9 คำถามกับการขับเคลื่อนงานนวัตกรรมสร้างสุขภาพชุมชน


คำถามเหล่านี้น่าจะเป็นตัวช่วยให้นวัตกรสามารถสร้างนวัตกรรมบริการสุขภาพปฐมภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มากก็น้อย

เป็นไข้ ก็ไปหาหมอสิ ฉีดยาสักเข็ม เดี๋ยวก็หาย

 การจัดการสุขภาพของชุมชน เป็นเรื่องของหน่วยงานสาธารณสุขเท่านั้นหรือ?” 

<p>  </p><p>9 – 10 สิงหาคม หลังจากที่ผมได้เข้าประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพปฐมภูมิ (primary care unit : PCU) ณ โรงแรมปางสวนแก้ว จ. เชียงใหม่ รู้สึกอบอุ่นใจขึ้นเยอะ ว่าถนนสายพัฒนาชุมชนที่กำลังเดินอยู่นี้ มีภาคีสายงานสาธารณสุขเข้ามาเป็นเครือข่ายเคียงข้าง เป็นสาธารณสุขแนวใหม่ ที่ปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานที่ไปในทิศทางที่ ไม่เน้นรักษาโรค แต่เน้นรักษาคน โดยมุ่งสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง หรือพฤติกรรมที่เป็นเหตุปัจจัยของโรค ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึงมิติทางสังคมวัฒนธรรม การเมือง ระบบนิเวศ ที่มีลักษณะเฉพาะแต่ละพื้นที่ เข้ามาประกอบ </p><p>โครงการนวัตกรรมบริการสุขภาพปฐมภูมิเป็นหนึ่งในโครงการที่ทางผม และสโมสรผู้นำเยาวชนเพื่อการศึกษาและพัฒนาชุมชน (สยชช.) เข้าร่วม โดยเราได้เสนอโครงการ นวดสานสายใย  เยาวชนใฝ่กตัญญูที่รู้ข่าวโครงการนี้ ก็เพราะพี่ยุย (พี่ทวีวรรณ สัมพันธสิทธิ์)  จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน บอกข่าวมาให้ </p><p>จากวันนั้น ถึงวันนี้ ก็ร่วม เจ็ดเดือนแล้วที่โครงการดำเนินมาด้วยดี ทำให้มองเห็นว่า ที่ผ่านมาชุมชนและเด็กๆถูกมองว่าเป็นผู้ที่มีปัญหา แต่ปัจจุบัน ชุมชนและเด็กได้ถูกมองว่าเป็นผู้มีศักยภาพ และเป็นศูนย์กลางการพัฒนาสุขภาพด้วยตัวเอง แทนที่จะมุ่งแต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างในอดีต </p><p> ส่วนตัวผมเองได้รู้จักความหมายและการทำงานสุขภาพในเครือข่ายที่กว้างขวาง และริเริ่มงานสร้างเสริมสุขภาพโดยให้เด็กและเยาวชนเป็นตัวขับเคลื่อนที่ค่อยๆเตาะแตะเป็นรูปธรรมขึ้น นอกจากนี้การที่ได้มารู้จักคณาจารย์ผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาโดยเอาชุมชนเป็นตัวตั้งหลายคน ไม่ว่าจะเป็น รศ. วิลาวัณย์ เสนารัตน์ และคณะ จากคณะพยาบาลศาสตร์ มช. , ผศ. ทพ. ดร. ทรงวุฒิ  ตวงรัตนพันธ์ จากคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มช., ดร. ศักดา จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มช. , ได้ฟังแนวคิดดีๆจาก พ.ญ. สุพัตรา  ศรีวณิชชากร ผอ. และ น.พ. เกษม เวชสุทธานนท์ รอง ผอ.สถาบันวิจัยระบบสุขภาพชุมชน (สพช.) เหมือนทำให้มั่นใจมากขึ้นว่างานพัฒนาเด็กและเยาวชนในอำเภอเล็กๆติดชายแดนพม่าอย่างอำเภอปางมะผ้า แม่ฮ่องสอน สามารถเชื่อมโยงกับบุคคลและภาคความรู้ที่เท่าทันกับโลกาภิวัตน์ได้ </p><p>งานพัฒนาสุขภาวะของชุมชน ไม่สามารถจะพึ่งตัวเองได้อย่างเบ็ดเสร็จ แต่ต้องสามารถเชื่อมต่อกับภาคีเหล่านี้ ในรูปแบบความสัมพันธ์ที่มีอำนาจพอฟัดพอเหวี่ยงกัน อันนี้เป็นอีกประเด็นที่ผมคิดว่าสะท้อนมาจากการประชุม </p><p>นอกจากการรับฟังการอภิปรายถึงแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน ในช่วงการแลกเปลี่ยนกลุ่มย่อยก็เข้มข้น ผมถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพครอบครัว ผมได้รับมอบหมายจากกลุ่มย่อยให้ขึ้นนำเสนอความเห็นสรุปของกลุ่ม ซึ่งมีข้อคิดเห็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่มย่อยที่ผมร่วมอยู่น่าสนใจหลายประเด็น (ต้องขอขอบคุณ ผศ. ทพ. ดร. ทรงวุฒิ  ตวงรัตนพันธ์ จากคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มช. ที่ช่วยเป็นวิทยากรกลุ่มได้เป็นอย่างดี) พอขึ้นเวที ผมก็เลยสรุปออกมาเป็นคำถาม 9 ข้อ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">(ต้องบอกก่อนว่า เหล่านี้ไม่ได้มาจากความคิดผมคนเดียว แต่มาจากการสกัดความเห็นออกมาจาการประชุมกลุ่มย่อย)</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">คำถามเหล่านี้น่าจะเป็นตัวช่วยให้นวัตกรสามารถสร้างนวัตกรรมบริการสุขภาพปฐมภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มากก็น้อย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p> คำถามที่ 1. สิ่งที่เราสร้างขึ้นมานี้ แม้จะมีชาวบ้านเป็นส่วนร่วม แต่มันเป็นนวัตกรรมในสายตาชาวบ้านหรือไม่ หรือมันเป็นนวัตกรรมเฉพาะในสายตาของเรา</p><p> คำถามที่ 2.   อะไรคือนวัตกรรมของโครงการ นวัตกรรมอาจจอยู่ในรูปกลุ่มใหม่ๆ เครือข่ายใหม่ๆ เช่น เครือข่ายผู้หญิงเลิกเหล้า , สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เช่น มุมสุขภาพครอบครัวที่ประกอบด้วยตู้ยา และสมุดบันทึกสุขภาพครอบครัว , กระบวนการใหม่ๆ เช่น การใช้สุนทรียสนทนา (dialogue) ในการสร้างให้ผู้ป่วยทางจิตรู้เท่าทันอารมณ์และเห็นคุณค่าของตนเอง หรืออาจอยู่ในรูปแบบผสมผสานหลายอย่าง เป็นนวัตกรรมเชิงซ้อน อันนี้เราชัดเจนแค่ไหน  </p><p>คำถามที่ 3  นวัตกรรมของเรา มันไปสร้างภาระที่ไม่คาดคิดแก่คนบางคนในครอบครัวหรือเปล่า โดยเฉพาะกับผู้หญิง เช่น การไปมอบหมายให้ชาวบ้านดูแลตู้ยาหรือเครื่องมือทางการแพทย์ อาจจะไปสร้างภาระแก่ผู้หญิงที่ต้องทำงานทั้งในบ้าน นอกบ้านหนักขึ้นไหม.   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">คำถามที่ 4 เราแน่ใจหรือว่า ผลดีที่เกิดขึ้นกับชาวบ้าน ล้วนแต่มาจากนวัตกรรมของเรา หรือชาวบ้านบูรณาการกิจกรรม จากโครงการต่างๆ จากสถาบันอื่นๆ เช่น โครงการด้านการศึกษา , โครงการพัฒนาชุมชน ที่มีอยู่ในชุมชนเข้ามาร่วมกับโครงการของเราด้วย </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p> คำถามที่ 5 เรามีอคติต่อคนบางกลุ่มในโครงการมากน้อยเพียงไร เช่น เรามักจะมองว่าคนขี้เหล้า คนขี้เกียจ คนทุจริต คนขี้คุก เป็นคนน่ารังเกียจใช่ไหม เพราะขัดกับ แว่นทางศีลธรรม ที่ครอบงำตัวเราอยู่เสมอ  อคติเหล่านี้ มักทำให้เราปะป้าย (stereotype) คนเหล่านี้ว่าเป็นพวกที่ไม่มีศักยภาพ โดยลืมดูเงื่อนไข บริบทที่แวดล้อมเขาอยู่ ซึ่งเท่ากับเราพิพากษาเขาไปแล้ว เรามองเห็นตัวเองอยู่ใต้เงาแห่งอคติเหล่านี้แค่ไหน? </p><p>คำถามที่ 6 เราจะแน่ใจได้อย่างไร หากใช้ข้อมูลที่ได้มาจากการเขียนของชาวบ้านเป็นหลักในการประเมิน เพราะสิ่งที่เขียนอาจจะเป็นคนละเรื่องกับสิ่งที่เห็น และสิ่งที่เห็นก็อาจจะเป็นคนละเรื่องกับสิ่งที่จริง การยึดติดกับข้อมูลที่ได้จากการเขียน การสัมภาษณ์ และการประชุมต่างๆ อาจทำให้เราติด กับดักได้โดยง่าย แต่ควรจะใช้วิธีที่หลากหลาย ผสมผสานกันอย่างเหมาะสม และเราได้ทำสิ่งเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน ? </p><p>คำถามที่ 7 หลายเรื่องราวที่ชาวบ้านบอกเล่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็น การติดเอดส์ การทำแท้ง ชู้สาว ถูกข่มขืน ถูกอนาจาร ลูกติดยา สามีทำร้าย หนี้สินล้นพ้น ฯลฯ อะไรจะเป็นหลักประกันที่ชัดเจนแก่ชาวบ้านว่า สิ่งที่พวกเขาเล่าออกมา จะถูกรับฟังด้วยการยอมรับในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และถูกรักษาไว้เป็นความลับ </p><p>คำถามที่ 8  เราเข้าใจนวัตกรรมว่าอย่างไร เรามองว่านวัตกรรมเป็นสิ่งที่จะอยู่ยั้งยั่งยืนยง เราเชื่อในความยั่งยืนของนวัตกรรม หรือเรามองว่า นวัตกรรมไม่ใช่สูตรสำเร็จหรือคำตอบสุดท้ายของการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน และไม่มีความยั่งยืน เพราะมันขึ้นอยู่กับบริบททางพื้นที่และเวลา </p><p>คำถามที่ 9 (อันนี้ ผมเพิ่งจะมาคิดได้ ตอนกลับมาบ้านแล้ว) คือ เราจะแน่ใจได้อย่างไร ว่า เราเองจะไม่กลายเป็นผู้ที่ฉวยโอกาส กอบโกยผลงานอยู่เหนือชาวบ้าน หรือใช้ชาวบ้าน เป็นเครื่องมือในการแสวงหาลาภ ยศ สรรเสริญ จากการนำงานเชิงนวัตกรรมแบบนี้ </p><p>สำหรับผมแล้ว อีกไฮท์ไลท์หนึ่งของงานนี้ คือการที่ผมพาเด็กหญิงชาวไทใหญ่วัยสิบสี่จาก สยชช. เข้าร่วม 2 คน เพื่อให้ช่วยจดบันทึก และคุ้นเคยกับการร่วมประชุมกับผู้ใหญ่ในเวทีระดับภาค </p><p> ขึ้นชื่อว่าเด็ก ใครๆก็มองว่า ความคิดยังเล็ก จะไปทำงานชุมชนอะไรได้มากมาย </p><p>เด็กๆ จึงถูกรัฐและนักพัฒนามองอย่างแยกส่วน ออกจากการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนเรื่อยมา แต่มุมมองของหน่วยงานสาธารณสุขวันนี้ อย่างน้อยก็องคาพยพหลายส่วน เริ่มปรับฐานคิดนี้อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว สำหรับยุวชนที่มาร่วมประชุมวันนี้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับพวกเธอ แต่เธอก็ตั้งใจฝึกฝนเรียนรู้ด้วยดี นอกจากนี้ พวกเธอเอง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้แก่ผม    </p><p>  ผมหวังว่า เราจะได้เห็นเด็กกลุ่มชาติพันธุ์อีกหลายต่อหลายคนค่อยๆย่างเท้าเข้าสู่ประตูแห่งการมีส่วนร่วมของในงานสุขภาพชุมชนเช่นนี้อีกต่อไป อย่างไม่ย่อท้อ  </p>

หมายเลขบันทึก: 119150เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2007 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

คุณวิสุทธิ์มาเล่าเรื่องราวให้ฟังทีไร ผมอ่านด้วยความเพลิดเพลิน ได้ทั้งคำตอบและคำถามพร้อมๆ กันนะครับ

หนนี้ฝากคำถามไว้มากเลยครับ ผมเองก็ตอบไม่ได้ แต่ละข้อดูจะยากเกินกำลังจริงๆ ครับ เป็นการตั้งคำถามที่เฉียบคมและตรงไปตรงมาดีครับ

แต่ที่เฉียบคมยิ่งกว่าคือประเด็นที่คุณวิสุทธิ์กล่าวถึงเด็กหญิงไทใหญ่ กับการมองอย่างแยกส่วน ทำให้ผมนึกถึงหนังสือเล่มหนึ่งที่อาจารย์เคยแนะนำในชั้นเรียน ชื่อว่า Diffusion of Innovations

มีเรื่องหนึ่งในนั้นที่ผู้แต่งใช้เป็นบทนำ โดยมีนักสังคมสงเคราะห์คนหนึ่งเดินทางเข้าไปในหมู่บ้านเพื่อชักชวนให้ชาวบ้านต้มน้ำกิน เพื่อป้องกันการป่วยซ้ำซ้อน เรื่องที่ดูเหมือนง่ายในการอธิบาย และเป็นนวัตกรรมธรรมดาๆ นี้กับไม่สามารถเกิดได้ในหมู่บ้านนั้นๆ ครับ 

สาเหตุมีหลายประการ แต่ที่เด่นๆ คือ สถานะของนักสังคมสงเคราะห์ในมุมมองของชาวบ้าน เขาเห็นว่าเธอเป็นคนชั้นกลาง ดูเป็นคนละชั้น ไม่อยากไปคุยด้วย และความเชื่อของชาวบ้านที่เชื่อมโยงน้ำร้อนกับการป่วยไข้ นั้นหมายถึงว่าถ้าไม่ป่วยจะไม่กินน้ำร้อน ประการสุดท้ายคือการนำเสนอครับ นักสังคมสงเคราะห์่ท่านนี้ไปขายความคิดด้วยการอธิบายถึงเชื้อโรค ซึ่งมองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ ชาวบ้านก็เลยไ่ม่รู้ว่าจะทำไปทำไม

ที่ผมว่าน่าสนใจคือการที่อาจารย์นำเรื่องนี้มาเผยแพร่ในชั้นเรียนของผู้ที่จะนำเทคโนโลยีเข้าสู่ชั้นเรียน ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผมเรียนอยู่ เพราะอาจารย์เห็นว่าสินค้าไม่สำคัญเท่าการนำเสนอครับ ของดียังไงก็อาจเจ๊งได้ ถ้าถ้อยคำที่นำเสนอนั้นไม่ตรงกลุ่ม ไม่โดนใจ ว่าไหมครับ? 

สวัสดีครับ คุณแว้บ

  •            บางคนอาจบทบันทึกผมแล้วเพลินด้วย ได้ความรู้ด้วย อันนี้ดีครับ ถ้าเพลินอย่างเดียวถือว่าไม่คุ้มนะครับ เพราะกว่าผมจะเขียนแต่ละบันทึกเสร็จนี่ก็นาน อยากให้คนอ่านได้เสพสิ่งที่กลั่นกรองแล้ว จะได้ไม่เสียเวลา

 

  • ผมชอบคำพูดตรงๆนะครับ และออกจะระมัดระวังกับกับคำชม เพราะกลัวถูกยกยอปอปั้น ปั้นไปปั้นมามากๆเข้าทำให้กลายเป็นอนุสาวรีย์ ไม่มีอิสระนะครับ มันไม่มีชีวิต คิดว่าตัวเองอยู่เหนือคนอื่น

 

  • เรื่องที่คุณอ่านน่าสนใจนะครับ น่าจะได้นำมาสรุปเป็นบันทึกด้วย ผมอาจจะเห็นต่างไปจากอาจารย์ของคุณ ที่ว่า ทั้งสินค้า และการนำเสนอ ไม่สำคัญเท่ากับการเรียนรู้และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ควรจะได้เกิดขึ้นระหว่างนักสังคมสงเคราะห์กับชาวบ้านแค่ไหน พวกเขายังคงรักษามิตรภาพกันต่อไป หรือวางมวยใส่กัน หรือมีการตั้งกติกา จัดระบบความสัมพันธ์กันใหม่ เพราะนั่นต่างหากที่จะมีผลต่อการทำงานร่วมกันของทั้งสองฝ่ายต่อไป

 

  • ผมเพิ่งไปวางระเบิดเรื่อง KM ในบันทึกของคุณพี่บางทรายวันนี้ (14 ส.ค.) ชื่อตอนอะไรผมจำไม่ได้ แต่เข้าใจว่าคุณอาจจะชอบ เพราะผมกระทุ้งไว้หลายข้อ กลายเป็นตัวล่อเป้า และผมอาจจะโดนสกรัมจากพลพรรครักชุมชน KM ยังไงลองไปอ่าน และแลกเปลี่ยนดูนะครับ

สวัสดีครับคุณวิสุทธิ์ ขอเรียกว่าพี่วิสุทธิ์แล้วกันนะครับ

ขอบคุณครับที่พี่พูดตรงๆ ว่าชอบพูดตรงๆ

ผมใช้คำว่าเพลิดเพลิน แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้ความรู้ ด้วยโครงสร้างและภาษาในบันทึกของพี่ผมทราบครับว่าใช้เวลามาก 

ซึ่งผมเองก็มักจะนิยมการเขียนบันทึกแบบนี้มากกว่าการเขียนสั้นๆ แบบตั้งคำถาม หรือเขียนแบบไม่มีที่มาที่ไป อยู่ๆ ก็ตั้งคำถาม โดยไม่มีอะไรให้คิด

คำว่าเฉียบคมนั้น ผมก็ใช้ด้วยความชื่นชมจากใจจริงครับ (เชื่อว่าพี่ไม่หลงไปกับคำชมอย่างจริงใจนะครับ) ผมถึงได้บอกว่ารอคอยบันทึกของพี่ เพราะมันเป็นการตกตะกอนระดับหนึ่ง ไม่ใช่แค่รู้สึกขุ่นแล้วก็เอามาถามต่อให้มันขุ่นกันไปหมด  สรุปก็ไม่ได้สร้างความรู้ใหม่อะไรเลย

ส่วนเรื่องวางระเบิดนี่ ผมจะคอยติดถามด้วยใจระทึกครับ

คุณยอดดอย

วันที่ 9-10ส.ค พี่ไปร่วมมหกรรมนวัตกรรมที่โลตัสปางสวนแก้ว

ดีใจที่มีเครือข่ายนอกวงการมาร่วม นวัตกรรมจะให้ประโยชน์กับคนที่เป็นผู้รับผลงานโดยตรง ควรให้เขาได้มามีส่วนร่วมทุกขั้นตอน  และเสริมสร้างศักยภาพ  ใช้ศักยภาพที่เขามีอยู่  พี่PA240 ทำเรื่องบวรสุขสร้างเสริมสุขภาพสูงอายุด้วยแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น พี่พึ่งสมัครgotoknowมื่อ 12ส.ค 50 ลองหาอ่านblog พี่ได้นะ

 www.nrtnet.comพี่ใช้8e;jk นวัตกรมือใหม่

สวัสดีค่ะ

P

คุณไปวางระเบิดจริงๆด้วย อ่านแล้วค่ะ

?????

 

ตั้งนาฬิกาปลุกในใจไว้ วันนี้เลยลุกขึ้นมาเคลียร์งานตั้งแต่ไก่ขัน เลยถือโอกาสเข้ามาดูบล็อกต่างๆ และตอบคำถาม/แลกเปลี่ยนในสิ่งที่มีคนมา post ไว้

  • เข้าใจว่า ทุกท่านที่เข้ามาทักทายกันบล็อก ไม่ว่าจะเป็น คุณแว้บ พี่อัมพร คุณsainanda น่าจะกำลังหลับอยู่ ก็ขอให้ฝันดีนะครับ
  • ขอตอบแทนคำชมของน้องแว้บ ด้วยการพยายามเขียนในสิ่งที่ตัวเองเป็นมากขึ้น
  • คุณ Sasinanda แวะเข้ามา ทำให้ผมนึกถึงเรื่องจริยธรรมผสมผสานกับมุมมองทางสังคมวิทยาบางอย่าง ก็เลยทำให้ผมฉุกขึ้นขึ้นได้แบบ "โพล่งๆ" ขึ้นมาว่า "การเขียนเป็นได้ทั้งการสร้าง-ตอกย้ำตัวตน   การเขียนเป็นการสร้าง-ผลิตซ้ำอำนาจ และการเขียนเป็นได้ทั้งการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณอันนำไปสู่การเจริญสติเพื่อหลุดพ้นจากบางสิ่งบางอย่าง"
  •  ผมเชื่อว่า ความรู้และประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่ไม่ได้อยู่ในภาษา ภาษาเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่มีข้อจำกัดเหลือประมาณ เราจึงไม่ควรวุ่นวายกับมันมากนัก แต่ต้องพยายามแสวงหาวิธีการเรียนรู้แบบอื่นๆที่เป็นทาสของภาษาน้อยลงด้วย
  • ถ้าเราไม่เข้าใจและประมาทกับกลยุทธ์ในการใช้ภาษา เราก็ไม่อาจเป็นนายของมัน ต้องตก"หลุมพราง" อยู่ร่ำไปนะครับ
  • สำหรับผม นัยยะของสิ่งที่ซ่อนเร้นในการเขียน เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอรรถรสที่ได้จากการเสพสุนทรียจากภาษาครับ
  • ขอบคุณพี่อัมพรที่แวะมา ผมไม่รู้ว่าบล็อกของพี่ชื่อว่าอะไร ยังไงแวะมาช่วยบอกกันหน่อยนะครับ
  • เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อนะครับ

น้องนวัตกร

ขออนุญาตเปลี่ยนนมแฝงให้ พี่อัมพรเขียนblog สูงอายุ  พึ่งเข้าไปเขียนเมื่อ 12 ส.ค 2550 ในโอกาสวันแม่

วันที่ 21-22 ส.ค น้องไปร่วมงานที่กทม.หรือไม่  พี่ไม่ได้ไปเพราะใช้งบประมาณไปหมดแล้ว ทุกครั้งที่ไปที่เชียงใหม่จะไปร่วมกัยทีมนวัตกร  2 คน 

ถ้าได้ไปยังไงๆ เขียนเล่าให้ฟังด้วยนะ

พี่มีกระเป๋านวัตกรรมสูงอายุถ้าน้องได้ไปใช้คงจะดี ส่งที่อยู่มา พี่จะส่งไปให้ วันที่ 9 ส.ค 50 อ.ชัญญายังหิ้วไปใช้เลย

สวัสดีค่ะน้องยอดดอย เรื่องราวที่นำมาเขียนและมุมมองที่แตกต่างนั้นทำให้เกิดประโยชน์ในการได้เห็นวิธีคิดที่หลากหลาย เกิดการวิเคราะห์ สังเคราะห์ อ่านแล้วโลกกว้างขึ้นดีค่ะ

ดีใจด้วยที่โครงการเด็กกับการนวดได้ปรากฏตัวในระดับภูมิภาค เป็นการแบ่งปันเรื่องดีๆและเป็นตัวอย่างหรือแรงบันดาลใจให้กับที่อื่นๆด้วย โครงการน่ารักมาก สามารถเชื่อมเรื่องภูมิปัญญาด้านการนวด สุขภาพกับครอบครัวและวัฒนธรรมไว้ด้วยกันอย่างดี

ข้อสรุปคำถามข้อสุดท้ายจริงใจดีจังเลยค่ะ

การนำเด็กๆเข้ามามีส่วนร่วม อย่างนำน้องชาวไทยใหญ่มาช่วยจดบันทึกประชุมเป็นความตั้งใจที่ดีมาก คนที่ทำงานในพื้นที่ด้วยความจริงใจและเข้าใจมักจะไม่ลืมให้ทุกกลุ่มที่อยู่ในบริบทแห่งการพัฒนาได้เข้ามามีส่วนร่วม พี่ได้เห็นอีกหลายตัวอย่างในการให้เยาวชนมีส่วนร่วมที่พิษณุโลกในการทำงานของPCUต่างๆ อ่านจากบล็อกของรพ.พุทธชินราช น่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท