การศึกษาปีสองพัน


    อ่านพบกลอนของคุณบุญส่ง  นามถาวร  ในวารสารวิทยาจารย์ ปีที่ 106 ฉบับ 10 ประจำเดือนสิงหาคม 2550  ก็เลยเอามาฝากคุณครูกัน สะท้อนวัฒนธรรมวงการศึกษาได้อย่างหนึ่งครับ.       
        การศึกษาปีสองพันมันโคตรยุ่ง   มัวแต่มุ่งหลักฐานด้านการสอน
        ไว้ให้เห็นเป็นเครื่องเรื่องขั้นตอน  ว่าเราสอนสิ่งใดให้เด็กเป็น
        จะได้รู้ว่าครูดูแลเด็ก                     เป็นโปรเจ็กเล็กใหญ่ให้ได้เห็น
        เมื่อเจ้านายมาดูรู้ได้เป็น             ครูชำนาญผ่านเป็นเชี่ยวชาญการ
        มีหลักการอ่านได้เมื่อไรบอก       จะเอาออกมาให้เห็นเป็นพื้นฐาน
        ครูทุกคนหน้าใหญ่ไปตามการณ์  เด็กพาสผ่านหรือไม่ยังไม่ชัวร์
        อีกสิบปีข้างหน้าว่ากันใหม่           หลักสูตรใครไม่เจ๋งเจ๊งปวดหัว
        คิดค้นหาแผนใหม่ตามใจตัว        ผลดีชั่วอยู่ที่ครูคู่นิรันดร์
                  การสอนเด็กเล็กใหญ่ไม่ยากหรอก
                  อยากจะบอกแนวทางอย่างสร้างสรรค์
                  ครูต้องรู้พื้นฐานการผูกพัน
                  ว่าเด็กนั้นเหมือนลูกผูกใจครอง
        แล้วตั้งใจให้เขาเข้าใจคิด           โดยสะกิดบูรณาการงานการสอน
        แต่ละคนขนเทคนิคพลิกขั้นตอน ทางการสอนก็สนุกสุขใจจำ...
หมายเลขบันทึก: 119692เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2007 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

    ...กลอนบทนี้เขียนได้ลึกซึ้งจริง ๆ นะค่ะ อาจารย์..

     ...เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง..เพราะเดี๋ยวนี้หลักสูตรการศึกษา มุ่งเน้นให้ครู เน้นหนักกับหลักฐาน และหลักฐาน..เพื่อความเป็น ชำนาญการ และ เชี่ยวชาญ

     ...บางคราวมองผ่าน บางอย่าง ที่ไม่ควรผ่านและละเลย และเป็นหัวใจสำคัญของงานสอน...

     ...คงเป็นแบบนี้ละมั๊ง ที่คนบางคนเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า "นวัตกรรมกระดาษ"

                                "JasmiN"

สะกิดใจได้ดีครับ

อ่านแล้วตรงใจหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่งสร้างหลักฐานการทำงาน

สร้างจนลืมภารกิจหลักของครู

น่ากลัวเหมือนกันนะครับ

แล้วจะทำไงดีครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งคะ...สงสารทั้งครูทั้งนักเรียน...อยากกลับไปสู่ยุคกระดานชนวนจังเลยคะ...คิดว่าตัวเองโชคดีมากๆที่เกิดก่อน...ไม่งั้นไม่รู้ว่าตัวเองจะมีชตากรรมแบบไหน...ในภาวะที่ครูถูกกระแสพลักดันให้หาคำนำหน้าชื่อและต่อท้ายชื่อยาวเหยียดแบบนี้...ยังมองไม่เห็นทั้งอนาคครูทั้งอนาคตเด็ก...สงสารประเทศชาติคะ

    ผมเคยสะท้อนวัฒนธรรมการศึกษาของเราไว้ในหลายบทความเช่น  เรื่องของครูเกษร  ครูจิ๋ม  เจ้าแก่  ศ.ดร.สิปนนท์  backward ฯ การประเมินวิทยฐานะฯลฯ
    ผมคิดว่าเรายังติดกันที่เปลือกกันอยู่เยอะนะ ไถ่ถอนค่อนข้างยาก  มูลเหตุจริงๆน่าจะมาจากการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางมานาน แล้วให้เราทำตามคำบอกจนเราคิดไม่เป็น 
     และที่สำคัญที่เราต้องเปลี่ยนให้ได้คือวัฒนธรรมการประเมินที่ยังฉาบฉวย  เน้นการดูเอกสาร  ทำแฟ้ม จนครูต้องเสียเวลาการสอนมาทำกันใหญ่โต เพื่อให้มีให้ตรวจ  ผมคิดว่าคนไปประเมินน่าจะต้องปรับเปลี่ยนตนเองก่อน  น่าจะมีวิธีที่ดีกว่านี้  ครูเขาจะได้ทำหน้าที่ของเขาอย่างเป็นปกติ  ไม่ต้องหวาดระแวงกลัวการประเมิน 
     หากครูไม่มั่นใจในสิ่งที่ตนเองสอน  ในสิ่งที่ตนเองปฏิบัติแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
     อยากให้คืนความมั่นใจให้แก่ครูเถอะ  เขาจะได้มีความสุขกับการสอนของเขา 

กลอนที่อาจารย์นำมาฝากให้คุณครูทุกท่านอ่านนี้ มีประโยชน์มากครับ

ปัจจุบัน ผู้มีอำนาจออกระเบียบหรืออะไรหลายๆอย่าง เพียงต้องการให้ครูทำอะไรหลายอย่าง  เพื่อให้ตนเองได้ตรวจสอบง่ายขึ้น  ,"นั้นเท่ากับว่า"  ครูต้องลดเวลา การเอาใจใส่นักเรียน  การศึกษาหาความรู้อื่นๆเพื่อมาใช้ในการพัฒนาการสอนเด็กลง..........เป็นส่วนใหญ่นะครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท