การเขียนวิทยานิพนธ์ : แหล่งสืบค้นข้อมูล


การสืบค้นข้อมูล ถือว่าเป็นงานที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับนิสิต นักศึกษาที่กำลังจะทำวิทยานิพนธ์หรือดำเนินการทำวิทยานิพนธ์ การสืบค้นข้อมูลเป็นจุดเริ่มต้นของการหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่นิสิต นักศึกษาสนใจ

 การสืบค้นข้อมูล ถือว่าเป็นงานที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับนิสิต  นักศึกษาที่กำลังจะทำวิทยานิพนธ์หรือดำเนินการทำวิทยานิพนธ์   การสืบค้นข้อมูลเป็นจุดเริ่มต้นของการหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่นิสิต นักศึกษาสนใจ  หรือสืบค้นเพื่อศึกษาเอกสารการเขียนบทนำ  เอกสารที่เกี่ยวข้องการวิจัยและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาเป็นแนวทางในการศึกษาในเรื่องที่ตนเองจะทำ ล้วนแต่ต้องใช้ข้อมูลทั้งนั้น  ซึ่งแหล่งสืบค้นข้อมูลในปัจจุบันมีมากมาย แหล่งสืบค้นที่ใหญ่ที่สุดที่นิสิต  นักศึกษานิยมเข้าไปสืบค้น ข้อมูลและเป็นแหล่งสืบค้นที่สะดวก  คือ ห้องสมุด  และอินเทอร์เน็ต  อย่างไรก็ตามแหล่งที่จะได้มาซึ่งข้อมูลนอกจากแหล่งสืบค้นที่กล่าวมาแล้วยังมีห้องเรียน เพื่อน  อาจารย์ที่ปรึกษาหรือแม้กระทั่ง แหล่งเรียนรู้รอบตัวนิสิต นักศึกษานั้นเอง แต่ถึงจะมีแหล่งสืบค้นข้อมูลมากมาย แต่ไม่รู้วิธีสืบค้นหรือหลักการ  เทคนิค ก็จะทำให้ไม่ได้ข้อมูลตามที่ต้องการ ดังนั้นจำเป็นต้องทราบถึงหลักการและวิธีการสืบค้นข้อมูลการทำวิทยานิพนธ์  รวมทั้งประหยัดเวลา งบประมาณ แรงงานในการสืบค้นข้อมูลด้วย

แหล่งสืบค้นข้อมูล
 
 แหล่งสืบค้นข้อมูลที่นิสิต นักศึกษาปัจจุบันใช้เป็นประจำคือ ห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต ซึ่งแต่ละแหล่งสืบค้น จะมีแหล่งข้อมูลให้สืบค้นมากมาย และวิธีการสืบค้นที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ต้องการอย่างแท้จริง นิสิต นักศึกษา ต้องรู้วิธีการสืบค้นเพื่อความสะดวก รวดเร็วและที่สำคัญตรงกับความต้องการของนิสิต นักศึกษาเองด้วย ผู้เขียนจึงขอนำตัวอย่างแหล่งข้อมูลที่สำคัญ  นิสิต นักศึกษาใช้เป็นประจำมานำเสนอ มีรายละเอียดดังนี้
1. ห้องสมุด  เป็นสถานที่รวบรวมสรรพวิทยาการต่าง ๆ  หลายสาขา   ซึ่งได้บันทึกไว้ในรูปของหนังสือ วารสาร ต้นฉบับตัวเขียน สิ่งตีพิมพ์อื่น  ๆ หรือโสตทัศนวัสดุ และมีการจัดระเบียบเพื่อสะดวกแก่การค้นคว้าและบริการ และเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลที่ทุกมหาวิทยาลัยมีอยู่แล้ว บางมหาวิทยาลัยแยกตามคณะและห้องสมุดรวม ซึ่งห้องสมุดเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความหลากหลาย  ประกอบด้วย

1.1  หนังสือ ตำราและเอกสารทางวิชาการ
    หนังสือ หมายถึง  ข้อความที่พิมพ์หรือเขียนแล้วรวมเป็นเล่ม   เช่น หนังสือวิชาการ หนังสือประเภทสารคดี หนังสือบันเทิง หนังสืออ้างอิง วารสาร นิตยสาร จุลสาร  เป็นต้น เป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลลำดับแรกที่นิสิต  นักศึกษาได้อ่านและค้นคว้าตลอดเวลา ถือว่าเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ทั้ง กฎ ทฤษฏี  ที่นิสิต  สามารถศึกษาค้นคว้านำมาอ้างอิงในวิทยานิพนธ์ได้  มีหลากหลายสาขา เช่น การศึกษา  วิทยาศาสตร์ การจัดการ สังคมศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นต้น ซึ่งนิสิต นักศึกษา สามารถค้นคว้าได้จากห้องสมุดของสถาบันหรือแหล่งอื่น ๆ โดยหนังสือถือเป็นแหล่งอ้างอิงที่สำคัญในการอ้างในบทที่ 1 และบทที่ 2  ซึ่งการคัดเลือกเนื้อหาจากหนังสือมาใส่ในวิทยานิพนธ์นั้น นิสิต  นักศึกษาควรมีการคัดเลือก สังเคราะห์เนื้อหาที่ตรงกับเรื่องที่ศึกษาค้นคว้าอย่างแท้จริง  รวมทั้งควรเลือกเนื้อหาที่ใหม่ ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน เพราะเนื้อหาในหนังสือบางเล่มไม่สามารถนำมาอ้างอิงในเหตุการณ์ปัจจุบันได้ การศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ โดยทั่วไปไม่ควรน้อยกว่า 15-20 เล่ม  ไม่เกิน 10 ปี ย้อนหลัง ยกเว้นกรณีไม่มีในเรื่องนั้นจริง  ๆ สามารถนำมาอ้างอิงได้เช่นเดียวกัน  เช่น สูตรสถิติ  สูตรคณิตศาสตร์ เป็นต้น และเมื่อนำเอาข้อความจากหนังสือเล่มใด นิสิต นักศึกษาอย่างลืมเขียนอ้างอิงด้วย เพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของข้อความหรือหนังสือเล่มนั้น  ส่วนมากแล้วนิสิต  นักศึกษา มักจะลืมและไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร
1.2   วารสาร   
    วารสาร (Journal)สิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่บทความความรู้เรื่องราวต่าง ๆ  ภายใต้ชื่อเดียวกัน มีการกำหนดเป็นระยะ เช่น รายสัปดาห์ รายเดือน รายสามเดือน เป็นต้นถือว่าเป็นสิ่งพิมพ์อย่างหนึ่งที่รวมแหล่งข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด สามารถนำมาอ้างอิงได้  มักจัดทำโดยสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ มักจะเผยแพร่สารนิเทศใหม่ ๆ ในรูปแบบบทความรู้  ตัวอย่างเช่น  วารวิทยาศาสตร์  วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ  วารสารการวัดผลการศึกษา  วารสารการศึกษา  และวารสารถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่นิสิต  นักศึกษา ควรศึกษาค้นคว้าเป็นประจำ เพราะมีข้อมูลด้านการวิจัย บทความใหม่ ๆ รวมทั้งทราบความก้าวหน้าว่า ปัจจุบันมีการศึกษา วิจัย เน้นไปทางด้านใดบ้าง
1.3    หนังสือพิมพ์  
    เป็นสื่อสิ่งพิมพ์อีกแบบหนึ่งที่นิสิต  นักศึกษาสามารถค้นคว้าได้เช่นเดียวกัน  มุ่งเสนอข่าวสารความรู้ที่ทันสมัย  มีการกำหนดออกอย่างต่อเนื่อง เสนอข่าวสารทั้งภายในและต่างประเทศ และเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจในด้านเศรษฐกิจ สังคม ธุรกิจ   การศึกษา กีฬา บันเทิง เป็นต้น  หนังสือพิมพ์มักจะประกอบด้วย บทบรรณาธิการ เนื้อข่าว บทความรู้ คอลัมน์ประจำ เป็นข้อมูลที่นิสิต  นักศึกษาอ้างอิงได้  ซึ่งเมื่อนำแล้วสิ่งหนึ่งที่พึงควรระวัง คือ การอ้างอิงนั้นเอง ดังนั้นเมื่อเรานำเนื้อหาจากส่วนใด  ควรมีการอ้างอิง 
1.4    งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ 
เป็นสิ่งพิมพ์ที่เป็นผลงานของนิสิต  นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่จบแล้ว  มีหลากหลายสาขา ซึ่งห้องสมุดจัดแยกต่างหากจากหนังสือทั่วไปเพื่อความสะดวกในการค้นคว้า ถือว่าเป็นหนังสืออ้างอิง ที่นิสิต นักศึกษา สามารถสืบค้นและศึกษาเพื่อเป็นแนวทางการทำวิทยานิพนธ์ของตนเองได้อย่างถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตามในการเลือกวิทยานิพนธ์มาเป็นแนวทางหรือเป็นตัวอย่างในการทำวิทยานิพนธ์ของตนเองนั้น ควรมีการเลือกหลาย ๆเรื่อง เพราะคุณภาพของวิทยานิพนธ์แตกต่างกัน เพื่อมีการเทียบเคียงความถูกต้องของวิทยานิพนธ์  แล้วเลือกเรื่องที่ความถูกต้องมาเป็นตัวอย่าง   ถ้าเราเลือกเล่มที่ทำไม่ถูกต้องนำมาเป็นแนวทางก็จะทำให้นิสิต  นักศึกษาดำเนินการผิดด้วยเช่นกัน
1.5    CD ROM 
เป็นฐานข้อมูลโสตทัศนวัสดุ ในปัจจุบันมีจำนวนมากในห้องสมุด  เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลบันทึกลง CD จัดเก็บเป็นหมวดหมู่  เช่น วีดิทัศน์  เสียง  ภาพ  ในแต่ละหมวดหมู่จะแบ่งย่อย วิชาการ (หนังสือ  งานวิชาการ  วารสาร)  บันเทิง  สารคดี  เป็นต้น  ซึ่ง นิสิต  นักศึกษาสามารถยืมมาสืบค้นและคัดเนื้อหาที่ต้องการได้ สามารถเลือกสืบค้นได้จากเมนูหน้าจอ โดยเมนูหน้าจอจะให้ผู้ค้นเลือกสืบค้นได้ตามรายการ ได้แก่  ชื่อผู้แต่ง(Authors) ชื่อเรื่อง (Title) หัวเรื่อง (Subject) คำสำคัญ(Key Word)  เป็นต้น
1.6    ฐานข้อมูลออนไลน์  
    เป็นแหล่งข้อมูลอีกชนิดหนึ่ง  ณ ปัจจุบันได้รับความนิยมในการสืบค้นข้อมูล มีทั้งฐานข้อมูลของไทยและต่างประเทศ  ซึ่งข้อมูลนั้นสามารถแยกได้  2 ประเภท จำแนกตามการสืบค้น  คือ ฐานข้อมูลออนไลน์ที่สามารถสืบค้นได้เฉพาะภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น เป็นฐานข้อมูลที่ทางมหาวิทยาลัยได้จัดซื้อลิขสิทธิ์มาและฐานข้อมูลทั่วไปสามารถสืบค้นที่ใดก็ได้  ซึ่งฐานข้อมูลจะเป็นแหล่งรวบรวมวารสาร งานวิจัย  วิทยานิพนธ์  บทคัดย่อ  ผู้เขียนขอยกตัวอย่างฐานข้อมูล ดังนี้
     1.6.1 ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Journal)  ประกอบด้วยฐาน ข้อมูลสหสาขาวิชาจำนวน 9 ฐานข้อมูล ได้แก่
      1)  Dissertation Abstracts Online (DAO)  :   http://proquest.umi.com
ฐานข้อมูลที่รวบรวมวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท และปริญญาเอกของสถาบันการศึกษา ที่ได้รับการรับรองจากประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา รวมถึงสถาบันการศึกษาจากทวีปยุโรป ออสเตรเลีย เอเชียและแอฟริกา มากกว่า 1,000 แห่ง ประกอบด้วยข้อมูลมากกว่า 1.6 ล้านระเบียน
      2)  Science Direct  :  http://www.sciencedirect.com/
เป็นฐานข้อมูลวารสารสาขา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพรวมทั้งสาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง
      3)  H.W. Wilson  : http://vnweb.hwwilsonweb.com/hww/
ฐานข้อมูลดรรชนี สาระสังเขป และเอกสารฉบับเต็ม ครอบคลุมทุกสาขาวิชาได้แก่ Applied Science & Technology, Art, Business, Education, General Science, Humanities, Library and Information Science, Social Science, Law, General Interest, Biological & Agricultural Science
      4)  ISI Web of Science  :  http://portal.isiknowledge.com/portal.cgi/
ฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขปที่ครอบคลุม สาขาวิชาหลักทางด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์
และมนุษยศาสตร์ จากวารสารมากกว่า 8,500 รายชื่อให้ข้อมูลมากกว่า 1 ล้านระเบียน ตั้งแต่ปี 2001-2005
      5)  Annual Reviews : http://arjournals.annualreviews.org/action/showJourn
ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มจา กAnnual Reviews จำนวน 31 ชื่อเรื่องให้เนื้อหาครอบคลุมสาขาวิชา Biomedical, Physical Science และ Social Science
      6)   CJO (Cambridge Journal Online)  : http://journals.cambridge.org
ฐานข้อมูลวารสารฉบับเต้ม ให้เนื้อหาครอบคลุมสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
      7)  pringer Link :  http://www.springerlink.com/home/main.mpx
ฐานข้อมูลวารสารฉบับเต็มให้เนื้อหาครอบคลุมด้านพฤติกรรมศาสตร์(Behavioral Science), ชีวการแพทย์ (Biomedical and Life Science), ธุรกิจและเศรษฐศาสตร์(Business and Economics) เคมีและวัสดุศาสตร์ (Chemistry and Material Sciences), วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science), วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Earth and Environmental Science), วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering), มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities, Social Science and Law), คณิตศาสตร์ (Mathematics), แพทยศาสตร์ (Medicine) และ ฟิสิกส์(Physics& Astronomy)
      8)  Blackwell Synergy  :  http://www.blackwell-synergy.com/
ฐานข้อมูลวารสารฉบับเต็มให้เนื้อหาครอบคลุมสาขาวิชา ได้แก่  Agricultural and animal Sciences
Business, Economics, Finance, Accounting, Maths and Stats ,  Engineering, Computing and Technology ,Health Sciences ,Humanities ,Law ,Life and Physical Sciences Medicine Social and Behavioral Sciences ,The Arts
      9)   IFD Newsclip Online : http://www.ifd.or.th/newscliponline/
ฐานข้อมูลกฤตภาค ที่รวบรวม ข่าว บทสัมภาษณ์ ์บทวิเคราะห์ บทวิจารณ์ รายงานต่าง ๆ จากหนังสือพิมพ์ภาษาไทยที่วางจำหน่ายในประเทศ เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการติดตามข่าวสารทันสมัย และใช้ในการค้นคว้าอ้างอิง สำหรับงานวิชาการ งานวิจัย และเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการแข่งขันทางธุรกิจ
     10)  Digital Library (ACM)  :  http://www.acm.org/
ฐานข้อมูลบรรณานุกรม สาระสังเขป เอกสารวิจารณ์และวารสารฉบับเต็มทางด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ จากสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง จดหมายข่าว หนังสือ และเอกสารการประชุม ซึ่งประกอบไปด้วยรายการบรรณานุกรม สาระสังเขป เอกสารวิจารณ์และบทความฉบับเต็ม ตั้งแต่ปี 1985 - ปัจจุบัน
      11)  LexisNexis at lexis.com  : https://www.lexisnexis.com/ap/auth/
Lexis เป็นฐานข้อมูลวารสารฉบับเต็มทางด้านกฎหมาย เริ่มให้ข้อมูลตั้งแต่ปี 1980 รวบรวมข้อมูลจากทั่วโลกภายในฐานข้อมูลประกอบด้วยบทความ มากกว่า 4 ล้านบทความ จากแหล่งข้อมูลมากกว่า 1,000 แหล่ง Nexis เป็นฐานข้อมูล ที่รวบรวมข่าวสารแหล่งข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญทั้งหมดจากประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ทั่วโลก
      12) : http://ieeexplore.ieee.org     ฐานข้อมูลวารสารเอกสารฉบับเต็มทางด้านสาขาวิชา วิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเช่น Computer Science, Acoustics, Aerospace, Engineering Education,Industrial Engineering, Remote Sensing, Transportation ข้อมูลมีมากกว่า 12,000 รายการ
      13)  ABI Inform Complete  : http://proquest.umi.com
ฐานข้อมูลวารสารฉบับเต็มให้เนื้อหาครอบคลุมสาขาวิชาด้านบริหารธุรกิจ การจัดการรวมทั้งสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยฐานข้อมูลย่อย
       13.1) ABI/INFORM Global ครอบคลุมสิ่งพิมพ์ชั้นนำด้านบริหารธุรกิจมากกว่า 1,600 รายชื่อ ซึ่งในจำนวนนี้ให้ข้อมูลฉบับเต็มรูปแบบ(Full Text) ไม่น้อยกว่า700รายชื่อ
       13.2)  ABI/INFORM Trade & Industry .ให้ข้อมูลด้านการค้า อุตสาหกรรม การสื่อสาร คอมพิวเตอร์
       13.3)   ABI/INFORM Dateline ให้ข้อมูลเกี่ยวกับข่าวท้องถิ่นทางด้านบริหารธุรกิจ
      14)  ScienceOnline & ScienceNOW  : http://www.sciencemag.org/
ของ AAAS (American Association for the Advancement of Science)
ฐานข้อมูลวารสารฉบับเต็มให้เนื้อหาครอบคลุมเนื้อหาด้าน Science & Policy, Diseases, Chemistry, Geophysic/ Geochemistry และ Geophysics
      15)  ACS + ACS Archives : http://pubs.acs.org/wls/journals/query/ ฐานข้อมูลวารสารฉบับเต็มให้เนื้อหาครอบคลุมสาขาวิชาเคมีประยุกต์ วิศวเคมี(Applied Chemistry/ Chemical Engineering) ชีวเคมี/เทคโนโลยีชีวภาพ(Biochemistry/Biotechnology) เคมี(Core Chemistry) เคมีอินทรีย์(Organic Chemistry) เภสัชศาสตร์(Pharmaceuticals) พอลิเมอร์และวัสดุศาสตร์(Polymer and material Science)
     1.6.2  ฐานข้อมูลออนไลน์ต่าง ๆ  เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล สามารถสืบค้นจากเว็บไซต์ต่อไปนี้
      1)  Aardvark  :  http://www.aardvarknet.info/user/aardvarkwelcome/
แหล่งข้อมูล Online portal สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ และการจัดการความรู้ ที่น่าสนใจ ได้แก่ Asian Databases ซึ่งเป็นฐานข้อมูลของประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน จำนวนกว่า 500 ฐานข้อมูล
      2)  Agricola Online Access : http://www.nal.usda.gov/ag98/ag98.html
Describes the books, serials, audiovisuals, and other resources held by NAL and its Cooperators. There are three ways to search the Online Public Access Catalog.,Describes journal articles, book chapters, short reports, and reprints selected primarily from the resources described in Books etc. See the List of Journals Indexed in AGRICOLA There are three ways to search the Journal Article Citation Index.
       3)  ALA: American Library Association  : http://www.ala.org/ template.cfm?section=Search&template=/Search/SearchDisplay.cfm
เป็นเว็บไซต์ของสมาคมห้องสมุดอเมริกัน ให้บริการบทความทางวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ซึ่งบางส่วนมีเนื้อหาเต็ม (Full Text) ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นโดยป้อนคำแทนเนื้อหาที่สนใจและคลิกที่คำว่า "search"
      4)  American Institute of Physics  : http://scitation.aip.org/spinweb/
ให้เนื้อเกี่ยวกับสาขาวิชาฟิสิกส์ ต้องลงทะเบียนก่อนถึงจะสามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลนี้ได้
      5)  Arxiv.org E-Print Archive : http://arxiv.org/
ระบบสืบค้นเอกสารทางวิชาการ (e-print service)สาขา physics, mathematics, non-linear science, computer science และปัจจุบันเพิ่มเติมสาขาใหม่ที่เกี่ยวข้อง คือ quantitative biology
      6)  โครงการฐานข้อมูลเอดส์ในประเทศไทย  : http://www.aidsthaidata.org/ ฐานข้อมูลทางบรรณานุกรมและบทคัดย่อเกี่ยวกับโรคเอดส์
      7)  CABI :  http://www.cabi-publishing.org/AtoZ.asp?Category=Journals
American Chemical Society Publications ฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ (Full Text)
      8)  Chemcenter : http://www.chemcenter.org/
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาเคมี
      9)  Chemfinder : http://chemfinder.cambridgesoft.com/
ให้ข้อมูลด้านเคมี
      10)  DAO : http://wwwlib.umi.com/dissertations/search
ฐานข้อมูลบรรณานุกรมและบทคัดย่อด้านการเกษตรและสาขาที่เกี่ยวข้อง
      11)  Digital Dissertations (UMI ProQuest ) : http://wwwlib.umi.com /dissertations/
ฐานข้อมูลดรรชนีและสาระสังเขปวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกและปริญญาโทจากสาขาวิชาการต่างๆ
      12)  DIRLINE : http://dirline.nlm.nih.gov/
Directory of Health Organizations
      13)  DOAJ : http://www.doaj.org/search?query=information
วารสารทางวิชาการสาขาวิชาต่างๆ จากทั่วโลก ซึ่งให้บริการฟรี จำนวนกว่า 1,148 ชื่อ
      14)  E- Polymers  : http://www.e-polymers.org/?
เป็นบทความวารสารภาษาต่างประเทศทางe-Polymers (Abstract) และเอกสารฉบับเต็ม (Full text)
      15)  Energy Citations Database (ECD) : http://www.osti.gov /energycitations/  ฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขป ทางด้านพลังงาน (1948-ปัจจุบัน)
      16)  ERIC : http://searcheric.org/
ฐานข้อมูลบรรณานุกรมและบทคัดย่อทางการวิจัย การศึกษา
      17)  ERIC (Educational Resources Information Center) : http://www.eric.ed.gov/   เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและบทคัดย่อทางการวิจัย การศึกษามีประมาณ 1 ล้านรายการ เป็นเอกสารของ ปี 1966-2004 เป็นบทความวารสาร ในช่วงปี 1966-2003 mail
      18)  European Patents  : http://ep.espacenet.com/search97cgi
เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมทุกสาขาวิชา ข้อมูลอยู่ในลักษณะเอกสารฉบับเต็ม
      19)  freemedicaljournals  : http://www.freemedicaljournals.com/?
เป็นฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ ให้ลักษณะข้อมูลเป็นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text)
      20) freemedicaljournals : http://www.freemedicaljournals.com/?
เป็นฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ ให้ลักษณะข้อมูลเป็นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text)
      21)  Ingenta  : http://www.ingenta.com/
ingenta.com enables you to access the full-text of your journal subscriptions online and, in addition, gives you the chance to purchase articles from over 26,000 publications on a pay-per-view basis, deliverable by fax or Ariel delivery. 
      22)  Institute of physics : http://iop.org/?
เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมบทความวารสารทางด้าน ฟิสิกส์ มีสาระสังเขป (Abstract) และเอกสารฉบับเต็ม (Full text)

      23)   Issues in science & Technology Librarianship :
http://www.library.ucsb.edu/istl/?เป็นบทความวารสารภาษาต่างประเทศทางบรรณารักษศาสตร์
ด้านเทคโนโลยี ในลักษณะที่เป็นสาระสังเขป (Abstract) และเอกสารฉบับเต็ม (Full text)
      24)  iToc  : http://dbonline.igroupnet.com/itoc/
บทความวารสารจากต่างประเทศและรายงานการประชุม
      25)  Knovel : http://www.knovel.com/knovel2/My_Books.jsp
Knovel provides a one-stop source for finding answers to science and engineering questions. Understanding how complex and sometimes overwhelming research can be, Knovel offers a solution: quality full-text content plus a vehicle for finding precisely the information needed — quickly and easily — among hundreds of well respected sci-tech references.
      26)  Librarian's Index :http://lii.org/search
ฐานข้อมูลเว็บไดเร็กทอรี่ ที่รวบรวมทุกสาขาวิชา
      27)  National Human Genome Research Institute :http://www.genome.gov/ฐานข้อมูลเว็บไดเร็กทอรี่ ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับด้านงานวิจัย
การเมือง สุขภาพ การศึกษา จริยธรรม และอาชีพ เป็นต้น
      28)  National Science Foundation : http://www.nsf.gov/
ฐานข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม การศึกษา และเศรษฐศาสตร์ ข้อมูลที่ได้จะเป็น full text และสาระสังเขป
      29)  PhysicsWeb : http://physicsweb.org/
Web Links : Physics Around the World
      30)  ProQuest Digital Dissertations : http://wwwlib.umi.com/dissertations /gateway
เป็นข้อมูลวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกและปริญญาโทสาขาวิชาการต่าง ๆ ให้ข้อมูลในลักษณะข้อมูลเป็นดรรชนีและสาระสังเขป
      31)  PubMed : http://www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi
Pub Med, a service of the National Library of Medicine, includes over 14 million citations for biomedical articles back to the 1950's. These citations are from MEDLINE and additional life science journals. PubMed includes links to many sites providing full text articles and other related resources.
      32)  SciCentral : http://www.scicentral.com/
ฐานข้อมูลที่รวบรวมข่าวสารทางด้านวิทยาศาสตร์จากแหล่งที่น่าเชื่อถือกว่าร้อยแห่งและมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิทยาศาสตร์โดยตรงมากกว่าร้อยสาขาผู้ใช้สามารถค้นเอกสารได้ฟรีเฉพาะ 600 ตัวอักษรแรกของเอกสารเท่านั้นหากสมัครสมาชิกแบบ Basic Member หากต้องการอ่าน Full text ต้องสมัครสมาชิกแบบ Full Member ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่าย
**หมายเหตุผู้ใช้แบบ Basic Member สามารถอ่าน Full text ได้ในช่วง Free Trail แต่ต้องกรอกหมายเลขบัตรเครดิตให้ผู้จัดทำก่อน
      33)  scirus  : http://www.scirus.com/srsapp/
เป็นแหล่งรวบรวมค้นหา Journal ต่าง ๆ เป็นเสริจเอนจินที่ครอบคุมเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์และอินเทอร์เน็ตกว่า 167 ล้านเว็บเพจ ซึ่งการค้นหาจะค้นจากวารสารต่าง ๆ และค้นจากเว็บเพจที่มีเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์
      34)  Thai Patents  :  http://www.ipic.moc.go.th/
เป็นฐานข้อมูลสิทธิบัตรไทย
      35)  The American Society of Civil Engineers (ASCE) : http://pubs.asce.org/
ฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับ Civil Engineering ที่มี full text มากกว่า 5400 เล่ม สามารถค้นหาเนื้อหาต่าง ๆ ได้จากวารสาร ร้านหนังสือ ฐานข้อมูล CE และจากห้องสมุด สามารถอ่านได้เฉพาะสาระสังเขปเท่านั้น หากต้องการอ่าน full text ต้องสั่งซื้อหรือสมัครเป็นสมาชิก โดยเสียค่าใช้จ่าย
      36)  The Internet Public Library  : http://www.ipl.org
The Internet Public Library เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสารสนเทศทางด้านต่างๆ เช่น e-book e-magazine e-newspaper Web Site และเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์สำหรับชุมชนอินเทอร์เน็ต เปรียบเสมือนห้องสมุดสาธารณะในอินเทอร์เน็ต เนื้อหาที่รวบรวมไว้ได้แก่ศิลปกรรมและสังคมศาสตร์ ธุรกิจ คอมพิวเตอร์ การศึกษา บันเทิง สุขภาพ เป็นต้น ใช้ได้ฟรี มีลักษณะเหมือนเว็บไดเร็คทอรี่ที่แนะนำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่ผู้ใช้ต้องการสืบค้น ไม่ได้นำสู่เนื้อหาโดยตรง
      37)  US Patents : http://www.uspto.gov/
ฐานข้อมูลสิทธิบัตรอเมริกา ใช้ฟรี สามารถค้นหาได้ทั้งสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า
      38)  การสืบค้นข้อมูลโครงการวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) : http://www.riclib.nrct.go.th/
ให้ข้อมูลบรรณานุกรม รายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ์ ประมาณ 100,000 ชื่อเรื่อง
      39)  ฐานข้อมูลงานวิจัยของประเทศไทย : http://www.nstda.or.th/grants/
แหล่งข้อมูลที่รวบรวมผลงานวิจัยของประเทศ เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนรวมทั้งให้บริการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต ท่านไดสนใจที่จะสืบค้นสามารถเข้าใช้ได้
      40)  ฐานข้อมูลบรรณานุกรมรายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (วช.) : 
http://www.riclib.nrct.go.th/      เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและบทคัดย่อ

   1.7   หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
     เป็นฐานข้อมูลออนไลน์ หนังสือ งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ที่เป็นฉบับสมบูรณ์(Full text)  ของอาจารย์และนิสิตของมหาวิทยาลัย  ซึ่งนิสิต  นักศึกษา สามารถเข้าสืบค้นได้ในฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัย  ไฟล์ที่บันทึกไว้จะเป็น Adobe acrobat   ดังนั้นการที่เปิดเอกสารด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ของนิสิต  นักศึกษาต้องลงโปรแกรม  Adobe acrobat  ถ้าไม่ลงโปรแกรมจะไม่สามารถเปิดเอกสารได้  การสืบค้นนั้นดูจากเมนูหน้าจอ โดยเมนูหน้าจอจะให้ผู้ค้นเลือกสืบค้นได้ตามรายการ ได้แก่  ชื่อผู้แต่ง(Authors) ชื่อเรื่อง (Title) หัวเรื่อง (Subject) คำสำคัญ(Key Word)  คณะและสาขาวิชา  เป็นต้น
  2.  อินเทอร์เน็ต   
    มีนิสิต  นักศึกษา จำนวนไม่น้อยที่สืบค้นข้อมูลไม่เป็น หรือสืบค้นแล้วไม่ได้ข้อมูลตามที่ต้องการ ส่วนมากเป็นขยะทางอินเทอร์เน็ต  การสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ ต้องเรียนรู้วิธีการสืบค้นหรือรู้เว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูล ดังนั้นการเรียนรู้เทคนิค  วิธีการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตถือว่ามีความสำคัญ  เพราะจะทำให้นิสิต  นักศึกษามีความสะดวกรวดเร็วในการสืบค้น  รวมทั้งประหยัดเวลาในการสืบค้น  ได้ข้อมูลตามที่ต้องการ อีกประการหนึ่งอินเทอร์เน็ต  ถือว่าเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีข้อมูลมากมายให้ สืบค้น ค้นคว้า   มีทั้งเนื้อหาสาระที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง  ดังนั้นการเลือกใช้หรือดึงข้อมูลควรอ่าน วิเคราะห์  อย่างถี่ถ้วน และอย่าลืมเขียนอ้างอิงด้วย
   การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตนั้น  โดยส่วนมากแล้วจะมีเว็บไซต์ หรือเรียกว่า Search Engine เป็นเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่ใช้โปรแกรมอัตโนมัติรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยละเอียด เหมาะกับการหาข้อมูลแบบเจาะจงที่นิยมใช้ เช่น GooGle.com   googkai.com  หรือ sanook.com  เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมในการสืบค้นข้อมูลมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามก็มีเว็บไซต์เฉพาะสาขา ที่นิสิต  นักศึกษาเลือกสืบค้นข้อมูลมากมาย ที่สำคัญได้ข้อมูลที่ตรงตามความต้องการ เช่น สถาบันการศึกษา จะมีเว็บไซต์เผยแพร่ข้อมูล เช่นเดียวกัน

ทองสง่า ผ่องแผ้ว 15/08/2550

หมายเลขบันทึก: 119672เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2007 08:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เยี่ยมมาก.....................................................................................................................................................

มะลิวัลย์ ผ่องแผ้ว

สวัสดีค่ะอาจารย์ทองสง่า

สาระที่อาจารย์นำเสนอนั้นมีประโยชน์มาก เยี่ยมจริง ๆ ค่ะ แต่มีข้อสงสัยประการหนึ่งคือ เราใช่ญาติกันหรือไม่

เพราะนามสกุลเดียวกัน ดิฉันเกิดที่บ้านชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันเป็นครู สอนอยู่ที่โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคาร อุบลราชธานี ค่ะ และยินดีที่ได้รู้จักท่าน แม้จะพบบนเครือข่ายนะค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ขออนุญาตนำข้อมูลไปใช้อบรมพยาบาลใน ร.พ.

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท