอมมะลิ 
             ต้นเตี้ยจะช่วยให้ได้ผลผลิตสูง   
นายก (อบต.) สุชาติ
                 ข้าวขาวอากาศ   กับเหลืองอ่อน เป็นข้าวพื้นเมืองที่กินอร่อย   
                 ข้าวลูกผสมได้ผลผลิตสูงกว่า    
ผช เกษตรจังหวัด   การปลูกข้าว จะปลูกพันธุ์ใดขึ้นกับตลาดต้องการหรือไม่  
                  มีความเห็นว่าควรทำวิจัย หาพันธุ์ที่ต้องการ ๓ – ๔ พันธุ์ที่เหมาะสม แล้วส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพันธุ์เหล่านั้น

        เราอภิปรายกันสนุกมากแต่พอ ๑๖.๓๐ น. คุณอ้อมก็ตัดบทขอจบอย่างนิ่มนวล    มาทราบกันภายหลังว่าเจ้าหน้าที่ของศาลากลางจังหวัดมาเร่งตั้งแต่ ๑๖.๑๕ น. ว่าให้เลิกประชุมได้แล้ว     เพราะขอห้องไว้ถึง ๑๖.๓๐ น. เท่านั้น    “ที่นี่ไม่ใช่โรงแรม”    ผมจึงตั้งปณิธานว่าต่อไป ในการประชุมแบบนี้จะไม่ไปขอใช้สถานที่ของทางราชการอีก    ถ้าเขาเชิญเราไป ก็จะต้องถามให้ชัดเจนว่ามีข้อจำกัดในเรื่องเวลาและเครื่องอำนวยความสะดวกอย่างไรบ้าง    ที่จริงเรื่องความไม่เอื้อเฟื้อ ไม่มีจิตสำนึกบริการของเจ้าหน้าที่ของศาลากลางจังหวัดพิจิตรในคราวนี้มียาว     ผมมาทราบเอาในวันกลับ ตอน AAR บนรถ     มิฉะนั้นผมจะขอย้ายไปประชุมที่โรงแรมในบ่ายวันที่ ๑๐
วิจารณ์ พานิช
๑๒ มค. ๔๙   

หมายเลขบันทึก: 11980เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2006 07:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
เปีย หนึ่งในนั้นที่อยู่ในบรรยากาศ
ผมว่ามันก็ไม่แปลกอะไร เพราะรู้อยู่แล้วว่าต้องเป็นอย่างนี้ ช่วงเตรียมงานผมเดินไปถามแม่บ้าน ถามเจ้าหน้าที่ที่ศาลากลาง เพื่อขอความช่วยเหลือแต่ก็ได้รับคำพูดคำจาที่เค้าตอบมายังกะเป็นเทวดา ไม่แคร์เราเลย  เราก็อุตส่าห์พูดด้วยท่าทีปรารถนาดี วันนั้นเค้าอาจจะเหนื่อยหรือเครียดก็ได้ ไม่เป็นไร (ช่างมัน)  พูดแล้วก็รู้อายเหมือนกันที่ทางคณะ KM ทัวร์ กลับไปแล้วรู้สึกไม่ค่อยดีเท่าไรกับการบริการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ในพิจิตร) อันนี้ก็ต้องขอโทษทางหมอวิจารณ์ด้วยนะครับ เราพยายามเต็มที่แล้วที่จะเชื่อมทัศนะคติที่ดีต่อกันกับภาครัฐ แต่ว่าด้วยระบบมันฝังลึกมากจนยากแก่การจะขุดขึ้นมาได้ สงสัยเค้าคงเสียสูญความรู้สึกใน รูป รส กลิ่น เสียง ของชาวบ้านแล้ว หรือว่าเค้าบรรลุแล้ว!!!  ปล.ขอบคุณครับที่หมอวิจารณ์ อวยพรให้ผมไม่ติด อบต.

ขอแก้ข่าวนิดเดียวค่ะ

เจ้าหน้าที่ที่เร่งให้ปิดประชุมเร็วๆ นั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของศาลากลางจังหวัดค่ะ  เป็นเจ้าหน้าที่จากส่วนอื่น

ผู้ประสานงานที่ สคส. ติดต่อด้วยคือ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ซึ่งไม่ได้มาเร่งอะไรเลย ช่วยจอง ช่วยจัดและหาเก้าอี้มาเพิ่มให้อีกด้วย ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ

 

 

ขอแก้ข่าวนิดเดียวค่ะ

เจ้าหน้าที่ที่เร่งให้ปิดประชุมเร็วๆ นั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของศาลากลางจังหวัดค่ะ  เป็นเจ้าหน้าที่จากส่วนอื่น

ผู้ประสานงานที่ สคส. ติดต่อด้วยคือ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ซึ่งไม่ได้มาเร่งอะไรเลย ช่วยจอง ช่วยจัดและหาเก้าอี้มาเพิ่มให้อีกด้วย ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ

 

 

เรามา AAR กันที่ สคส. เมื่อวาน    ผมจึงรู้ว่าคนที่พูดเป็นข้าราชการสังกัดเกษตรจังหวัดพิจิตร    คอยพูดรังควาญทั้งสองวัน    ไม่ทราบว่าหัวหน้าของเขารู้ไหม    และสงสัยว่าคนนี้ทำงานเป็นอย่างไร    เกษตรจังหวัดพิจิตรน่าจะส่งไปฝึกงานกับทีมเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรสัก ๓ เดือน    จะได้เปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม    เก๋อย่าลืมเอารูปคนนี้ลง บล็อก ด้วย

วิจารณ์

ผมว่าก็ดีนะครับที่ทุกคนได้รับความรู้มากมาย

  ผมชอบมากเลยและขอให้คุณทำรายการต่อไปไม่ต้องหยุดและผมก็จะคอยดู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท