"บูรณฆฎะ" อัตลักษณ์คนล้านนา ในงานสัมมนาการจัดการความรู้ ฯ ที่เชียงใหม่


เราเชื่อว่าทุกท่านคือ “ดอกไม้” ที่สวยงามและมีคุณค่าในตัวเอง ดอกไม้ทุกดอกส่งกลิ่นหอมหวน และเมื่อนำมารวมกันใน หม้อไหดอก บูรณฆฎะ แล้วกลิ่นหอมและความหลากหลายที่มารวมกันนั้น ยิ่งใหญ่ประมาณไม่ได้

สิ่งหนึ่งที่พิเศษ และเป็นองค์ประกอบสำคัญในงานสัมมนาการจัดการความรู้ฯครั้งนี้ที่เชียงใหม่ ทราบกันดีแล้วว่าเราใช้ศิลปะ วัฒนธรรมชาวเหนือล้านนาเป็นสิ่งสร้างบรรยากาศ และหวังว่าได้เกิดการเรียนรู้ตัวตน ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของชาวล้านนาได้อีกทางหนึ่ง

  

งานนี้เราใช้นักแสดงในชุด อลังการล้านนา และชุดอื่นๆร่วม ๑๐๐+ ชีวิต  การแสดงวิถีคนล้านนาดั้งเดิมนั้นเราพบเห็นได้ยากในปัจจุบัน แต่ในงานสัมมนาการจัดการความรู้ฯ ในครั้งนี้เราได้นำมานำเสนอให้ทุกท่านได้สัมผัสและเรียนรู้

  

สัญลักษณ์หนึ่งที่ผมคาดว่าหลายท่านต้องตั้งคำถามกับผม...และสิ่งนี้เป็นเราใช้เป็นเอกลักษณ์หนึ่งของคนล้านนา ในพิธีเปิดก็จะเกี่ยวข้องกับสิ่งนี้พอสมควร ให้จับตาดูไฮไลท์พิธีเปิดให้ดีนะครับ

 

"บูรณฆฎะ"

สิ่งที่ผมกล่าวถึงก็คือ บูรณฆฎะนั่นเอง  หลายท่านก็อาจจะงงงวยว่าคืออะไรกัน บูรณฆฎะ  เป็นหม้อไหดอกที่มีสวดลายวิจิตร สำหรับปู่จา (บูชา) พระ เราสามารถพบเห็น บูรณฆฎะ ได้ตามผนังวัดบางแห่ง ซึ่งปรากฎตามคอสองของวิหารวัดปงยางคก และวิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นต้น ซึ่งเป็นลวดลายรูปแจกันดอกไม้อีกด้วยถือว่าเป็น ความมั่งคั่ง สมบูรณ์แต่ยุคสมัยศิลปะทวารดี  

 

หากเป็นชาวบ้านเราจะเรียกกว่า หม้อไหดอก ใช้สำหรับใส่ดอกไม้สดโดยเฉพาะยอดของหมากผู้หมากเมีย หรือดอกไม้แห้งไว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พบว่ามักมีหม้อไหดอกจำนวนสามใบใส่น้ำ และมียอดหมากผู้หมากเมียดังกล่าววางไว้บนหิ้งพระ และพบตามหอผีหรือศาลเทพารักษ์ต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน แต่มักใช้จำนวนคู่ มิได้ใช้สามใบอย่างการบูชาพระ

 

หม้อไหดอกเป็นภาชนะดินเผาทรงกระบอกที่มีปากผายออก มีการทำเป็นริ้วบริเวณปากภาชนะ มักมีเอวคอดเข้าตัวผายออกเล็กน้อยมีก้นแบน ชื่อที่ชาวบ้านใช้เรียกขานอาจเป็นหม้อน้ำดอก หรือหม้อดอก ก็มี ขนาดที่พบเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓ นิ้ว สูง ๗ นิ้ว ขึ้นรูปด้วยการใช้แป้นหมุน มีการตกแต่งด้วยการเขียนสีเป็นลวดลายดอกไม้ ใบไม้

 เราใช้ บูรณฆฎะเป็นสิ่งแทนความรัก ความสมานสามัคคี และบรรยากาศแห่งมิตรภาพที่จะเกิดขึ้นในงานสัมมนาการจัดการความรู้ฯครั้งนี้   

เราเชื่อว่าทุกท่านคือ ดอกไม้ ที่สวยงามและมีคุณค่าในตัวเอง ดอกไม้ทุกดอกส่งกลิ่นหอมหวน และเมื่อนำมารวมกันใน หม้อไหดอก บูรณฆฎะ  แล้วกลิ่นหอมและความหลากหลายที่มารวมกันนั้น ยิ่งใหญ่ประมาณไม่ได้


ขอบคุณ ท่าน rainalonethassana wong   
ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลบางส่วน

 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

๑๑ ส.ค.๕๐

นพบุรี ศรีนครพิงค์

 

 

หมายเลขบันทึก: 118815เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2007 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

ในช่วง ๑๓ ส.ค.๕๐ ช่วงเช้าที่มีพิธีเปิดงาน "สัมมนาการจัดการความรู้ฯ" อย่างเป็นทางการ

ขอให้ท่านจับตาให้ดีนะครับ สำหรับ "ไฮไลท์" ประมาณ ๑๕ นาที ช่วงนั้น เราได้ให้ความสำคัญในการเตรียมการเฉพาะช่วงนี้ แบบละเอียดและนาน

และจะได้ทราบว่า "บูรณฆฎะ" มีความเป็นมาอย่างไร

สวัสดีครับ
P
ระวังสุขภาพหน่อยเน้อ   เดี๋ยวตัวเองไม่ได้ร่วมงานหรอก   ต้องไปนอนเชียรใน รพ.หยอดน้ำเกลือ  ห้าๆๆๆ

สวัสดีครับพี่เหลียง

P

หลายท่านเป็นห่วงสุขภาพผมมากครับ ก็เต็มที่ครับ ไม่มีอะไรน่าห่วง เหมือนรถยนต์ที่ฟิตๆครับ สตาร์ทติดง่าย ก็ดูแลตัวเองอยู่ครับ

บ่ายนี้จะไปเป็นสารถีให้น้องชาวหาดใหญ่ครับ น้องมะปรางเปรี้ยว งานนี้พักผ่อนเพียวๆครับ

-ขอบคุณครับพี่เอกที่ได้เอาความรู้เกี่ยวกับหม้อดอกมาเผยแพร่ให้รับทราบกันครับ

อย่างที่พี่เอกได้บอกไปนะครับ หม้อนี้จะเป็นไฮไลท์ช่วงแรกของงาน แต่จะมีอะไร ขอเก็บงำไว้ก่อน (55)

ขอเสริมอีกนิดนะครับ ที่จริงแล้วหม้อดอกนี้อาจจะหมายรวมถึง ขัน(พาน) หรือ ขันสลุง(ใส่น้ำ) แล้วเอาดอกไม้มาใส่มาบูชาพระหรือบูชาเทพก็ได้ครับซึ่งในอินเดีย หม้อบูฯ นี้ก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของเศรษฐี คือมีน้ำไว้ให้ชาวบ้านกินดื่มเป็นทานนั่นเองครับบ้านของคนอินเดียจะทำจากหญ้าคาและมูลวัว (เป็นเชื้อไฟอย่างดี) หม้อน้ำก็ยังทำหน้าที่เป็น Fireman คือ เค้าจะนิยมวางไว้บนสันหลังคา เวลาไฟไหม้หลังคา หม้อก็จะคว่ำแวน้ำที่อยู่ในหม้อก็จะดับไฟให้โดยอัตโนมัติครับ เมื่อไม่มีเหตุการณ์ ชาวบ้านก็เอาพืชต่างๆ หรือ ดอกไม้ไปประดับไว้ในหม้อครับเมื่อคติความเชื่อที่มากับพระพุทธศาสนาจากชมพูทวีปเข้ามาสู่ดินแดน สุวรรณภูมิ หม้อดอกก็ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ในงานศิลปกรรม ที่แสดงให้เห็นความเจริญงอกงามของพระศาสนาอีกด้วยครับ

ในงานนี้คงจะไม่เป็นหม้อตรงๆซะทีเดียว

คงเอาฟอร์มและอารมณ์ของหม้อดอกมาใช้น่ะครับ

จะเป็นอะไรนั้นติดตามได้ในงานสัมมนาครั้งนี้ครับ

สวัสดีครับ

งานนี้ น้องบอย โชว์ฝีมือเต็มที่หลังจากทำงานใหญ่ๆมาแล้วในล้านนาหลายงาน เป็นที่ประจักษ์

สำหรับงานนี้ เราจะใช้ ฟอร์ม และอารมณ์ของดอกไม้ ในรูปแบบของ "บูรณฆฎะ"  น่าสนใจและน่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง

/////////////////////////////////////////////////

ขอแนะนำน้องของผมด้วยครับ

 

บอย หรือ ปริวิทย์ ไวทยาชีวะ นิสิตปริญญาโทจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

P

งานวิจัย :

  • รูปแบบสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมวัดจอมสวรรค์ จังหวัดแพร่
  • การศึกษารูปแบบของงานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม วิหารพื้นเมืองล้านนากลุ่มหางดง จังหวัดเชียงใหม่

ประสบการณ์ :

  • คณะผู้จัดพิธีศพแบบล้านนาประเพณี
  • งานพระราชทานเพลิงศพเจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่
  • งานพระราชทานเพลิงศพเจ้าคำป้อ ณ ลำปาง
  • งานพิธีส่งสการคุณยายบุญแถม เดียวตระกูล (คุณป้าของ อาจารย์วิถี พานิชพันธ์)

เยี่ยมชมและให้กำลังใจ ปริวิทย์  zamcmuได้ที่

  Contemporary Lanna Art

บ่ายนี้นายเอกขอตัวไปเอาใจสาวหาดใหญ่   
P
มะปรางเปรี้ยว 
ก่อนนะครับ แล้วจะนำรูปกิจกรรมมาฝาก ว่าวันนี้ได้ทำกิจกรรมดีๆอะไรบ้างที่เชียงใหม่

สวัสดีค่ะ

ให้คะแนน เต็ม100ค่ะ สำหรับการประชาสัมพันธ์ที่เยี่ยมยอด

พรุ่งนี้ วันแม่ อย่าลืมนะคะ ฝากการ์ดกราบคุณแม่คุณเอกด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะ.คุณ เอก

         

                             "บูรณฆฎะ"

  • ขออนุญาต เปิดโอกาสหัวใจตามหาสิ่งนี้ มาจากลาน "มิสเตอร์ช่วย" นะคะ
  • เห็นภาพนี้แล้วรู้สึกมีมนต์ขลังจนต้องมาตามหารายละเอียด งดงามด้วยภาพและความหมาย จริงๆ ค่ะ
  • แหววมีญาติอยู่เชียงใหม่ และลูกสาวเรียนอยู่ที่นั่น...คราใดที่มีโอกาสได้รับชม-ฟัง ศิลปะพื้นเมือง จะรู้สึกซาบซึ้ง ดื่มด่ำ กับความงดงาม อย่างบอกไม่ถูก
  • ยิ่งมาอ่านบันทึกนี้ยิ่งทำให้ใจมีกิเลส อยากไปเห็นบรรยากาศในงาน ที่คงมีความอลังการ พรั่งพร้อมละเมียดละไมด้วยศิลปะ วัฒนธรรม ความรัก มิตรภาพ  ที่เบ่งบาน แต่ไม่มีโอกาสได้ไป ก็ขอให้สมาชิกในงานทุกท่านมีความสุข และได้ดื่มด่ำความสุข กับทีมงานที่เท่าที่อ่านดูก็รู้ว่ามีความตั้งใจอย่างมหาศาล ...ขอบคุณกับบันทึกที่ให้ความรู้และความงามของศิลปะได้อย่างลงตัว...ขอบคุณจริงๆค่ะ...

                               

 

  • เยี่ยมมากๆครับ นอกจากได้เรียนรู้เรื่องการจัดการความรู้แล้ว
  • ได้เรียนรู้วัฒนธรรมล้านนาด้วย
  • ซึ่งความจริงมันน่าจะอยู่ด้วยกันทั้ความรู้และวิถีวัฒนธรรม

ยอดเยี่ยมครับน้องบอย

หม้อบูรณฆฏะ  ที่น้องบอยได้นำเสนอในการสัมมนาครั้งนี้  พี่จำได้ครับ สมัยก่อนที่เคยได้ชมการแสดงของคณะวิจิตรศิลป์ มช.  ที่ได้ทำการแสดงแสงสีเสียง  ของล้านนา ในงานต่าง ๆ มักจะมี การแสดงชุดหนึ่ง คือ "ฟ้อนบูรณฆฏะ"  ซึ่งจะมีนางรำ  ออกมาพร้อมกับหม้อ ที่มีดอกบัว วางไว้บนศีรษะของผู้ฟ้อนรำ  และได้แสดงขั้นในช่วงหนึ่ง  ระหว่างที่ สามกษัตริย์  กำลังจะออกมาในช่วงต่อไป ...

 ภาพบรรยากาศงดงาม  ได้ยินคำนี้แล้ว คุ้น ๆ ต้องขอบคุณน้องบอย ที่ได้ทำให้พี่รำลึกถึงภาษาและภาพนี้ ที่ไพเราะและสวยงาม อย่างล้านนา อีกครั้งครับ

 

สวัสดีครับพี่ศศินันท์ครับ

P

ผมขอขอบคุณครับที่มาให้กำลังใจ พร้อมการ์ดวันแม่ วันแม่ปีนี้ผมซื้อเสื้อสวยๆเป็นผ้าฝ้ายล้านนาให้คุณแม่ ๑ ตัวครับ ผมคิดว่าแม่ชอบแน่ๆเลยครับ แม่ชอบสีนี้ และชอบผ้าพื้นเมือง แต่ยังไม่ได้ให้แม่ครับ

มีน้องท่านหนึ่ง โทรมาว่าพี่เอกไม่กลับบ้านเหรอ วันแม่ เห็นงานสำคัญกว่ามั้ย ผมบอกว่าไม่ใช่ครับ วันแม่ของผม มีทุกวันครับ 365 วัน ใน ๑ ปี และตลอดไป

ขอบคุณครับ

 

 

P

สวัสดีครับคุณแหวว "รุ้งเพชร" ชอบชื่อนี้ครับ เป็นไทยๆมีความหมายดีนะครับ

ดีใจครับที่ชอบ ผมเองคนล้านนายิ่งภาคภูมิใจครับกับตัวตนของคนพื้นเมือง

งานสัมมนาครั้งนี้ก็ถือว่าเป็นโอกาสหนึ่งที่เราจะได้เรียกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ท้องถิ่นที่เป็นความรู้ดั้งเดิมของเราด้วย นำเสนอผ่านการแสดง การสาธิตครับ

วันนี้มีโอกาสได้ มินิทอล์ก กับ อ.พิชัย ทราบมาว่า ในช่วงการแสดง "อลังการล้านนา" เราใช้ผู้แสดงกว่า 100 ชีวิต และเนื้อหาในการแสดงก็มีคุณค่ามากครับ โดยเฉพาะ การแห่ "เครื่องสูง" ที่หาดูได้ยาก การแห่ขันโตก ขบวนแห่ดอกไม้ และขบวนนางฟ้อน นางรำ ที่เป็นศิลปะดั้งเดิมของเราจริงๆ

ทีมงานของพวกเราละเอียด ละเมียดกับงานครั้งนี้มากครับ อยากให้คุณแหววได้มาร่วมงานด้วย หากมาไม่ได้เราก็ถ่ายทอดผ่านบันทึก gotoknow ครับ

* * *ขบวน แห่เครื่องสูง ครั้งนี้จัดรูปขบวนยาว เดินเรียงออกมา เซตนี้ใช้ผู้แสดง 61 ท่านครับ ถือว่าเป็นชุดใหญ่ในงานครั้งนี้

 

 ขอบคุณมากครับและผมยินดีที่ได้รู้จักครับ

 

สวัสดีครับ

P

หากเราพูดและเขียนถึงงานศิลปะวัฒนธรรมผมก็คิดถึงคุณออตร่ำไป ผมคิดว่าคุณออตมาคงต้องชื่นชอบมากเลยครับ

โดยเฉพาะ การแสดงอลังการล้านนา ตามที่ผมตอบคุณแหววข้างบน ยิ่งใหญ่และละเมียดละไมมากครับ

เอาเป็นว่าเราพยายามจะถ่ายทอดผ่านบันทึกให้ได้มากที่สุดนะครับ- - -

สวัสดีครับ น้องโอ๋

P

งานนี้ให้กำลังใจ หนุ่มบอย ของเรามากๆครับ ได้สำแดงฝีมืออีกหน ในการทำ "บูรณฆฎะ" ผมอยากเห็นของจริงเร็วๆครับ

พรุ่งนี้เวลา 15.30 น นะครับ นัดกันที่ สนามบินเชียงใหม่ รอรับแขกแก้วของพวกเราครับ

สวัสดี คุณจตุพร

ดอกไม้ เป็นสิ่งที่ธรรมชาติให้มาไว้ เพื่อประดับโลก แสดงถึง ความสวยงาม และ กลิ่นที่หอม แตกต่างกันไป

ดอกไม้หลากหลายพันธ์ มารวมกันอยู่ในที่เดียวกัน มีความงดงาม กลิ่นหอม และ สีสัน แตกต่างกันไป

เมื่อรวมกันเข้าเป็น กลุ่ม เป็นช่อ ประกอบด้วยใบไม้หลากสี ย่อมจะนำให้มีความงดงาม ในอีกรูปแบบหนึ่ง แสดงถึง ความกลมกลืน ที่เข้ากันได้อย่างลงตัว เลยทีเดียว

งานนี้ ดุจดังหม้อใส่ดอกไม้ ที่มีลวดลายวิจิตร สวยงาม เรื่องราวสัมนา ดุจดั่งดอกไม้หลากหลายพันธ์ ที่มารวมกันในที่เดียวกัน ส่งความงดงาม กลิ่น สี ให้แก่ผู้ที่ได้พบเห็น

บุคคลดำเนินงาน ดุจดั่ง คนที่จัดดอกไม้ให้ เรียงร้อยเข้าด้วยกัน ให้ลงตัว มีศิลป แห่งการตกแต่ง

บุคคลร่วมงาน ดุจดั่ง ผู้ที่ได้เข้ามาชม ดอกไม้ ที่จัดไว้ได้อย่างดี และ อดที่จะชื่นชมในความงาม ความคิด ของผู้จัด ได้รับความอิ่มใจ อิ่มตา เป็นสุข กลับบ้านไป

มีความสุข พักผ่อน บ้างนะ ให้ประสบผลสมเร็จดั่งที่ปรารถนา

สุข สงบ เย็น

เดียวดายกลางสายฝน

 บอกที่มาของแนวความคิดเรื่อง หม้อปูรณฆฏะ(อ่านว่า ปูระณะคะตะ) หน่อยครับ

เรื่องของเรื่อง พอเราคิดไอเดียพิธีเปิดงานตอนกลางคืนเรียบร้อยลงตัวแล้ว ผมก้มานั่งปรึกษากับน้องบอยและทีมงานสามหนุ่ม ถึงพิธีเปิดงานช่วงเช้า

ทีแรกเลย เราห่วงเรื่องช่วงเวลา เกรงว่าจะเบียดเวลาวิทยากร จึงอยากทำเรียบๆง่ายๆ

หลายคนเคยบอกว่า หลังท่านอธิการกล่าวเปิดจบ ก็มีแค่เสียง effect รับ อาจเป็นกลองสะบัดไชย ตอนนั้นก็คิดว่าจะหาคนรูปร่างกำยำมาย้ำกลองสะบัดไชยให้คึกคักเสียหน่อย

พูดค้างไว้แค่นี้ตั้งแต่เดือนกรกฏาคม

พอผมทำ welcome party ทุกอย่างเสร็จ หลังจากถ่ายแบบเสื้อเสร็จ มีเวลาว่างจึงรื้อฟื้นงานพิธีเปิดช่วงเช้ามาคุยกับบอยอีกครั้ง ใจจริงอยากให้มีสัญลักษณ์และมีความหมายลึกซึ้งอยู่เป็นฤกษ์ชัยการเปิด

บอยจึงออกความคิดถึงหม้อปูรณฆะฏะ ซึ่งผมเองมีความรักและผูกพันอยู่แล้ว..ฟังบอยพูดไอเดียผมแล่นปรูดปราดทันที..ไปหาความหมายมา

หม้อปูรณฆะฏะ หมายถึงหม้อแห่งความอุดมสมบูรณ์

หม้อปูรณฆะฏะ เต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำอยู่เสมอ จึงชุ่มเย็น หมายถึงความมีน้ำใจดีงาม เยือกเย็น

หม้อปูรณฆะฏะ มีดอกงอกงามพวยพุ่ง รุ่งเรืองงามตางามใจ แสดงถึงปัญญางอกงาม

หม้อปูรณฆะฏะ จึงมีความหมายรวมถึงความสุข สงบ ร่มเย็น อุดมสมบูรณ์และความเปี่ยมงอกงามด้วยปัญญา

ผมจึงปิ๊ง! คิดตามบอย ได้ไอเดียพิธีเปิดงานช่วงเช้าอย่างลงตัว

จับตาดูให้ดีครับ!...ห้ามพลาดมาสายนะครับ

แม้จะใช้เวลาช่วงสั้นๆ แต่มีความหมายลึกซึ้งและสามารถสร้างความปีติประทับผู้เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้อย่างแน่นอนครับ!

 

 

เมื่อกี้คุยกับน้องชายเรื่องหม้อบูฯ เขาบอกเรียกได้สองแบบ คือบูรณฆฏะ หรือปูรณฆฏะก็ได้ มีต้นกำเนิดอยู่ที่อินเดียตอนใต้ สมัยอมราวดีก็มีให้เห็นแล้ว ราวพุทธศตวรรษที่ 8 สมัยแรกเริ่มเป็นเพียงหม้อน้ำเต็มอาจจะมีฝาหรือไม่มีฝาก็ได้ หม้อบูรณฆฏะเป็นหนึ่งในมงคลแปดประการ จะพบเห็นได้มากในรอยพระพุทธบาท

ส่วนดอกไม้ที่ปักอยู่ในหม้อเป็นพวยพุ่งเริ่มเห็นแพร่หลายในศิลปะลังกา สมัยเมืองอนุราชธปุระ ที่ลังกาจะพบบ่อยเป็นรูปอสูรคือปัทมนิธิกับสังคนิธิทูนหม้อไว้เหนือหัว หรือบางครั้งก็เป็นมนุษยนาคถือหม้อน้ำ ตัวหม้อน้ำเต็มเป็น Symbolic สื่อความหมายเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ มีข้าวปลาอาหาร พลาหาญสมบูรณ์

ส่วนดอกไม้เล็งถึงทรัพย์ศฤงคาร ยิ่งพอมาอยู่ในมือปัทมนิธิกับสังคนิธิซึ่งเป็นบริวารของท้าวกุเวร (เทพที่อำนวยพรเรื่องโภคทรัพย์) จึงทำให้หม้อบูรณฆฎะกลายเป็นเครื่องหมายแทนความบริบูรณ์ของโภคทรัพย์เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง


ปล. นอกเรื่องนิดนึง ปวดหลังจัง สงสัยจะแบกกล้องถ่ายรูปไปไม่ไหว กระเป๋าเสื้อผ้าใบเดียวก็ยกไม่ได้แล้วต้องลากไป เป้ใส่คอมต้องสะพายด้านหน้า หลังมีปัญหามาก กลัวว่าแบกของไปเยอะๆ จะได้ไปนอนรพ.ที่เชียงใหม่แทน เพราะฉะนั้นอาจจะต้องรบกวนขอเซฟภาพจากคุณเอกแทนค่ะ ตอนนี้ยกขวดน้ำลิตรเดียวยังเสียวแปล้บตั้งแต่หลังไปถึงขาเลย : (

สวัสดีครับ ท่าน thassana wong   มาเติมเต็มรสคำให้สวยงาม เปรียบเปรยการสัมมนาครั้งนี้ให้เห็นภาพที่ชัดเจน

และสวัสดีท่านอาจารย์พิชัย พิชัย กรรณกุลสุนทร และ คุณ   Little Jazz \(^o^)/  ที่มาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับ "บูรณฆฎะ"

 

รอพบกับของจริงได้ที่งานสัมมนาฯครั้งนี้ที่เชียงใหม่ครับ

ผมไค่ได่ฮูปหม้อดอกลายต่างๆอะครับไผมีจ่วยบอกผมกำเน้อครับ ขอขอบคุณอย่างสูงครับ

สวัสดีค้า หนูชื่อมะปรางนะค้า หนูมีเรื่องอยากจะสอบถามเกี่ยวกับหม้อปูรณฆฏะอะค้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท