Kittiphong_t
นาวาเอก กิตติพงศ์ ทิพย์เสถียร

CoP ที่อ่านจากวารสาร(Journal)


CoP ที่อ่านจากวารสาร(Journal)
ผมได้อ่านเว็บไซต์ของ สคส. ที่มีการประกาศเชิญชวนร่วมงาน

KM Reseach แล้วยอมรับว่าน่าสนใจ รวมทั้งที่จะมีการจัดเป็นชุมชน Journal Club ด้วย เพียงแต่สะดุดตรงย่อหน้าแรกของ ข้อความเชิญชวนในBlog นิดหนึ่ง ที่ดูราวกับว่าจะไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของ Km ที่จะไม่มีการติเตียนกัน แม้ผู้เขียนจะได้ประสบมาว่านักศึกษาค้นคว้าน้อยไปหรือเตรียมตัวไม่เข้มข้นพอ แต่การนำเสนอที่สวยงามเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตามวิถีของคน KM น่าจะสามารถนำมาใช้ได้ดีในโอกาสนี้ <p>เมื่อมาย้อนดูตัวเองแล้ว ผมก็ศึกษาค้นคว้าน้อยไปจริง ครั้นจะไปอ่าน Journal ทั้งเล่มแล้วสรุปก็มีภาระงานประจำที่ไม่เอื้อ ตลอดจนไม่มีทุนทรัพย์ในการจัดหา Journal ทั้งเล่มมาวางตรงหน้า จึงได้ไป Download บทความมาทางเว็บไซต์ ที่อนุญาตให้ใช้ข้อมูลได้ฟรี </p>

copweb

</font><p>และก็สนใจบทความที่ชื่อ Communities of practice : a model of their cultivation หรือน่าจะแปลได้ว่าชุมชนนักปฏิบัติ : รูปแบบของการเพาะบ่ม ซึ่งวิจัยโดย Edurne Loyarte ผู้จัดการด้านการเงินและคุณภาพของ VICOM Tech และ Olga Rivera ศาสตราจารย์ประจำOrganization and Company Politics and ESTE-Business School มหาวิทยาลัย Deusto (San Sebastian) โดยทั้งสองท่านเป็นชาวสเปน</p><p>งานวิจัยชิ้นนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบชุมชนนักปฏิบัติ (communities of practice )หรือ CoP ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 15 หน่วยงาน ทั้งที่เป็นบริษัทเอกชนและหน่วยงานของรัฐ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อกำหนดเป็นวิธีการเพาะบ่ม(cultivation) และ การ บูรณาการระหว่าง CoP รวมทั้งศึกษาถึงตัวแบบในการประเมินผล CoP ในแต่ละองค์กร โดยจะศึกษาจาก CoPs ที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการวิเคราะห์จากเอกสาร ทำให้ยากที่จะพบประสบการณ์ CoP ที่มีข้อผิดพลาด ซึ่งส่วนใหญ่จะพบแต่กรณีที่ประสบผลสำเร็จ</p>

จุดเด่นของการวิจัยชิ้นนี้ คือ การพัฒนาแนวทางที่จะทำให้ CoP คงอยู่และเกิดความยั่งยืน รวมทั้งมีการนำเสนอเชิงเปรียบเทียบระหว่างทฤษฎี CoP ของ Richard McDermott และ CoP ที่มีอยู่จริง

</font><p>ข้อคิดที่น่าสนใจ จากงานวิจัย พอจะสรุปได้ดังนี้</p><p>1. CoP ที่ถูกบังคับให้เกิด อาจประสบผลสำเร็จในมิติขององค์ความรู้ที่ได้ แต่ความรู้นั้นมักจะมาจาก กลุ่ม ๆ เดียว ขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกลั่นกรอง ดังเช่น CoP ที่เกิดขึ้นเอง </p><p>2. องค์กรหรือหน่วยงานไม่อาจที่จะกำหนดรูปแบบ CoP ได้ CoP จะเกิดขึ้นเอง แต่องค์กรหรือหน่วยงานสามารถที่จะสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมและสนับสนุนทรัพยากรให้สมาชิกมีความไว้เนื้อเชื่อใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้</p><p>3. เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในการอำนวยความสะดวก แต่เราต้องไม่เห็นความสำคัญของมันมากไปกว่าความสำคัญของ CoP</p><p>4. CoP ต้องการความร่วมมืออย่างขันแข็งของสมาชิกพอ ๆ กับจากผู้นำ</p><p>5 บางครั้งถ้าสมาชิกรู้สึกสูญเสียคุณค่าหรือพลังอำนาจ ก็ยากที่เราจะได้มาซึ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้</p>

 

 

</font>

หมายเลขบันทึก: 119713เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2007 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 08:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

1. CoP ที่ถูกบังคับให้เกิด อาจประสบผลสำเร็จในมิติขององค์ความรู้ที่ได้ แต่ความรู้นั้นมักจะมาจาก กลุ่ม ๆ เดียว ขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกลั่นกรอง ดังเช่น CoP ที่เกิดขึ้นเอง

เท่าที่ผมสัมผัสมาแล้ว สำหรับประเทศไทยนั้น CoP ที่เกิดขึ้นเองไม่มี ถ้ามีก็ไม่ใช่ CoP น่าสนใจจริง ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท