ตลาดนัดกรมอนามัย 2550 - Press Tour (9) CoP ที่บ้านตาก


คนหนึ่งบอก ตอนนี้เขาเป็นประธานชมรมคนไม่กินหวาน ... เขาบอกว่า ผมน่ะ กินเป็นมื้อนะ คือกินแบบเยอะมากเลย แต่กินในมื้อ แต่พอตอนเย็นนี่ผมไปออกกำลังกาย ขี่จักรยานแล้วเหงื่อออกเต็มเลยนี่ น้ำตาลเขาไม่ขึ้น

คุณเกศราภรณ์ ที่โรงพยาบาลบ้านตาก เธอเล่าเรื่องของการทำ CoP ที่กำลังเริ่มทำในกลุ่มโรคเรื้อรัง 4 โรคละค่ะ เธอเล่าตั้งแต่แนวคิดริเริ่ม จนปัจจุบันละค่ะ ... ยังไม่เสร็จกระบวนการ บอกว่า ต้องตามตอนต่อไปคราวหน้า ให้กรมอนามัยเชิญมาเล่าเรื่องต่อนะคะ

  • เมื่อประมาณ 2 ปี เกือบ 3 ปีนี่ เราทำ KM ในองค์กร ตอนนี้เราเริ่มเบื่อๆ เราก็มามองในฐานะที่เป็น Knowledge facilitator ว่าถ้าอย่างนี้ เราจะทำกับชุมชนได้มั๊ย
  • ตัวเองเป็นคนชอบท้าทาย ก็คือว่า เราจะทำกับคนไข้ได้มั๊ย ก็เพราะว่าเราเป็นแม่ค้า เราก็ไปขายไอเดียให้กับพี่ที่อยู่ PCU
  • รพ.บ้านตากจะมี PCU ที่รับผิดชอบอยู่ 4 PCU มีพี่พยาบาลวิชาชีพคนหนึ่งที่ต้องไปดู 4 PCU นี้ เขาทำงานร่วมกับสถานีอนามัย ก็บอกว่า ... พี่ลองดูสิว่า แต่ละสถานีอนามัยมีปัญหาอะไร
  • เขาบอกว่า เบาหวานมาอีกละ คนไข้เบาหวานทำไมมันเยอะจังก็ไม่รู้
  • และมี PCU ไหนที่เราลองเอาไอเดีย KM นี่ไปใช้ได้ เขาบอกว่า มีที่หนึ่ง
  • เราก็ออกไป จับมือกัน ก็ไปนั่งคุยกับพี่เขาที่สถานีอนามัย ก็ถามพี่เขาว่า ทุกวันนี้ที่คนไข้มานี่ สภาพชีวิตคนไข้จะเป็นอย่างไร ก็คือ 1) มายื่นบัตร 2) ระหว่างยื่นบัตรเสร็จก็เจาะเลือด เจาะเลือดเสร็จก็รอหมอ
  • รอหมอเสร็จแล้วพี่ทำยังไงต่อ บางที่พี่ก็มีโอกาสสอนสุขศึกษาบ้าง บางทีก็ไม่มี
  • ก็บอกว่า แล้วระดับน้ำตาลในเลือดของคนไข้เป็นยังไงล่ะพี่ ... ก็บอกว่า ในคนไข้ 88 คน นะ ตำบลเดียวนี่ จะมีคนดูแลตัวเองดี คือ น้ำตาลในเลือดไม่ขึ้นใน 1 ปี ประมาณ 2-3 คน
  • (... เราก็เห็นแล้วว่า นั่นเป็น The best ได้ นั่นเป็นอะไรที่ดี ...)
  • ก็เลยบอกว่า พี่ แล้วอยากดูแลตรงนี้ดีมั๊ย ก็บอกว่าดี งั้นเอา KM เข้าไป
  • คือ จุดที่คนไข้มารวมกลุ่มกัน และคนไข้ที่มีการปฏิบัติดีมาเล่าเรื่อง
  • ... แต่ขอโทษค่ะ ไม่ได้เรื่อง คนไข้ไม่ยอม คือว่า วิถีชีวิตเดิมก็คือว่า เจาะเลือด กินข้าว รอหมอตรวจ กลับบ้าน เวลามาเข้ากลุ่มก็บอกว่า ไม่ละค่ะ บอกว่าเดี๋ยวจะถึงคิว คนนั้น คนนี้แซงคิว
  • ... บอก พี่เอาใหม่มั๊ย ไป ... ไปเลี้ยงข้าวต้ม คือ เจาะเลือดเสร็จ พาเขาไปกินข้าวต้มชั้นบน ชั้นบนเสร็จปุ๊บ จะพาคนไข้คุย เขาไม่คุยเลยค่ะ เนื่องจากมีแต่ผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ อยากกลับบ้าน คนที่อยู่ภูธร เขาก็จะไม่ค่อยคุย
  • ... พี่เขาก็เริ่มใช้คำถามนำก่อน เป็นคำถามปลายเปิด ว่า วันนี้ลุงรู้หรือเปล่าว่า ลุงไปทำอะไรมา น้ำตาลถึงไม่ขึ้น ก็จะมีป้าๆ ยายๆ เริ่มเล่าเต็มเลย
  • บางทีเราไปดู ความรู้ คือ พยาบาลนี่ active มาเลย เวลาสอน ต้องกินตรงนี้กี่แคลอรีๆ คนไข้กลับไปบ้านทำไม่ได้
  • ปรากฎว่า มีคนหนึ่งบอกว่า วันนี้น้ำตาลเขาขึ้นนี่ เขากินทุเรียนไป 2 ยูง แต่ว่าวันไหนเขากินแค่ยูงเดียวนี่มันไม่ขึ้น และถ้าเขากินข้าว 1 กระติ๊บ เขาขึ้นนะ แต่ถ้าเขากินครึ่งกระติ๊บ มันกลับไม่ขึ้น
  • คนหนึ่งบอก ตอนนี้เขาเป็นประธานชมรมคนไม่กินหวาน ... เขาบอกว่า ผมน่ะ กินเป็นมื้อนะ คือกินแบบเยอะมากเลย แต่กินในมื้อ แต่พอตอนเย็นนี่ผมไปออกกำลังกาย ขี่จักรยานแล้วเหงื่อออกเต็มเลยนี่ น้ำตาลเขาไม่ขึ้น
  • ความรู้เหล่านี้ เราก็ไม่รู้ว่า ทฤษฎีมีไหมนะคะ แต่ไปดูตรงปฏิบัติ คนไข้กลับดี เราก็เลยคิดว่า น่าจะใช้ได้
  • แต่เราลองเก็บสถิติดูนะคะ ว่า ภายใน 1 ปี ที่คนไข้มาเข้ากลุ่มกับเรานี่ 88 คน ปรากฎว่าระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ขึ้นเลย 12 เดือน 35 คน
  • เราก็เลยย่ามใจ ว่าตรงนี้มันน่าจะช่วยได้นะพี่ ปรากฎว่าทุกสถานีอนามัยมาเลย เรามาเขียน project กันมั๊ย จะทำ KM ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานทั้งอำเภอ เราจะทำกัน สถานีอนามัยบอกเอา ไปขอ สสส. เขา
  • ... สสส. ไม่ให้ บอกว่า เราเอาเงินมาเพื่อพัฒนาบุคลากร
  • เราก็สู้ต่อ ไปหารือ อ.วิจารณ์ และ อ.อ้อ บอกว่า อยากทำตรงนี้ อาจารย์บอกว่า ขอท้องถิ่นสิ
  • ปรากฎว่า ได้พบนายกเทศมนตรี เราก็บอก นายกฯ เชิญทางนี้หน่อย ก็เลยยกโปสเตอร์เรื่อง การจัดการความรู้แห่งชาติขึ้นมาพูด ก็ให้เขาดู ว่า เราทำแบบนี้ เป็นแบบนี้ เราอยากชวนชุมชนเข้ามาทำด้วย มันจะดูว่ามีอะไรที่มีคุณค่านะ นายกฯ บอก เอาสิ
  • คุยกับ ผอ.รพ. อยากทำตรงนี้ (ตอนนี้เป็นช่วงเปลี่ยน ผอ. ค่ะ คุณหมอพิเชษฐ์)
  • ก็คุยกับ ผอ. ว่า ตอนนี้ทีมเยี่ยมบ้านเราก็มีปัญหา เรื่องโรคที่ รพ. ก็มีปัญหาด้วย คุยกันว่า อยากทำ CoP หรือว่าชุมชนนักปฏิบัติที่มาจากคนไข้เลย เพื่อให้บรรลุเข็มมุ่งของ รพ.
  • เราเริ่มจากโรคที่เป็นปัญหาดีไหม คือ เบาหวาน CoP ถุงลมโป่งพอง มะเร็งระยะสุดท้าย และผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ตอนนี้เรามีกุศโลบายก็คือ ของบได้ประมาณ 400,000 มาคัดเลือก อสม. ได้หมู่บ้านละ 2 คน 26 คน
  • เรากำลังจะใส่ KM ให้ อสม. อยู่ค่ะ ใส่ Knowledge ไป
  • เสร็จปุ๊บ เราจะให้ อสม. ไปเยี่ยมบ้าน เราก็มีพยาบาลไปร่วมเป็นพี่เลี้ยงด้วย ให้ความรู้ก่อนและไปเป็นพี่เลี้ยง
  • หลังจากนี้เอา KM เข้าไป ตอนนี้ยังเล่าไม่ได้ค่ะ เพราะเรากำลังมองชุมชน
  • กลุ่มคนไข้นี่น่าจะเกิด ... นี่เป็นแรงบันดาลใจเลย ว่า มันสามารถที่จะ serve ตัวชี้วัด รพ. ได้ น่าจะดีขึ้น เพราะตอนนี้อัตรา readmit ของเบาหวานก็สูงขึ้น ที่ OPD ก็สูง มันก็ลบภาพนี้ไม่ได้สักที เราก็คิดว่าจะเป็นแบบนั้น
  • ... ตอนนี้เราจะสร้าง อสม. ให้เป็นเสมือนพยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิคอะไรประมาณนั้นละค่ะ แต่ อสม. เขาก็กลัวมาก
  • และเทศบาลคิดหรูมากเลย เทศบาลบอกว่า ประเพณีคนไทยนะ เวลาไปเยี่ยมต้องมีของติดไม้ติดมือ เทศบาลก็ให้งบกับ รพ. อีก ... ไปคิด set มาเพื่อเป็นของที่ระลึก
  • คนป่วยเวลาเขา admit แล้ว คือ จำหน่ายออกจาก รพ. แล้วมันจะมีทีมที่จะคอยดูอีกทีว่า ทีมไหนควรจะได้ไปเยี่ยม เราก็ส่ง case นั้นให้ อสม. และก็ออกไปเยี่ยม และก็จะมีของติดไม้ติดมือไปด้วย
  • หลังจากนั้น ถ้าปีหน้าได้มาเล่า คิดว่า น่าจะได้มาเล่าให้พี่ๆ น้องๆ ฟังว่า ไปทำ KM กับ 4 โรคนี้แล้วได้อะไรบ้างนะคะ

แบบนี้ต้องตามฟังเรื่องตอนต่อไปแล้วละค่ะ ... ที่บ้านตาก 

รวมเรื่อง ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย 2550 

 

หมายเลขบันทึก: 118991เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2007 07:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท