อย่าสงสารคนพิการ


ภาพสะท้อน-มุมมอง ต่อการแก้ปัญหาความพิการ และความเป็นอื่นในสังคมไทย ภายใต้นิยามและการพิจารณากรอบในการมองความเป็นมนุษย์ มอบเกียรติยศ และความภาคภูมิใจในความเป็นมนุษย์ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เรากำลังเรียกร้องในสังคมไทย

อย่าสงสารคนพิการ  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วันนี้สังคมไทยควรร่วมกันเรียนรู้ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และร่วมกันรณรงค์</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ให้ประชาชนไทยเข้าใจบางสิ่งบางอย่างในสังคม</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ว่าเราไม่สงสาร และไม่ควรสมเพศคนพิการ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">มีแนวคิดหนึ่งซึ่งคนพิการพยายามบอกกับสังคมอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อความ ที่พยายามสื่อสารและบอกกล่าวกับสังคมไทย</p><p>  </p><p>ภาพของ ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือหนึ่งในตัวอย่างรูปธรรมของความจริง ที่เกิดขึ้นจริง ปรากฎได้ และสามารถดำรงความแตกต่าง ในท่ามกลางความกลมกลืนของสังคมไทย สามารถนำความสามารถมาสู่สังคมไทย โดยไม่ได้เป็นภาระ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>ความสามารถของอาจารย์ ได้เดินทางไปสู่การช่วยเหลือสังคม ซึ่งฐานะปัจจุบันเป็นหนึ่งในสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่พยายามผลักดันข้อกฎหมายให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ต่อความพิการในสังคมไทย มักพูดเสมอ ถึงความพิการที่ไม่มีอยู่จริงในสังคม แต่เป็นความพิกลพิการที่ผู้คนมอบไว้ให้กับคนพิการมากกว่า   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>เป็นวาทกรรมและความคิดที่เราพยายามแบ่งแยกคนพิการไว้ต่างหาก ให้คนพิการกลายเป็นคนอื่นของสังคม แบ่งแยก และกันขอบเขต จากความตั้งใจและไม่ตั้งใจ  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>ภาพงดงามสมัยไม่มีกิจธุระด้านอื่นทางสังคม ในสมัยเป็นอาจารย์สอนหนังสือเต็มเวลาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาพอาจารย์เดินจูงสุนัขลาบราดอร์รีทรีฟเวอร์ ข้ามสะพานปิ่นเกล้าเพื่อกลับบ้าน คือหนึ่งในความงดงามซึ่งอาจารย์พยายามบอกกับสังคมไทย ว่าอาจารย์ไม่ได้เป็นภาระของใคร และไม่ได้เป็นภาระของสังคมไทย  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>หลังจากการความพยายามในการต่อสู้ เรียกร้อง และอธิบายให้คนไทยเข้าใจ  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>คือความพยายามทึ่ผู้พิการคนไทยทุกคนพยายามจะบอกกล่าวกับสังคมนี้  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>คุณกฤษณะ ไชยรัตน์ ในฐานะมนุษย์ล้อ เป็นหนึ่งในฐานะตัวแทนผู้เป็นอื่นในสังคมไทย ซึ่งมักอธิบายความเปลี่ยนแปลงบางอย่างต่อสังคมไทยเสมอ เมื่อมีการคอมเมนท์เนื้อข่าว และเนื้อหาสาระของข่าว ว่าในสังคมไม่มีคนพิการ สิ่งที่มีคือความคิดที่พิกลพิการ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>คำตอบวันนี้ คือความพยายามของสังคม ที่เราควรบอกให้รับรู้ร่วมกัน  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>ว่าเราไม่ควรสงสาร ไม่ควรสมเพศ แต่เราควรเข้าใจรับรู้ ตบบ่าตบไหล่และสร้างโอกาสที่เท่าเทียม ภายใต้ความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์ แล้วจึงก้าวไปด้วยกัน  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>มิติในการมองความพิการ ในฐานะของความเป็นอื่น คือสิ่งที่เจ็บปวดรันทดยิ่งกว่าที่ความไม่เหมือน ได้กระทำต่อร่างกายของเขาเหล่านั้น ความแตกต่างทำร้ายทำลายจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ เท่ากับการแบ่งแยก ชีวิตผู้คน ให้แตกต่างกัน  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>ภาพโฆษณาในการทำงานของคนตาบอด ซึ่งบอกกล่าวเนื้อหาสาระให้สังคมไทยเข้าใจ คือเนื้อความที่ชัดเจนที่สุด ว่า   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>สิ่งที่คนตาบอดอยากเห็นมากที่สุดในชีวิต คือการอยากเห็นโอกาส  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>และสิ่งที่ผู้พิการอยากเห็นมากที่สุดในสังคม ก็คือ อยากเห็นโอกาส  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">โอกาสของพวกเขาที่จะมีชีวิตอยู่อย่างปกติ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีความสามารถในการดูแลตนเอง ดูแลคนรอบข้าง และดูแลสังคม มากกว่าที่เขาเหล่านั้นจะขอให้สังคมมาดูแลพวกเขา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>วันนี้คือโอกาสของสังคมไทย โอกาสที่เราจะร่วมกันสร้างด้วยเสียงดังฟังชัด ว่าอย่าสงสาร อย่าสมเพศผู้พิการ</p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>แต่จงมองเขาเหล่านั้นด้วยความเป็นมนุษย์</p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 119364เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2007 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-บางครั้งเราช่วยเหลือคนอื่นเพราะอยากรู้็สึก

ว่าตัวเองเหนือกว่าเขา

 - บางครั้งความสงสารก็เป็นการทำลายคนอื่น  

 -บางครั้งคนเราก็ทำร้ายตัวเองเพื่อให้คนอื่นเห็นใจ 

- บางครั้งเราก็อยากให้คนอื่นลำบากเราจะได้แสดงบทคนดี

บางครั้งความสงสารก็เป็นเครื่องมือในการหลีกเลี่ยงการวิเคราะห์ปัญหา 

และเป็นเครื่องมือในการsuppressเสียงของคนที่เราสงสาร 

และเป็นเครื่องมือในการสร้างความเมินเฉยกับคนที่เราสงสารด้วย

 

เรายังมองคนเป็นลำดับขั้นดีกว่าด้อยกว่า

แทนที่จะให้เกียรติคนทุกคนเกมือนกัน  

 

ในกรณ๊นี้ถ้าจะลบความรู้็สึกแบบนี้ลงไป

เราต้องเริ่มต้นเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน คุณสมบัติต่างๆไม่ว่าจะแง่ไหน

ไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้เรามองคนว่าต่างกัน

แต่อย่างว่าล่ะครับ ศาสนา วัฒนธรรมของเรามันไม่ได้มาทางนั้น

ถ้าอยากจะเปลี่ี่ยนแปลงเราต้องยอมทิ้งสิ่งเก่าๆไป จะเอาวัฒนธรรมเก่าๆไว้พร้อมกับเรียกร้องสิ่งดีดีใหม่ 

คุณค่าแบบใหม่ด้วคงเป็นไปไม่ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท