วิธีการปลูกผักสวนครัว


ผักสวนครัว

วิธีการปลูกผักสวนครัว

1. การปลูกผักในแปลงปลูก มีขั้นตอน คือ

1.1 การพรวนดิน ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 6 นิ้ว เพื่อพรวนดินให้มีโครงสร้างดีขึ้น กำจัดวัชพืชในดินกำจัดไข่แมลงหรือโรคพืชที่อยู่ในดิน โดยการพรวนดินตากทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน

1.2 การยกแปลง ใช้จอบพรวนยกแปลงสูงประมาณ 4-5 นิ้ว จากผิวดิน โดยมีความกว้างประมาณ 1-1.20 เมตร ส่วนความยาวควรเป็นตามลักษณะของพื้นที่หรืออาจแบ่งเป็นแปลงย่อยๆ ตามความเหมาะสม ความยาวของแปลงนั้นควรอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ทั้งนี้เพื่อให้ผักได้รับแสงแดดทั่วทั้งแปลง

1.3 การปรับปรุงเนื้อดิน เนื้อดินที่ปลูกผักควรเป็นดินร่วนแต่สภาพดินเดิมนั้นอาจจะเป็นดินทรายหรือดินเหนียว จำเป็นต้องปรับปรุงให้เนื้อดินดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน

1.4 การกำหนดหลุมปลูก จะกำหนดภายหลังจากเลือกชนิดผักต่าง ๆ แล้วเพราะว่าผักแต่ละชนิดจะใช้ระยะปลูกที่แตกต่างกัน เช่น พริก ควรใช้ระยะ 75 x 100 เซนติเมตร ผักบุ้งจะเป็น 5 x 5 เซนติเมตร เป็นต้น

2. การปลูกผักในภาชนะ

การปลูกผักในภาชนะควรจะพิจารณาถึงการหยั่งรากของพืชผักชนิดนั้นๆ พืชผักที่หยั่งรากตื้นสามารถปลูกได้ดีในภาชนะปลูกชนิดต่างๆ และภาชนะชนิดห้อยแขวนที่มีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร คือ

ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)

วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับภาชนะแขวนอาจใช้ กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้

วิธีการปลูกผักในภาชนะแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี

2.1 เพาะเมล็ดด้วยการหว่านแล้วถอนแยกหรือหยอดเป็นแถวแล้วถอนแยก ซึ่งพืชที่ควรปลูกด้วยวิธีนี้ ได้แก่

- ผักบุ้งจีน

- คะน้าจีน

- ผักกาดขาวกวางตุ้ง

- ผักกาดเขียวกวางตุ้ง

- ผักฮ่องเต้ (กวางตุ้งไต้หวัน)

- ตั้งโอ๋

- ปวยเล้ง

-ผักกาดหอม

- ผักโขมจีน

- ผักชี

- ขึ้นฉ่าย

- โหระพา

- กระเทียมใบ

- กุยฉ่าย

- หัวผักกาดแดง

- กะเพรา

- แมงลัก

- ผักชีฝรั่ง

- หอมหัวใหญ่

   

 

2.2 ปักชำด้วยต้น และด้วยหัว ได้แก่

- หอมแบ่ง (หัว)

- ผักชีฝรั่ง

- กระเทียมหัว (ใช้หัวปลูก)

- หอมแดง (หัว)

- บัวบก (ไหล)

- ตะไคร้ (ต้น)

- สะระแหน่ (ยอด)

- ชะพลู (ต้น)

- โหระพา (กิ่งอ่อน)

- กุยช่าย (หัว)

- กะเพรา (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน)

- แมงลัก (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน)

คำสำคัญ (Tags): #ผักสวนครัว
หมายเลขบันทึก: 118818เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2007 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • มาร่วมเรียนรู้ 
  • ชาวแวงน้อยมีเหตุผลในการปลูกผักอย่างไร เช่น   ผักที่ใช้กินกับอาหารประเภทปลา  ผักที่ใช้กินกับอาหารประเภทเนื้อวัว  ฯลฯ 
  • ลองคิดประเด็นแบบนี้  อาจจะทำให้รู้ว่า ชาวแวงน้อย ส่วนใหญ่ปลูกผักชนิดใด   อาหารหลักของชาวแวงน้อยคืออะไร 

อยากรู้วิธีการปลูกโหระพา

ดีงับ*-*

ถึงจะงงงงแต่ก็ดีค่ะ

ผมชอบเรียนรู้เกี่ยวกับผักสวนครัว เพราะตอนโตผมจะได้มีความรู้เอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท