ครูสุจิรา
นาง สุจิรา ครูนาฏศิลป์ ขวัญเมือง

นาฏยศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับรำวงมาตรฐาน


นาฏยศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับรำวงมาตรฐาน

นาฏยศัพท์ที่ใช้ในรำวงมาตรฐาน
 นาฏยศัพท์  หมายถึง  ศัพท์ที่ใช้ในการแสดงท่าทางทางนาฏศิลป์ไทย  ซึ่งศัพท์เหล่านี้เป็นศัพท์เฉพาะในทานาฏศิลป์ไทยเท่านั้น  ผู้ที่ศึกษาและมีความรู้ด้านนี้จะเข้าใจความหมายได้ดีกว่าศัพท์ใดๆคำใดควรจะต้องแสดงท่าทางอย่างไรจึงจะถูกต้อง  ยังมีนาฏยศัพท์อีกมากมายที่มิได้กล่าวไว้ ณ. ที่นี้ศัพท์ที่จะอธิบายต่อไปนี้เป็นศัพท์ที่ใช้ในการรำวงมาตรฐานเท่านั้น
 1.  วง  หมายถึง  กิริยามือที่ประกอบด้วยนิ้วทั้ง 4 นิ้ว  นิ้วหัวแม่มือหลบเข้าหาฝ่ามือเล็กน้อย
  -  นิ้วและฝ่ามือ  เรียงนิ้วให้ติดกันทั้ง 4 นิ้ว  นิ้วหัวแม่มือหลบเข้าหาฝ่ามือเล็กน้อย
  -  ข้อมือ  ตั้งมือขึ้นให้ปลายนิ้วชี้ขึ้นข้างบน  หักข้อมืออกไปหาลำแขนด้านนอก
  -  ช่วงแขน  ตั้งแต่ไหล่จรดข้อมือ  โค้งให้ได้สัดส่วน  ไม่งอมากจนเห็นข้อศอกแหลมและ
                 ไม่ยืดมากจนเกือบตึง  ควรโค้งให้อยู่ในลักษณะครึ่งวงกลมกว้างๆงแบ่งออกเป็น
1.1 วงบน  คือ วงที่ตั้งสูงเป็นกิริยาของการยกลำแขนให้สูง  ทอดลำแขนให้โค้งจาก
            ระดับไหล่ไปข้างๆให้ลำแขนส่วนบนลาดจากไหล่เล็กน้อย
 1.1.1  วงบนพระ  ตั้งระยะให้ปลายนิ้วอยู่ระดับแง่ศีรษะ  และยึดลำแขนออกไป ข้างๆให้แลดูผึ่งผาย
1.1.2 วงบนนาง  ตั้งระยะให้ปลายนิ้วอยู่ระดับหางคิ้ว และวงแขนค่อนมาข้างหน้าเล็กน้อย
  1.2   วงกลาง  คือ  ส่วนโค้งของลำแขนที่อยู่ระหว่างวงบนและวงล่าง  ลำแขนส่วนบน ลาดกว่าวงบน  ให้ศอกอยู่ตรงระดับสะเอวให้ปลายนิ้วสูงเพียงระดับไหล่
  1.3  วงล่าง  คือ  ส่วนโค้งของลำแขนที่ทอดโค้งลงมาเบื้องล่าง  ปลายนิ้วมืออยู่ระดับ หน้าท้อง (หัวเข็มขัด)
  1.4  วงหน้า  คือ  ส่วนโค้งของลำแขนที่ทอดโค้งอยู่ข้างหน้า  วงหน้านี้อาจสูงหรือต่ำ กว่ากันบ้างเป็นบางท่า  สุดแต่ลีลาท่ารำนั้นๆ (ส่วนใหญ่ปลายนิ้วจะอยู่ ตรงระดับปาก)
  1.5  วงบัวบาน  คือ  ส่วนโค้งของลำแขนทั้ง 2 ข้างนั้นจะงอตั้งฉาก  แขนทั้งสองยกขึระดับไหล่มือแบหงายปลายนิ้วหันออกด้านข้าง
 2.  จีบ  หมายถึง  กิริยามือที่ประกอบด้วยนิ้ว  ฝ่ามือและข้อมือ
  -  นิ้วและฝ่ามือ  ให้งอนิ้วหัวแม่มือจรดข้อสุดท้ายของปลายนิ้วชี้ที่เหยียดตึง  นิ้วที่เหลือคือ
     นิ้วกลาง  นิ้วนาง  นิ้วก้อยเหยียดตึง  กางให้ห่างจากกัน  กรีดออกคล้ายคลี่พัด  นิ้วชี้กับ
     นิ้วหัวแม่มือ (นิ้วโป้ง)ที่ติดกันเรียกว่าตัวจีบ
- ข้อมือ  การจีบนั้นข้อมือต้องหักเข้าหาลพแขนด้านใน  คือด้านที่งอพับได้ (ยกเว้นจีบหลัง)
- ช่วงแขน  ตั้งแต่ไหล่จรดข้อมือคล้อยตามจีบ  ถ้าจีบหงายช่วงแขนจะต้องหงาย  จะงอแขนหรือตึงแขนก็ได้สุดแท้แต่ท่ารำ  ถ้าจีบคว่ำ  ช่วงแขนตอนล่างก็ต้องคว่ำด้วย
จีบ  แบ่งออกเป็น
2.1 จีบหงาย  คือการจีบหงายข้อมือให้ปลายตัวจีบและปลายนิ้วชี้ขึ้นข้างบน
2.2 จีบคว่ำ    คือการจีบคว่ำข้อมือให้ปลายตัวจีบและปลายนิ้วชี้ลงข้างล่าง
2.3 จีบหลัง   คือการจีบส่งลำแขนไปข้างหลังพลิกข้อมือให้ปลายนิ้วชี้ขึ้นข้างบน
2.4 จีบปรกหน้า  คือการจีบที่คล้ายกับจีบหงาย  แต่หันจีบเข้าหาลำตัวด้านหน้า  ทั้งแขนและมือชูอยู่ข้างหน้า  ตั้งลำแขนขึ้นทำมุมที่ข้อพับตรงศอก  หันจีบเข้าหาหน้าผาก
2.5 จีบปรกข้าง  คือการจีบที่คล้ายจีบปรกหน้า  แต่หันจีบเข้าหาแง่ศีรษะ  ลำแขนอยู่ข้างๆลักษณะลำแขนเช่นเดียวกับตั้งวง
2.6 จีบล่อแก้ว  คือการจีบใช้ปลายนิ้วหัวแม่มือทับปลายนิ้วกลางจะมีลักษณะคล้ายวงกลม  เหยียดนิ้วที่เหลืออก
3.   เดินมือ  หมายถึง  กิริยามือที่เคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
4.   เดินย่ำเท้า  หมายถึง  การก้าวสั้นๆย่อเข่าเล็กน้อย  สลับซ้าย-ขวาไปตามทำนองเพลงให้ดูนุ่มนวลอ่อนช้อย
5.   สะดุ้งเข่า หมายถึงกิริยาที่ยึดตามจังหวะ  โดยงอเข่าลงก่อนแล้วยืดขึ้นตามจังหวะอย่างรวดเร็ว  แต่ดูนุ่มนวล
6.   สอดจีบ  หมายถึงกิริยามือจีบคว่ำระดับไม่สูงเกินวงกลาง  แล้วหันจีบเข้าหาตัว  พร้อมกับยกมือขึ้นจนได้ระยะที่ต้องการแล้วจึงปล่อยจีบเป็นมือแบหงาย  ปลายนิ้วหันออกด้านหน้าหรือด้านข้าง
7.   ปล่อยจีบ  หมายถึง  กิริยามือที่เปลี่ยนไปจากการจีบอยู่โดยให้นิ้วชี้แยกจากนิ้วหัวแม่มือ (นิ้วโป้ง) ไปรวมอยู่กับนิ้วกลาง  นิ้วนาง  นิ้วก้อย  โดยเรียงให้ชิดกันทั้ง 4 นิ้ว นิ้วหัวแม่มือหลบเข้าหาฝ่ามือเล็กน้อย
8.   เดินเบี่ยงตัว  หมายถึง  ผู้รำจะเดินแบบตะแคงตัวเดินไปตามวงรำ  โดยมีทั้งหันหน้าเข้าในวงรำและหันหน้าออกนอกวงรำ
9.   ส่ายแขนสองข้าง  หมายถึง  กิริยาแขนและมือที่กางออกด้านข้าง  ตึงแขนทั้งสอง  มือและแขนหนึ่งตั้งขึ้นระดับไหล่  มืออีกข้างแบหงาย  ปลายนิ้วตกลง  แขนลาดลงเล็กน้อย  เมื่อต้องการเคลื่อนไหวแขน  กิริยาส่ายคือการปฏิบัติดังนี้
 แขนที่เป็นมือตั้ง  วาดแขนลงมาเล็กน้อย  แล้วพลิกเป็นท้องแขนหงาย  มือแบปลายนิ้วตก (แขตึงตลอด)
 แขนที่เป็นมือแบหงาย  ก็ยกแขนขึ้น  (ท้องแขนหงาย)ระดับไหล่แล้วพลิกข้อมือเป็นตั้งแขนตึงระดับไหล่  รำสลับกันไป
 10.  โบก  หมายถึง  กิริยามือจากจีบหงายที่ชายพก  แล้วยกจีบขึ้นไปในลักษณะตะแคงจีบ
        เล็กน้อย  เมื่อถึงระยะที่ต้องการก็ปล่อยจีบเป็นวงบน
 11.  ปาดมือ – ปาดจีบ  หมายถึง  กิริยาที่จะเคลื่อนไหวจากรูปหนึ่งไปยังอีกรูปหนึ่งโดย
   11.1  ถ้ากิริยาแรกเป็นตั้งมือลักษณะวงบน  แล้วจะเปลี่ยนเป็นจีบหงายระดับชายพกก็ให้ลดวงลงมา  แล้วพลิกข้อมือเป็นจีบหงายที่ชายพก
   11.2  ถ้ากิริยาเป็นจีบหลัง  แล้วจะเปลี่ยนเป็นวงล่างระดับชายพก  ก็ให้เลื่อนจีบจากจีบ 
หลังมาปล่อยเป็นมือตั้งวงล่างที่ชายพก
12. ก้าวเท้า  หมายถึงกิริยาที่ย่ำเท้าเคลื่อนที่
13. วางหลัง  หมายถึง  กิริยาที่ใช้จมูกเท้า (เนื้อที่อยู่โคนนิ้ว  วางโดยไม่มีน้ำหนัก)วางค่อนไปข้างหลัง
14. หนักหลัง  หมายถึง  กิริยาที่สืบเนื่องมาจากการวางหลังโดยไม่มีน้ำหนักมาเป็นเต็มเท้า
15. ยกเท้า  หมายถึง  กิริยาที่ยกเท้าข้างใดข้างหนึ่งสูงขึ้นเล็กน้อย  เตรียมที่จะก้าวในจังหวะต่อไป
16. ม้วนมือหรือม้วนจีบ  หมายถึงการเคลื่อนไหวจากกิริยาหนึ่งไปอีกกิริยาหนึ่ง  เช่น  มือหนึ่งอยู่ในท่าจีบหงายแล้วจะเปลี่ยนไปเป็นตั้งวง  ก็ให้พลิกข้อมือจากจีบหงายหมุนตัวจีบเข้าหาตัวให้มากที่สุด  ตัวจีบจะหมุนไปอยู่ในลักษณะจีบคว่ำ  แล้วหักข้อมือตั้งขึ้นเป็นวง  และเมื่อมือเป็นวงแล้วจะเปลี่ยนกลับเป็นมือจีบหงายอย่างเดิม  ก็ให้พลิกมือที่ตั้งวงอยู่ไปด้านข้าง (ด้านนิ้วก้อย) เป็นมือแบหงายปลายนิ้วตกเสียก่อน  แล้วจึงหักข้อยกฝ่ามือขึ้นเป็นจีบหงาย
17. ก้าวไขว้  หมายถึง  การก้าวเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหน้า  ลักษณะคล้ายก้าวข้ามเท้าที่ยืนอยู่  ปลายเท้าแยกออก
18. จรดจมูกเท้า หมายถึง  กิริยาที่ใช้จมูกเท้า (เนื้อที่ติดโคนนิ้วเท้า) วางกับพื้นอย่างไม่มีน้ำหนัก เผยอส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย
19. จรดส้นเท้า  หมายถึง  กิริยาที่ใช้ส้นเท้าวางกับพื้นอย่างไม่มีน้ำหนัก  เผยอฝ่าเท้าขึ้นงอเข่าเล็กน้อย
20. ก้าวเท้าเรียง  หมายถึงกิริยาการก้าวเท้าไปข้างๆไม่กว้างนัก  ห่างกันพอควรขณะก้าวเท้าให้เบนปลายเท้าออกเล็กน้อย
21. สลัดจีบ  หมายถึง  กิริยาที่เริ่มจากมือจีบหงาย  แล้วจะเปลี่ยนเป็นตั้งวงใช้กิริยาสลัดจีบ (บางครั้งเรียกสะบัดจีบ)  โดยปล่อยจีบลงไป  เป็นมือแบหงายปลายนิ้วตกอย่างรวดเร็ว  แล้วพลิกข้อมือขึ้นเป็นตั้งวง (วงใดๆก็ได้แล้วแต่ท่ารำนั้นๆ) เมื่อต้องการจะกลับไปจีบหงายอย่างเดิม  ก็คว่ำมือลงเป็นจีบคว่ำแล้วพลิกจีบคว่ำขึ้นเป็นจีบหงาย  ปฏิบัติอย่างนี้สลับกันไป
22. ยุบเข่าหรือย่อเข่า  หมายถึง  กิริยาเข่าที่ลงจังหวะด้วยการงอเข่าอย่างเร็ว  แต่ต้องงอเพียงเล็ก
น้อย
ภาษาท่านาฏศิลป์
  ภาษาท่า  หมายถึงกิริยาอาการที่ผู้กระทำนั้นใช้เป็นสื่อให้ผู้ดูทราบว่าตนกำลังทำอะไรอยู่  มีความหมายว่าอย่างไร  โดยที่ไม่ต้องเปล่งเสียง  เช่น  ถ้าเราต้องการให้ผู้ใดผู้หนึ่งมาหา  เราก็กวักมือโดยไม่ต้องใช้เสียงเรียก  ผู้ที่เราต้องการให้มาหาก็จะทราบว่าเราต้องการอะไร  หรือถ้าใครให้สิ่งของเราแล้วเราก็พยักหน้า  ก็แสดงว่าเรารับ  ถ้าสั่นศีรษะก็แปลว่าไม่รับ  เหล่านี้เป็นต้น  ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น  เป็นภาท่าที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน  แต่ภาษาท่าที่ใช้กันในเรื่องศิลปวัฒนธรรม  เพื่อให้เกิดความงดงาม  ความสนุกสนานเพลิดเพลิน  ทั้งยังบ่งบอกให้ทราบถึงอารมณ์  กิริยาอาการที่แสดงออก  ก็คือ  ภาท่านาฏศิลป์
  ภาษาท่าทางนาฏศิลป์  หรือท่าเต้นรำในศิลปะการแสดงโขน  ละคร  ฟ้อนรำ  เท่ากับเป็นภาษาพูดโยไม่ต้องเปล่งเสียงออกมา  แต่อาศัยอวัยวะต่างๆของร่างกายเพื่อแสดงออกมาเป็นท่าทางซึ่งถ้าจะให้เข้าใจสนุกสนานเพลิดเพลิน  และชื่นชมในศิลปะแขนงนี้ได้  ก็ควรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องท่าทางต่างๆที่ตัวแสดงนั้นแสดงออกมาเป็นสื่อ  เช่น  รับ  ปฏิเสธ  ดีใจ  โกรธ  เสียใจ  เป็นต้น 
  ภาษาท่าในศิลปะแขนงนี้  นอกจากจะเป็นสื่อให้ทราบถึงความหมายแล้ว  ยังได้ดัดแปลงท่าทางให้วิจิตรพิสดารกว่าธรรมดา  โดยให้สอดคล้องกับการขับร้องและดนตรี  มุ่งความงดงามความเป็นสง่า  ความนุ่มนวล  ความเข้มแข็ง ฯลฯ  โดยอาศัย  ศีรษะ  มือ  ใบหน้า  แขน  ขา  เท้า ลำตัว  ซึ่งมักจะนำไปใช้ในการรำตามบทร้อง  บทเจรจา  หรือบทพากย์โขนซึ่งในทางนาฏศิลป์เรียกว่าการรำบท
  การรำบท  คือการแสดงท่าทางการรำไปตามบทขับร้องหรือถ้อยคำ  ซึ่งนอกจากแสดงท่าทางแล้ว  บางครั้งก็อาจใช้สีหน้าเข้าช่วย  เพื่อให้ทราบถึงอารมณืนั้นๆด้วย
  ตัวอย่างบทที่ใช้ภาษาท่าทางนาฏศิลป์
1. ตัวเรา  -  ใช้มือซ้ายจีบที่หว่างอก
2. ดีใจ  -  ใช้มือซ้ายจีบคว่ำแล้ววาดมือมาใกล้ปาก
3. หอม,ดม -   ใช้มือซ้ายจีบคว่ำแล้ววาดมือมาใกล้จมูก
4. ไป  -  มือใดมือหนึ่งจีบหงายแล้วม้วนข้อมือลงให้เป็นจีบ     
                                                   คว่ำคลายจีบออกไปตั้งวง
5. มา,เรียก -  ปาดมือ  กรีดนิ้วจีบเข้ามาหาตัวระดับข้างหน้า 
6. อยู่  -  สองมือซ้อนกันอยู่ระดับอก
7. โกรธ  -  มือใดมือหนึ่งสีไปมาที่ก้านคอตอนใต้หู
8. รัก  -  ประสานมือทาบฐานไหล่
9. ปฏิเสธ -  ตั้งวงสั่นปลายนิ้ว
10. เสียใจ,ร้องไห้ -  ฝ่ามือซ้ายแตะหน้าผาก  ถ้าสะท้อนลำตัวไปมาก็แสดง ว่าสะอื้น
11. ทุกข์  -  ประสานลำแขนส่วนล่างแตะฝ่ามือระดับชายพก
12. เชิญ  -  หงายฝ่ามือตั้งระดับอก
13. ช่วย  -  หงายฝ่ามือแล้วช้อนขึ้น
14. ตาย  -  คว่ำมือทั้งสองแล้วพลิกข้อมือหงายฝ่ามือ
15. ดุร้าย  -  คว่ำมือกำนิ้วทั้งสี่หลวมๆเหลือนิ้วชี้ไว้แล้วใช้นิ้วชี้  
       ฟาดลงข้างล่าง
16. เป็นใหญ่,มีเกียรติ -  แบมือหงายตั้งสูงระดับศีรษะทั้ง 2 มือ
17. สว่างไสว -  จีบคว่ำแล้วยกขึ้นไปคลายจีบเป็นมือแบหงาย
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า  ท่าทางทางนาฏศิลป์นั้นดัดแปลงมาจากท่าทางตามธรรมชาติ  แต่ประดิดประดอยให้งดงามยิ่งขึ้น  เมื่อมีความรู้ความเข้าใจในภาษาท่านาฏศิลป์ก็จะทำให้ชมศิลปะแขนงนี้ได้มีความสุขสนุกสนานยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 118911เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2007 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

ก็ดีนะคะ

แต่อยากได้พวกศัพท์ที่ใช้เยนซอเพื่อที่จะเอาไปสอบค่ะ

ดีนะครับพอดีมาลงตามแฟนเมื่อกี้อ่ะนะครับ
ดีนะค่ะ   บาย

มาใช้ข้อมูล...ขอบคุณๆๆๆจ้า....

ดีมากค่ะขอบคุณมากได้ข้อมูลครบเลย

  • อาจารย์ขอมาทบทวนท่าหน่อย
  • แหมถ้ามีรูปด้วยละก็ยอดเยี่ยมเลย
  • ขอบคุณครับ
  • ตามมาอ่านความรู้ดี ๆ ครับ
  • ถ้ามีรูปประกอบจะดีมากเลยครับ

ตามมาศึกษาข้อมูลค่ะ ใส่รูปซิคะ

น่าจะมีรูปมาให้ด้วย

น่าจามีรูปอ่ะ จาทามรายงาน

ชอบผลงานนี้มากฮ่ะ จากเด็ก หลิว โย จุ้ย มิว

ขอบคุณมากๆ คับบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ.....................♥♥♥

ผมชอบมากครับจาก หลิว โย มิกซ์ จุย มิว นนท์ ขวัญ และเด็กอนุบาลราชบุรี

ได้ความรุ้เพิ่มขึ้นเยอะเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

^^__--ดั้ยฟามรู้มั๊กมายยยยยยยยยยยยยยยยยยเรยอ๊ะ

พอDต้องท้ามกานบ้านนนนนนนนอ๊ะเค๊อะ

คอบคุนเค๊อะ

แท่ถ้าจาDฟ่าNeeeต้องมีรูปโด้ยยยน๊า

*_----***}]][[

สวัสดีค่ะหนูอยู่ป.5คุณครูเขียนเนื้อหาดีมากเลยนะคะ แต่ถ้ามีรูปประกอบคงดีกว่านี้นะคะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ใหม่ก็ดีคะ

เอาไปทำงาน คอบคุณคับ (ป.6)

เนื้อหาดีมั๊กมั๊กค่ะ ขอบคุณเด้อค่า

ถ้ามีรูปหน่อยก๊จะดีมากน้าค้าจากโรซานันความคิดเห็นเมื่อกี้อ่ะค่ะ

ให้คำแนะนำได้ดีมากค่ะเ

ควรมีภาพประกอบด้วยนะยะ

 

ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้ที่ดีๆๆๆๆ แต่ถ้ามีรูปภาพประกอบด้วยจะดีมากเลยค่ะ

เนื้อหาชัดเจนครอบคลุมดีมากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท