wutnara
นาย วุฒิ ศรีสุวรรณวิเชียร

การบริหารงบประมาณ


บริหารงบประมาณ
การบริหารงบประมาณ

                การบริหารงบประมาณ  ในปัจุบันนี้ได้เปลี่ยบระบบการบริหารงบประมาณจากเดิมใช้ระงบการบริหารงบประมาณแบบ     มาเป็นระงบงบประมาณแบบมุ้งเน้นผลงาน (PBB : Performance – based   Budgeting) เป็นระบบงบประมาณที่แสดงแสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้กับผลงานที่เกิดขึ้นมาว่ามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร คุ้ค่ามากน้อยเพียงใด และยังเป็นระบบการทำงานที่ผสมผสานระหว่างการวางแผนงบประมาณกับการตรวจสอบติดตามความสำเร็จของผลงาน    ซึ่งผลงานสามารถแบ่งออกเป็น2 ลักษณะคือ

                1. ผลผลิต (Outputs)   หมายถึง  ผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากกิจกรรมที่ดำเนินการหรือจัดกิจกรรม และยังรวมถึงสิ่งของและการให้บริการ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการจัดกิจกรรมเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรง เช่น โรงเรียนมีหร้าที่หลักในการจัดการศึกษาให้กับประชากรในวัยเรียน  ผลผลิตของโรงเรียน  คือ นักเรียนที่จบการศึกษาจาโรงเรียน

                2. ผลลัพธ์ (Outcomes)  หมายถึง  ผลที่เกิดจากการนำผลผลิตไปใช้ให้เกิดประโยชน์จนเกิดผลตามเป้าหมายหรือนโยบายที่กำหนดไว้ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับนโยบายและจุดหมายของหน่วยงานที่กำหนดไว้  เช่น  นักเรียนที่จบการศึกษา  เป็นผลผลิตของโรงเรียน   ผลลัพธ์ คือ คุณภาพของนักเรียน  นักเรียนสามารถสอบเข้าเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น  การมีงานทำหลังจากการจบการศึกษา 

                การจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ให้มีประสิทธิภาพหน่วยงานจะต้อง จัดทำ มาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ด้าน คือ

                1. การวางแผนงบประมาณ (Budgeting Planning) เป็นการวางแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ภายในองค์กร  การจัดวางทิศทางขององค์กร  การกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดพันธกิจ  การกำหนดเป้าประสงค์  การกำหนดเป้าหมายผลผลิต  การกำหนดกลยุทธ์ การกำหนดโครงสร้างแผนงานโครงการ  การกำหนดดัชนีชี้วัดความสำเร็จ                2. การกำหนดผลผลิตและการคำนวนต้นทุน (Output Specification and Costing) เป็นการคิดตำนวนต้นทุนในแต่ละผลผลิตที่กำหนดไว้ว่าใช้ต้นทุนต่อหน่วยของผลผลิตเท่าไร มีการคิดต้นทุนในทั้งทางตรงและทางอ้อม                3. การจัดระบบจัดซึ้อจัดจ้าง (Pricurement Management) เป็นการพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้มีประสิทธิภาพ การจัดซื้อเน้นความคุ้มค่าในการช้จ่ายงบประมาณ เน้น ความถูกต้องและ ความโปร่งใสในการจัดซึ้อจัดจ้าง

                4. การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ (Financial Management/ Fund Control) การกำหนดโครงสร้างทางบัญชี  การปรับระบบบัญชีเป็นแบบพึงรับพึงจ่าย มีการรายงานงบดุล  การจัดทำระบบการเบิกจ่ายงบประมาณด้วยระบบ GFMIS

                5. การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน (Financial and Performance Reporting) การรายงานผลการดำเนินงานจะต้องมีการกำหนดดัชนีตัวชี้วัด  กรอบโครงสร้างการประเมิน  แลรายงานผลที่ชัดเจน  และมีทั้งการรายงานทั้งการเงินและผลการดำเนินงาน                6. การบริหารสินทรัพย์ (Asset  Management) ต้องมีระบบการบริหารสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถแสดงให้เห็นถึงการบริหารสินทรัพย์                7. การตรวจสอบภายใน (Internal  Audit) จะต้องมีหน่วนงานที่เป็นอิสระ  กำหนดหน้าที่ที่รับผิดชอบชัดเจน  ตรวจสอบโดยเน้นการตรวจสอบทางการเงิน  และการตรวจสอบการดำเนินงาน
หมายเลขบันทึก: 118875เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2007 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท