นโม…ทำไม?


ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่าไม่มีอะไรเลย
  เหตุใด?  ปราชญ์ทั้งหลาย  จะสวดก็ดี  จะรับศีลก็ดี  จึงต้องตั้ง  นโม  ก่อนจะทิ้ง  นโม  ไม่ได้เลย  เมื่อเป็นเช่นนี้  นโม  ก็ต้องเป็นสิ่งสำคัญ  จึงยกมาพิจารณา  ได้ความว่า

  คือธาตุน้ำ,  โม  คือธาตุดิน,  พร้อมกับบาทพระคาถาปรากฏขึ้นมาว่า  มาตาเปติกะสะมุภะโว  โอทะนะกุมมาสะปัจจะโย  สัมภะวะธาตุของมารดาบิดาผสมกัน  จึงเป็นตัวขึ้นมาได้

  เป็นธาตุของมารดา,  โม  เป็นธาตุของบิดา

ฉะนั้น  เมื่อธาตุทั้งสองผสมกันเข้าไปไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเขาจนได้นามว่า  กลละ  คือน้ำมันหยดเดียว

  

  ที่นี้เอง  ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิได้  จิตจึงได้ถือปฏิสนธิขึ้นในธาตุ  นโม  นั้น  เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว  กลละก็ค่อยเจริญขึ้นเป็น  อัมพุชะ  คือเป็นก้อนเลือดเจริญจากก้อนเลือดมาเป็น  ฆนะ  คือเป็นแท่ง  และ  เปสี  คือชิ้นเนื้อ  แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน  จึงเป็นปัญจสาขา

คือแขน  2,  ขา  2,  หัว  1,

ส่วนธาตุ    คือลืม,    คือไฟนั้น  เป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลัง  เพราะจิตไม่ถือเมื่อละจากกลละนั้นแล้ว  กลละก็ต้องทิ้งเปล่าหรือสูญเปล่า  ลมและไฟก็ไม่มี  คนตาย  ลมและไฟก็ดับหายสาบสูญไป  จึงถือว่าเป็นธาตุอาศัย 

ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุทั้ง  2  คือ  นโม  เป็นเดิม

ในกาลต่อมา  เมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย    มารดา  โม  บิดา  เป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเลี้ยงมา  ด้วยการให้ข้าวสุกและขนมกุมมาส  เป็นต้น  ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง

ท่านจึงเรียกมารดาบิดาว่า  บุพพาจารย์  เป็นผู้สอนก่อนใครๆ  ทั้งสิ้น

มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดา  จะนับประมาณมิได้  มรดกที่ทำให้กล่าว  คือรูปกายนี้แลเป็นมรดกดั้งเดิม  ทรัพย์สินเงินทองอันเป็นของภายนอก  ก็มาจากรูปกายนี้เอง

ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้  ชื่อว่าไม่มีอะไรเลยเพราะเหตุนั้น  ตัวของเราทั้งตัวนี้เป็นมูลมรดกของมารดาบิดาทั้งสิ้น  จึงว่าคุณท่านจะนับประมาณมิได้เลย  ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาละทิ้งไม่  เราจึงต้องเอา  นโม  ขึ้นตั้งก่อน  แล้วจึงทำกิริยาน้อมลงไหง้ภายหลัง

นโน  ท่านแปลว่า  นอบน้อมนั้นเป็นการแปลเพียงกิริยา  หาได้แปลต้นกิริยาไม่  มูลกรดกนี้แลเป็นต้นทุนทำการฝึกหัดปฏิบัติตน  ไม่ต้องเป็นคนจนทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ

พระอาจารย์มั่น

หมายเหตุ

ขอนำธรรมะสั้นๆ  ของหลวงพ่อจรัล  ฐิตธัมโม  ผู้ได้รับการเคารพบูชา  และยกย่องอย่างยิ่งว่า  ท่านเป็น  อริยสงฆ์แห่งภาคกลาง  มาฝากท่านผู้อ่าน  กรรมกำหนด  เป็นเครื่องเตือนสติ  ดับความเร่าร้อนในโลกสงสาร  ดังนี้

ยิ้มแย้มคือ  ทำใจให้สบายอยู่เสมอ

ยกย่องคือ  มีแต่วาจาสุภาพอ่อนโยนชมเชย

ยืดหยุ่นคือ  มีความเห็นใจผ่อนนั้นผ่อนยาว

ยืนหยัดคือ  เพื่อความเป็นธรรมต่อสู้ไม่ถอย

ยินยอมคือ  เมื่อผิดยอมรับผิด

ยับยั้งคือ  อุเบกขา  สะกดใจ  ไม่วู่วาม

หลวงพ่อจรัล  ฐิตธัมโม 
คำสำคัญ (Tags): #นะโม ดีอย่างไร
หมายเลขบันทึก: 119619เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2007 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

  *ขอบคุณมากครับที่นำมาเผยเเพร่

  *ถือเป็นธรรมทานอย่างหนึ่งครับ

 *ผมรู้สึกคุ้นๆ  อืม ได้ทบทวนครับ

  *ขอเก็บบันทึกนี้เข้าห้องสมุดนะครับ

P
kmsabai
ดีใจที่เข้ามาอ่านและนำไปเผยแผ่ต่อนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท