ปัญหาระหว่างช้างกับคน


ชาวบ้านต้องยอมรับว่ามันเป็นโรคเรื้อรังนะไม่มีหมอที่ไหนจะสามารถรักษาให้มันหายขาดได้ เพียงแต่ต้องรักษาตามอาการของโรค และเจ้าของไข้ก็ต้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการที่จะต้องดูแลตัวเอง และคิดที่จะช่วยเหลือตัวเอง ไม่ใช่มองแต่จะให้คนอื่นช่วย เพราะมันเป็นไปไม่ได้

เมื่อวานนี้ได้กลับไปหาเพื่อนๆ แก้งค์เดิม เลยมีโอกาสไปนั่งกินข้าวด้วยกัน อาจารย์ก็มาร่วมวงด้วย ดีใจที่ได้มาเจอกัน หลังจากที่ต่างก็แยกย้ายไป ไม่ค่อยได้เจอกัน ก็คุยกันถึงเรื่องปัญหาของช้างที่ทองผาภูมิ ที่พบว่าปัจจุบันช้างที่นั่นเริ่มออกมากินพืชไร่ของชาวบ้าน ชาวบ้านก็พากันไปแจ้งWCS ให้เข้ามาช่วย ปัญหานี้ก็คงคล้ายกับที่กุยบุรี ที่ชาวบ้านเดือดร้อน แล้วก็แจ้งให้เจ้าหน้าฝ่ายต่างๆเข้ามาช่วยแก้ ก็มีทหารเข้ามาก็ไม่สำเร็จ กรมอุทยานก็ไม่จะแจ้ง แต่ทุกที่ก็ไม่ได้สรุปบทเรียนนะ ความจริงน่าจะมีการสรุปบทเรียน ไม่ต้องกล้วว่าภาพลักษณ์ไม่ดี เพราะปัญหาที่แก้ไขแล้วไม่ประสบความสำเร็จไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นประโยชน์ มันน่าจะเป็ฯบทเรียนที่ดีสำหรับคนที่จะเข้าไปใหม่ แต่ในที่สุดอาจารย์ก็บอกว่าปัญหาเล่านี้ก็อาจจะต้องมีการยอมรับว่า เหมือที่ชาวบ้านกุยบุรียอมรับได้ และหาทางที่จะอยู่ร่วมกับมันอย่างดีที่สุด ถ้าเปรียบเหมือนโรค ก็คงเป็นประเภทเรื้อรังนะ หาหมอกี่ทีก็ไม่หาย คือชาวบ้านต้องยอมรับว่ามันเป็นโรคเรื้อรังนะไม่มีหมอที่ไหนจะสามารถรักษาให้มันหายขาดได้ เพียงแต่ต้องรักษาตามอาการของโรค และเจ้าของไข้ก็ต้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการที่จะต้องดูแลตัวเอง และคิดที่จะช่วยเหลือตัวเอง ไม่ใช่มองแต่จะให้คนอื่นช่วย เพราะมันเป็นไปไม่ได้ คนที่เป็นมะเร็งถ้าอยากมีชีวิตต่อก็ต้องหาทางสู้ และวิธีที่ดีที่สุดก็คือจะทำอย่างไรให้สามารถอยู่กับมันได้อย่างสันติสุข เหมือนกับการที่คนเราจะเลี้ยงหมาก็ต้องยอมรับว่ามันต้องมี cost แน่นอน รวมถึงปัญหาที่จะตามมา เก็บขี้ เช็ดเหยี่ยว หรือถ้ามันไปกัดใครก็ต้องดูแล แต่หมาก็มีข้อดีให้ ช้างก็เหมือนกัน cost ต้องมีแน่ ถ้าจะแก้ให้ขาดมันก็คงต้องเอาอะไรซักอย่างออกจากพื้นที่ ไม่คนก็ช้าง ถ้ามันเป็นไปไม่ได้ก็น่าจะเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน ถ้าชาวบ้านคิดได้แบบนี้ก็ดี ดังนั้นที่ทองผาภูมิ ถ้าดูตามประวัติศาสตร์ของเรื่องพวกนี้มันก็จะย้อนรอย และคิกว่าในที่สุดก็จะต้องเป็นรูปแบบเดียวกัน

แต่ที่ถามจากคนที่ลงพื้นที่ก็พบว่า ช่วงนี้ช้างลงมากินมันสัมปะหลัง (ช่วงนี้นะ เดือนมกราคม) ส่วนช่วงอื่นๆก็ออกมากินข้าวบ้าง งาบ้าง ถั่วเหลือง ถั่วเขียวบ้าง ชาวบ้านก็กลุ้มใจเพราะต้องกู้หนี้เค้ามาทำไร่แล้วโดนทำลาย แต่ก่อน 10 ปีที่แล้วมีแค่ 3-4 ตัว และไล่ก็ไป แตปัจจุบันมีประมาณ 30-40 ตัว และไล่ก็ไม่กลัว คิดว่าช้างเริ่มที่จะเรียนรู้แล้วหละ เพราะฉะนั้นงานนี้ก็น่าสนใจติดตามดู

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 11884เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2006 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท