นักขอความรู้ในชั้นเรียน


ระบบการเรียนของนักศึกษาแพทย์หลายแห่งในปัจจุบัน ยังใช้เนื้อหาวิชาที่ปรากฎในตำราเป็นหลัก  (content-based) ทั้งผู้สอนและผู้เรียนยังวิธีเรียนและประเมินผลโดยวัดความจำเป็นหลัก (recall-based) แม้ว่าผู้สอนเองอ้างว่าพัฒนาการสอนมาเป็นแบบ clinical application-related ซึ่งเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ 

ปัญหาด้านผู้สอนอาจมีจาก  2 กลุ่ม คือ

กลุ่มอาจารย์รุ่นเก่า ที่ยังนิยมสอนแบบท่องจำ และ content-based

กลุ่มอาจารย์รุ่นใหม่ ที่ไม่มีแนวคิดหรือฐานความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอน เพราะส่วนหนึ่งผ่านการเรียนแบบท่องจำมา 

เหตุนี้ การปฏิรูปการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ โดยเฉพาะระดับ pre-clinic จึงยังวนเวียนอยู่กับ ความรู้สึกของผู้สอน ว่า นักศึกษาจะไม่รู้ ถ้าไม่มี การสอนแบบป้อน (feeding)  

เหล่านี้ทำให้นักศึกษาไม่เป็น นักเรียนรู้ และเป็นแค่ นักขอความรู้ในชั้นเรียน (สองคำนี้ ผมยืมอาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทองมาใช้)

คาดหวังว่า มหาวิทยาลัยมหิดล จะพัฒนาแบบอย่างการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ที่ดี สำหรับประเทศไทยต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 119479เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2007 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท