หนุ่มเอ็กเทอร์น : AAR 2 เดือนที่สคส.


                ผมกล่าวชมการทำงานของผู้ประสาน(PO)ของ สคส. อันได้แก่ คุณธวัช หญิง(บัดดี้ผมเอง) อ้อม อ้อ ว่าในเวทีต่างๆที่ผมไปสังเกตการณ์ผมเห็นว่า แต่ละที่ให้เกียติ  PO มาก อาจเพราะทางสคส.ให้การตัดสินใจกับ PO อย่างเต็มที่ การตัดสินใจมาก ความรับผิดชอบมาก ความภาคภูมิใจก็ตามมา

 

อ.วิจารณ์ พานิช พูดในประเด็นนี้ว่า การให้อิสระอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องมีความไม่อิสระเป็นตัวยึดโยงด้วย เช่นวิสัยทัศน์ขององค์กร การประชุมประจำสัปดาห์ เราจะมองแค่สภาพที่เห็นในปัจจุบันไม่ได้ เราต้องมองให้เห็น dynamic สิ่งนี้อาจเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด การที่เห็นสภาพการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา ก่อนจะถึงวันนี้ ก็มีปัญหา มีการปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ

 

                ผมเล่าเรื่องที่ทาง OKLS ออกไปสอนภาษาจีนให้กับโรงเรียนสายสามัญหลายโรงเรียน อ.วิจารณ์ ให้คำแนะนำว่า การสอนคณิตศาสตร์ก็น่าสนใจ โรงเรียนทั่วๆไปยากที่จะมีครูสอนคณิตศาสตร์เก่งๆ การที่เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ดี ก็จะเป็นการกระตุ้นสมองของเด็ก ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับประเทศ

 

                ผมเล่าเรื่องในขณะที่นำการจัดการความรู้ไปใช้ในโรงเรียนก็มีแรงต้านอยู่บ้าง คล้ายกับว่าสิ่งที่เราตั้งใจให้กับเขา กลายเป็นการเรียกร้องจากเขา อ.วิจารณ์ แนะนำให้ใช้ วิธี AAR เนื่องจาก หัวข้อ AAR เริ่มจากการมองด้านบวกคือ สิ่งที่ได้มากกว่าที่คาด  AARจะทำให้คนที่ในด้านลบได้พูดออกมาในที่แจ้ง และบรรยากาศด้านบวกจะเป็นตัวขับเคลื่อน แต่เมื่อกระบวนการเคลื่อนไปได้ดีแล้วก็จำเป็นต้องเอาด้านปัญหามาคุยด้วย

 

                ระหว่างประชุมประจำสัปดาห์ของสคส.ในวันเดียวกัน มีการ AAR มหกรรมเบาหวาน ผมไม่ได้AARตามขั้นตอน อ.วิจารณ์ก็เตือนให้พูดตามขั้นตอนเพื่อเป็นการฝึกฝน AAR มาถึงหัวข้อมีอะไรที่ต้องปรับปรุง ผมเงียบไปนานเพราะยังนึกไม่ออก อ.วิจารณ์ว่าถ้านึกไม่ออกจะข้ามไปก่อนก็ได้

 

            วันต่อมาอ้อถามว่า ไม่รู้ว่าผมจะได้ประโยชน์จากการเป็นเอ็กเทอร์นรึเปล่า ผมตอบไปว่าลึกๆแล้วผมรู้สึกว่า ผมดีพอที่จะเป็นเอ็กเทอร์นของสคส.รึเปล่า แล้วก็มีเสียงหัวเราะตามมาจากการพูดถึงมุมมองที่ตรงกันข้าม

                 แต่ที่แน่ๆการที่ได้ครูดีมาชี้แนะ(บางส่วนอาจเป็นแบบครูพักลักจำ) ผมผู้ปวารณาตัวเป็นผู้ที่จะเรียนรู้ตลอดชีพ ต้องตั้งใจเรียนรู้เต็มที่               

คำสำคัญ (Tags): #aar#extern#สคส.#okls
หมายเลขบันทึก: 118772เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2007 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท