การเขียนวิทยานิพนธ์ : เทคนิควิธีการสืบค้นข้อมูล


เทคนิคการสืบค้น เป็นการช่วยประหยัด เวลา พลังงาน เงิน

เทคนิค วิธีการสืบค้นข้อมูล

   มีนิสิต จำนวนมาก เสียเวลากับการสืบค้นข้อมูลเพราะไม่รู้จะดำเนินการค้นหาข้อมุลที่ต้องการอย่างไร ทำให้ไม่มีเป้าหมายในการค้น ซึ่งทำให้ นิสิต นักศึกษา เกิดความเบื่อหน่ายในการค้นข้อมูลได้ ดังนั้นการรู้เทคนิคในการค้นถือเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วย ประหยัด เวลา พลังงานและงบประมาณได้

1. การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศห้องสมุด เนื่องจากหนังสือในห้องสมุดมีจำนวนมาก บรรณารักษ์ไม่สามารถที่บริการให้สืบค้น ให้นิสิต นักศึกษาทุกอย่าง ดังนั้นในห้องสมุดจึงมีการหมวดหมู่หนังสือ เพื่อความสะดวกในการค้นหาหนังสือเล่มที่ต้องการ นิสิต นักศึกษาควรมีการศึกษาวิธีการสืบค้นหนังสือเพื่อประโยชน์ของ นิสิต นักศึกษาเอง ซึ่งในห้องสมุดระบบที่นิยมใช้คือ ระบบทศนิยมดิวอี้ หรือD.C. เป็นระบบที่ใช้ตัวเลขแทนสัญลักษณ์แทนประเภทหนังสือ มี 10 หมู่ใหญ่ ดังต่อไปนี้ 000 เบ็ดเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 010 บรรณานุกรม 050 วารสาร นิตยสาร 070 หนังสือพิมพ์ เป็นต้น 100 ปรัชญา ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 140 ปรัชญาระบบต่าง ๆ 150 จิตวิทยา เป็นต้น 200 ศาสนา ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 210 ศาสนา ธรรมชาติ 260 เทววิทยาทางศาสนาและสังคม เป็นต้น 300 สังคมศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 310 สถิติ 320 รัฐสาสตร์การเมือง 330 เศรษฐศาสตร์ 340 กฎหมาย 370 การศึกษา 390 ขนบธรรมเนียมประเพณีและนิทานพื้นฐานบ้าน เป็นต้น 400 ภาษา ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 420 ภาษาอังกฤษ 430 ภาษาเยอรมัน เป็นต้น 500 วิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 510 คณิตศาสตร์ 530 ฟิสิกส์ 540 เคมี 560 ชีววิทยา 590 สัตวศาสตร์ เป็นต้น 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 610 แพทยศาสตร์ 620 วิศวกรรมศาสตร์ 630 เกษตรศาสตร์ 650 ธุรกิจและการจัดการธุรกิจ เป็นต้น 700 ศิลปกรรมและการบันเทิง ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 720 สถาปัตยกรรม 770 การถ่ายรูปและภาพถ่าย 780 ดนตรี เป็นต้น 800 วรรณคดี ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 810 วรรณคดีอเมริกัน 820 วรรณคดีอังกฤษ เป็นต้น 900 ประวัติศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 910 ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยว เป็นต้น การสืบค้นสารสนเทศ(Information Retrieval) เป็นวิธีการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการของนิสิต นักศึกษา โดยใช้เครื่องมือช่วยการสืบค้น ซึ่งปัจจุบันนี้จะใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการสืบค้น เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ครบถ้วน เพราะได้รับการออกแบบการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ซึ่งระบบที่นิยมคือ ระบบโอแพค (OPAC) การสืบค้นจากระบบนี้ นิสิต นักศึกษาไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์มาก เพียงแค่ปฏิบัติตามคำแนะนำหรือปฏิบัติตามขั้นตอนการสืบค้นจากคำสั่งคอมพิวเตอร์ก็สามารถสืบค้นสารสนเทศได้ตามต้องการ ขั้นตอนการสืบค้นสารสนเทศในระบบโอแพค (OPAC) โดยทั่วไป นิสิต นักศึกษา สามารถเลือกสืบค้นได้จากเมนูหน้าจอ โดยเมนูหน้าจอ จะให้ผู้ค้นเลือกสืบค้นได้ตามรายการ ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง(Authors) ชื่อเรื่อง (Title) หัวเรื่อง (Subject) คำสำคัญ(Key Word) เลขหมู่ (Classification Number) 1. ปกติแล้วทางห้องสมุดของสถาบันแต่ละแห่งจะเข้าหน้าหลักฐานข้อมูลระบบ OPAC อยู่แล้ว ซึ่งหน้าหลักของฐานข้อมูลจะประกอบด้วยรายการ ดังต่อไปนี้ ชื่อผู้แต่ง(Authors) ชื่อเรื่อง (Title) หัวเรื่อง (Subject) คำสำคัญ(Key Word) เลขหมู่ (Classification Number)

2. นิสิต นักศึกษาเลือกรายการสืบค้นตามรายการที่ปรากฏ โดยคลิกรายการที่ต้องการการสืบค้น ดังรายละเอียดดังนี้

    2.1 กรณีนิสิต นักศึกษาทราบชื่อผู้แต่ง การสืบค้นก็ใช้คลิกที่รายการผู้แต่ง แล้วจะปรากฏช่องว่างเพื่อให้ผู้สืบค้นพิมพ์ชื่อ ผู้แต่ง พร้อมนามสกุล ลงในช่องดังกล่าว แล้วกดเลือกค้นหา ฐานข้อมูลก็จะแสดงรายการพบว่ามีจำนวนกี่รายการ เช่น ต้องการค้นหาหนังสือการวิจัยของบุญชม ศรีสะอาดแต่ไม่รู้จักชื่อหนังสือ แต่รู้จักชื่อผู้แต่ง นิสิต นักศึกษาก็พิมพ์ชื่อ บุญชม ศรีสะอาดลงในช่องรายการการสืบค้นผู้แต่ง   

   2.2 กรณีนิสิต นักศึกษาทราบชื่อเรื่องที่จะสืบค้น การสืบค้นก็ดำเนินการเหมือนชื่อผู้แต่ง กล่าวคือ คลิกที่รายการชื่อเรื่อง แล้วจะปรากฏช่องว่างเพื่อให้นิสิต นักศึกษาพิมพ์หรือกรอกชื่อเรื่องที่ต้องการสืบค้น ถ้าชื่อยาวเกินไปไม่ต้องพิมพ์ชื่อเต็มทั้งหมด เอามาบางส่วนก็ได้และควรมีการตรวจสอบการพิมพ์ก่อนดำเนินการเลือกตกลงเพื่อสืบค้น

   2.3 หัวเรื่อง กรณีที่นิสิต นักศึกษาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่องของสารสนเทศที่ต้องการสืบค้น แต่ทราบหัวเรื่องที่ต้องการสืบค้น ดังนั้นเลือกรายการหัวเรื่อง ดำเนินการเช่นเดิมตามรายการผู้แต่ง ชื่อเรื่อง แต่ผลการสืบค้นจะกว้างขึ้น รายการแสดงผลการสืบค้นจะมากเพราะส่วนใหญ่เป็นเรื่องใกล้เคียง เช่น ถ้าต้องการสืบค้นเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ นิสิต นักศึกษาสามารถเลือกรายการและพิมพ์หัวเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ หรือ ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

    2.4 คำสำคัญ กรณีไม่ทราบข้อมูลใดเลย นิสิต นักศึกษาสามารถเลือกรายการคำสำคัญ แล้วดำเนินการพิมพ์ข้อความหรือ ประโยค คำศัพท์ หรือคำที่ต้องการสืบค้นลงในช่องว่าง แล้วกดค้นหาเพื่อให้แสดงผลการสืบค้น ซึ่งผลการค้นคว้า จะมีรายการแสดงมากกว่ารายการอื่น ๆที่กล่าวข้างต้น ทั้งนี้เพราะมีเรื่องใกล้เคียงมาก ถ้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมีคำศัพท์ตรงตามที่เราสืบค้น ผลการสืบค้นคว้าจะแสดงออกมาพร้อมแสดงผลการสืบค้นว่าจำนวนทั้งหมดกี่รายการ

   2.5 เลขเรียกหนังสือ กรณีที่ทราบเลขเรียกหนังสือ ก็ดำเนินการสืบค้นตามหลักการ การค้นคว้าชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง แล้วก็พิมพ์เลขเรียกหนังสือลงในช่อง ที่สำคัญต้องพิมพ์ให้ถูกต้องและให้หมดทุกตัว การสืบค้นจะได้สืบค้นได้ถูกต้อง เช่น 025.3 พ32 ก จะได้เห็นได้ว่า การสืบค้นแต่ละรายการทั้งผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญและเลขเรียกหนังสือ จะใช้หลักการเดียวกัน คือ เลือกรายการที่ต้องการสืบค้นแล้วพิมพ์ข้อความหรือประโยค คำศัพท์ หรือตัวเลข หรือคำเฉพาะ ลงในช่องที่ปรากฏ ที่สำคัญนิสิต นักศึกษาต้องพิมพ์ให้ถูกต้องที่ต้องการสืบค้น

3. เมื่อนิสิต นักศึกษากดยอมรับแล้ว ฐานข้อมูลจะทำการแสดงรายการทั้งหมดที่มี ดังตัวอย่าง ถ้าต้องการสืบค้นหนังสือบุญชม ศรีสะอาด นิสิต นักศึกษาก็พิมพ์ชื่อลงในรายการผู้แต่ง หรือคำสำคัญ กดยอมรับ ฐานข้อมูลจะแสดงรายการทั้งหมดที่มีชื่อของบุญชม ศรีสะอาด

4. ขั้นตอนต่อมาคือ นิสิต นักศึกษาเลือกหรือคลิกดูรายการที่ต้องการ สักครู่ก็จะปรากฏรายละเอียดของสารสนเทศนั้น ฐานข้อมูลจะแสดงรายการดังนี้ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง พิมพ์ลักษณ์ สถานที่หนังสืออยู่ เลขเรียกหนังสือ และสถานภาพของหนังสือ จากภาพประกอบจะเห็นได้ว่า หนังสือมีทั้งหมด 5 เล่ม หมวดหนังสือทั่วไป ชั้น3 หนังสือทั้ง 5 เล่ม อยู่บนชั้นยังไม่การยืมออกจากห้องสมุด และเมื่อต้องการหนังสือเล่มนี้ให้นิสิต นักศึกษา จดเลขเรียกหนังสือ 808.02 บ72 ก แล้วนิสิต นักศึกษาไปสืบค้นได้ที่ตู้หนังสือหมู่ 800แล้วสืบค้นรายการย่อยภายในตู้หมวด 800 อักษรลำดับ บ แล้วนิสิต นักศึกษาก็จะได้หนังสือตามที่ต้องการ ขั้นตอนการสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มของนิสิต นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้ว โดยวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์อิเล็กทรอนิกส์แสดงในรูปแบบ pdf. การเปิดไฟล์เหล่านี้ได้ต้องมีโปรแกรม Adobe Acrobat สำหรับการขั้นตอนการสืบค้นมีดังนี้

    1. เข้าหน้าหลักฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ อาจจะเป็นฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยของนิสิต นักศึกษาเอง หรือฐานข้อมูลสถาบันตามที่กล่าวมาแล้ว ตัวอย่างเช่น http://ill.msu.ac.th/thesis/ หรือ http://dcms.thailis.or.th/dcms/advance.php

     2. เมื่อเข้าหน้าหลักเรียบร้อยแล้ว จะมีช่องให้ผู้สืบค้นกรอกข้อความประโยค ชื่อที่ต้องการสืบค้นลงในช่องว่าง ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง คำสำคัญ สาขาวิชา เป็นต้น การสืบค้นนั้น ถ้าต้องการเฉพาะเจาะจงก็สามารถสืบค้นได้ที่รายการ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หรือถ้าต้องการหลากหลายเรื่องที่มีความใกล้เคียงกัน ก็สามารถสืบค้นที่รายการ คำสำคัญ

    3. เมื่อนิสิต นักศึกษาเลือกรายการที่สืบค้นแล้วทำการพิมพ์ข้อความหรือคำเฉพาะที่ต้องการสืบค้น แล้วคลิกเลือกค้นหา ฐานข้อมูลจะทำการแสดงรายการที่สืบค้นได้ทั้งหมดหรือถ้าไม่มีฐานข้อมูลก็แจ้งว่าไม่มีข้อมูลที่สืบค้น สามารถสืบค้นใหม่ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าสืบค้นที่รายการคำสำคัญ โดยพิมพ์คำว่า ความคิดสร้างสรรค์ ฐานข้อมูลก็จะแสดงชื่อวิทยานิพนธ์ที่มีคำว่า ความคิดสร้างสรรค์ ทั้งหมด

   4. หลังจากนั้นนิสิต นักศึกษาคลิกเลือกดูชื่อเรื่องที่ต้องการ แล้วจะปรากฏรายละเอียดของวิทยานิพนธ์ชื่อที่เลือกทั้งหมด ตั้งแต่ ปก บทคัดย่อ เนื้อหา บทที่ 1 ถึงบทที่ 5 บรรณานุกรม ภาคผนวก ประวัติย่อของผู้วิจัย ซึ่งแต่ละเมนูหรือรายการย่อย นิสิต นักศึกษาสามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ แต่ต้องมีโปรแกรม Adobe Acrobat เพราะวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์แสดงในรูปแบบ pdf.

 2. การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งที่สามารถสืบค้นได้หลากลายและ ปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก ซึ่งการสืบค้นก็เป็นที่เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เว็บไซต์นั้นเหมือนเครื่องบดผลไม้ ใส่อะไรลงไปเครื่องก็จะบดให้หมด คิดในทางกลับกันเว็บไซต์ก็เหมือนกัน เราพิมพ์ข้อความอะไรก็ได้ เว็บไซต์ก็แสดงผลการสืบค้นให้เราหมดเหมือนกัน แต่ไม่รู้มีข้อมูลตามที่เราต้องการหรือไม่ ดังนั้นก่อนจะสืบค้นข้อมูลนิสิต นักศึกษาควรรู้รายละเอียดเบื้องต้นก่อนการสืบค้น เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาในการสืบค้นด้วย ซึ่งสามารถแบ่งการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ได้ 2 แหล่งใหญ่ ๆ คือ

     2.1 สืบค้นจากเว็บไซต์ของหน่วยงาน/ สถาบัน/ บุคคล/อื่น ๆ ซึ่งจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทั้งประวัติ งานวิชาการ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการสืบค้นนั้นสามารถสืบค้นได้ง่าย โดยนิสิต นักศึกษา พิมพ์ URL ลงในช่อง Address ของอินเทอร์เน็ต แล้วเลือก Go หรือกด Enter สักครู่หน้าจอหลักจะปรากฏขึ้น นิสิต นักศึกษาก็สามารถค้นหาข้อมูลตามเมนูหลักในหน้าจอ ดังกล่าว ตัวอย่างเช่น www.watpon.com เป็นต้น

   2.2 สืบค้นจาก Search Engine เป็นเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่ใช้โปรแกรมอัตโนมัติรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยละเอียด เหมาะกับการหาข้อมูลแบบเจาะจงและปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เช่น GooGle.com Googkai.com เป็นต้น เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศบน WWW หากมีการวางแผนในการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จะช่วยให้ผลการสืบค้น ถูกต้องตามที่ต้องการและใช้เวลาอันสั้น การสืบค้นแบบ Key Word Searching ควรมีกลยุทธ์ในการสืบค้น แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

     1. การตั้งหรือกำหนดคำถามหรือขอบเขตของคำถาม คือ นิสิต นักศึกษา ต้องมีหัวข้อ ลักษณะ ประเภท วัตถุประสงค์และระยะเวลาของสารสนเทศที่ต้องการชัดเจน เช่น คำถามเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ข้อมูลที่ต้องการคือ ความหมายของความคิดสร้างสรรค์

     2. การจำแนกแนวคิดในคำถามนั้น ๆ ให้ออกมาเป็นส่วน โดยอาจจะใช้ ตารางในการกำหนดเพื่อความเข้าใจง่ายได้เช่นเดียวกัน เช่น ประสิทธิภาพการพัฒนาองค์กร เราสามารถแยกประเด็นออก 4 คำ คือ ประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพองค์กร การพัฒนาองค์กร องค์กร

     3. การเชื่อมคำ ในการสืบค้นนั้น ถ้าต้องการสืบคืน หลายคำพร้อมกัน เพื่อให้มีความสัมพันธ์กันโดยการเชื่อมต่าง ๆ โดยการในส่งเครื่องหมายบวกระหว่างคำ หรือใช้คำว่า or and เช่น การพัฒนาองค์กร+ประสิทธิภาพ 4. การเลือกใช้ search engines ควรมีการพิจารณาให้รอบคอบว่าจะใช้ตัว ไหนทำการสืบค้นและประเมินผลข้อมูล แต่ควรตรวจสอบไม่เกิน 30 อันแรก

ทองสง่า ผ่องแผ้ว 18/08/2550

หมายเลขบันทึก: 119675เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2007 08:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เทคนิค วิธีการสืบค้นข้อมูล

มีนิสิต จำนวนมาก เสียเวลากับการสืบค้นข้อมูลเพราะไม่รู้จะดำเนินการค้นหาข้อมุลที่ต้องการอย่างไร ทำให้ไม่มีเป้าหมายในการค้น ซึ่งทำให้ นิสิต นักศึกษา เกิดความเบื่อหน่ายในการค้นข้อมูลได้ ดังนั้นการรู้เทคนิคในการค้นถือเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วย ประหยัด เวลา พลังงานและงบประมาณได้

1. การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศห้องสมุด เนื่องจากหนังสือในห้องสมุดมีจำนวนมาก บรรณารักษ์ไม่สามารถที่บริการให้สืบค้น ให้นิสิต นักศึกษาทุกอย่าง ดังนั้นในห้องสมุดจึงมีการหมวดหมู่หนังสือ เพื่อความสะดวกในการค้นหาหนังสือเล่มที่ต้องการ นิสิต นักศึกษาควรมีการศึกษาวิธีการสืบค้นหนังสือเพื่อประโยชน์ของ นิสิต นักศึกษาเอง ซึ่งในห้องสมุดระบบที่นิยมใช้คือ ระบบทศนิยมดิวอี้ หรือD.C. เป็นระบบที่ใช้ตัวเลขแทนสัญลักษณ์แทนประเภทหนังสือ มี 10 หมู่ใหญ่ ดังต่อไปนี้ 000 เบ็ดเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 010 บรรณานุกรม 050 วารสาร นิตยสาร 070 หนังสือพิมพ์ เป็นต้น 100 ปรัชญา ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 140 ปรัชญาระบบต่าง ๆ 150 จิตวิทยา เป็นต้น 200 ศาสนา ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 210 ศาสนา ธรรมชาติ 260 เทววิทยาทางศาสนาและสังคม เป็นต้น 300 สังคมศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 310 สถิติ 320 รัฐสาสตร์การเมือง 330 เศรษฐศาสตร์ 340 กฎหมาย 370 การศึกษา 390 ขนบธรรมเนียมประเพณีและนิทานพื้นฐานบ้าน เป็นต้น 400 ภาษา ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 420 ภาษาอังกฤษ 430 ภาษาเยอรมัน เป็นต้น 500 วิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 510 คณิตศาสตร์ 530 ฟิสิกส์ 540 เคมี 560 ชีววิทยา 590 สัตวศาสตร์ เป็นต้น 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 610 แพทยศาสตร์ 620 วิศวกรรมศาสตร์ 630 เกษตรศาสตร์ 650 ธุรกิจและการจัดการธุรกิจ เป็นต้น 700 ศิลปกรรมและการบันเทิง ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 720 สถาปัตยกรรม 770 การถ่ายรูปและภาพถ่าย 780 ดนตรี เป็นต้น 800 วรรณคดี ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 810 วรรณคดีอเมริกัน 820 วรรณคดีอังกฤษ เป็นต้น 900 ประวัติศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยเลขหมู่ย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 910 ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยว เป็นต้น การสืบค้นสารสนเทศ(Information Retrieval) เป็นวิธีการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการของนิสิต นักศึกษา โดยใช้เครื่องมือช่วยการสืบค้น ซึ่งปัจจุบันนี้จะใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการสืบค้น เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ครบถ้วน เพราะได้รับการออกแบบการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ซึ่งระบบที่นิยมคือ ระบบโอแพค (OPAC) การสืบค้นจากระบบนี้ นิสิต นักศึกษาไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์มาก เพียงแค่ปฏิบัติตามคำแนะนำหรือปฏิบัติตามขั้นตอนการสืบค้นจากคำสั่งคอมพิวเตอร์ก็สามารถสืบค้นสารสนเทศได้ตามต้องการ ขั้นตอนการสืบค้นสารสนเทศในระบบโอแพค (OPAC) โดยทั่วไป นิสิต นักศึกษา สามารถเลือกสืบค้นได้จากเมนูหน้าจอ โดยเมนูหน้าจอ จะให้ผู้ค้นเลือกสืบค้นได้ตามรายการ ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง(Authors) ชื่อเรื่อง (Title) หัวเรื่อง (Subject) คำสำคัญ(Key Word) เลขหมู่ (Classification Number) 1. ปกติแล้วทางห้องสมุดของสถาบันแต่ละแห่งจะเข้าหน้าหลักฐานข้อมูลระบบ OPAC อยู่แล้ว ซึ่งหน้าหลักของฐานข้อมูลจะประกอบด้วยรายการ ดังต่อไปนี้ ชื่อผู้แต่ง(Authors) ชื่อเรื่อง (Title) หัวเรื่อง (Subject) คำสำคัญ(Key Word) เลขหมู่ (Classification Number)

2. นิสิต นักศึกษาเลือกรายการสืบค้นตามรายการที่ปรากฏ โดยคลิกรายการที่ต้องการการสืบค้น ดังรายละเอียดดังนี้

2.1 กรณีนิสิต นักศึกษาทราบชื่อผู้แต่ง การสืบค้นก็ใช้คลิกที่รายการผู้แต่ง แล้วจะปรากฏช่องว่างเพื่อให้ผู้สืบค้นพิมพ์ชื่อ ผู้แต่ง พร้อมนามสกุล ลงในช่องดังกล่าว แล้วกดเลือกค้นหา ฐานข้อมูลก็จะแสดงรายการพบว่ามีจำนวนกี่รายการ เช่น ต้องการค้นหาหนังสือการวิจัยของบุญชม ศรีสะอาดแต่ไม่รู้จักชื่อหนังสือ แต่รู้จักชื่อผู้แต่ง นิสิต นักศึกษาก็พิมพ์ชื่อ บุญชม ศรีสะอาดลงในช่องรายการการสืบค้นผู้แต่ง

2.2 กรณีนิสิต นักศึกษาทราบชื่อเรื่องที่จะสืบค้น การสืบค้นก็ดำเนินการเหมือนชื่อผู้แต่ง กล่าวคือ คลิกที่รายการชื่อเรื่อง แล้วจะปรากฏช่องว่างเพื่อให้นิสิต นักศึกษาพิมพ์หรือกรอกชื่อเรื่องที่ต้องการสืบค้น ถ้าชื่อยาวเกินไปไม่ต้องพิมพ์ชื่อเต็มทั้งหมด เอามาบางส่วนก็ได้และควรมีการตรวจสอบการพิมพ์ก่อนดำเนินการเลือกตกลงเพื่อสืบค้น

2.3 หัวเรื่อง กรณีที่นิสิต นักศึกษาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่องของสารสนเทศที่ต้องการสืบค้น แต่ทราบหัวเรื่องที่ต้องการสืบค้น ดังนั้นเลือกรายการหัวเรื่อง ดำเนินการเช่นเดิมตามรายการผู้แต่ง ชื่อเรื่อง แต่ผลการสืบค้นจะกว้างขึ้น รายการแสดงผลการสืบค้นจะมากเพราะส่วนใหญ่เป็นเรื่องใกล้เคียง เช่น ถ้าต้องการสืบค้นเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ นิสิต นักศึกษาสามารถเลือกรายการและพิมพ์หัวเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ หรือ ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

2.4 คำสำคัญ กรณีไม่ทราบข้อมูลใดเลย นิสิต นักศึกษาสามารถเลือกรายการคำสำคัญ แล้วดำเนินการพิมพ์ข้อความหรือ ประโยค คำศัพท์ หรือคำที่ต้องการสืบค้นลงในช่องว่าง แล้วกดค้นหาเพื่อให้แสดงผลการสืบค้น ซึ่งผลการค้นคว้า จะมีรายการแสดงมากกว่ารายการอื่น ๆที่กล่าวข้างต้น ทั้งนี้เพราะมีเรื่องใกล้เคียงมาก ถ้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมีคำศัพท์ตรงตามที่เราสืบค้น ผลการสืบค้นคว้าจะแสดงออกมาพร้อมแสดงผลการสืบค้นว่าจำนวนทั้งหมดกี่รายการ

2.5 เลขเรียกหนังสือ กรณีที่ทราบเลขเรียกหนังสือ ก็ดำเนินการสืบค้นตามหลักการ การค้นคว้าชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง แล้วก็พิมพ์เลขเรียกหนังสือลงในช่อง ที่สำคัญต้องพิมพ์ให้ถูกต้องและให้หมดทุกตัว การสืบค้นจะได้สืบค้นได้ถูกต้อง เช่น 025.3 พ32 ก จะได้เห็นได้ว่า การสืบค้นแต่ละรายการทั้งผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญและเลขเรียกหนังสือ จะใช้หลักการเดียวกัน คือ เลือกรายการที่ต้องการสืบค้นแล้วพิมพ์ข้อความหรือประโยค คำศัพท์ หรือตัวเลข หรือคำเฉพาะ ลงในช่องที่ปรากฏ ที่สำคัญนิสิต นักศึกษาต้องพิมพ์ให้ถูกต้องที่ต้องการสืบค้น

3. เมื่อนิสิต นักศึกษากดยอมรับแล้ว ฐานข้อมูลจะทำการแสดงรายการทั้งหมดที่มี ดังตัวอย่าง ถ้าต้องการสืบค้นหนังสือบุญชม ศรีสะอาด นิสิต นักศึกษาก็พิมพ์ชื่อลงในรายการผู้แต่ง หรือคำสำคัญ กดยอมรับ ฐานข้อมูลจะแสดงรายการทั้งหมดที่มีชื่อของบุญชม ศรีสะอาด

4. ขั้นตอนต่อมาคือ นิสิต นักศึกษาเลือกหรือคลิกดูรายการที่ต้องการ สักครู่ก็จะปรากฏรายละเอียดของสารสนเทศนั้น ฐานข้อมูลจะแสดงรายการดังนี้ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง พิมพ์ลักษณ์ สถานที่หนังสืออยู่ เลขเรียกหนังสือ และสถานภาพของหนังสือ จากภาพประกอบจะเห็นได้ว่า หนังสือมีทั้งหมด 5 เล่ม หมวดหนังสือทั่วไป ชั้น3 หนังสือทั้ง 5 เล่ม อยู่บนชั้นยังไม่การยืมออกจากห้องสมุด และเมื่อต้องการหนังสือเล่มนี้ให้นิสิต นักศึกษา จดเลขเรียกหนังสือ 808.02 บ72 ก แล้วนิสิต นักศึกษาไปสืบค้นได้ที่ตู้หนังสือหมู่ 800แล้วสืบค้นรายการย่อยภายในตู้หมวด 800 อักษรลำดับ บ แล้วนิสิต นักศึกษาก็จะได้หนังสือตามที่ต้องการ ขั้นตอนการสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มของนิสิต นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้ว โดยวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์อิเล็กทรอนิกส์แสดงในรูปแบบ pdf. การเปิดไฟล์เหล่านี้ได้ต้องมีโปรแกรม Adobe Acrobat สำหรับการขั้นตอนการสืบค้นมีดังนี้

1. เข้าหน้าหลักฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ อาจจะเป็นฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยของนิสิต นักศึกษาเอง หรือฐานข้อมูลสถาบันตามที่กล่าวมาแล้ว ตัวอย่างเช่น http://ill.msu.ac.th/thesis/ หรือ http://dcms.thailis.or.th/dcms/advance.php

2. เมื่อเข้าหน้าหลักเรียบร้อยแล้ว จะมีช่องให้ผู้สืบค้นกรอกข้อความประโยค ชื่อที่ต้องการสืบค้นลงในช่องว่าง ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง คำสำคัญ สาขาวิชา เป็นต้น การสืบค้นนั้น ถ้าต้องการเฉพาะเจาะจงก็สามารถสืบค้นได้ที่รายการ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หรือถ้าต้องการหลากหลายเรื่องที่มีความใกล้เคียงกัน ก็สามารถสืบค้นที่รายการ คำสำคัญ

3. เมื่อนิสิต นักศึกษาเลือกรายการที่สืบค้นแล้วทำการพิมพ์ข้อความหรือคำเฉพาะที่ต้องการสืบค้น แล้วคลิกเลือกค้นหา ฐานข้อมูลจะทำการแสดงรายการที่สืบค้นได้ทั้งหมดหรือถ้าไม่มีฐานข้อมูลก็แจ้งว่าไม่มีข้อมูลที่สืบค้น สามารถสืบค้นใหม่ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าสืบค้นที่รายการคำสำคัญ โดยพิมพ์คำว่า ความคิดสร้างสรรค์ ฐานข้อมูลก็จะแสดงชื่อวิทยานิพนธ์ที่มีคำว่า ความคิดสร้างสรรค์ ทั้งหมด

4. หลังจากนั้นนิสิต นักศึกษาคลิกเลือกดูชื่อเรื่องที่ต้องการ แล้วจะปรากฏรายละเอียดของวิทยานิพนธ์ชื่อที่เลือกทั้งหมด ตั้งแต่ ปก บทคัดย่อ เนื้อหา บทที่ 1 ถึงบทที่ 5 บรรณานุกรม ภาคผนวก ประวัติย่อของผู้วิจัย ซึ่งแต่ละเมนูหรือรายการย่อย นิสิต นักศึกษาสามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ แต่ต้องมีโปรแกรม Adobe Acrobat เพราะวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์แสดงในรูปแบบ pdf.

2. การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งที่สามารถสืบค้นได้หลากลายและ ปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก ซึ่งการสืบค้นก็เป็นที่เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เว็บไซต์นั้นเหมือนเครื่องบดผลไม้ ใส่อะไรลงไปเครื่องก็จะบดให้หมด คิดในทางกลับกันเว็บไซต์ก็เหมือนกัน เราพิมพ์ข้อความอะไรก็ได้ เว็บไซต์ก็แสดงผลการสืบค้นให้เราหมดเหมือนกัน แต่ไม่รู้มีข้อมูลตามที่เราต้องการหรือไม่ ดังนั้นก่อนจะสืบค้นข้อมูลนิสิต นักศึกษาควรรู้รายละเอียดเบื้องต้นก่อนการสืบค้น เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาในการสืบค้นด้วย ซึ่งสามารถแบ่งการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ได้ 2 แหล่งใหญ่ ๆ คือ

2.1 สืบค้นจากเว็บไซต์ของหน่วยงาน/ สถาบัน/ บุคคล/อื่น ๆ ซึ่งจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทั้งประวัติ งานวิชาการ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการสืบค้นนั้นสามารถสืบค้นได้ง่าย โดยนิสิต นักศึกษา พิมพ์ URL ลงในช่อง Address ของอินเทอร์เน็ต แล้วเลือก Go หรือกด Enter สักครู่หน้าจอหลักจะปรากฏขึ้น นิสิต นักศึกษาก็สามารถค้นหาข้อมูลตามเมนูหลักในหน้าจอ ดังกล่าว ตัวอย่างเช่น www.watpon.com เป็นต้น

2.2 สืบค้นจาก Search Engine เป็นเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่ใช้โปรแกรมอัตโนมัติรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยละเอียด เหมาะกับการหาข้อมูลแบบเจาะจงและปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เช่น GooGle.com Googkai.com เป็นต้น เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศบน WWW หากมีการวางแผนในการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จะช่วยให้ผลการสืบค้น ถูกต้องตามที่ต้องการและใช้เวลาอันสั้น การสืบค้นแบบ Key Word Searching ควรมีกลยุทธ์ในการสืบค้น แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. การตั้งหรือกำหนดคำถามหรือขอบเขตของคำถาม คือ นิสิต นักศึกษา ต้องมีหัวข้อ ลักษณะ ประเภท วัตถุประสงค์และระยะเวลาของสารสนเทศที่ต้องการชัดเจน เช่น คำถามเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ข้อมูลที่ต้องการคือ ความหมายของความคิดสร้างสรรค์

2. การจำแนกแนวคิดในคำถามนั้น ๆ ให้ออกมาเป็นส่วน โดยอาจจะใช้ ตารางในการกำหนดเพื่อความเข้าใจง่ายได้เช่นเดียวกัน เช่น ประสิทธิภาพการพัฒนาองค์กร เราสามารถแยกประเด็นออก 4 คำ คือ ประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพองค์กร การพัฒนาองค์กร องค์กร

3. การเชื่อมคำ ในการสืบค้นนั้น ถ้าต้องการสืบคืน หลายคำพร้อมกัน เพื่อให้มีความสัมพันธ์กันโดยการเชื่อมต่าง ๆ โดยการในส่งเครื่องหมายบวกระหว่างคำ หรือใช้คำว่า or and เช่น การพัฒนาองค์กร+ประสิทธิภาพ 4. การเลือกใช้ search engines ควรมีการพิจารณาให้รอบคอบว่าจะใช้ตัว ไหนทำการสืบค้นและประเมินผลข้อมูล แต่ควรตรวจสอบไม่เกิน 30 อันแรก

ทองสง่า ผ่องแผ้ว 18/08/2550

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท