ดีหรือไม่? ประเมินไขว้ระดับอำเภอ


อีกหนึ่งบทบาทของ QRT ระดับอำเภอ

             แผนการดำเนินงานพัฒนามาตรฐาน PCU ในเครือข่ายสถานบริการปฐมภูมิของจังหวัดระนอง จะมีการประเมินถึง 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การประเมินตนเอง ซึ่งประเมินจากเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสถานบริการนั้น-นั้น โดยใน 1 ปีงบประมาณ จะทำการประเมิน 2 ครั้ง นั่นคือ ช่วงเดือนตุลาคม การประเมินครั้งนี้เป็นการประเมินเพื่อหาจุดอ่อนจุดแข็งและแนวทางพัฒนา เพื่อให้รู้ว่าตนเองมีความพร้อมอยู่ในระดับใด หลังจากนั้นจะเป็นทีม QRT ระดับอำเภอ (ทีมที่ปรึกษาและพัฒนาคุณภาพ) จะออกประเมินซ้ำอีกครั้งช่วงเดือนธันวาคม ในการออกประเมินครั้งแรกของทีม QRT จะเน้นในการนิเทศ แนะนำและรับฟังปัญหาเพื่อหาแนวทางในการสนับสนุนในระดับ คปสอ. ต่อไป

             และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม PCU จะทำการประเมินตนเองอีก 1 ครั้ง (ครั้งที่ 2) และหลังจากนั้น QRT ระดับอำเภอก็จะลงประเมิน PCU ในสังกัดและคัดเลือก PCU ที่มีคะแนนมาเป็นอันดับ 1-3 ส่งเข้ารับการประเมินในขั้นตอนต่อไป คือ การประเมินไขว้ระดับอำเภอ โดย QRT ระดับอำเภอ จะมีการประชุมและหาแนวทางร่วมในการประเมินเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและจะลงประเมินไขว้ในช่วงเดือนมีนาคม โดยผลการประเมินไขว้อาจจะเปลี่ยนแปลงจากเดิมได้ และการประเมินไขว้ระดับอำเภอ จะคัดเลือกที่ 1 ระดับอำเภอ เข้ารับการประเมินระดับจังหวัดต่อไป

             สำหรับปีงบประมาณ 2550 การประเมินไขว้ระดับอำเภอมีขึ้น ระหว่างวันที่ 16 - 20 กรกฎาคม 2550 และ QRTจังหวัดจะออกประเมินในวันที่ 23-27 กรกฎาคม 2550 บทบาทหน้าที่ของผู้เขียนในการประเมินไขว้ครั้งนี้

 1. เป็นทีม QRT ระดับอำเภอ ที่ไปประเมินไขว้ระดับอำเภอ PCU ในสังกัดอำเภอเมือง
 2. เป็นผู้สนับสนุนและพัฒนา PCU ที่เข้าร่วมแข่งขันระดับจังหวัดของอำเภอกะเปอร์

อันที่จริง แล้ว มองดู มันเป็นภาระงานของ QRT ไม่ได้หนักหนาอะไร เลย หากแต่ ความรู้สึกกลับแตกต่าง เนื่องจากข้อกำหนดที่ว่าการประเมินไขว้ จะสามารถเปลี่ยนแปลง อันดับ ของอำเภอที่ตนไปประเมิน เช่นเดียวกัน ทีมไขว้ของต่างอำเภอก็สามารถเปลี่ยนแปลง ลำดับ ของอำเภอกะเปอร์ได้เช่นกัน

 

            ยอมรับว่า หน้าที่ ในส่วนที่สอง ผู้เขียนเอง ได้บกพร่องต่อการทำงาน มากมาย ทั้งนี้ทั้งนั้น คงเนื่องมาจาก ภาระงาน ที่เสริมเข้ามาในส่วนของ โครงประกันคุณภาพระบบบริการปฐมภูมิ ที่ได้จัดทำแผน ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดทำ แบบประเมินตนเอง โดยใช้เครื่องมือ PMQA จึงไม่มีเวลาในการออกพื้นที่ ไปช่วยเหลือและสนับสนุน ในช่วงโค้งสุดท้าย ก็ว่าได้ 

             ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ ผู้เขียน อยากให้มอง การประเมินต่างๆ  ให้เป็นมากกว่า การแข่งขัน เพราะ หากทำเพื่อผลรางวัล มันก็ไม่ยั่งยืน เท่ากับการมุ่งมั่นเพื่อเน้นการพัฒนา ดังนั้น ทำถามที่ตั้งทิ้งไว้ ว่า ดีหรือไม่? ประเมินไขว้ระดับอำเภอ  จึงเป็นทำถามที่เป็นที่มาของความหลากหลายของคำตอบ ท้ายที่สุด การพัฒนา และการประเมินต่างๆที่เกิดขึ้น ก็คงหนีไม่พ้น สิ่งประสงค์สุดท้ายของการพัฒนา   นั่นคือ.....      " ให้ประชาชนเข้าถึงและ ได้รับบริการที่ดี เท่านั้นเอง "

    และได้รวบรวม ภาพบรรยากาศในการประเมินมาฝากกันคะ!!

ดูหลักฐาน และ เอกสาร

สัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่ใน PCU

สังเกตการณ์ ให้บริการ

สอบถาม จากผู้รับบริการ และอสม.

หมายเลขบันทึก: 118776เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2007 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะน้อง...อรุฎา นาคฤทธิ์

ไม่ได้ทักทายกันนานเลยค่ะ  สบายดีนะคะ  ครูอ้อยคิดถึงเสมอค่ะ

ขยันจังเลย

  • สวัสดีคะคุณ สิริพร กุ่ยกระโทก ครูอ้อยที่แสนน่ารัก อิอิ
  • ขอบคุณมากนะคะที่เข้ามาทักทาย
  • คิถึงครูอ้อย เสมอเช่นกันคะ

เห็นด้วยกับที่น้องเปิ้ล บอกว่า"เนื่องจากข้อกำหนดที่ว่าการประเมินไขว้ จะสามารถเปลี่ยนแปลง อันดับ ของอำเภอที่ตนไปประเมิน เช่นเดียวกัน ทีมไขว้ของต่างอำเภอก็สามารถเปลี่ยนแปลง ลำดับ ของอำเภอกะเปอร์ได้เช่นกัน" ป็นความเห็นที่น่าคิด และต้องกลับไปคิดมากๆสำหรับเบื้องบน เพราะจากการทำงานก็คิดเหมือนกันว่า "คะแนน" ที่ออกมานั้น มันเป็นคะแนนที่ใครๆก็สามารถปรุงแต่งขึ้นมาได้ ทั้งในผู้ปฏิบัติ ซึ่งก็คือ เจ้าหน้าที่ใน สอ. หรือ ผู้นิเทศ สามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ต่างๆได้ภายในพริบตา.... แต่ในฐานะผู้ปฏิบัติคนหนึ่งก็ต้อง "อดทน" และ "ก้มหน้าก้มตาทำงาน" ต่อไปนะคะ

  • สวัสดีคะ พี่เบน
  • ยินดีมาก-มาก เลยคะที่เห็น ชาวระนอง อีกหนึ่งคน ที่เข้ามาเรียนรู้ประสบการณ์การทำงาน และความรู้ใหม่ๆ จาก gotoknow
  • แล้วแวะเวียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเรื่อยๆ นะคะ
  • ดีหรือไม่?--- ผมคงต้องนำกลับไปทบทวนการทำงานภายในอำเภอและจังหวัดชุมพรด้วย ในฐานะที่ทำหน้าที่ QRT อยู่เหมือนกัน
  • ปีนี้ ชุมพร มีการประกวดศูนย์สุขภาพชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด ซึ่งใช้เกณฑ์ตามแบบประเมินผลการปฏิบัติงานสาธารณสุข ครับ ---เป็นการประเมินจากทีมจังหวัด ไม่ได้มีการประเมินไขว้อย่างของระนองครับ
  • สวัสดีคะ คุณอำนวย
  • คิดว่า รูปแบบในการดำเนินการแตกต่างกันออกไป
  • แต่สุดท้ายเป้าหมายปลายทางคงเหมือนกัน นั่นคือการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง คะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท