กลุ่ม "ทองหลาง"
นศ.มรภ.พระนคร ศูนย์เรียนรู้สุราษฎร์ธานี

บ้านในบาง(ต่อ)


บ้านในบาง ตำบลคลองน้อย

ขอกราบแม่ด้วยใจภักดิ์  "รักทุกวัน"

วันนี้ขอเล่าเรื่อง  "บ้านในบาง"  ต่อเพื่อความสมบูรณ์หรืออยากไปเที่ยวชมวิถีชีวิตชุมชนกับโครงการ  "คลองร้อยสาย" 

 

 สภาพพื้นที่ ตำบลคลองน้อยมีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ  มีแหล่งน้ำธรรมชาติกระจายอยู่ทั่ว  มีแม่น้ำและ ลำคลองล้อมรอบหลายสาย  มีเนื้อที่ทั้งตำบล ประมาณ 18,125  ไร่  หรือ  29  ตารางกิโลเมตร
สภาพเศรษฐกิจ         
-  อาชีพหลักคือการทำสวนมะพร้าว  ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการปลูกมะพร้าวกันแทบทุกครัวเรือน  รายได้หลักจึงมาจากมะพร้าว       
-  อาชีพรองของคนในตำบลคลองน้อย  คือ  การปลูกไม้ผล  พืชไร่พืชผัก  พืชสำคัญที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกร ได้แก่  กระท้อน มังคุด ส้มโอ มะนาว ชมพู่ทูนเกล้า กล้วย พืชผักต่างๆ และสวนปาล์ม
-  รับจ้าง   ได้แก่รับจ้างทั่วไป  และทำงานตามโรงงานอุตสาหกรรมนอกเขตพื้นที่  
- ค้าขาย   ได้แก่  ขายผัก ผลไม้  ขายของชำ  ขายอาหาร  เป็นต้น-   รับราชการ
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
1) ดิน    มีดินที่มีลักษณะคุณภาพสมบูรณ์  เหมาะแก่การปลูกพืชหลายชนิดด้วยกัน  สามารถปลูกได้ทั้งไม้ผล  ไม้ยืนต้น  และพืชผักเกือบทุกชนิด
2) แหล่งน้ำ ในเขตพื้นที่ของตำบลทุกหมู่บ้านมีลำคลองและแม่น้ำไหลผ่านหลายสายมีน้ำสำหรับทำการเกษตรตลอดปี  มีสภาวะการขึ้นลงของน้ำตามอิทธิพลของน้ำทะเล นับเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการเกษตรและใช้สอยประจำวัน  แต่มีบางฤดูกาลที่เกิดน้ำท่วมในช่วงสั้น ๆ  ทำให้เกิดผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตรบางชนิดเสียหายบ้าง     มีแม่น้ำ 1 สาย  ลำคลอง 19  สาย   คูส่งน้ำเข้าสวนอีกเป็นจำนวนมาก            
3) สัตว์น้ำ   จากสภาพพื้นที่ล้อมรอบไปด้วยน้ำ  และมีแม่น้ำลำคลองเชื่อติดต่อกันตลอด   ทำให้มีสัตว์น้ำนา ๆ ชนิด  ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของราษฎรในตำบล
4)  พืชพันธุ์ทางธรรมชาติ  ได้แก่   พืชปลูกเอง  เช่น  มะพร้าว  พืชผักสวนครัว  ไม้ผล  พืชที่ขึ้นตามธรรมชาติ  เช่น  ต้นจาก  ต้นลำพู  สาคู  ยางป่า    
จุดเด่นของพื้นที่    พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำ คูคลองล้อมรอบหลายสายเชื่อมต่อถึงกันทุกหมู่บ้าน ทำให้มีน้ำสำหรับทำการเกษตรตลอดปี  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนมะพร้าว  ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม  เนื่องจากอยู่ในเขตควบคุมของผังเมืองรวมเมืองสุราษฎร์ธานี  ปัจจุบันเริ่มมีการตัดถนนเข้ามาในพื้นที่หลายสาย โดยเฉพาะทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  417 และ 420 เป็นถนนที่เชื่อมจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี  
         
        จุดเด่นอีกประการ คือ การรวมตัวกันของกลุ่มองค์กรประชาชนในแต่ละหมู่บ้านและภายในตำบลเองมีความเข้มแข็ง     มีเงินทุนหมุนเวียนต่าง ๆ มากมาย  รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า  20  ล้านบาท   ประชาชนให้ความสามัคคีและให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ก่อสร้างที่ทำการ อบต. โดยไม่ต้องใช้งบประมาณของทางราชการ เป็นต้น
  
      วันนี้เล่าเรื่องยาวไปหน่อย  (จะได้ไม่หลงทาง)  จริง  ๆ  แล้วต้องชมภาพประกอบเพื่อเพื่อน ๆ  จะได้พบกับทัศนียภาพที่งดงามหาชมที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว 
    
หมายเลขบันทึก: 119250เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2007 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ลองเข้าไปดูที่
http://gotoknow.org/blog/wongsakit/93410
และมีข้อแนะนำอื่น ๆ อีกมากครับที่
http://gotoknow.org/blog/tutorial4u/90628

ต้องขอขอบคุณ อาจารย์ทนัน ภิวงศ์งาม มาก ๆ นะคะ  ที่ให้คำแนะนำ  ก็เลยสามารถนำภาพสวย ๆ มาประกอบเรื่องให้เพื่อน ๆ ได้ชมกัน

ขอบคุณค่ะ ^_^

สวยเหลือเกินนะครับทั้งคนและคลองร้อยสาย

ชีวิตลอยล่องไรจุดหมายปลายทาง

ต่างถิ่นต่างแดนให้มาพบเจอ

เสมือนคลองร้อยสายมาบรรจบดำรงวิถี

ได้รู้จัก "สหวิทยาการ" แสนปรีดา

มหาลัยชีวิตรวมใจเป็นหนึ่งฝ่าฝันจุดหมายปลายทาง

สรุปว่าระหว่าง  พบคนกับพบคลอง  คุณคงลำบากใจที่จะเลือกเป็นแน่แท้เพราะว่า  "สวยไปหมด"  (แล้ว)  โล่งใจหลาย  ๆ  เด้อ 

หวัดดีครับ

  • ถ้าได้ไปสัมผัส ตอนค่ำๆ จะยิ่งได้บรรยากาศ ครับ สวยมาก ลองดูอีกครั้ง นะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท