เสียงภายในตัวตน


เสียงภายในตัวตน

Hal & Sidra Stone เขียนหนังสือไว้ (อีก) เล่มหนึ่ง เรื่อง Embracing the Inner Critics กล่าวถึงกลุ่ม primary selves ที่ช่วยกันทำงานเป็น operating ego และในแง่ของการเกิด "เงา" เจ้าตัว priimary selves เหล่านี้นี่เองที่ผลักดันอะไรก็ตามที่เจ้าตัวเหล่านี้ไม่พอใจ (disowned selves) ให้ลงไปอยู่ใต้ถุน หรือห้องใต้ดิน ลั่นดาน ล็อกกุญแจ

 

                                                
จากบทความนี้ เหมือนกับว่า "เงา" จะหมายถึง "เจ้าตัวโต" (คำของพี่สมพล) มั้ง

ตั้งแต่เราเกิดมา พวกเราอยูในสภาวะที่อ่อนไหว เปราะบาง มากๆ เมือ่เปรียบเทียบกับสัตว์อื่นๆ มนุษย์เกิดมาอ่อนแอ และต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และจากการดูแลแบบต่างๆนี้เอง ที่พัฒนากลายเป็นบุคลิกของเราตอนโตมา

The Pleaser ตัวอ่อนหวานเอาใจ
เกิดมาเป็นเด็กทารก วันๆตื่นมาไม่เห้นทำอะไร เอาแต่ยิ้ม ร้องไห้ กิน แล้วก็นอนใหม่ แต่เด็กทารกจะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วว่า เมื่อเขายิ้ม คนดูแลเขา (แม่ พ่อ ญาติโกโหติกา) ก็ดูเหมือนจะมีความสุข ยิ้มตอบ เอาอกเอาใจสารพัน ยิ่งถ้าเขาหัวเราะ เอิ้กอ๊าก โอย เจ้าพวกคนดูแลดูเหมือนจะยิ่งดีอก ดีใจ และพร้อมจะเอาใจเขามากขึ้น เด็กก็จะเรียนรู้ว่าทำให้คนมีความสุขนั้น เขาจะมีความสุขด้วย ตรงนี้ถ้ามองในแง่การเกิด disowned self ก็น่าจะเป็นอะไรก็ตามที่ทำให้คนหงุดหงิด ผลก็จะตามมากระทบกับเด็กเองอย่างรวดเร็ว จะพบว่าคนส่วนใหญ่เรียนรู้วิถีของสังคมนี้ตั้งแต่แรกเกิด เราก็จะหลีกเลี่ยงการทำให้คนอื่นหงุดหงิด หรือโกรธไปในตอนนี้

The Rule-Maker ตัวสร้างกฏ
การทำให้คนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่พอใจนั้น เป็นหนึ่งใน "กฏเบื้องต้น" ที่หากฝ่าฝืนแล้ว ชีวิตของเด็กทารกก็จะทุกข์ลง ต่อมาไม่นานเด็กก็เริ่มเรียนรู้มากขึ้นว่ามีอะไรบ้างที่เขา "ควรทำ" และ "ไม่ควรทำ" ตามอายุที่มากขึ้น ตามประสบการณ์ที่มากขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะสร้าง primary self หรือ เงาตัวใหม่ คือ rule-maker ตัวสร้าง รวบรวม "กฏ" ในการอยู่รอดนั่นเอง นอกจากตัวตนภายในที่จะเรียนรู้และสร้างกฏขึ้นมาแล้ว คนใกล้ชิดก็จะเป็นอีกกลุ่มที่จะ "บอก" กฏพิเศษเหล่านี้ให้โดยตรง พ่อแม่ ก็จะบอกว่าเราต้อง "ไม่ทำ" อะไรบ้าง ไม่พูดจาหยาบคาย ไม่ตะโกนเสียงดัง ไม้พูดแซงผู้ใหญ่ ไม่ซน ไม่ยุกยิก ไม่โกหก ไม่ ฯลฯ และบอกว่าเราต้อง "ทำ" อะไรบ้าง เช่น ต้องเชื่อฟัง ต้องเรียบร้อย ต้องแต่งตัวเรียบร้อย สวยงาม ฯลฯ ทั้งหมดนี้พ่อแม่หรือผู้ปกครองชองเรานั้น "หวังดี" ที่จะพยายามทำทุกอย่างให้เราอยู่รอดในสังคมได้ในสภาพที่ดีที่สุด ทุกครั้งที่มีกฏเพิ่ม rule-maker ก็จะส่งเจ้าตัวที่ไม่เหมาะสมลงไปใต้ถุน ห้องใต้ดิน ทีละตัวสองตัว ตัวไหนที rule-maker คิดว่าน่าเกลี่ยดมากๆก็เก็บไว้มิดชิดหน่อย พวกเราก็จะค่อยๆสะสม disowned selves มากขึ้นไปตามกาลเวลา

The Pusher พี่ดัน
ทีนี้ในชีวิตของเรา มันไม่เพียงแต่จะหลีกเลี่ยงการทำให้คนอื่นโกรธไม่พอใจเท่านั้น พวกนั้นจะเน้นตอนที่เรายังต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่นเยอะๆ แต่พอโตมา เราเริ่มเป็นตัวของตัวเอง นอกจากอยู่รอดให้ได้ เรายังต้อง "ประสบความสำเร็จ" อีกด้วย การประสบความสำเร็จดูจะทำให้ชีวิตดีขึ้น สมบูรณ์ขึ้น เราก็สร้าง primary self ขึ้นอีกตัวคือ "พี่ดัน" หรือผู้ผลักดันนั่นเอง พี่ดันจะต้องการทำให้เราทำมากขึ้น เร็วขึ้น ดีขึ้น สมบูรณ์ขึ้น เพื่อความก้าวหน้า ในขณะเดียวกัน ก็ตจะเก็บตัวที่จะทำอะไรง่ายๆ พอเสร็จๆ ลงใต้ถุนไปอยู่กับพวกอื่นๆ

The Perfectionist พี่อุดมคติ
ในบางบริบท บางสิ่งแวดล้อม primary self เราจะเกิดความติดกับอะไรที่ "สมบูรณ์แบบ" ไม่มีเรื่องไหนที่เล็กน้อย ไม่ว่าจะเล่นกีฬาบอลชายหาด หรือบอลโอลิมปิก ก็จะมีมาตรฐานเดียว คือ "ดีที่สุด"

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ขณะที่ primary selves ข้างต้นเกิดขึ้น มี primary self อีกตัวหนึ่งที่ค่อยๆพัฒนาเกิดขึ้นควบคู่และทำงานขนานกันไป ขอแนะนำให้รู้จักกับ big boss

The Inner Critic ท่านวิจารณ์
ท่านวิจารณ์ถูกสร้างขึ้นมา หรือเกิดขึ้น เพื่อการรันตีว่าเราจะไม่ล้มเหลว ไม่ถูกทำโทษ และมีชีวิตทืดี วัตถุประสงค์เดิมนั้นดีมากๆ และมีทุกคน เมื่อมี pleaser, pusher, perfectionist, rule-maker ขึ้นมา ท่านวิจารณ์จะ make sure ว่า เจ้าตัวอื่นๆที่จะเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายที่ตัวต่างๆตั้งมานั้น ได้รับการดูแลทุกครั้งไป ท่านวิจารร์จะรู้จัก "เรา" อย่างลึกซึ้ง ว่าเราหย่อนตรงไหน ขี้เกียจตอนไหน ทำอะไรน้อยไป ฯลฯ และจะกระซิบเตือนเราตลอดเวลา และเนืองจากเราไม่สามารถจะซ่อนอะไรไว้จาก inner critic ได้เลย ก็ดูเหมือนเราจะมีใครยืนมองข้ามไหล่เราตลอดเวลา บอกว่าเรายังทำอะไรไม่ดีบ้าง

ท่านวิจารณ์จะทำงานอย่างเนียนสุดๆ ร่วมกับ พี่ดัน กับพี่อุดม เรียกว่าลงหมัดหนึ่ง หมัดสอง หมัดสาม เป็นหมัดชุด

ตอนที่ท่านวิจารณ์ดูแลเฉยๆ เราก็ยังไม่มีอะไรไม่ดีเกิดขึ้น แต่ปรากฏว่า ในขณะที่เจ้าตัวใต้ถุน หรือ disowned selves สามารถกลายเป็น demonic energy ได้ ท่านวิจารณ์ที่ทำงาน overload และเหลิง ก็จะกลายเป็น The biggest enemy ที่กด ทำลาย ศักยภาพของตัวเราลงไปอย่างมากที่สดตัวหนึ่ง

Primary selves เหล่านี้ จะทำให้เกิด "เสียง" ต่างๆในหัวของเรา ชมเราบ้าง ตบหลังเราบ้าง หรือเคาะหัว กะซิบตำหนิ ถากถาง ประชดประชัน เยาะเย้ย เสียงภายในสุดท้ายก็จะ shape และหล่อหลอมตัวเราออกมาตามสมดุลสุดท้าย ที่เราจะปล่อยให้ฝ่ายไหนทำงานและชนะการประมูลว่าใครจะควบคุมตัวเราในขั้นสุดท้าย

หมายเลขบันทึก: 119044เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2007 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ได้มาเรียนรู้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

ต้องเรียนรู้อีกเยอะเลย

ขอบคุณมากนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท